สำรองพิเศษ 58,000 พันล้าน เตรียมเอาไว้ เราถูกโจมตีมาก แต่ผมถือว่าอันนี้เป็นสิ่งจำเป็น ทีแรกเราคิดว่าเราต้องใช้เงินพิเศษอีกก้อนหนึ่งมากระตุ้น แต่เนื่องจากเงินกองทุนหมู่บ้านออกมาได้เร็วพอ ตรงนี้เลยไม่จำเป็น ฉะนั้นในช่วงของการประคองตัวเองช่วงนี้เป็นสิ่งที่เราทำมาทั้งหมดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ฉะนั้นถ้าผมลำดับภาพให้ท่านดูท่านจะเข้าใจว่าทำไมนโยบายต่างๆ มันมาอย่างนี้ ทีละข้อ ๆ นี้คือสิ่งที่ทำ จากตรงนี้ไปสู่อนาคตยิ่งสำคัญใหญ่ ตรงนี้เพียงแค่อดีตถึงปัจจุบัน แต่ในอนาคตนั้นสิ่งที่รัฐบาลเราถกกันคือ เราต้องการการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ เราไม่ต้องการเติบโตบนฐานที่เปราะบาง GDP growth สูงสุดไม่จำเป็น แต่ต้องการมี growth แต่ข้างล่างต้องแข็ง economy ต้องมีเสถียรภาพมากพอ ฉะนั้นทีมงานโดยแบงก์ชาติ กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ฯ ได้ช่วยกันทำออกมาเป็นตัวเลขที่ project ตัวนี้ออกมา เป็นเป้า แต่ในตอนที่เกิดความเป็นจริงขึ้นมามีการพูดถึงตัวเลขที่เป็นจริงอาจจะไม่ถูก เป้าตรงนี้นั้นไม่เป็นไร แต่อันนี้จะเป็นเป้าที่ทั้ง ครม. จะเดินตาม ทำให้ได้ เพราะถ้าไม่มีเป้าร่วมกันมันก็เหมือนกับว่ามองปลายทางคนละทาง
ฉะนั้นตัวเลข GDP ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่คิดว่าจะดูแลได้ในอนาคตข้างหน้ามีการร่วมกัน 3 องค์กรมองตัวเลขไปในลักษณะอย่างนี้ คือเป้าหมายที่ต้องการเดิน เป็นเป้าที่เชื่อว่าถ้ามันขยายตัวในระดับอย่างนี้ เงินเฟ้ออย่างนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างนี้ เศรษฐกิจจะมีการเติบโตเพียงพอที่จะมีรายได้มาใช้หนี้ และมาพัฒนาต่อไป โดยที่มีเสถียรภาพภายในประเทศเพียงพอ นี้คือเป้าหมายใหญ่ เป้าหมายนี้จะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราไม่ไปเจาะการทำงานจริง โดยเฉพาะตัวบัญชีเดินสะพัด
ดุลบัญชีเดินสะพัดถ้าเราจะยังอิงกับโครงสร้างส่งออกเดิมๆ ยังอิงอยู่กับการท่องเที่ยวเดิมๆ ตัวเลขนี้ไม่สามารถบรรลุได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือว่า ตัวโครงสร้างการส่งออกต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่การส่งออกจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้มันต้องมีการปฎิรูปโครงสร้างของอุตสาหกรรม กรมศุลกากร กับ สศค. ต้องช่วยผม เราทำเวิร์คช๊อปกับ BOI ไปแล้ว เรารู้ว่าอุตสาหกรรมใดเป็นเป้าหมายของประเทศ ถ้าคุณต้องการให้มีการปรับโครงสร้างการส่งออกไปสู่ต่างประเทศ ความสามารถเชิงแข่งขันเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น กรมศุลกากร กับ สศค. ช่วยกัน set แพลนนิ่งของการปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรให้ผมด่วน ผมเคยประกาศว่าเดือนนี้จะเริ่มแล้วทีละอุตสาหกรรมแก้ไขได้ก่อนก็แก้เอาจากง่ายไปยาก ผมต้องการตัวเลขอันนี้ และจะเริ่มทีละอุตสาหกรรม ถ้าคุณมีเป้าการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมส่งออกก็สามารถเซทแผนสอดคล้องกับคุณได้การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก ผมเคยเปิดดูเว็บไซต์ ของประเทศสิงคโปร์ ท่องเที่ยวของเขาอยู่ตรงกลาง อันนี้เป็น entertainment อันนี้เป็นโรงแรม อันนี้เป็นธุรกิจมัคคุเทศก์ ธุรกิจสินค้า ธุรกิจ shipping อะไรเต็มไปหมด แต่อุตสาหกรรมนำเที่ยวของเราคือ ททท. แล้วอย่างนี้เราจะไปแข่งขันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างไร ฉะนั้น concept ของ tourism จะถูก redefine ต้องผลักดัน การผลักดันไม่ใช่ง่าย ผมพูดใน ครม.นับสิบเที่ยวแล้ว มันก็เกิดขึ้นที่เกาะสมุยเป็นแห่งแรก การ convince ให้คนเข้าใจไม่ใช่เรื่องง่าย ถูกโจมตีว่าขี่ช้างจับตั๊กแตน แต่นั้นคือ concept ของ tourism อย่างแท้จริง ถ้าคุณ redefine ใหม่ทำให้ดีขึ้น มันจะทำให้เป็น tourism ได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่สักว่าจะทำก็ทำ ถ้าตรงนี้มีการปฏิรูป ตรงนี้ผมขอท่านปองพลฯ ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ช่วยกันเต็มที่อยู่แล้ว โผล่ใน Budget ของการท่องเที่ยวในอนาคตข้างหน้า spread of margin ที่จะดูแลว่าถ้าส่งออกเป็นอย่างนี้ นำเข้าเป็นอย่างนี้จะทำอย่างไรไม่ให้เงินไหลออกมากเกินไป หมายความว่ากระบวนการผลิตทั้งหลายนี้มันต้องมีการใช้ local content ให้มากขึ้น ต้องค่อยปรับโครงสร้างเข้าไป และสามารถ control สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ผมเคยบอกหลายครั้งว่า เราตกใจกับอิเล็กทรอนิกส์ drop GDP ตก แต่มีใครเอาตัวเลขจริงๆ มาให้ผมดูว่าที่อิเล็กทรอนิกส์ตก มันกระทบกับการจ้างงานภายในประเทศเท่าไหร่ มันกระจุกตัวอยู่ในบริษัทกี่แห่ง ต่างชาติทั้งสิ้น มัน drop เพราะตัวเลขมันหาย แล้วผลกระทบจริงๆ มันมีเท่าไหร่ แต่ถ้าบอกสินค้าเกษตรตกนี่ซิ มันโดนเต็มๆ เลย ตายกันไปข้างหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่บอกว่าแม้เราจะยึดตัวเลขที่เรียนมาจากเมืองนอกมาใช้ เราก็ต้องมาประยุกต์แยกแยะว่าเนื้อข้างในเป็นอย่างไร สิ่งที่พยายามพูดคือสิ่งเหล่านี้ ในแต่ละประเด็นเหล่านี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์ มหาดไทยต้องไปพูดที่มหาดไทย ทุกอย่างจะได้ไปทางเดียวกันและเกิดเป็นพลังขึ้น
ผมจะพยายามดึงมาว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังที่เราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่แค่ปลัด รองปลัด อธิบดี แต่ต้องทุกคนช่วยกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คือ ตรงไหน เรานั่งคุยกันระหว่าง คลัง ธปท. สิ่งที่ต้องการคืองบประมาณที่เริ่มเกินดุลในปี 2549 โดยดูความเป็นไปได้ ยอดหนี้คงค้างต่อ จีดีพี ต้องไม่เกินร้อยละ 60 เพราะเราถือว่ามันจัดการได้ ภาระหนี้ต่องบประมาณสูงสุดราวร้อยละ 16 จึงจะจัดการได้ และมีเงินพอไปพัฒนาได้ในงบลงทุน นี่คือเป้าที่ต้องการ
ภาพที่เห็นมันเป็นการ Projection เป็นเรื่องของรายจ่าย รายได้ รายจ่ายอิงตาม GDP growth จากกรอบใหญ่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเราและสำคัญมากคือ ตัวรายได้ จากนี้ไปท่านต้องทำรายได้ไม่ให้ผิดเป้า เพราะนี่เป็นภารกิจที่สำคัญมากในปัจจุบัน รายได้มาจาก 2 สายใหญ่ 1.จากภาษี รายได้จากภาษี ผมไปตรวจเยี่ยมกรมสรรพากร ผมบอกท่านอธิบดีช่วยทำแผน 5 ปีให้สอดคล้องกับเป้าอันนี้ทุกอย่างไปทางเดียวกัน หมายความว่าข้อหนึ่ง เพิ่ม efficiency อย่างไร 2. ขยายฐานภาษีอย่างไร มีภาษีประเภทใดบ้างที่ต้องจัดเก็บเพิ่ม ขยายฐานออกไป 3. อะไรที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างฐานภาษีใหม่ เช่น เอสเอ็มอี ธุรกิจบริการอื่นๆ ที่เราคิดว่าต้องการสร้างมันขึ้นมา มี entrepreneur คนทำการค้าจะรวยได้ต้องรู้จักตัดเนื้อลงทุน ถ้าเราเสียดายกับสิ่งที่มีอยู่ ยกตัวอย่างตอนนี้เงินเดือนปลัดกระทรวง 60,000 บาท เก็บอย่างเดียว ไม่กินข้าว 10 ปีได้ 7,200,000 บาท อีก 10 ปีข้างหน้ายังไม่สามารถซื้อบ้านได้สักหลัง ทำจนตายก็ไม่มีบ้านอยู่ แต่ต้องรู้จักตัดเนื้อลงทุน ภาษีก็เหมือนกัน เราเก็บมาได้เราเสียดาย แต่ถ้าท่านมองว่าอนาคตข้างหน้าท่านต้องมีเอสเอ็มอีนะ เป็นฐานใหม่ เอสเอ็มอีประเภทใดบ้าง ท่านต้องเพาะให้มันเกิดขึ้นมา
ตรงนี้คือข้อแตกต่างระหว่างข้าราชการเพียวๆ แบบเทคโนเครต กับข้าราชการที่รู้จักใช้ entrepreneurial skill เพียงแต่ balance ให้ดูดีๆ ว่าอย่าให้เกิดอันตราย อย่าให้มีความไม่มีเสถียรภาพ เราต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างฐานใหม่ขึ้นมา ถ้าเมืองไทยไม่มี SMEs ข้างหน้า wave ต่อไปของวิกฤติ เกิดขึ้นได้แน่นอน เพราะทั้งประเทศกระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มบริษัทไม่กี่กลุ่ม แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร คนมีสมอง มีการศึกษา เป็นลูกจ้าง คนที่ไม่มีการศึกษาเป็นผู้ประกอบการ มัน upside down ดูแค่นี้ก็รู้แล้วว่าผิด ถ้าท่านสามารถทำให้คนที่จบการศึกษาดีกล้าเสี่ยงทำประกอบการค้า แทนที่จะเดินเข้าปูนซิเมนต์ไทย เดินเข้าเชลล์ เดินเข้าไปบริษัทใหญ่ๆ คิดหาทางสร้างตัวเองขึ้นมา ท่านก็จะได้ภาษีจากสิ่งเหล่านี้ แต่ทุกอย่างต้องมีการลงทุน ท่านต้องมีอะไรให้เขา เมื่อท่านช่วยเขา อนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า ท่านก็เก็บภาษีกลับเข้ามาได้ ประเทศก็จะเจริญขึ้น แต่ถ้าท่าน saving อย่างเดียวในขณะนี้ ในอนาคตมันได้แค่ขีดเดียวแค่นั้นเอง ผมก็ได้ให้ vision แบบนี้กับสรรพากร ใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าเขาจะนำมาให้ผม 5 ปี กรมศุลกากร กับ กรมสรรพสามิต ช่วยผมทำสิ่งนี้เหมือนกัน 5 ปี ว่า ใน 5 ปีข้างหน้าท่านจะสามารถ set สิ่งเหล่านี้ออกมาได้อย่างไร ผมจะเอาสิ่งเหล่านี้รวมเป็นทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าใครจะอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ว่าจะใช้ รมว.คลังกี่คน อย่างน้อย blue print อันนี้อยู่ ว่า 5 ปีข้างหน้า ท่าน commit แน่นอน ท่านต้องเดินเส้นทางอันนี้ว่ากรมศุลกากร ตัวเลขจะเป็นอย่างไร เพราะอะไร กรมสรรพสามิตจะเป็นอย่างนี้เพราะอะไร ท่านมี activity ใหม่ๆ ที่ออกมาหรือไม่
ฉะนั้น 3 กรมใหญ่ๆ รวมกันออกมา สอดคล้องออกมามันจะเป็นไปตามเป้าของรายได้จากภาษีอากรที่ forecast ไว้ แต่ถ้าตรงนี้ไม่ได้ถูก translate มาให้คุณ ไปกันคนละทาง เวลาทำเป้าก็บอกปีนี้เป็นอย่างนี้ ปีหน้าต้องเป็นอย่างนั้น บวกเข้าไปอย่างนี้ บิล เกต หัวเราะกลิ้งเลย เขาบอก the road ends here หยุดที่ตรงนี้ ข้างหน้าเป็น non-linear แล้ว ฉะนั้นท่านต้องคิดแบบ non-linear ทำมาให้ผม นี่คือซีกของ tax
ซีกของ asset ผมเรียนท่านเลยว่าเมื่อวานผมเจอผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ผมบอกว่าที่ฝรั่งมันยอมเราหรือ IMF ยอมเราเพราะตัวนี้ เราต้องเปิดกรุให้เขาดู เราไม่ได้ต้องการขาย
กรมแรกที่ผมไปคือกรมธนารักษ์ ผมดีใจมากที่เขาส่งแผนมาให้ผม แผน 5 ปีของกรมธนารักษ์ เปลี่ยนจากการผลิตเหรียญอย่างเดียวเป็นการพัฒนาที่ราชพัสดุ เป็น asset based management จริงๆ ท่านทำตัวเลขมา 5 ปี ท่านบอกว่าสามารถพัฒนาได้ 65,000 ล้านบาท ถ้าผมจำไม่ผิด ทั้ง income ที่เป็นประจำ และที่พัฒนา ตัวนี้คือตัว projection ของ asset base ที่มาจากกรม ธนารักษ์ ไม่ใช่ซีกของ tax ซีกของ privatization ผมให้ท่านรองสมหมายฯ ดูแล privatization project ควบคู่กับการบริหารหนี้ ท่านจะต้องดูให้ผม ทำมาให้ผม วันนี้ holding ผ่าน ครม.ไปแล้ว อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะตีกลับมาจากกฤษฎีกา จะเข้าสภา แต่แผนการที่ชัดเจนต้องมีว่า ท่านจะเข้าไปแต่ละรัฐวิสาหกิจอย่างไร เดินแบบมี strategy หมายความว่าปีหน้ากี่ตัว
การที่จะเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ใช่เดินเข้าไปบอกว่า "มาเข้าในตลาดหลักทรัพย์" ท่านจะต้องมี trip มีการเดินไปหาเขาให้เขารู้ว่า privatization แท้จริงแล้วคืออะไร ทุกคนได้ประโยชน์ แล้วมันเกิดประโยชน์อะไรจาก privatization project เสร็จแล้วไม่เพียงแค่นั้น ตัวที่เราตั้งเป้าว่ากี่ตัวๆ นั้นไม่สำคัญ ท่านดูความเหมาะสม จะเพิ่มเข้าจะตัดทอนอยู่ที่ท่าน แต่ดูความเป็นไปได้ การทำ privatization ต้องให้ประชาชนเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ การทำ campaign อย่างมีทักษะ อย่างมียุทธศาสตร์ ให้คนเข้าใจว่าการแปรรูปนั้นช่วยกู้ชาติได้อย่างไร
หลายๆ ประเทศ เมื่อมี concept privatization เนื่องจากความไม่เข้าใจ ก็มี resist การ resist การไม่เข้าใจ การไม่อยากเปลี่ยนแปลงนี่เป็นธรรมชาติของคน เราอย่าโทษเขา ไม่มีคนไหนสักคนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงถ้าไม่จำเป็น ยิ่งอายุมากยิ่งไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง สมัยผมอายุ 30 ช่วงนั้นยังไม่แต่งงาน ไม่มีลูก ให้ลุยไปข้างหน้าอย่างไรก็กล้าลุย พอแต่งงานมีลูก 2 คน จะลุยไปข้างหน้ามันต้องดูหลัง ทุกคนเหมือนกันหมด อย่าไปมองว่าเขาเห็นแก่ตัว ต้องมองว่าทุกคนไม่อยากมีการเปลี่ยนแปลงถ้าไม่จำเป็น ฉะนั้นต้องชี้ประโยชน์ให้เขาดูว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไร ให้เขามีส่วนร่วม ท่านต้องมีตรงนี้ มีแผน PR ออกมา กระทรวงการคลัง เป็นกระทรวงที่ครอบคลุมทุก activity ในประเทศ แต่แผนการ PR แทบจะไม่มี ขาด strategy โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นเรามาเริ่มต้นกันใหม่ ท่านสมหมายท่านต้องทำตรงนี้ให้ผมสิ่งที่ผม assign ไปคืออะไร ซีกของภาษี 5 ปี ทั้ง 3 กรม สอดคล้องกับตัวเลขนั้นๆ เลยจากนี้ไม่เป็นไร แต่อย่าขาด เพราะประเทศอยู่ในกำมือท่าน privatization ทำแผนออกมาโดยละเอียด ธนารักษ์ช่วยดูความเป็นไปได้ต่อไป
กรมบัญชีกลางนี่สำคัญที่สุด เป็นกรมที่ 2 ที่ผมเลือกไป mission ที่มอบหมาย ไม่ใช่เพียงแต่ว่าออกใบฎีกา จ่ายเงินเดือน แต่ท่านคือ MIS ของกระทรวง ฐานะการคลังทั่วประเทศท่านต้องรู้ก่อนคนอื่น สมมติว่าผมเข้ามาเป็น center of information เป็น balance sheet ใหญ่ของประเทศไทย ท่าน design ตรงนี้ออกมาให้ได้นั่นคือ กรมบัญชีกลาง ท่านเป็น CFO ของกระทรวงการคลัง ฉะนั้นท่านต้องมีตรงนี้เป็น vision ของท่าน พอท่านเป็นกรมขึ้นมาการสร้างงบประมาณปีต่อไป ก็ set จากสิ่งเหล่านี้เอง ว่าถ้า mission อย่าง นี้ 5 ปี ท่านต้องมี activity อะไรบ้างในอีก 5 ปีข้างหน้า งบประมาณว่า 5 ปีข้างหน้าเท่าไร และปีหน้าเท่าไรในส่วนของอีก 5 ปี ไม่ใช่ปีต่อปีต่อยอด ถ้าท่านสามารถทำ 5 ปี แล้วปีต่อไปเท่าไร อีกหน่อยไม่ว่าพรรคไหนเข้ามา รัฐมนตรีท่านไหนเข้ามา อย่างน้อยเขามี guideline เขาอาจจะเบี่ยงเบนไปบ้าง แต่ว่ากระดูกสันหลังยังอยู่ เห็นไหมครับ แล้วจะเห็นชัด พวกนี้ต้องดูว่าประเด็นเหล่านี้ต้องให้มันเกิดให้ได้
ภาพนี้ที่เห็นมาจากหนังสือเล่มหนึ่งเขียนโดย Lester Thurow เป็น Professor ที่ MIT เขาเอาปีรามิด นี้มาอยู่หลังแบงก์ดอลลาร์ มันสอดคล้องโดยไม่ต้องเตี๊ยมกัน เขาบอกว่าการสร้างประเทศต้องสร้างด้วย wealth คือความมั่งคั่งอย่างมีคุณภาพ แต่ wealth นั้นมันก็มาจากปีรามิด แล้วปีรามิดอันนี้เขาใส่ไว้หลังแบงก์ US dollar ข้างบนสูงสุด คือ wealth of nation ส่วน social organization ข้างล่างคือ สถาบันของสังคมต้องเข้มแข็ง ฐานรากต้องเข้มแข็ง entrepreneur ก็ต้องมี knowledge ต้องมี skill ต้องมี tool ต้องมี resource ต้องมี ทั้งหมดจึงมาสู่การ create wealth of the nation ไม่ใช่ GDP ตรงนี้ผมพยายามที่จะ communicate ให้ทุกคนที่ผมรู้จัก ผมไม่มีแรงพอที่จะพูดกับทุกคน เป้าหมายสูงสุดของการบริหารคือ wealth of the nation GDP คือผลที่จะตามมา ผมไม่เข้าใจเหมือนกัน พูดกันว่า GDP ตก GDP ไม่ดี GDP คืออะไร เราต้องรู้ว่าจากตรงนี้แล้วมันเป็นอะไร มันเชื่อมต่อกับ micro economic อย่างไร เชื่อมต่อกับ private sector อย่างไร
เรามาพร้อมกันในวันนี้ ผมสื่อให้ทุกท่านฟังพร้อมกันตรงนี้ เราเข้าใจตรงกันแล้ว แล้วเราจะรวมพลังทำงานอันนี้ขึ้นมา ผมให้ทุกคนเอางานเป็นที่ตั้งอย่าสนใจข่าวโคมลอย โยกย้ายตรงโน้นโยกย้ายตรงนี้ โยกย้ายต้องมีแน่นอน มันเป็นกระบวนการของกระทรวง ทบวง กรม อยู่แล้ว แต่หากจะมีมันก็จะเป็นไปตามครรลองของความถูกต้องและชอบธรรม ตรงไหนเหมาะสม ตรงไหนไม่เหมาะสม เพื่อให้งานกระทรวงนั้นมีพลังที่จะเดินไปข้างหน้า แต่ไม่ใช่เพราะอคติ เลิกคิดได้เลย ถ้าผมอยู่ที่นี่จะไม่มีคำนั้นออกมา ไม่ต้องห่วง ผมเป็นคนที่เป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา เอางานเป็นที่ตั้ง 5 เดือนที่ผ่านมา 2 เดือนแรกผมโดนหนักมาก เพราะการที่เป็นคนแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยคุยโตโอ้อวดว่ามาจากไหน มาถึงปั๊บ เก้าอี้ตัวนี้มันใหญ่ พอมานั่งเจอ comment ตลอดเวลา ที่บ้านนี่หนักมากรับกันแทบไม่ไหว
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นพลังก็คือว่า ที่หลังโต๊ะทำงานผมมีพระอยู่รูปหนึ่ง หันไปปั๊บผมบอกว่าผมขอใช้นาทีนี้ที่มีอยู่ทำในสิ่งที่คนที่ไม่อยู่ตำแหน่งรัฐมนตรีทำไม่ได้ ผมหมายความว่าทำให้ประเทศได้ทำ แต่ทำในสิ่งที่เหมาะสม ไม่ใช่ทำในสิ่งที่ตามกระแส แล้วสิ่งที่นายห้างเทียมฯ สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่สอนผมตลอดมาก็คือว่า เร็ว ช้า หนัก เบา คือ strategy ที่แท้จริง บางอย่างดีมากแต่ยังทำขณะนี้ไม่ได้ ต้องดูจังหวะจะโคน output ถึงจะออกมาได้ ฉะนั้น management skills สำคัญมาก แต่จะทำไม่ได้เลยถ้าพวกท่านไม่ร่วมมือ ท่านมีแต่ข่าวคนโน้นมาคนนี้ไป ท่านวางใจได้ ทุกอย่างงานเป็นที่ตั้ง และผมอยากให้กระทรวงการคลังมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และก็รวมพลังกันทำงาน กรอบนี่ชัดเจน
สักครู่ท่านปลัดกระทรวงการคลังจะมา assign อีกรอบหนึ่ง ว่ามีอะไรที่กระทรวงไหน กรมไหน ต้องทำ ผมต้องขอบคุณอีกครั้งหนึ่งที่ผ่านมา 5 เดือนท่านช่วยผมตลอดเวลา และอยากให้เข้าใจผมด้วยว่าเราทำงานในวันนี้ ทำงานเพื่องานจริงๆ ประเทศมันบอบช้ำมานานแล้ว แล้วเรามาในวันนี้ไม่ได้มาเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ออกเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ ผมมาแล้วก็ไป แต่พวกเรายังคงอยู่ รัฐมนตรีคนใดมาก็แล้วแต่ ถ้าท่านมีแผนแม่บทออกมารับรองว่าดิ้นไม่ออก แผนถูกวางออกมาแล้ว แล้วท่านจะมีทิศทางที่ชัดเจน
_________________________
* รมว. คลังประชุมชี้แจงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อข้าราชการ
ระดับ 9-11 ของกระทรวงการคลัง ที่ห้องประชุมกรมบัญชีกลาง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ดนัย, ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-
ฉะนั้นตัวเลข GDP ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่คิดว่าจะดูแลได้ในอนาคตข้างหน้ามีการร่วมกัน 3 องค์กรมองตัวเลขไปในลักษณะอย่างนี้ คือเป้าหมายที่ต้องการเดิน เป็นเป้าที่เชื่อว่าถ้ามันขยายตัวในระดับอย่างนี้ เงินเฟ้ออย่างนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างนี้ เศรษฐกิจจะมีการเติบโตเพียงพอที่จะมีรายได้มาใช้หนี้ และมาพัฒนาต่อไป โดยที่มีเสถียรภาพภายในประเทศเพียงพอ นี้คือเป้าหมายใหญ่ เป้าหมายนี้จะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราไม่ไปเจาะการทำงานจริง โดยเฉพาะตัวบัญชีเดินสะพัด
ดุลบัญชีเดินสะพัดถ้าเราจะยังอิงกับโครงสร้างส่งออกเดิมๆ ยังอิงอยู่กับการท่องเที่ยวเดิมๆ ตัวเลขนี้ไม่สามารถบรรลุได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือว่า ตัวโครงสร้างการส่งออกต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่การส่งออกจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้มันต้องมีการปฎิรูปโครงสร้างของอุตสาหกรรม กรมศุลกากร กับ สศค. ต้องช่วยผม เราทำเวิร์คช๊อปกับ BOI ไปแล้ว เรารู้ว่าอุตสาหกรรมใดเป็นเป้าหมายของประเทศ ถ้าคุณต้องการให้มีการปรับโครงสร้างการส่งออกไปสู่ต่างประเทศ ความสามารถเชิงแข่งขันเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น กรมศุลกากร กับ สศค. ช่วยกัน set แพลนนิ่งของการปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรให้ผมด่วน ผมเคยประกาศว่าเดือนนี้จะเริ่มแล้วทีละอุตสาหกรรมแก้ไขได้ก่อนก็แก้เอาจากง่ายไปยาก ผมต้องการตัวเลขอันนี้ และจะเริ่มทีละอุตสาหกรรม ถ้าคุณมีเป้าการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมส่งออกก็สามารถเซทแผนสอดคล้องกับคุณได้การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก ผมเคยเปิดดูเว็บไซต์ ของประเทศสิงคโปร์ ท่องเที่ยวของเขาอยู่ตรงกลาง อันนี้เป็น entertainment อันนี้เป็นโรงแรม อันนี้เป็นธุรกิจมัคคุเทศก์ ธุรกิจสินค้า ธุรกิจ shipping อะไรเต็มไปหมด แต่อุตสาหกรรมนำเที่ยวของเราคือ ททท. แล้วอย่างนี้เราจะไปแข่งขันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างไร ฉะนั้น concept ของ tourism จะถูก redefine ต้องผลักดัน การผลักดันไม่ใช่ง่าย ผมพูดใน ครม.นับสิบเที่ยวแล้ว มันก็เกิดขึ้นที่เกาะสมุยเป็นแห่งแรก การ convince ให้คนเข้าใจไม่ใช่เรื่องง่าย ถูกโจมตีว่าขี่ช้างจับตั๊กแตน แต่นั้นคือ concept ของ tourism อย่างแท้จริง ถ้าคุณ redefine ใหม่ทำให้ดีขึ้น มันจะทำให้เป็น tourism ได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่สักว่าจะทำก็ทำ ถ้าตรงนี้มีการปฏิรูป ตรงนี้ผมขอท่านปองพลฯ ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ช่วยกันเต็มที่อยู่แล้ว โผล่ใน Budget ของการท่องเที่ยวในอนาคตข้างหน้า spread of margin ที่จะดูแลว่าถ้าส่งออกเป็นอย่างนี้ นำเข้าเป็นอย่างนี้จะทำอย่างไรไม่ให้เงินไหลออกมากเกินไป หมายความว่ากระบวนการผลิตทั้งหลายนี้มันต้องมีการใช้ local content ให้มากขึ้น ต้องค่อยปรับโครงสร้างเข้าไป และสามารถ control สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ผมเคยบอกหลายครั้งว่า เราตกใจกับอิเล็กทรอนิกส์ drop GDP ตก แต่มีใครเอาตัวเลขจริงๆ มาให้ผมดูว่าที่อิเล็กทรอนิกส์ตก มันกระทบกับการจ้างงานภายในประเทศเท่าไหร่ มันกระจุกตัวอยู่ในบริษัทกี่แห่ง ต่างชาติทั้งสิ้น มัน drop เพราะตัวเลขมันหาย แล้วผลกระทบจริงๆ มันมีเท่าไหร่ แต่ถ้าบอกสินค้าเกษตรตกนี่ซิ มันโดนเต็มๆ เลย ตายกันไปข้างหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่บอกว่าแม้เราจะยึดตัวเลขที่เรียนมาจากเมืองนอกมาใช้ เราก็ต้องมาประยุกต์แยกแยะว่าเนื้อข้างในเป็นอย่างไร สิ่งที่พยายามพูดคือสิ่งเหล่านี้ ในแต่ละประเด็นเหล่านี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์ มหาดไทยต้องไปพูดที่มหาดไทย ทุกอย่างจะได้ไปทางเดียวกันและเกิดเป็นพลังขึ้น
ผมจะพยายามดึงมาว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังที่เราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่แค่ปลัด รองปลัด อธิบดี แต่ต้องทุกคนช่วยกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คือ ตรงไหน เรานั่งคุยกันระหว่าง คลัง ธปท. สิ่งที่ต้องการคืองบประมาณที่เริ่มเกินดุลในปี 2549 โดยดูความเป็นไปได้ ยอดหนี้คงค้างต่อ จีดีพี ต้องไม่เกินร้อยละ 60 เพราะเราถือว่ามันจัดการได้ ภาระหนี้ต่องบประมาณสูงสุดราวร้อยละ 16 จึงจะจัดการได้ และมีเงินพอไปพัฒนาได้ในงบลงทุน นี่คือเป้าที่ต้องการ
ภาพที่เห็นมันเป็นการ Projection เป็นเรื่องของรายจ่าย รายได้ รายจ่ายอิงตาม GDP growth จากกรอบใหญ่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเราและสำคัญมากคือ ตัวรายได้ จากนี้ไปท่านต้องทำรายได้ไม่ให้ผิดเป้า เพราะนี่เป็นภารกิจที่สำคัญมากในปัจจุบัน รายได้มาจาก 2 สายใหญ่ 1.จากภาษี รายได้จากภาษี ผมไปตรวจเยี่ยมกรมสรรพากร ผมบอกท่านอธิบดีช่วยทำแผน 5 ปีให้สอดคล้องกับเป้าอันนี้ทุกอย่างไปทางเดียวกัน หมายความว่าข้อหนึ่ง เพิ่ม efficiency อย่างไร 2. ขยายฐานภาษีอย่างไร มีภาษีประเภทใดบ้างที่ต้องจัดเก็บเพิ่ม ขยายฐานออกไป 3. อะไรที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างฐานภาษีใหม่ เช่น เอสเอ็มอี ธุรกิจบริการอื่นๆ ที่เราคิดว่าต้องการสร้างมันขึ้นมา มี entrepreneur คนทำการค้าจะรวยได้ต้องรู้จักตัดเนื้อลงทุน ถ้าเราเสียดายกับสิ่งที่มีอยู่ ยกตัวอย่างตอนนี้เงินเดือนปลัดกระทรวง 60,000 บาท เก็บอย่างเดียว ไม่กินข้าว 10 ปีได้ 7,200,000 บาท อีก 10 ปีข้างหน้ายังไม่สามารถซื้อบ้านได้สักหลัง ทำจนตายก็ไม่มีบ้านอยู่ แต่ต้องรู้จักตัดเนื้อลงทุน ภาษีก็เหมือนกัน เราเก็บมาได้เราเสียดาย แต่ถ้าท่านมองว่าอนาคตข้างหน้าท่านต้องมีเอสเอ็มอีนะ เป็นฐานใหม่ เอสเอ็มอีประเภทใดบ้าง ท่านต้องเพาะให้มันเกิดขึ้นมา
ตรงนี้คือข้อแตกต่างระหว่างข้าราชการเพียวๆ แบบเทคโนเครต กับข้าราชการที่รู้จักใช้ entrepreneurial skill เพียงแต่ balance ให้ดูดีๆ ว่าอย่าให้เกิดอันตราย อย่าให้มีความไม่มีเสถียรภาพ เราต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างฐานใหม่ขึ้นมา ถ้าเมืองไทยไม่มี SMEs ข้างหน้า wave ต่อไปของวิกฤติ เกิดขึ้นได้แน่นอน เพราะทั้งประเทศกระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มบริษัทไม่กี่กลุ่ม แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร คนมีสมอง มีการศึกษา เป็นลูกจ้าง คนที่ไม่มีการศึกษาเป็นผู้ประกอบการ มัน upside down ดูแค่นี้ก็รู้แล้วว่าผิด ถ้าท่านสามารถทำให้คนที่จบการศึกษาดีกล้าเสี่ยงทำประกอบการค้า แทนที่จะเดินเข้าปูนซิเมนต์ไทย เดินเข้าเชลล์ เดินเข้าไปบริษัทใหญ่ๆ คิดหาทางสร้างตัวเองขึ้นมา ท่านก็จะได้ภาษีจากสิ่งเหล่านี้ แต่ทุกอย่างต้องมีการลงทุน ท่านต้องมีอะไรให้เขา เมื่อท่านช่วยเขา อนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า ท่านก็เก็บภาษีกลับเข้ามาได้ ประเทศก็จะเจริญขึ้น แต่ถ้าท่าน saving อย่างเดียวในขณะนี้ ในอนาคตมันได้แค่ขีดเดียวแค่นั้นเอง ผมก็ได้ให้ vision แบบนี้กับสรรพากร ใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าเขาจะนำมาให้ผม 5 ปี กรมศุลกากร กับ กรมสรรพสามิต ช่วยผมทำสิ่งนี้เหมือนกัน 5 ปี ว่า ใน 5 ปีข้างหน้าท่านจะสามารถ set สิ่งเหล่านี้ออกมาได้อย่างไร ผมจะเอาสิ่งเหล่านี้รวมเป็นทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าใครจะอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ว่าจะใช้ รมว.คลังกี่คน อย่างน้อย blue print อันนี้อยู่ ว่า 5 ปีข้างหน้า ท่าน commit แน่นอน ท่านต้องเดินเส้นทางอันนี้ว่ากรมศุลกากร ตัวเลขจะเป็นอย่างไร เพราะอะไร กรมสรรพสามิตจะเป็นอย่างนี้เพราะอะไร ท่านมี activity ใหม่ๆ ที่ออกมาหรือไม่
ฉะนั้น 3 กรมใหญ่ๆ รวมกันออกมา สอดคล้องออกมามันจะเป็นไปตามเป้าของรายได้จากภาษีอากรที่ forecast ไว้ แต่ถ้าตรงนี้ไม่ได้ถูก translate มาให้คุณ ไปกันคนละทาง เวลาทำเป้าก็บอกปีนี้เป็นอย่างนี้ ปีหน้าต้องเป็นอย่างนั้น บวกเข้าไปอย่างนี้ บิล เกต หัวเราะกลิ้งเลย เขาบอก the road ends here หยุดที่ตรงนี้ ข้างหน้าเป็น non-linear แล้ว ฉะนั้นท่านต้องคิดแบบ non-linear ทำมาให้ผม นี่คือซีกของ tax
ซีกของ asset ผมเรียนท่านเลยว่าเมื่อวานผมเจอผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ผมบอกว่าที่ฝรั่งมันยอมเราหรือ IMF ยอมเราเพราะตัวนี้ เราต้องเปิดกรุให้เขาดู เราไม่ได้ต้องการขาย
กรมแรกที่ผมไปคือกรมธนารักษ์ ผมดีใจมากที่เขาส่งแผนมาให้ผม แผน 5 ปีของกรมธนารักษ์ เปลี่ยนจากการผลิตเหรียญอย่างเดียวเป็นการพัฒนาที่ราชพัสดุ เป็น asset based management จริงๆ ท่านทำตัวเลขมา 5 ปี ท่านบอกว่าสามารถพัฒนาได้ 65,000 ล้านบาท ถ้าผมจำไม่ผิด ทั้ง income ที่เป็นประจำ และที่พัฒนา ตัวนี้คือตัว projection ของ asset base ที่มาจากกรม ธนารักษ์ ไม่ใช่ซีกของ tax ซีกของ privatization ผมให้ท่านรองสมหมายฯ ดูแล privatization project ควบคู่กับการบริหารหนี้ ท่านจะต้องดูให้ผม ทำมาให้ผม วันนี้ holding ผ่าน ครม.ไปแล้ว อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะตีกลับมาจากกฤษฎีกา จะเข้าสภา แต่แผนการที่ชัดเจนต้องมีว่า ท่านจะเข้าไปแต่ละรัฐวิสาหกิจอย่างไร เดินแบบมี strategy หมายความว่าปีหน้ากี่ตัว
การที่จะเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ใช่เดินเข้าไปบอกว่า "มาเข้าในตลาดหลักทรัพย์" ท่านจะต้องมี trip มีการเดินไปหาเขาให้เขารู้ว่า privatization แท้จริงแล้วคืออะไร ทุกคนได้ประโยชน์ แล้วมันเกิดประโยชน์อะไรจาก privatization project เสร็จแล้วไม่เพียงแค่นั้น ตัวที่เราตั้งเป้าว่ากี่ตัวๆ นั้นไม่สำคัญ ท่านดูความเหมาะสม จะเพิ่มเข้าจะตัดทอนอยู่ที่ท่าน แต่ดูความเป็นไปได้ การทำ privatization ต้องให้ประชาชนเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ การทำ campaign อย่างมีทักษะ อย่างมียุทธศาสตร์ ให้คนเข้าใจว่าการแปรรูปนั้นช่วยกู้ชาติได้อย่างไร
หลายๆ ประเทศ เมื่อมี concept privatization เนื่องจากความไม่เข้าใจ ก็มี resist การ resist การไม่เข้าใจ การไม่อยากเปลี่ยนแปลงนี่เป็นธรรมชาติของคน เราอย่าโทษเขา ไม่มีคนไหนสักคนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงถ้าไม่จำเป็น ยิ่งอายุมากยิ่งไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง สมัยผมอายุ 30 ช่วงนั้นยังไม่แต่งงาน ไม่มีลูก ให้ลุยไปข้างหน้าอย่างไรก็กล้าลุย พอแต่งงานมีลูก 2 คน จะลุยไปข้างหน้ามันต้องดูหลัง ทุกคนเหมือนกันหมด อย่าไปมองว่าเขาเห็นแก่ตัว ต้องมองว่าทุกคนไม่อยากมีการเปลี่ยนแปลงถ้าไม่จำเป็น ฉะนั้นต้องชี้ประโยชน์ให้เขาดูว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไร ให้เขามีส่วนร่วม ท่านต้องมีตรงนี้ มีแผน PR ออกมา กระทรวงการคลัง เป็นกระทรวงที่ครอบคลุมทุก activity ในประเทศ แต่แผนการ PR แทบจะไม่มี ขาด strategy โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นเรามาเริ่มต้นกันใหม่ ท่านสมหมายท่านต้องทำตรงนี้ให้ผมสิ่งที่ผม assign ไปคืออะไร ซีกของภาษี 5 ปี ทั้ง 3 กรม สอดคล้องกับตัวเลขนั้นๆ เลยจากนี้ไม่เป็นไร แต่อย่าขาด เพราะประเทศอยู่ในกำมือท่าน privatization ทำแผนออกมาโดยละเอียด ธนารักษ์ช่วยดูความเป็นไปได้ต่อไป
กรมบัญชีกลางนี่สำคัญที่สุด เป็นกรมที่ 2 ที่ผมเลือกไป mission ที่มอบหมาย ไม่ใช่เพียงแต่ว่าออกใบฎีกา จ่ายเงินเดือน แต่ท่านคือ MIS ของกระทรวง ฐานะการคลังทั่วประเทศท่านต้องรู้ก่อนคนอื่น สมมติว่าผมเข้ามาเป็น center of information เป็น balance sheet ใหญ่ของประเทศไทย ท่าน design ตรงนี้ออกมาให้ได้นั่นคือ กรมบัญชีกลาง ท่านเป็น CFO ของกระทรวงการคลัง ฉะนั้นท่านต้องมีตรงนี้เป็น vision ของท่าน พอท่านเป็นกรมขึ้นมาการสร้างงบประมาณปีต่อไป ก็ set จากสิ่งเหล่านี้เอง ว่าถ้า mission อย่าง นี้ 5 ปี ท่านต้องมี activity อะไรบ้างในอีก 5 ปีข้างหน้า งบประมาณว่า 5 ปีข้างหน้าเท่าไร และปีหน้าเท่าไรในส่วนของอีก 5 ปี ไม่ใช่ปีต่อปีต่อยอด ถ้าท่านสามารถทำ 5 ปี แล้วปีต่อไปเท่าไร อีกหน่อยไม่ว่าพรรคไหนเข้ามา รัฐมนตรีท่านไหนเข้ามา อย่างน้อยเขามี guideline เขาอาจจะเบี่ยงเบนไปบ้าง แต่ว่ากระดูกสันหลังยังอยู่ เห็นไหมครับ แล้วจะเห็นชัด พวกนี้ต้องดูว่าประเด็นเหล่านี้ต้องให้มันเกิดให้ได้
ภาพนี้ที่เห็นมาจากหนังสือเล่มหนึ่งเขียนโดย Lester Thurow เป็น Professor ที่ MIT เขาเอาปีรามิด นี้มาอยู่หลังแบงก์ดอลลาร์ มันสอดคล้องโดยไม่ต้องเตี๊ยมกัน เขาบอกว่าการสร้างประเทศต้องสร้างด้วย wealth คือความมั่งคั่งอย่างมีคุณภาพ แต่ wealth นั้นมันก็มาจากปีรามิด แล้วปีรามิดอันนี้เขาใส่ไว้หลังแบงก์ US dollar ข้างบนสูงสุด คือ wealth of nation ส่วน social organization ข้างล่างคือ สถาบันของสังคมต้องเข้มแข็ง ฐานรากต้องเข้มแข็ง entrepreneur ก็ต้องมี knowledge ต้องมี skill ต้องมี tool ต้องมี resource ต้องมี ทั้งหมดจึงมาสู่การ create wealth of the nation ไม่ใช่ GDP ตรงนี้ผมพยายามที่จะ communicate ให้ทุกคนที่ผมรู้จัก ผมไม่มีแรงพอที่จะพูดกับทุกคน เป้าหมายสูงสุดของการบริหารคือ wealth of the nation GDP คือผลที่จะตามมา ผมไม่เข้าใจเหมือนกัน พูดกันว่า GDP ตก GDP ไม่ดี GDP คืออะไร เราต้องรู้ว่าจากตรงนี้แล้วมันเป็นอะไร มันเชื่อมต่อกับ micro economic อย่างไร เชื่อมต่อกับ private sector อย่างไร
เรามาพร้อมกันในวันนี้ ผมสื่อให้ทุกท่านฟังพร้อมกันตรงนี้ เราเข้าใจตรงกันแล้ว แล้วเราจะรวมพลังทำงานอันนี้ขึ้นมา ผมให้ทุกคนเอางานเป็นที่ตั้งอย่าสนใจข่าวโคมลอย โยกย้ายตรงโน้นโยกย้ายตรงนี้ โยกย้ายต้องมีแน่นอน มันเป็นกระบวนการของกระทรวง ทบวง กรม อยู่แล้ว แต่หากจะมีมันก็จะเป็นไปตามครรลองของความถูกต้องและชอบธรรม ตรงไหนเหมาะสม ตรงไหนไม่เหมาะสม เพื่อให้งานกระทรวงนั้นมีพลังที่จะเดินไปข้างหน้า แต่ไม่ใช่เพราะอคติ เลิกคิดได้เลย ถ้าผมอยู่ที่นี่จะไม่มีคำนั้นออกมา ไม่ต้องห่วง ผมเป็นคนที่เป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา เอางานเป็นที่ตั้ง 5 เดือนที่ผ่านมา 2 เดือนแรกผมโดนหนักมาก เพราะการที่เป็นคนแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยคุยโตโอ้อวดว่ามาจากไหน มาถึงปั๊บ เก้าอี้ตัวนี้มันใหญ่ พอมานั่งเจอ comment ตลอดเวลา ที่บ้านนี่หนักมากรับกันแทบไม่ไหว
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นพลังก็คือว่า ที่หลังโต๊ะทำงานผมมีพระอยู่รูปหนึ่ง หันไปปั๊บผมบอกว่าผมขอใช้นาทีนี้ที่มีอยู่ทำในสิ่งที่คนที่ไม่อยู่ตำแหน่งรัฐมนตรีทำไม่ได้ ผมหมายความว่าทำให้ประเทศได้ทำ แต่ทำในสิ่งที่เหมาะสม ไม่ใช่ทำในสิ่งที่ตามกระแส แล้วสิ่งที่นายห้างเทียมฯ สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่สอนผมตลอดมาก็คือว่า เร็ว ช้า หนัก เบา คือ strategy ที่แท้จริง บางอย่างดีมากแต่ยังทำขณะนี้ไม่ได้ ต้องดูจังหวะจะโคน output ถึงจะออกมาได้ ฉะนั้น management skills สำคัญมาก แต่จะทำไม่ได้เลยถ้าพวกท่านไม่ร่วมมือ ท่านมีแต่ข่าวคนโน้นมาคนนี้ไป ท่านวางใจได้ ทุกอย่างงานเป็นที่ตั้ง และผมอยากให้กระทรวงการคลังมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และก็รวมพลังกันทำงาน กรอบนี่ชัดเจน
สักครู่ท่านปลัดกระทรวงการคลังจะมา assign อีกรอบหนึ่ง ว่ามีอะไรที่กระทรวงไหน กรมไหน ต้องทำ ผมต้องขอบคุณอีกครั้งหนึ่งที่ผ่านมา 5 เดือนท่านช่วยผมตลอดเวลา และอยากให้เข้าใจผมด้วยว่าเราทำงานในวันนี้ ทำงานเพื่องานจริงๆ ประเทศมันบอบช้ำมานานแล้ว แล้วเรามาในวันนี้ไม่ได้มาเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ออกเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ ผมมาแล้วก็ไป แต่พวกเรายังคงอยู่ รัฐมนตรีคนใดมาก็แล้วแต่ ถ้าท่านมีแผนแม่บทออกมารับรองว่าดิ้นไม่ออก แผนถูกวางออกมาแล้ว แล้วท่านจะมีทิศทางที่ชัดเจน
_________________________
* รมว. คลังประชุมชี้แจงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อข้าราชการ
ระดับ 9-11 ของกระทรวงการคลัง ที่ห้องประชุมกรมบัญชีกลาง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ดนัย, ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-