ข่าวในประเทศ
1. ธปท.รายงานผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้เดือน ก.พ.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้ประจำเดือน ก.พ.44 ว่า มีการเปิดประมูล พธบ.รัฐบาลจำนวน 4 ครั้ง วงเงินรวม 14,000 ล.บาท ตั๋วเงินคลังจำนวน 8 ครั้ง วงเงินรวม 21,000 ล.บาท พธบ.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ก.คลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย) จำนวน 6 ครั้ง วงเงินรวม 24,000 ล.บาท นอกจากนี้ ยังรับเป็นนายทะเบียน พธบ.รัฐวิสาหกิจให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำนวน 1 รุ่น การประปาส่วนภูมิภาค 1 รุ่น และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 4 รุ่น วงเงินรวม 6,050 ล.บาท(กรุงเทพธุรกิจ 9)
2. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจภาคใต้เดือน ม.ค.44 ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคใต้ประจำเดือน ม.ค.44 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยอยู่ที่ร้อยละ 46.2 สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นในเดือน ก.พ.-พ.ค.44 นักธุรกิจส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนและการจ้างงานที่มีระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นคือผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบและค่าเงินบาท(กรุงเทพธุรกิจ 9)
3. การประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการคลังฯ นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินวุฒิสภา เปิดเผยการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยว่า ยังน่าเป็นห่วงเนื่องจากการบริโภคได้ชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน มีปัญหาสำคัญคือ การขาดดุลการค้าในเดือน ม.ค.44 จำนวน 400 ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อพิจารณากับดุล งปม.ที่ขาดดุลอยู่ร้อยละ 5.5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) และการขาดดุลการชำระเงินจากการที่มีหนี้ระยะสั้นสูงถึง 17,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทำให้เดือน ม.ค.44 เป็นเดือนที่มีการขาดดุลทั้ง 3 บัญชี นอกจากนี้ ในภาคการเงิน การปรับโครงสร้างหนี้จะต้องมีประสิทธิภาพไม่เช่นนั้นจะทำให้หนี้ที่มีการปรับโครงสร้างแล้วกลับไปเป็นหนี้เสียอีกครั้ง(เดลินิวส์ 9)
4. ฝ่ายวิจัย ธ.ซิตี้แบงก์ ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 44 ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ธ.ซิตี้แบงก์ เปิดเผยว่า ธนาคารฯ ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 44 จากร้อยละ 4.7 เหลือร้อยละ 4.3 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจ สรอ.และญี่ปุ่น ทั้งนี้ แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอลง แต่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่านี้ โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีแรกอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3 และในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 2.7 เหลือร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ คาดว่าการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.2 จากระดับร้อยละ 6.4 การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.3 เหลือร้อยละ 4.2 สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.5 ขณะที่การนำข้าจะขยายตัวร้อยละ 10.8 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 8.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ(ผู้จัดการรายวัน 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายงานจากโรมเมื่อ 8 มี.ค.44 นสพ.อิตาเลียน เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. ในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 1.7 ต่อปี ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือน ต.ค. 43 ที่อัตราร้อยละ 3.2 ต่อปี การปรับลดครั้งนี้เกิดขึ้นเพียง 1 วันหลังจากที่ ธ. กลาง สรอ. แถลงว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ในช่วงต้นปี 44 อยู่ในช่วงซบเซาถึงเติบโตเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้น ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยูโรในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 2.8 จากร้อยละ 3.4 ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟประเมินว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่มจี 7 รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะซบเซา จึงปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลงเหลือร้อยละ 1 จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.8(รอยเตอร์8)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค.44 รายงานวอชิงตันเมื่อ 8 มี.ค.44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค.44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.97 จากร้อยละ 7.03 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ7 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ และต่ำที่สุดนับแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค. 44 ที่มีอัตราร้อยละ 6.89 ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.52 จากร้อยละ 6.58 ในสัปดาห์ก่อน และต่ำที่สุดนับแต่ที่มีอัตราร้อยละ 6.49 ในสัปดาห์ที่ 12 ม.ค. 44 นอกจากนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะ 1 ปี (ARM) ก็ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.29 จากร้อยละ 6.39 ในสัปดาห์ก่อน Robert Van Order หัวหน้าเศรษฐกรของ Freddie Mac กล่าวว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ได้ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่2 ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และคาดว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่ ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 20 มี.ค. นี้(รอยเตอร์8)
3. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ.ลดลง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 8 มี.ค.44 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มี.ค.44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. มีจำนวน 370,000 คน (ยังไม่ปรับตัวเลข) ลดลงจากจำนวน 374,000 คน (ปรับตัวเลขแล้ว) ในสัปดาห์ก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการฯเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนถึงตลาดแรงงานในระยะยาว มีจำนวนทั้งสิ้น 355,250 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 353,000 คนในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์8)
4. คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 มี.ค.44 Economic and Social Research Institute รายงานว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของบริษัทเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อฯ ของบริษัทต่อเรือและผลิตไฟฟ้า ในเดือน ม.ค.44 ลดลงร้อยละ 11.8 เทียบเดือนต่อเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือน ธ.ค.43 (หลังปรับตัวเลข) และเมื่อเทียบปีต่อปี คำสั่งซื้อฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในเดือน ธ.ค. (ยังไม่ปรับตัวเลข) ซึ่งคำสั่งซื้อฯ ในเดือน ม.ค.นั้น ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดไว้ว่า จะลดลงเพียงร้อยละ 6.1 ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นตัวเลขชี้นำที่สำคัญที่แสดงถึงรายจ่ายลงทุนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นในระยะประมาณ 6-9 เดือนหน้า(รอยเตอร์ 8)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 8 มี.ค. 44 43.610 (43.517)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 8 มี.ค. 44ซื้อ 43.4342 (43.2400) ขาย 43.7487 (43.5434)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,400) ขาย 5,550 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.81 (24.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-
1. ธปท.รายงานผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้เดือน ก.พ.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการดำเนินงานด้านตราสารหนี้ประจำเดือน ก.พ.44 ว่า มีการเปิดประมูล พธบ.รัฐบาลจำนวน 4 ครั้ง วงเงินรวม 14,000 ล.บาท ตั๋วเงินคลังจำนวน 8 ครั้ง วงเงินรวม 21,000 ล.บาท พธบ.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ก.คลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย) จำนวน 6 ครั้ง วงเงินรวม 24,000 ล.บาท นอกจากนี้ ยังรับเป็นนายทะเบียน พธบ.รัฐวิสาหกิจให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำนวน 1 รุ่น การประปาส่วนภูมิภาค 1 รุ่น และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 4 รุ่น วงเงินรวม 6,050 ล.บาท(กรุงเทพธุรกิจ 9)
2. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจภาคใต้เดือน ม.ค.44 ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคใต้ประจำเดือน ม.ค.44 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยอยู่ที่ร้อยละ 46.2 สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นในเดือน ก.พ.-พ.ค.44 นักธุรกิจส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนและการจ้างงานที่มีระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นคือผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบและค่าเงินบาท(กรุงเทพธุรกิจ 9)
3. การประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยจากการประชุมคณะกรรมาธิการการคลังฯ นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินวุฒิสภา เปิดเผยการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยว่า ยังน่าเป็นห่วงเนื่องจากการบริโภคได้ชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน มีปัญหาสำคัญคือ การขาดดุลการค้าในเดือน ม.ค.44 จำนวน 400 ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อพิจารณากับดุล งปม.ที่ขาดดุลอยู่ร้อยละ 5.5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) และการขาดดุลการชำระเงินจากการที่มีหนี้ระยะสั้นสูงถึง 17,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทำให้เดือน ม.ค.44 เป็นเดือนที่มีการขาดดุลทั้ง 3 บัญชี นอกจากนี้ ในภาคการเงิน การปรับโครงสร้างหนี้จะต้องมีประสิทธิภาพไม่เช่นนั้นจะทำให้หนี้ที่มีการปรับโครงสร้างแล้วกลับไปเป็นหนี้เสียอีกครั้ง(เดลินิวส์ 9)
4. ฝ่ายวิจัย ธ.ซิตี้แบงก์ ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 44 ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ธ.ซิตี้แบงก์ เปิดเผยว่า ธนาคารฯ ปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 44 จากร้อยละ 4.7 เหลือร้อยละ 4.3 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจ สรอ.และญี่ปุ่น ทั้งนี้ แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอลง แต่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่านี้ โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีแรกอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3 และในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 2.7 เหลือร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ คาดว่าการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.2 จากระดับร้อยละ 6.4 การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.3 เหลือร้อยละ 4.2 สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.5 ขณะที่การนำข้าจะขยายตัวร้อยละ 10.8 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 8.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ(ผู้จัดการรายวัน 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายงานจากโรมเมื่อ 8 มี.ค.44 นสพ.อิตาเลียน เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. ในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 1.7 ต่อปี ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือน ต.ค. 43 ที่อัตราร้อยละ 3.2 ต่อปี การปรับลดครั้งนี้เกิดขึ้นเพียง 1 วันหลังจากที่ ธ. กลาง สรอ. แถลงว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ในช่วงต้นปี 44 อยู่ในช่วงซบเซาถึงเติบโตเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้น ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยูโรในปี 44 ลงเหลือร้อยละ 2.8 จากร้อยละ 3.4 ขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟประเมินว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่มจี 7 รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะซบเซา จึงปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลงเหลือร้อยละ 1 จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.8(รอยเตอร์8)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค.44 รายงานวอชิงตันเมื่อ 8 มี.ค.44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค.44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.97 จากร้อยละ 7.03 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ7 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์ และต่ำที่สุดนับแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค. 44 ที่มีอัตราร้อยละ 6.89 ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.52 จากร้อยละ 6.58 ในสัปดาห์ก่อน และต่ำที่สุดนับแต่ที่มีอัตราร้อยละ 6.49 ในสัปดาห์ที่ 12 ม.ค. 44 นอกจากนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะ 1 ปี (ARM) ก็ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.29 จากร้อยละ 6.39 ในสัปดาห์ก่อน Robert Van Order หัวหน้าเศรษฐกรของ Freddie Mac กล่าวว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ได้ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่2 ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และคาดว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่ ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 20 มี.ค. นี้(รอยเตอร์8)
3. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ.ลดลง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 8 มี.ค.44 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มี.ค.44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. มีจำนวน 370,000 คน (ยังไม่ปรับตัวเลข) ลดลงจากจำนวน 374,000 คน (ปรับตัวเลขแล้ว) ในสัปดาห์ก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการฯเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนถึงตลาดแรงงานในระยะยาว มีจำนวนทั้งสิ้น 355,250 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 353,000 คนในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์8)
4. คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 มี.ค.44 Economic and Social Research Institute รายงานว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของบริษัทเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อฯ ของบริษัทต่อเรือและผลิตไฟฟ้า ในเดือน ม.ค.44 ลดลงร้อยละ 11.8 เทียบเดือนต่อเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือน ธ.ค.43 (หลังปรับตัวเลข) และเมื่อเทียบปีต่อปี คำสั่งซื้อฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในเดือน ธ.ค. (ยังไม่ปรับตัวเลข) ซึ่งคำสั่งซื้อฯ ในเดือน ม.ค.นั้น ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดไว้ว่า จะลดลงเพียงร้อยละ 6.1 ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นตัวเลขชี้นำที่สำคัญที่แสดงถึงรายจ่ายลงทุนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นในระยะประมาณ 6-9 เดือนหน้า(รอยเตอร์ 8)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 8 มี.ค. 44 43.610 (43.517)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 8 มี.ค. 44ซื้อ 43.4342 (43.2400) ขาย 43.7487 (43.5434)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,400) ขาย 5,550 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.81 (24.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-