สืบเนื่องจากเมื่อเดือนเมษายน 2544 ญี่ปุ่นได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องในกรณีฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวของความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้องภายใต้ WTO เพื่อชะลอการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีน ที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมากจำนวน 3 รายการ คือ หัวหอม เห็ดอิชิทาเกะ และกกสำหรับทอเสื่อ (Tatami mat) โดยการจำกัดการนำเข้าและขึ้นภาษีนำเข้าในระดับสูง ในระยะเวลา 200 วัน ระหว่างวันที่ 23 เมษายน-8 พฤศจิกายน 2544
นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายน 2544 ญี่ปุ่นได้ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากจีนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกในฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา
การดำเนินการของญี่ปุ่นดังกล่าว ทำให้จีนได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้สองฝ่ายจะมีการเจรจากันหลายรอบ แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ฝ่ายจีนจึงได้ดำเนินการตอบโต้ญี่ปุ่นด้วยการประกาศจะตัดโควตานำเข้ารถยนต์จากญี่ปุ่นในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2544 ลงร้อยละ 40-60 ของจำนวนนำเข้าในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 จีนได้ประกาศใช้อัตราภาษีพิเศษกับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นในหมวดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นทบทวนการใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าเกษตร 3 รายการของจีนดังกล่าว เพราะเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าสินค้าแล้ว สินค้าเกษตรทั้ง 3 รายการของจีนที่ส่งออกไปญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมประมาณ 127.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ สินค้าในหมวดเทคโนโลยี 3 รายการที่จีนจะตอบโต้ญี่ปุ่นนั้น มีมูลค่าการนำเข้ารวมจากญี่ปุ่นสูงถึงประมาณ 927.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นจึงเป็นฝ่ายต้องสูญเสียผลประโยชน์มากกว่าฝ่ายจีน ในขณะที่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าแก่จีนอยู่แล้ว จะยิ่งเสียเปรียบดุลการค้ามากยิ่งขึ้น
การที่ญี่ปุ่นใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตร 3 รายการจากจีนดังกล่าว ฝ่ายจีนเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะไม่มีการตรวจสอบสินค้าที่มีการนำเข้าสูงจากประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ นอกจากจีน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อจีน นอกจากนี้ โดยที่ปัจจุบันสินค้าเกษตรในญี่ปุ่นมีราคาสูงอยู่แล้ว การกีดกันสินค้าเกษตรจากจีน จะยิ่งทำให้สินค้าเกษตรในญี่ปุ่นมีราคาสูงมากขึ้นอีกการดำเนินการของญี่ปุ่นเช่นนี้ จึงไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในระยะยาว และยังจะเกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับญี่ปุ่นด้วย
สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกนั้น เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของจีน โดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ในมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 613 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือในปริมาณเฉลี่ย 340,000 ตัน (สถิตินำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่งรวมไก่สดแช่แข็ง, ไก่แปรรูปและเป็ด) ส่วนตลาด EU นั้น ก่อนหน้านี้ได้เคยห้ามนำเข้าไก่จากจีน (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539) โดยอ้างปัญหาเรื่องคุณภาพต่ำ และไม่ตรงตามสุขลักษณะ ทำให้จีนต้องหันไปพึ่งตลาดญี่ปุ่น แต่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 EU ได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่จากจีน จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับจีน ที่สามารถส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปตลาด EU ทดแทนตลาดญี่ปุ่นที่ห้ามนำเข้าอยู่ ทั้งนี้ การส่งออกไก่สดแช่แข็งของจีนไป EU ก่อนจะถูกห้ามนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 39.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปริมาณเฉลี่ย 16,825 ตัน (สถิติฝ่าย EU )
โอกาสของไทย
การที่ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากจีน จะเป็นโอกาสให้ไทยได้ส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่สดแช่แข็ง เพราะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยเช่นกัน (ไทยครองตลาดญี่ปุ่นอันดับ 2 รองจากจีน) ในมูลค่าเฉลี่ยปีละ ประมาณ 394 ล้านเหรียญสหรัฐ (สถิตินำเข้าของญี่ปุ่น) แต่จากการที่ EU ได้อนุญาตให้นำเข้าไก่จากจีนได้ จะทำให้จีนหันมาเป็นคู่แข่งกับไทยในตลาด EU แม้จะต้องสูญเสียตลาดญี่ปุ่นให้แก่ไทยก็ตาม โดยไทยมีการส่งออกไก่สดแช่แข็งไป EU ในช่วงปี 2536-2539 ในมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 32.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือในปริมาณเฉลี่ย 14,055 ตันและในช่วงปี 2540-2542 ไทยส่งออกมูลค่าเฉลี่ย 55.6 ล้านเหรียญสหรัฐหรือในปริมาณเฉลี่ย 30,054 ตัน (สถิติฝ่าย EU)
ส่วนสินค้ารถยนต์และเครื่องปรับอากาศ จีนมีการนำเข้าจากไทยเช่นกัน แต่ในมูลค่าไม่มากนัก แต่โดยที่สินค้าทั้ง 2 รายการนี้ ไทยมีศักยภาพในการส่งออกในลำดับต้นๆ อยู่แล้ว การตอบโต้ของจีนต่อญี่ปุ่นในสินค้า 2 รายการดังกล่าว ไทยจึงน่าจะมีโอกาสได้ขยายการส่งออกทั้งรถยนต์และเครื่องปรับอากาศไปยังจีนมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายน 2544 ญี่ปุ่นได้ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากจีนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกในฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา
การดำเนินการของญี่ปุ่นดังกล่าว ทำให้จีนได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้สองฝ่ายจะมีการเจรจากันหลายรอบ แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ฝ่ายจีนจึงได้ดำเนินการตอบโต้ญี่ปุ่นด้วยการประกาศจะตัดโควตานำเข้ารถยนต์จากญี่ปุ่นในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2544 ลงร้อยละ 40-60 ของจำนวนนำเข้าในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 จีนได้ประกาศใช้อัตราภาษีพิเศษกับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นในหมวดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นทบทวนการใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าเกษตร 3 รายการของจีนดังกล่าว เพราะเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าสินค้าแล้ว สินค้าเกษตรทั้ง 3 รายการของจีนที่ส่งออกไปญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมประมาณ 127.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ สินค้าในหมวดเทคโนโลยี 3 รายการที่จีนจะตอบโต้ญี่ปุ่นนั้น มีมูลค่าการนำเข้ารวมจากญี่ปุ่นสูงถึงประมาณ 927.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นจึงเป็นฝ่ายต้องสูญเสียผลประโยชน์มากกว่าฝ่ายจีน ในขณะที่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าแก่จีนอยู่แล้ว จะยิ่งเสียเปรียบดุลการค้ามากยิ่งขึ้น
การที่ญี่ปุ่นใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตร 3 รายการจากจีนดังกล่าว ฝ่ายจีนเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะไม่มีการตรวจสอบสินค้าที่มีการนำเข้าสูงจากประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ นอกจากจีน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อจีน นอกจากนี้ โดยที่ปัจจุบันสินค้าเกษตรในญี่ปุ่นมีราคาสูงอยู่แล้ว การกีดกันสินค้าเกษตรจากจีน จะยิ่งทำให้สินค้าเกษตรในญี่ปุ่นมีราคาสูงมากขึ้นอีกการดำเนินการของญี่ปุ่นเช่นนี้ จึงไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในระยะยาว และยังจะเกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับญี่ปุ่นด้วย
สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกนั้น เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของจีน โดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ในมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 613 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือในปริมาณเฉลี่ย 340,000 ตัน (สถิตินำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่งรวมไก่สดแช่แข็ง, ไก่แปรรูปและเป็ด) ส่วนตลาด EU นั้น ก่อนหน้านี้ได้เคยห้ามนำเข้าไก่จากจีน (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539) โดยอ้างปัญหาเรื่องคุณภาพต่ำ และไม่ตรงตามสุขลักษณะ ทำให้จีนต้องหันไปพึ่งตลาดญี่ปุ่น แต่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 EU ได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่จากจีน จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับจีน ที่สามารถส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปตลาด EU ทดแทนตลาดญี่ปุ่นที่ห้ามนำเข้าอยู่ ทั้งนี้ การส่งออกไก่สดแช่แข็งของจีนไป EU ก่อนจะถูกห้ามนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 39.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปริมาณเฉลี่ย 16,825 ตัน (สถิติฝ่าย EU )
โอกาสของไทย
การที่ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากจีน จะเป็นโอกาสให้ไทยได้ส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่สดแช่แข็ง เพราะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยเช่นกัน (ไทยครองตลาดญี่ปุ่นอันดับ 2 รองจากจีน) ในมูลค่าเฉลี่ยปีละ ประมาณ 394 ล้านเหรียญสหรัฐ (สถิตินำเข้าของญี่ปุ่น) แต่จากการที่ EU ได้อนุญาตให้นำเข้าไก่จากจีนได้ จะทำให้จีนหันมาเป็นคู่แข่งกับไทยในตลาด EU แม้จะต้องสูญเสียตลาดญี่ปุ่นให้แก่ไทยก็ตาม โดยไทยมีการส่งออกไก่สดแช่แข็งไป EU ในช่วงปี 2536-2539 ในมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 32.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือในปริมาณเฉลี่ย 14,055 ตันและในช่วงปี 2540-2542 ไทยส่งออกมูลค่าเฉลี่ย 55.6 ล้านเหรียญสหรัฐหรือในปริมาณเฉลี่ย 30,054 ตัน (สถิติฝ่าย EU)
ส่วนสินค้ารถยนต์และเครื่องปรับอากาศ จีนมีการนำเข้าจากไทยเช่นกัน แต่ในมูลค่าไม่มากนัก แต่โดยที่สินค้าทั้ง 2 รายการนี้ ไทยมีศักยภาพในการส่งออกในลำดับต้นๆ อยู่แล้ว การตอบโต้ของจีนต่อญี่ปุ่นในสินค้า 2 รายการดังกล่าว ไทยจึงน่าจะมีโอกาสได้ขยายการส่งออกทั้งรถยนต์และเครื่องปรับอากาศไปยังจีนมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-