การค้าชายแดนเป็นการค้าระดับท้องถิ่นที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดนระหว่างประชาชนหรือผู้ประกอบการที่มีถิ่นที่อยู่คนละประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องมีสัญญาการค้าระหว่างกัน สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เงินสกุลท้องถิ่น การค้ากระทำทั้งการค้าที่ผ่านและไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร เนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้าทำได้ง่ายและยากต่อการควบคุมความสำคัญของการค้าชายแดน
มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างภาคเหนือกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2541 มีมูลค่า 5,053.5 ล้านบาท เมื่อรวมกับมูลค่าการค้านอกระบบซึ่งจากงานศึกษาต่างๆ พบว่ามีมากกว่าการค้าในระบบประมาณ 0.5-3 เท่า ความสำคัญของการค้าชายแดนจะมีเพิ่มขึ้น การส่งเสริมการค้าชายแดนจึงเป็นช่องทางสร้างงานและเป็นการพัฒนาภูมิภาคของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
สภาพการค้า
ภาคเหนือทำการค้าชายแดนกับประเทศพม่า ลาวและจีนตอนใต้ เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกับพม่า และลาวประมาณ 2,103 ก.ม. รวมทั้งสามารถค้ากับจีน (ตอนใต้) (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางแม่น้ำโขง บริเวณอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า ภาคเหนือ-ลาว และภาคเหนือ-จีน (ตอนใต้) กระทำใน 2 รูปแบบคือ การค้าผ่านพิธีการทางศุลกากร (การค้าในระบบ) และการค้าไม่ผ่านพิธีการศุลกากร (การค้านอกระบบ)
1.การค้าผ่านพิธีทางศุลกากร มูลค่าการค้ากับพม่ามีสัดส่วนสูงมากคือร้อยละ 81.1 ของมูลค่าการค้าชายแดนโดยรวมของภาคเหนือ รองลงมาได้แก่ การค้าชายแดนกับลาวและการค้าชายแดนกับจีน (ตอนใต้) ซึ่งมีสัดส่วนลดหลั่นลงมา คือร้อยละ 11.2 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ โดยภาคเหนือได้ดุลการค้ากับพม่าและลาวมาโดยตลอด แต่เสียดุลการค้า กับจีน (ตอนใต้)
การค้าชายแดนของภาคเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2539 2540 2541
ภาคเหนือ-พม่า 3,368.7 6,252.7 4,099.1
ส่งออก 3,083.7 5,962.8 3,480.2
นำเข้า 285.0 289.9 618.9
ดุลการค้า 2,798.6 5,672.9 2,861.4
ภาคเหนือ-ลาว 302.8 369.2 368.3
ส่งออก 197.7 198.3 447.3
นำเข้า 105.1 171.0 121.0
ดุลการค้า 92.6 27.0 326.3
ภาคเหนือ - จีน(ตอนใต้) 215.4 144.9 386.1
ส่งออก 138.1 65.5 96.8
นำเข้า 77.3 79.4 289.4
ดุลการค้า 60.7 -13.9 -192.6
มูลค่าการค้า 3,886.9 6,766.8 5,053.5
ดุลการค้า 2,951.9 5,686.4 2,995.1
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคเหนือ
การค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า กระทำผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือรวม 6 แห่ง ใน 4 จังหวัด คือ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และเชียงราย แต่ที่สำคัญมีเพียง 2 แห่ง คือด่านฯ แม่สาย จังหวัดเชียงราย และด่านฯ แม่สอด จังหวัดตาก ในปี 2541 มูลค่าผ่านด่านฯ ทั้ง 6 แห่ง รวม 4,099.1 ล้านบาท เป็นการส่งออก 3,480.2 ล้านบาท และนำเข้า 618.9 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าอุปโภค บริโภค ยางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง เครื่องยนต์และชิ้นส่วน สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ อัญมณี สินค้าเกษตร และของป่า การค้าชายแดนกับพม่ามิใช่เป็นการค้าขาย แลกเปลี่ยนเพื่อการยังชีพซึ่งกระทำในพื้นที่พรมแดน ติดต่อกันเท่านั้น แต่ยังนำสินค้าสู่เมืองสำคัญของพม่า หรือส่งผ่านต่อประเทศอื่น โดยสินค้าจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถูกส่งสู่เมืองตองจี และเมืองมัณฑะเลย์ รวมทั้งผ่านสู่จีน (ตอนใต้) ขณะที่สินค้าจากแม่สอด จังหวัดตากจะเข้าสู่เมืองย่างกุ้ง และบางส่วนสู่ บังคลาเทศ ส่วนสินค้านำเข้าจากพม่าก็นำมาแปรรูป เพื่อการส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์ไม้และอัญมณี เป็นต้น
การค้าชายแดนภาคเหนือ-ลาว กระทำผ่านด่านศุลกากร 3 แห่ง และจุดผ่อนปรน ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และอุตรดิตถ์ แต่ที่สำคัญคือด่านฯ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าของไทยไปยัง 6 แขวง ในภาคเหนือของลาวโดยเฉพาะแขวงอุดมไชย ส่งออก 447.3 ล้านบาท และนำเข้า 121.0 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง น้ำมัน สินค้า อุปโภคบริโภค ยานพาหนะและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ถ่านหิน ลิกไนต์ สินค้าเกษตรและของป่า
การค้าชายแดนภาคเหนือ-จีน (ตอนใต้) เป็นการค้ากับมณฑลยูนนาน เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2537 โดยใช้ เส้นทางเรือในแม่น้ำโขงผ่านด่านฯ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย สู่เมืองเชียงรุ่งหรือเมืองซือเหมา เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มูลค่าการค้าในปี 2541 มีเพียง 386.1 ล้านบาท เนื่องจากยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และการขนส่งสินค้าในแม่น้ำโขงไม่สามารถทำได้ทุกฤดูกาลเป็นการส่งออก 96.8 ล้านบาท และนำเข้า 289.4 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยางพารา สินค้าอุปโภคบริโภค และน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผลไม้และเฟอร์นิเจอร์ไม้
2. การค้าที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2537 พบว่าการค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า และภาคเหนือ-ลาว มีลักษณะเป็นการค้านอกระบบที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ประมาณว่าการค้านอกระบบกับพม่าและลาวมีสัดส่วนคิดเป็น ร้อยละ 76 และ 50 ของการค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า และภาคเหนือ-ลาว สำหรับการค้าภาคเหนือ-จีน (ตอนใต้) ยังไม่พบรายงานการศึกษา
วิธีการชำระเงินค่าสินค้าชายแดน
การชำระเงินค่าสินค้าชายแดนสามารถ จำแนก เป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ การชำระเงินผ่านระบบธนาคาร พาณิชย์ ประกอบด้วยการชำระเงินด้วยเช็คหรือดราฟต์ของ ธนาคาร การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร และการชำระค่าสินค้า ตาม L/C ที่เปิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. และการชำระเงิน ที่ไม่ผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยการชำระ ค่าสินค้าโดยผ่านตัวแทนคู่ค้าระหว่างประเทศในตลาดมืด การชำระเป็นเงินสดด้วยเงินสกุลท้องถิ่น เช่น บาท จัต
จากข้อมูลการสำรวจดังกล่าวสรุปได้ว่ากว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้ายังคงนิยมชำระค่าสินค้าโดยไม่ผ่าน ระบบธนาคาร ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิถี การค้าแบบดั้งเดิมคือความเชื่อใจกันเป็นสำคัญ โดยที่ การค้าชายแดนภาคเหนือ-ลาว ประมาณการว่ามีการชำระ ค่าสินค้าผ่านระบบธนาคารเพียงประมาณร้อยละ 20 ส่วนใหญ่นิยมชำระค่าสินค้าโดยใช้เงินสด สกุลบาทและดอลลาร์ สรอ. สำหรับการค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า พบว่ามีการชำระเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์น้อยกว่าร้อยละ 10 และที่เหลือกว่าร้อยละ 90 เป็นการชำระเงิน ไม่ผ่านสถาบันการเงิน
ปัญหาการค้าชายแดน
การประกอบการค้าชายแดนระหว่างภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้านยังมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ ปัญหาการสูญเสียตลาดสินค้าสำคัญบางประเภทให้ประเทศอื่น เช่น จีน สิงคโปร์ ปัญหากฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า การชำระเงินค่าสินค้าผ่านระบบธนาคารยังไม่เป็นที่นิยม ปัญหาระเบียบพิธี ปฏิบัติเกี่ยวกับการเดินทางเข้า-ออกประเทศ ปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำ และปัญหาความไม่เพียงพอของปัจจัยพื้นฐานที่จะรองรับต่อธุรกรรมการค้าชายแดนส่วนแนวทางการพัฒนาการค้า ชายแดนควรใช้โอกาสจากกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (The greater Mekong subregional economic cooperation : GMS) และโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka -Thai economic cooperation : BIMST- EC) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกันรวมทั้งบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศในการขนส่งสินค้าผ่านแดนซึ่งจะช่วยขยายตลาดสินค้าไทยให้กว้างขวางขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างภาคเหนือกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2541 มีมูลค่า 5,053.5 ล้านบาท เมื่อรวมกับมูลค่าการค้านอกระบบซึ่งจากงานศึกษาต่างๆ พบว่ามีมากกว่าการค้าในระบบประมาณ 0.5-3 เท่า ความสำคัญของการค้าชายแดนจะมีเพิ่มขึ้น การส่งเสริมการค้าชายแดนจึงเป็นช่องทางสร้างงานและเป็นการพัฒนาภูมิภาคของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
สภาพการค้า
ภาคเหนือทำการค้าชายแดนกับประเทศพม่า ลาวและจีนตอนใต้ เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกับพม่า และลาวประมาณ 2,103 ก.ม. รวมทั้งสามารถค้ากับจีน (ตอนใต้) (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางแม่น้ำโขง บริเวณอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า ภาคเหนือ-ลาว และภาคเหนือ-จีน (ตอนใต้) กระทำใน 2 รูปแบบคือ การค้าผ่านพิธีการทางศุลกากร (การค้าในระบบ) และการค้าไม่ผ่านพิธีการศุลกากร (การค้านอกระบบ)
1.การค้าผ่านพิธีทางศุลกากร มูลค่าการค้ากับพม่ามีสัดส่วนสูงมากคือร้อยละ 81.1 ของมูลค่าการค้าชายแดนโดยรวมของภาคเหนือ รองลงมาได้แก่ การค้าชายแดนกับลาวและการค้าชายแดนกับจีน (ตอนใต้) ซึ่งมีสัดส่วนลดหลั่นลงมา คือร้อยละ 11.2 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ โดยภาคเหนือได้ดุลการค้ากับพม่าและลาวมาโดยตลอด แต่เสียดุลการค้า กับจีน (ตอนใต้)
การค้าชายแดนของภาคเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2539 2540 2541
ภาคเหนือ-พม่า 3,368.7 6,252.7 4,099.1
ส่งออก 3,083.7 5,962.8 3,480.2
นำเข้า 285.0 289.9 618.9
ดุลการค้า 2,798.6 5,672.9 2,861.4
ภาคเหนือ-ลาว 302.8 369.2 368.3
ส่งออก 197.7 198.3 447.3
นำเข้า 105.1 171.0 121.0
ดุลการค้า 92.6 27.0 326.3
ภาคเหนือ - จีน(ตอนใต้) 215.4 144.9 386.1
ส่งออก 138.1 65.5 96.8
นำเข้า 77.3 79.4 289.4
ดุลการค้า 60.7 -13.9 -192.6
มูลค่าการค้า 3,886.9 6,766.8 5,053.5
ดุลการค้า 2,951.9 5,686.4 2,995.1
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคเหนือ
การค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า กระทำผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือรวม 6 แห่ง ใน 4 จังหวัด คือ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และเชียงราย แต่ที่สำคัญมีเพียง 2 แห่ง คือด่านฯ แม่สาย จังหวัดเชียงราย และด่านฯ แม่สอด จังหวัดตาก ในปี 2541 มูลค่าผ่านด่านฯ ทั้ง 6 แห่ง รวม 4,099.1 ล้านบาท เป็นการส่งออก 3,480.2 ล้านบาท และนำเข้า 618.9 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าอุปโภค บริโภค ยางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง เครื่องยนต์และชิ้นส่วน สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ อัญมณี สินค้าเกษตร และของป่า การค้าชายแดนกับพม่ามิใช่เป็นการค้าขาย แลกเปลี่ยนเพื่อการยังชีพซึ่งกระทำในพื้นที่พรมแดน ติดต่อกันเท่านั้น แต่ยังนำสินค้าสู่เมืองสำคัญของพม่า หรือส่งผ่านต่อประเทศอื่น โดยสินค้าจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถูกส่งสู่เมืองตองจี และเมืองมัณฑะเลย์ รวมทั้งผ่านสู่จีน (ตอนใต้) ขณะที่สินค้าจากแม่สอด จังหวัดตากจะเข้าสู่เมืองย่างกุ้ง และบางส่วนสู่ บังคลาเทศ ส่วนสินค้านำเข้าจากพม่าก็นำมาแปรรูป เพื่อการส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์ไม้และอัญมณี เป็นต้น
การค้าชายแดนภาคเหนือ-ลาว กระทำผ่านด่านศุลกากร 3 แห่ง และจุดผ่อนปรน ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และอุตรดิตถ์ แต่ที่สำคัญคือด่านฯ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าของไทยไปยัง 6 แขวง ในภาคเหนือของลาวโดยเฉพาะแขวงอุดมไชย ส่งออก 447.3 ล้านบาท และนำเข้า 121.0 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง น้ำมัน สินค้า อุปโภคบริโภค ยานพาหนะและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ถ่านหิน ลิกไนต์ สินค้าเกษตรและของป่า
การค้าชายแดนภาคเหนือ-จีน (ตอนใต้) เป็นการค้ากับมณฑลยูนนาน เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2537 โดยใช้ เส้นทางเรือในแม่น้ำโขงผ่านด่านฯ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย สู่เมืองเชียงรุ่งหรือเมืองซือเหมา เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มูลค่าการค้าในปี 2541 มีเพียง 386.1 ล้านบาท เนื่องจากยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และการขนส่งสินค้าในแม่น้ำโขงไม่สามารถทำได้ทุกฤดูกาลเป็นการส่งออก 96.8 ล้านบาท และนำเข้า 289.4 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยางพารา สินค้าอุปโภคบริโภค และน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผลไม้และเฟอร์นิเจอร์ไม้
2. การค้าที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2537 พบว่าการค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า และภาคเหนือ-ลาว มีลักษณะเป็นการค้านอกระบบที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ประมาณว่าการค้านอกระบบกับพม่าและลาวมีสัดส่วนคิดเป็น ร้อยละ 76 และ 50 ของการค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า และภาคเหนือ-ลาว สำหรับการค้าภาคเหนือ-จีน (ตอนใต้) ยังไม่พบรายงานการศึกษา
วิธีการชำระเงินค่าสินค้าชายแดน
การชำระเงินค่าสินค้าชายแดนสามารถ จำแนก เป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ การชำระเงินผ่านระบบธนาคาร พาณิชย์ ประกอบด้วยการชำระเงินด้วยเช็คหรือดราฟต์ของ ธนาคาร การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร และการชำระค่าสินค้า ตาม L/C ที่เปิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. และการชำระเงิน ที่ไม่ผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยการชำระ ค่าสินค้าโดยผ่านตัวแทนคู่ค้าระหว่างประเทศในตลาดมืด การชำระเป็นเงินสดด้วยเงินสกุลท้องถิ่น เช่น บาท จัต
จากข้อมูลการสำรวจดังกล่าวสรุปได้ว่ากว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้ายังคงนิยมชำระค่าสินค้าโดยไม่ผ่าน ระบบธนาคาร ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิถี การค้าแบบดั้งเดิมคือความเชื่อใจกันเป็นสำคัญ โดยที่ การค้าชายแดนภาคเหนือ-ลาว ประมาณการว่ามีการชำระ ค่าสินค้าผ่านระบบธนาคารเพียงประมาณร้อยละ 20 ส่วนใหญ่นิยมชำระค่าสินค้าโดยใช้เงินสด สกุลบาทและดอลลาร์ สรอ. สำหรับการค้าชายแดนภาคเหนือ-พม่า พบว่ามีการชำระเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์น้อยกว่าร้อยละ 10 และที่เหลือกว่าร้อยละ 90 เป็นการชำระเงิน ไม่ผ่านสถาบันการเงิน
ปัญหาการค้าชายแดน
การประกอบการค้าชายแดนระหว่างภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้านยังมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ ปัญหาการสูญเสียตลาดสินค้าสำคัญบางประเภทให้ประเทศอื่น เช่น จีน สิงคโปร์ ปัญหากฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า การชำระเงินค่าสินค้าผ่านระบบธนาคารยังไม่เป็นที่นิยม ปัญหาระเบียบพิธี ปฏิบัติเกี่ยวกับการเดินทางเข้า-ออกประเทศ ปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำ และปัญหาความไม่เพียงพอของปัจจัยพื้นฐานที่จะรองรับต่อธุรกรรมการค้าชายแดนส่วนแนวทางการพัฒนาการค้า ชายแดนควรใช้โอกาสจากกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (The greater Mekong subregional economic cooperation : GMS) และโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka -Thai economic cooperation : BIMST- EC) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกันรวมทั้งบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศในการขนส่งสินค้าผ่านแดนซึ่งจะช่วยขยายตลาดสินค้าไทยให้กว้างขวางขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-