1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ในเดือนมิถุนายน 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 1,589,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤษภาคม 2543 จำนวน 138,913 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 เป็นจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 268,867 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 27,020 รายทั้งนี้ยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินเร่งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระการกันเงินสำรองสำหรับหนี้ NPL ณ สิ้นงวดบัญชีครึ่งปี
สำหรับหนี้ที่ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวน 813,504 ล้านบาท ลดลง 22,879 ล้านบาท จากจำนวน 836,383 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม 2543 หรือลดลงร้อยละ 2.74 แต่จำนวนลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 8,376 ราย เป็นจำนวนรวม 48,571 ราย เนื่องจากสถาบันการเงินเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายกลางและรายย่อยเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
เมื่อรวมหนี้ที่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ กับหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,402,873 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ 317,438 ราย โดยภาคธุรกิจที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ การบริการ การค้าส่งและการค้าปลีก โดยธุรกิจในกรุงเทพมหานครปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในสัดส่วนประมาณร้อยละ 77 ภาคกลางและส่วนภูมิภาคอีกประมาณร้อยละ 23 (ตาราง 1-4)
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ทั้งสิ้น จำนวน 9,582 ราย รวมมูลหนี้ 2,588,673 ล้านบาท เป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ จำนวน 2,741 ราย มูลหนี้ประมาณร้อยละ 89 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ที่เหลือเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยจำนวน 6,841 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้ (ตาราง 5)
2.1 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ กลุ่ม 1 และ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีมูลหนี้รายละ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ได้ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้รวม 467 ราย มูลหนี้ประมาณ 1,015,000 ล้านบาท จากจำนวนทั้งสิ้น 702 ราย มูลหนี้รวม 1,500,242 ล้านบาท ปัจจุบันมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวน 685 ราย หรือร้อยละ 98 คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพียง 17 ราย หรือร้อยละ 2 เท่านั้น โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในสองกลุ่มแรกนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 317 ราย มูลหนี้ 796,759 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของลูกหนี้ที่ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ และเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ หรือที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวม 308 รายมูลหนี้ 519,636 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 34 ของมูลหนี้รวม
สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ที่เพิ่มเติมจากกลุ่ม 1 และ 2 ซึ่งมีขนาดของมูลหนี้ต่อราย ในลูกหนี้กลุ่ม 3 ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป และกลุ่ม4 ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป นั้น ขณะนี้ลูกหนี้กลุ่ม 3 ได้ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ จำนวน 556 ราย มูลหนี้ประมาณ 288,000 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วจำนวน 248 ราย มูลหนี้ 132,656 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 45 ของลูกหนี้ที่ลงนาม สำหรับลูกหนี้ในกลุ่ม 4 ได้ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการและปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ประมาณกว่า 3 ใน 4 เป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนาม ทั้งนี้
คงเหลือลูกหนี้ในกลุ่ม 3 และ 4 ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนรวมทั้งสิ้น 387 รายมูลหนี้ 132,787 ล้านบาท ซึ่งลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประมาณไตรมาสแรก ปี 2544
2.2. ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายตามบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้รายกลางรายย่อย ซึ่ง คปน. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการตามบันทึกข้อตกลงฯ เป็นรายเดือน รวมกับที่ลูกหนี้ติดต่อขอเข้ามาเองตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,841 ราย มูลหนี้ 295,130 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 4,069 ราย มูลหนี้ 76,378 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของลูกหนี้จำนวน 5,024 ราย มูลหนี้ 161,502 ล้านบาท ที่ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ และเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ หรือที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 1,679 ราย มูลหนี้ 135,202 ล้านบาท
เมื่อรวมลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ และลูกหนี้เป้าหมายรายกลางรายย่อยดังกล่าว จะมีลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วทั้งสิ้น 4,685 ราย มูลหนี้ 1,010,985 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 75 ของลูกหนี้ที่ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการทั้งสิ้น โดยในเดือนกรกฎาคม 2543 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายน 448 รายมูลหนี้ 46,646 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ที่เจ้าหนี้ดำเนินการทางศาลแล้ว หรือเตรียมดำเนินคดี ในขณะนี้มีจำนวนรวม 3,318 ราย มูลหนี้ประมาณ 1,174,000 ล้านบาท
3. การสนับสนุนการดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีตามกระบวนการของศาล
เนื่องจากขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามกระบวนการของสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ รวมทั้งบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งกำลังใกล้จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2543 นั้น มีความคืบหน้าไปมากโดยลูกหนี้จำนวน 8,063 ราย มูลหนี้รวมทั้งสิ้น2,344,564 ล้านบาทหรือร้อยละ 84 ของลูกหนี้ คปน. ทั้งสิ้น ได้มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และที่รอลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ เพียงร้อยละ 16 หรืออีกประมาณ 1,500 ราย มูลหนี้ 240,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่จะมีความยุ่งยากซับซ้อนในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้น้อยลง ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. มีการร้องขอผู้ไกล่เกลี่ย เพียง 2 ราย เท่านั้น ทำให้เงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการจัดสรรจากธนาคารโลก ในโครงการ Financial Sector Assistance Project (FSIAP) วงเงิน 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้กู้ เพื่อให้ คปน. ใช้ในการว่าจ้างผู้ไกล่เกลี่ย และสนับสนุนการดำเนินการของผู้ไกล่เกลี่ย ตามกระบวนการของ คปน. ไม่มีความจำเป็นเช่นเดียวกับในระยะแรก ๆ และจากข้อเท็จจริงที่ว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะไปดำเนินคดีทางศาลกับลูกหนี้ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นมาก อันจะทำให้ศาลมีภาระงานเพิ่มมากโดยมีบุคลากรเท่าเดิม ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเปลี่ยนแปลงการใช้เงินกู้ FSIAP เพื่อการสนับสนุนกระบวนการไกล่เกลี่ยของกระทรวงยุติธรรมตามที่เห็นสมควรต่อไป เนื่องจากกระบวนการไกล่เกลี่ยของศาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิสนับสนุนการดำเนินงานของผู้พิพากษา จะเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สามารถยุติคดีได้รวดเร็วขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ในเดือนมิถุนายน 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 1,589,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤษภาคม 2543 จำนวน 138,913 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 เป็นจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 268,867 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 27,020 รายทั้งนี้ยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินเร่งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระการกันเงินสำรองสำหรับหนี้ NPL ณ สิ้นงวดบัญชีครึ่งปี
สำหรับหนี้ที่ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวน 813,504 ล้านบาท ลดลง 22,879 ล้านบาท จากจำนวน 836,383 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม 2543 หรือลดลงร้อยละ 2.74 แต่จำนวนลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 8,376 ราย เป็นจำนวนรวม 48,571 ราย เนื่องจากสถาบันการเงินเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายกลางและรายย่อยเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
เมื่อรวมหนี้ที่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ กับหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,402,873 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ 317,438 ราย โดยภาคธุรกิจที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ การบริการ การค้าส่งและการค้าปลีก โดยธุรกิจในกรุงเทพมหานครปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในสัดส่วนประมาณร้อยละ 77 ภาคกลางและส่วนภูมิภาคอีกประมาณร้อยละ 23 (ตาราง 1-4)
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ทั้งสิ้น จำนวน 9,582 ราย รวมมูลหนี้ 2,588,673 ล้านบาท เป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ จำนวน 2,741 ราย มูลหนี้ประมาณร้อยละ 89 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ที่เหลือเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อยจำนวน 6,841 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้ (ตาราง 5)
2.1 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ กลุ่ม 1 และ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีมูลหนี้รายละ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ได้ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้รวม 467 ราย มูลหนี้ประมาณ 1,015,000 ล้านบาท จากจำนวนทั้งสิ้น 702 ราย มูลหนี้รวม 1,500,242 ล้านบาท ปัจจุบันมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวน 685 ราย หรือร้อยละ 98 คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพียง 17 ราย หรือร้อยละ 2 เท่านั้น โดยลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในสองกลุ่มแรกนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 317 ราย มูลหนี้ 796,759 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของลูกหนี้ที่ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ และเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ หรือที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวม 308 รายมูลหนี้ 519,636 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 34 ของมูลหนี้รวม
สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ที่เพิ่มเติมจากกลุ่ม 1 และ 2 ซึ่งมีขนาดของมูลหนี้ต่อราย ในลูกหนี้กลุ่ม 3 ตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป และกลุ่ม4 ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป นั้น ขณะนี้ลูกหนี้กลุ่ม 3 ได้ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ จำนวน 556 ราย มูลหนี้ประมาณ 288,000 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วจำนวน 248 ราย มูลหนี้ 132,656 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 45 ของลูกหนี้ที่ลงนาม สำหรับลูกหนี้ในกลุ่ม 4 ได้ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการและปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ประมาณกว่า 3 ใน 4 เป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนาม ทั้งนี้
คงเหลือลูกหนี้ในกลุ่ม 3 และ 4 ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนรวมทั้งสิ้น 387 รายมูลหนี้ 132,787 ล้านบาท ซึ่งลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประมาณไตรมาสแรก ปี 2544
2.2. ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายตามบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้รายกลางรายย่อย ซึ่ง คปน. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการตามบันทึกข้อตกลงฯ เป็นรายเดือน รวมกับที่ลูกหนี้ติดต่อขอเข้ามาเองตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,841 ราย มูลหนี้ 295,130 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 4,069 ราย มูลหนี้ 76,378 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของลูกหนี้จำนวน 5,024 ราย มูลหนี้ 161,502 ล้านบาท ที่ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ และเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ หรือที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 1,679 ราย มูลหนี้ 135,202 ล้านบาท
เมื่อรวมลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ และลูกหนี้เป้าหมายรายกลางรายย่อยดังกล่าว จะมีลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วทั้งสิ้น 4,685 ราย มูลหนี้ 1,010,985 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 75 ของลูกหนี้ที่ลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการทั้งสิ้น โดยในเดือนกรกฎาคม 2543 ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายน 448 รายมูลหนี้ 46,646 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ที่เจ้าหนี้ดำเนินการทางศาลแล้ว หรือเตรียมดำเนินคดี ในขณะนี้มีจำนวนรวม 3,318 ราย มูลหนี้ประมาณ 1,174,000 ล้านบาท
3. การสนับสนุนการดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีตามกระบวนการของศาล
เนื่องจากขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามกระบวนการของสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ รวมทั้งบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งกำลังใกล้จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2543 นั้น มีความคืบหน้าไปมากโดยลูกหนี้จำนวน 8,063 ราย มูลหนี้รวมทั้งสิ้น2,344,564 ล้านบาทหรือร้อยละ 84 ของลูกหนี้ คปน. ทั้งสิ้น ได้มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และที่รอลงนามผูกพันตนเข้ากระบวนการ เพียงร้อยละ 16 หรืออีกประมาณ 1,500 ราย มูลหนี้ 240,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่จะมีความยุ่งยากซับซ้อนในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้น้อยลง ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. มีการร้องขอผู้ไกล่เกลี่ย เพียง 2 ราย เท่านั้น ทำให้เงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการจัดสรรจากธนาคารโลก ในโครงการ Financial Sector Assistance Project (FSIAP) วงเงิน 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้กู้ เพื่อให้ คปน. ใช้ในการว่าจ้างผู้ไกล่เกลี่ย และสนับสนุนการดำเนินการของผู้ไกล่เกลี่ย ตามกระบวนการของ คปน. ไม่มีความจำเป็นเช่นเดียวกับในระยะแรก ๆ และจากข้อเท็จจริงที่ว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะไปดำเนินคดีทางศาลกับลูกหนี้ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นมาก อันจะทำให้ศาลมีภาระงานเพิ่มมากโดยมีบุคลากรเท่าเดิม ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเปลี่ยนแปลงการใช้เงินกู้ FSIAP เพื่อการสนับสนุนกระบวนการไกล่เกลี่ยของกระทรวงยุติธรรมตามที่เห็นสมควรต่อไป เนื่องจากกระบวนการไกล่เกลี่ยของศาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิสนับสนุนการดำเนินงานของผู้พิพากษา จะเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้สามารถยุติคดีได้รวดเร็วขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-