ข่าวในประเทศ
1. ธปท.จะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีกในปี 44 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษเรื่องนโยบายการเงิน ในงานประชุมคณะกรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยว่า หลังจากที่ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน ร้อยละ 1 แล้ว ต่อไปจนถึงสิ้นปี 44 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยอีกแน่นอน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งไม่มีมาตรการทางการเงินใหม่ออกมาอีก พร้อมทั้งเตือนนักวิเคราะห์ไทยและต่างประเทศว่า อย่าสร้างกระแสการคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยล่วงหน้า โดยขอให้ฟังผู้ว่าการ ธปท.เพียงคนเดียว อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังเป็นห่วงค่าเงินเยนของญี่ปุ่น ที่ประเมินว่าจะอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนของอาร์เจนตินา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินในเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาท โดยขณะนี้ ธปท.ได้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด (เดลินิวส์,กรุงเทพธุรกิจ,โลกวันนี้ 28)
2. ธปท.จะเปิดเผยความเสียหายและภาระของกองทุนฟื้นฟูฯ ต่อสาธารณชนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวนโยบายการเงินที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีกร้อยละ 1 ว่า แม้จะเป็นการสร้างภาระให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาก แต่เมื่อพิจารณาในกรอบใหญ่ของระบบเศรษฐกิจแล้ว ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และจะต้องหามาตรการแก้ปัญหาของกองทุนฟื้นฟูฯ ในแนวทางอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ธปท.จะชี้แจงความเสียหายและภาระของกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งหมดให้สาธารณชนได้รับทราบอีกครั้งในสัปดาห์หน้า สำหรับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ธปท.จะดูแลทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับเกินกว่า 30,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้ 28)
3. บริษัทมอร์แกน แสตนเลย์ วิเคราะห์ผลการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พี บริษัทมอร์แกน แสตนเลย์ เสนอบทวิเคราะห์เรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 14 วันของไทยเป็นร้อยละ 2.5 ว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องรวมทั้งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และไม่เห็นด้วยกับทรรศนะของตลาดการเงินทั่วไป ที่คิดว่าจะส่งผลลบต่อผลผลิต การจ้างงานและราคาสินทรัพย์ทางการเงินในประเทศ โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะช่วยเพิ่มรายได้แก่ผู้ออมเงิน สร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท ลดการไหลออกของเงินทุนและสนับสนุนการค้า นับเป็นการกระตุ้นทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (ไทยรัฐ 28)
4. ก.คลังกำหนดออกพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 20,000 ล.บาท รองปลัด ก.คลังในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาตลาดพันธบัตรเปิดเผยว่า ภายในเดือน ส.ค.44 ก.คลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรประเภทออมทรัพย์วงเงิน 20,000 ล.บาท ขายให้ประชาชนเป็นการทั่วไป หลังจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยในตลาดเริ่มอยู่ในภาวะนิ่ง และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวสูงขึ้น โดยกำหนดขายหน่วยละ 1,000 บาท กำหนดให้ซื้อได้สูงสุดไม่เกินคนละ 2 ล.บาท มีอายุ 3-5 ปี มอบหมายให้ ธ.ออมสินเป็นผู้จัดจำหน่าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามกลไกตลาด (เดลินิวส์,โลกวันนี้ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 มิ.ย. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น (Federal funds rate) ลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 3.75 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 7 ปี และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) ลงในอัตราเดียวกันด้วย จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.25 เนื่องจาก ธ. กลางเห็นว่าความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจยังสูงมากกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่คุกคามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อนึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยฯครั้งนี้ เป็นการลดในอัตราที่น้อยกว่าในแต่ละครั้งที่ได้ลดมาแล้ว 5 ครั้งในปี 44 อย่างไรก็ตาม ธ. กลาง พร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอลงอีก ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน หลังจากที่ ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของ สรอ. ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา เช่น Bank One และ Bank of America Corp. ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 7 เหลือร้อยละ 6.75 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 44 เป็นต้นไป (รอยเตอร์ 27)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. 44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานโตเกียวเมื่อ 28 มิ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน พ.ค. 44 เทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงร้อยละ 2 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 0.4 นักเศรษฐศาสตร์ของ Japan Research Institute (Hisashi Yamada) กล่าวว่า จากรายงานครั้งนี้ นับเป็นตัวเลขผลผลิตฯที่อยู่ในระดับต่ำมาก ชี้ให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบมากกว่าที่คาดหมาย และยิ่งย้ำว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ ซึ่งเป็นสัญญาณความหวังของเศรษฐกิจที่เปราะบางของญี่ปุ่นในปี 43 ได้เริ่มที่จะลดลงในปี 44 เนื่องจากการส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวโดยเฉพาะใน สรอ. ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ของ Mitsubishi Research (Moriko Hama) กล่าวว่า รู้สึกกังวลกับสินค้าคงคลังที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการลดการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลง ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทต่างๆต้องประสบความลำบากยิ่งขึ้นในการขจัดสินค้าที่เหลือในสต็อก เนื่องจากการคาดหวังและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดต่ำลง (รอยเตอร์28)
3. ยอดการค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. 44 ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 27 มิ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (MITI) ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. 44 ยอดการค้าปลีกโดยรวม ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนเดียวกันของปี 43 ขณะเดียวกัน ยอดการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งมีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 3.2 ในเดือน พ.ค. 44 จากเดือนเดียวกันของปี 43 (รอยเตอร์28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 มิ.ย. 44 45.243 (45.148)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0428 (44.9317) ขาย 45.3513 (45.2484)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,850) ขาย 5,850 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.12 (24.03)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.39 (15.39) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.จะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีกในปี 44 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษเรื่องนโยบายการเงิน ในงานประชุมคณะกรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยว่า หลังจากที่ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน ร้อยละ 1 แล้ว ต่อไปจนถึงสิ้นปี 44 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยอีกแน่นอน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งไม่มีมาตรการทางการเงินใหม่ออกมาอีก พร้อมทั้งเตือนนักวิเคราะห์ไทยและต่างประเทศว่า อย่าสร้างกระแสการคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยล่วงหน้า โดยขอให้ฟังผู้ว่าการ ธปท.เพียงคนเดียว อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังเป็นห่วงค่าเงินเยนของญี่ปุ่น ที่ประเมินว่าจะอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนของอาร์เจนตินา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินในเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาท โดยขณะนี้ ธปท.ได้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด (เดลินิวส์,กรุงเทพธุรกิจ,โลกวันนี้ 28)
2. ธปท.จะเปิดเผยความเสียหายและภาระของกองทุนฟื้นฟูฯ ต่อสาธารณชนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวนโยบายการเงินที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีกร้อยละ 1 ว่า แม้จะเป็นการสร้างภาระให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาก แต่เมื่อพิจารณาในกรอบใหญ่ของระบบเศรษฐกิจแล้ว ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และจะต้องหามาตรการแก้ปัญหาของกองทุนฟื้นฟูฯ ในแนวทางอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ธปท.จะชี้แจงความเสียหายและภาระของกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งหมดให้สาธารณชนได้รับทราบอีกครั้งในสัปดาห์หน้า สำหรับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ธปท.จะดูแลทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับเกินกว่า 30,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. (โลกวันนี้ 28)
3. บริษัทมอร์แกน แสตนเลย์ วิเคราะห์ผลการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พี บริษัทมอร์แกน แสตนเลย์ เสนอบทวิเคราะห์เรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 14 วันของไทยเป็นร้อยละ 2.5 ว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องรวมทั้งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และไม่เห็นด้วยกับทรรศนะของตลาดการเงินทั่วไป ที่คิดว่าจะส่งผลลบต่อผลผลิต การจ้างงานและราคาสินทรัพย์ทางการเงินในประเทศ โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะช่วยเพิ่มรายได้แก่ผู้ออมเงิน สร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท ลดการไหลออกของเงินทุนและสนับสนุนการค้า นับเป็นการกระตุ้นทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (ไทยรัฐ 28)
4. ก.คลังกำหนดออกพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 20,000 ล.บาท รองปลัด ก.คลังในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาตลาดพันธบัตรเปิดเผยว่า ภายในเดือน ส.ค.44 ก.คลังจะออกจำหน่ายพันธบัตรประเภทออมทรัพย์วงเงิน 20,000 ล.บาท ขายให้ประชาชนเป็นการทั่วไป หลังจากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยในตลาดเริ่มอยู่ในภาวะนิ่ง และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวสูงขึ้น โดยกำหนดขายหน่วยละ 1,000 บาท กำหนดให้ซื้อได้สูงสุดไม่เกินคนละ 2 ล.บาท มีอายุ 3-5 ปี มอบหมายให้ ธ.ออมสินเป็นผู้จัดจำหน่าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามกลไกตลาด (เดลินิวส์,โลกวันนี้ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 มิ.ย. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น (Federal funds rate) ลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 3.75 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 7 ปี และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) ลงในอัตราเดียวกันด้วย จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.25 เนื่องจาก ธ. กลางเห็นว่าความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจยังสูงมากกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่คุกคามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อนึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยฯครั้งนี้ เป็นการลดในอัตราที่น้อยกว่าในแต่ละครั้งที่ได้ลดมาแล้ว 5 ครั้งในปี 44 อย่างไรก็ตาม ธ. กลาง พร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอลงอีก ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน หลังจากที่ ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของ สรอ. ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา เช่น Bank One และ Bank of America Corp. ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 7 เหลือร้อยละ 6.75 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 44 เป็นต้นไป (รอยเตอร์ 27)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. 44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานโตเกียวเมื่อ 28 มิ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน พ.ค. 44 เทียบกับตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงร้อยละ 2 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 0.4 นักเศรษฐศาสตร์ของ Japan Research Institute (Hisashi Yamada) กล่าวว่า จากรายงานครั้งนี้ นับเป็นตัวเลขผลผลิตฯที่อยู่ในระดับต่ำมาก ชี้ให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบมากกว่าที่คาดหมาย และยิ่งย้ำว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ ซึ่งเป็นสัญญาณความหวังของเศรษฐกิจที่เปราะบางของญี่ปุ่นในปี 43 ได้เริ่มที่จะลดลงในปี 44 เนื่องจากการส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวโดยเฉพาะใน สรอ. ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ของ Mitsubishi Research (Moriko Hama) กล่าวว่า รู้สึกกังวลกับสินค้าคงคลังที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการลดการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลง ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทต่างๆต้องประสบความลำบากยิ่งขึ้นในการขจัดสินค้าที่เหลือในสต็อก เนื่องจากการคาดหวังและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดต่ำลง (รอยเตอร์28)
3. ยอดการค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค. 44 ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 27 มิ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (MITI) ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. 44 ยอดการค้าปลีกโดยรวม ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนเดียวกันของปี 43 ขณะเดียวกัน ยอดการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งมีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 3.2 ในเดือน พ.ค. 44 จากเดือนเดียวกันของปี 43 (รอยเตอร์28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 มิ.ย. 44 45.243 (45.148)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0428 (44.9317) ขาย 45.3513 (45.2484)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,850) ขาย 5,850 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.12 (24.03)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.39 (15.39) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-