แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจโลก
ภาวะเศรษฐกิจในรอบปี 2542 และแนวโน้มปี 2543
ตามที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานผลการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2542 และ 2543
1) เศรษฐกิจโลกในปี 2542 โดยภาพรวมขยายตัวในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2541 กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าเศรษฐกิจโลกตลอดปี 2542 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ค่อนข้างสูง คือร้อยละ 3.7 และอัตราการว่างงานลดต่ำลงมาก โดยที่แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อมีเพียงเล็นก้อย ดังนั้น ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในปี 2542
สหภาพยุโปรยังขยายตัวปานกลางด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปี 2541 เนื่องจากการชะลอตัวในช่วงครึ่งแรก
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ในขณะที่การฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และปัญหาในภาคการเงินได้มีแนวโน้มการขยายตัวบ้างเล็กน้อย สำหรับจีน คาดว่าในปี 2542 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.6 ชะลอตัวลงกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 2541
ราคาสินค้าโดยทั่วไปในตลาดโลกยังคงตกต่ำ ราคาสินค้าขั้นปฐมที่ไม่ใช่น้ำมัน และราคาสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 7.2 และ 1.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งลดลงร้อยละ 32.1 ในปี 2541 ได้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากข้อตกลงจำกัดปริมาณการผลิตของผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันในกลุ่ม OPEC
2) เศรษฐกิจโลกในปี 2543 คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2542 โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียและประเทศญี่ปุ่นซึ่งเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ สำหรับปัจจัยต่างๆ ที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2543 ประกอบด้วย เศรษฐกิจของสหรัฐอเมิรกา ซึ่งคาดว่าในปี 2543 จะมีอัตราขยายตัวร้อยละ 2.6 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2542 เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 เศรษฐกิจยุโรปคาดว่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ในปี 2542 และเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2542 เกือบทุกประเทศ
ภาครวมเศรษฐกิจไทยปี 2542
ในปี 2542 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2542 ทั้งในด้านการขยายตัวและทางด้านเถียรภาพ โดยที่เครื่องชี้วัดสำคัญๆ แสดงถึงเสถียรภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2541 ในขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี จากข้อมูล GDP ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองประกอบเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญๆ ในระยะ 11 เดือนแรกของปี คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 ตลอดทั้งปี ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีฐานะเกินดุลและคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 7.8 และ 9.4 ตามลำดับ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจะอยู่ในระดับประมาณ 32-34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 7-8 เดือน
1) เสถียรภาพเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2542 ตลอดช่วงปี 2542 เครื่องชี้วัดที่สำคัญๆ อาทิอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และดุลบัญชีเดินสะพัดชี้ถึงความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2541 โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องในปี 2542
2) สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีและชัดเจนมากขึ้นในครึ่งปีหลังของปี เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญๆ ทั้งทางด้านการผลิต เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิต จำนวนนักท่องเที่ยวและการผลิตสาขาพืชผล และเครื่องชี้วัดอุปสงค์ เช่น ดัชนีอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวในอัตราน้อยลง นอกจากนี้การส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปีโดยเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และต่อเนื่องมาโดยตลอด ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 และการอ่อนตัวของค่าเงินบาทในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งไตรมาสที่ 3 และ 4
3) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจตลอดปี 2542 ขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3-4 เล็กน้อย จากข้อมูล GDP ไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สายและเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญๆ ในรอบปี 2542 คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และมูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 15.8 ตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของ GDP แม้ว่าตลอดปียังมีการไหลออกสุทธิของเงินทุน แต่ดุลการชำระเงินจะยังเกินดุล ส่วนทางด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างในหลายสาขา โดยที่สาขาการเงินและสาขาก่อสร้างจะยังหดตัวแต่ลดความรุนแรงลง เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 32-34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
4) ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2542
-มูลค่าการส่งออกซึ่งขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจก็ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าตลอดปี 2542 การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าประมาณ 56,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
-การใช้จ่ายภาครัฐทั้งจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
-การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-การท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรกจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
5) ปัจจัยที่ยังคงมีความอ่อนแอ แม้การบริโภคภาคเอกชนได้เริ่มขยายตัวขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และการลงทุนภาคเอกชนลดลงในอัตราที่ชะลอลง แต่อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงาน กำลังการผลิตส่วนเกินภาคอุตสาหกรรมและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542
โดยภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ด้านการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้น เช่นกันโดยได้รับผลจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมาก และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำ
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543
คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน โดยเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.0
1) สถานการณ์เศรษฐกิจ โดยรวมมีเสถียรภาพ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2543 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 โดยที่แรงกดดันเงินเฟ้อทั้งจากทางด้านต้นทุนและทางด้านอุปสงค์จะยังไม่น่าเป็นห่วง และจากแนวโน้มของสภาพคล่องในระบบการเงินและแนวโน้มของความต้องการสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปี 2542 ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลและขนาดของเงินทุนไหลออกสุทธิจะลดลงโดยที่จะมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าเป็นปัจจัยสนับสนุน
2) ด้านการผลิต ในปี 2543 การขยายตัวด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างโดยจะเป็นการขยายตัวทั้งในสาขาการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ในขณะที่สาขาก่อสร้างและสาขาการเงินและหดตัวในอัตราที่ลดลง การเร่งรัดในการปรับโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงในปี 2543
3) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ล่าช้าและชะลอจากปี 2542 มาใช้จ่ายในต้นปี 2543 รวมทั้งผลของการดำเนนโยบายการคลังขาดดุลในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
4) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก กอปรกับแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และเป็นยุทธวิธีที่ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการประมูลสินทรัพย์ของปรส. ที่เสร็จสิ้นไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว มีส่วนช่วยให้โครงการที่ยังค้างอยู่สามารถดำเนินการไปได้ คาดว่าตลอดปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0
5) การค้าระหว่างประเทศ คาดว่า การส่งออกจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2543 โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.5 ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2543 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออก
6) การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
7) การเงิน คาดว่าสภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการสินเชื่อจะขยายตัวตามภาวะการผลิตและการลงทุน โดยคาดว่าสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าในทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดทุนนั้นการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง
ข้อเสนอการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2543
เพื่อให้มีการฟื้นตัวต่อไปอย่างยั่งยืน รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับสภาพเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยต้องส่งเสริมให้การลงทุนฟื้นตัวกลับเป็นแรงสนับสนุนอีกด้านหนึ่งที่จะช่วยการขยายตัวของเศรษฐกิจ แนวนโยบายและการดำเนินมาตรการในแต่ละด้านที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2543 ได้แก่
1) นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน เนื่องจากมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าการแข่งขันในตลาดโลกจะมีความรุนแรงมากขึ้น และประเทศไทยต้องมีความพร้อมที่จะแข่งขันภายใต้กรอบข้อตกลง AFTA ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป และภายใต้กรอบข้อตกลงของ WTO ในอนาคตอันใกล้ แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญมีดังนี้.-
1.1) ภาคเกษตรกรรม
(1) ให้ความสำคัญกับงานวิจัย และพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิ ผลไม้ สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดอันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO และ AFTA เช่น สินค้าปาล์มน้ำมัน นม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
(2) ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
(3) สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ในลักษณะที่ไม่เป็นการให้เปล่าแต่เน้นปัจจัยที่มีคุณภาพและจัดหาให้ทันต่อความต้องการ
(4) ให้ความสำคัญการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาระบบส่งน้ำให้ถึงมือเกษตรกร
(5) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตของสินค้าเกษตรสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
(6) กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีคณะกรรมการดูแลสินค้าบางคณะได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลือง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ดังนั้น ในสินค้าที่ยังไม่ได้จัดเตรียมนโยบายจำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
1.2) ภาคอุตสาหกรรม
(1) สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ
(2) ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ
(3) สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันเฉพาะทางที่จัดตั้งแล้วให้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในเรื่องการทำวิจัยและพัฒนา
(4) เร่งรัดพัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกตรวจสอบให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล ISO ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรฐานสุขอนามัยต่างๆ
1.3) ภาคบริการ
(1) อนุรักษ์ ฟื้นฟูและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในระยะยาว รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนให้ท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(2) ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
(3) สนันสนุนบริการการศึกษานานาชาติ
(4) สนับสนุนบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลสำหรับชาวต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค
1.4) การกระตุ้นการลงทุน
(1) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของภาครัฐ
(2) เร่งรัดการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
(3) กำกับดูแลการดำเนินการภายใต้มาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวการลงทุนภาคเอกชนซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
1.5) การแก้ไขสถานการณ์การว่างงาน โดยต้องเร่งแผนงาน/โครงการที่จะช่วยให้เกิดการจ้างงานเพื่อมิให้ปัญหาการว่างงานก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายหลัง นอกจากนั้น การว่างงานที่ยืดเยื้อจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
2). นโยบายการเงินและการคลัง รัฐควรมีบทบาทกระตุ้นการลงทุน ทั้งในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนของรัฐเพื่อสร้างพื้นฐานของอนาคต แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญมีดังนี้.-
2.1) เร่งรัดการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2543 ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ และเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนที่ต่อเนื่องจากปี 2542 ให้เสร็จสิ้นภายในครึ่งแรกของปี 2543
2.2) เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
2.3) กำกับดูแลให้การปล่อยสินเชื่อในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพ
2.4) ปรับปรุงระบบกำกับ และตรวจสอบสถาบันการเงินให้มีสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและได้มาตรฐานสากล
2.5) จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก (Deposit Insurance Agency) เพื่อประโยชน์ในการดูแลการประกันเงินฝากของสถานบันการเงิน เพื่อให้ระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล/สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/15 มกราคม 2543--
ตามที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานผลการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2542 และ 2543
1) เศรษฐกิจโลกในปี 2542 โดยภาพรวมขยายตัวในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2541 กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าเศรษฐกิจโลกตลอดปี 2542 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ค่อนข้างสูง คือร้อยละ 3.7 และอัตราการว่างงานลดต่ำลงมาก โดยที่แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อมีเพียงเล็นก้อย ดังนั้น ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในปี 2542
สหภาพยุโปรยังขยายตัวปานกลางด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปี 2541 เนื่องจากการชะลอตัวในช่วงครึ่งแรก
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ในขณะที่การฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และปัญหาในภาคการเงินได้มีแนวโน้มการขยายตัวบ้างเล็กน้อย สำหรับจีน คาดว่าในปี 2542 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.6 ชะลอตัวลงกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 2541
ราคาสินค้าโดยทั่วไปในตลาดโลกยังคงตกต่ำ ราคาสินค้าขั้นปฐมที่ไม่ใช่น้ำมัน และราคาสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 7.2 และ 1.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งลดลงร้อยละ 32.1 ในปี 2541 ได้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากข้อตกลงจำกัดปริมาณการผลิตของผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันในกลุ่ม OPEC
2) เศรษฐกิจโลกในปี 2543 คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2542 โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียและประเทศญี่ปุ่นซึ่งเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ สำหรับปัจจัยต่างๆ ที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2543 ประกอบด้วย เศรษฐกิจของสหรัฐอเมิรกา ซึ่งคาดว่าในปี 2543 จะมีอัตราขยายตัวร้อยละ 2.6 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2542 เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 เศรษฐกิจยุโรปคาดว่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ในปี 2542 และเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2542 เกือบทุกประเทศ
ภาครวมเศรษฐกิจไทยปี 2542
ในปี 2542 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2542 ทั้งในด้านการขยายตัวและทางด้านเถียรภาพ โดยที่เครื่องชี้วัดสำคัญๆ แสดงถึงเสถียรภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2541 ในขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี จากข้อมูล GDP ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองประกอบเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญๆ ในระยะ 11 เดือนแรกของปี คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 ตลอดทั้งปี ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีฐานะเกินดุลและคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 7.8 และ 9.4 ตามลำดับ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจะอยู่ในระดับประมาณ 32-34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 7-8 เดือน
1) เสถียรภาพเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2542 ตลอดช่วงปี 2542 เครื่องชี้วัดที่สำคัญๆ อาทิอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และดุลบัญชีเดินสะพัดชี้ถึงความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2541 โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องในปี 2542
2) สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีและชัดเจนมากขึ้นในครึ่งปีหลังของปี เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญๆ ทั้งทางด้านการผลิต เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิต จำนวนนักท่องเที่ยวและการผลิตสาขาพืชผล และเครื่องชี้วัดอุปสงค์ เช่น ดัชนีอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวในอัตราน้อยลง นอกจากนี้การส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปีโดยเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และต่อเนื่องมาโดยตลอด ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 และการอ่อนตัวของค่าเงินบาทในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งไตรมาสที่ 3 และ 4
3) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจตลอดปี 2542 ขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3-4 เล็กน้อย จากข้อมูล GDP ไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สายและเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญๆ ในรอบปี 2542 คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และมูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 15.8 ตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของ GDP แม้ว่าตลอดปียังมีการไหลออกสุทธิของเงินทุน แต่ดุลการชำระเงินจะยังเกินดุล ส่วนทางด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างในหลายสาขา โดยที่สาขาการเงินและสาขาก่อสร้างจะยังหดตัวแต่ลดความรุนแรงลง เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 32-34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
4) ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2542
-มูลค่าการส่งออกซึ่งขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจก็ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าตลอดปี 2542 การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าประมาณ 56,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
-การใช้จ่ายภาครัฐทั้งจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
-การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-การท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรกจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
5) ปัจจัยที่ยังคงมีความอ่อนแอ แม้การบริโภคภาคเอกชนได้เริ่มขยายตัวขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และการลงทุนภาคเอกชนลดลงในอัตราที่ชะลอลง แต่อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงาน กำลังการผลิตส่วนเกินภาคอุตสาหกรรมและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542
โดยภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ด้านการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้น เช่นกันโดยได้รับผลจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมาก และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำ
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543
คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน โดยเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.0
1) สถานการณ์เศรษฐกิจ โดยรวมมีเสถียรภาพ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2543 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 โดยที่แรงกดดันเงินเฟ้อทั้งจากทางด้านต้นทุนและทางด้านอุปสงค์จะยังไม่น่าเป็นห่วง และจากแนวโน้มของสภาพคล่องในระบบการเงินและแนวโน้มของความต้องการสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปี 2542 ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลและขนาดของเงินทุนไหลออกสุทธิจะลดลงโดยที่จะมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าเป็นปัจจัยสนับสนุน
2) ด้านการผลิต ในปี 2543 การขยายตัวด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างโดยจะเป็นการขยายตัวทั้งในสาขาการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ในขณะที่สาขาก่อสร้างและสาขาการเงินและหดตัวในอัตราที่ลดลง การเร่งรัดในการปรับโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงในปี 2543
3) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ล่าช้าและชะลอจากปี 2542 มาใช้จ่ายในต้นปี 2543 รวมทั้งผลของการดำเนนโยบายการคลังขาดดุลในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
4) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก กอปรกับแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และเป็นยุทธวิธีที่ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการประมูลสินทรัพย์ของปรส. ที่เสร็จสิ้นไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว มีส่วนช่วยให้โครงการที่ยังค้างอยู่สามารถดำเนินการไปได้ คาดว่าตลอดปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0
5) การค้าระหว่างประเทศ คาดว่า การส่งออกจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2543 โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.5 ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2543 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออก
6) การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
7) การเงิน คาดว่าสภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการสินเชื่อจะขยายตัวตามภาวะการผลิตและการลงทุน โดยคาดว่าสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าในทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดทุนนั้นการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง
ข้อเสนอการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2543
เพื่อให้มีการฟื้นตัวต่อไปอย่างยั่งยืน รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับสภาพเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยต้องส่งเสริมให้การลงทุนฟื้นตัวกลับเป็นแรงสนับสนุนอีกด้านหนึ่งที่จะช่วยการขยายตัวของเศรษฐกิจ แนวนโยบายและการดำเนินมาตรการในแต่ละด้านที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2543 ได้แก่
1) นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน เนื่องจากมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าการแข่งขันในตลาดโลกจะมีความรุนแรงมากขึ้น และประเทศไทยต้องมีความพร้อมที่จะแข่งขันภายใต้กรอบข้อตกลง AFTA ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป และภายใต้กรอบข้อตกลงของ WTO ในอนาคตอันใกล้ แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญมีดังนี้.-
1.1) ภาคเกษตรกรรม
(1) ให้ความสำคัญกับงานวิจัย และพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิ ผลไม้ สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดอันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO และ AFTA เช่น สินค้าปาล์มน้ำมัน นม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
(2) ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
(3) สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ในลักษณะที่ไม่เป็นการให้เปล่าแต่เน้นปัจจัยที่มีคุณภาพและจัดหาให้ทันต่อความต้องการ
(4) ให้ความสำคัญการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาระบบส่งน้ำให้ถึงมือเกษตรกร
(5) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตของสินค้าเกษตรสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
(6) กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีคณะกรรมการดูแลสินค้าบางคณะได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลือง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ดังนั้น ในสินค้าที่ยังไม่ได้จัดเตรียมนโยบายจำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
1.2) ภาคอุตสาหกรรม
(1) สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ
(2) ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ
(3) สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันเฉพาะทางที่จัดตั้งแล้วให้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในเรื่องการทำวิจัยและพัฒนา
(4) เร่งรัดพัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกตรวจสอบให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล ISO ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรฐานสุขอนามัยต่างๆ
1.3) ภาคบริการ
(1) อนุรักษ์ ฟื้นฟูและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในระยะยาว รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนให้ท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(2) ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
(3) สนันสนุนบริการการศึกษานานาชาติ
(4) สนับสนุนบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลสำหรับชาวต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค
1.4) การกระตุ้นการลงทุน
(1) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของภาครัฐ
(2) เร่งรัดการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
(3) กำกับดูแลการดำเนินการภายใต้มาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวการลงทุนภาคเอกชนซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
1.5) การแก้ไขสถานการณ์การว่างงาน โดยต้องเร่งแผนงาน/โครงการที่จะช่วยให้เกิดการจ้างงานเพื่อมิให้ปัญหาการว่างงานก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายหลัง นอกจากนั้น การว่างงานที่ยืดเยื้อจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
2). นโยบายการเงินและการคลัง รัฐควรมีบทบาทกระตุ้นการลงทุน ทั้งในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนของรัฐเพื่อสร้างพื้นฐานของอนาคต แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญมีดังนี้.-
2.1) เร่งรัดการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2543 ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ และเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนที่ต่อเนื่องจากปี 2542 ให้เสร็จสิ้นภายในครึ่งแรกของปี 2543
2.2) เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
2.3) กำกับดูแลให้การปล่อยสินเชื่อในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพ
2.4) ปรับปรุงระบบกำกับ และตรวจสอบสถาบันการเงินให้มีสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและได้มาตรฐานสากล
2.5) จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก (Deposit Insurance Agency) เพื่อประโยชน์ในการดูแลการประกันเงินฝากของสถานบันการเงิน เพื่อให้ระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล/สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/15 มกราคม 2543--