สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจ การเกษตร แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกับการกระจายพันธุ์พืช GMOs ของถั่วเหลือง ซึ่งเป็นพืชที่มีพื้นที่ ปลูกมากที่สุดในบรรดาพืชที่นำมาตัดแต่งพันธุกรรม ทั้งนี้ยังไม่พบการกระจายพันธุ์ของถั่วเหลือง ในไทยแบบ GMOs แต่อย่างใด ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่า ถั่วเหลืองไทยมีความปลอดภัย
จากมติคณะรัฐมนตรีที่ยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช Genetically Modified Organisms หรือที่รู้จักกันในนาม GMOs และมีการระงับการทดลองปลูกพืช GMOs ทุกชนิดในระดับไร่นา ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการเจาะตลาดไปสู่กลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศ ที่มุ่งเน้นด้านความ ปลอดภัยของอาหาร โดยสามารถเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและผลิตภัณฑ์ได้ว่า ถั่วเหลืองที่ผลิต ในประเทศไทยเป็นถั่วเหลืองที่ปลอด GMOs อย่างแน่นอน
ถั่วเหลือง เป็นหนึ่งในพืชที่นำมาดัดแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรม ที่เรียกกันว่า GMOs โดยมีพื้นที่ปลูกคิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ปลูก GMOs ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด และฝ้าย ซึ่งประเทศผู้ผลิตและส่งออกถั่วเหลือง GMOs รายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และบราซิล ซึ่งในปัจจุบันการเพาะปลูกดังกล่าวได้มีการขยายขอบเขตออกไปทั่วโลก โดยยังไม่มีรายงาน อย่างเป็นทางการ ที่ยืนยันได้ถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาว
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีเนื้อที่ปลูกถั่วเหลืองปีเพาะปลูก 2548/49 ประมาณ 1.039 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 2.5 แสนตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ในแต่ละ ปีประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ทั้งในรูปถั่วเหลืองที่เป็นเมล็ด และกาก ถั่วเหลือง โดยส่วนใหญ่จะผลิตเป็นน้ำมันและอาหารสัตว์
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
จากมติคณะรัฐมนตรีที่ยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช Genetically Modified Organisms หรือที่รู้จักกันในนาม GMOs และมีการระงับการทดลองปลูกพืช GMOs ทุกชนิดในระดับไร่นา ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการเจาะตลาดไปสู่กลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศ ที่มุ่งเน้นด้านความ ปลอดภัยของอาหาร โดยสามารถเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและผลิตภัณฑ์ได้ว่า ถั่วเหลืองที่ผลิต ในประเทศไทยเป็นถั่วเหลืองที่ปลอด GMOs อย่างแน่นอน
ถั่วเหลือง เป็นหนึ่งในพืชที่นำมาดัดแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรม ที่เรียกกันว่า GMOs โดยมีพื้นที่ปลูกคิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ปลูก GMOs ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด และฝ้าย ซึ่งประเทศผู้ผลิตและส่งออกถั่วเหลือง GMOs รายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และบราซิล ซึ่งในปัจจุบันการเพาะปลูกดังกล่าวได้มีการขยายขอบเขตออกไปทั่วโลก โดยยังไม่มีรายงาน อย่างเป็นทางการ ที่ยืนยันได้ถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาว
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีเนื้อที่ปลูกถั่วเหลืองปีเพาะปลูก 2548/49 ประมาณ 1.039 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 2.5 แสนตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ทำให้ในแต่ละ ปีประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ทั้งในรูปถั่วเหลืองที่เป็นเมล็ด และกาก ถั่วเหลือง โดยส่วนใหญ่จะผลิตเป็นน้ำมันและอาหารสัตว์
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-