กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) เกิดจากความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านการทูต เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ตลอดจนถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมอันดีงามระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งมุ่งมั่นในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศในกลุ่ม GCC เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศอื่น ๆ นอกกลุ่ม
ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศสมาชิกกลุ่ม GCC แต่ละประเทศ กำลังเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศของตนให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกเฉพาะสินค้าน้ำมันเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ รัฐบาลของประเทศสมาชิกกลุ่ม GCC ทุกประเทศมีนโยบายสนับสนุนให้ภาคเอกชนของตนลงทุนทั้งภายในประเทศและเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของกลุ่ม GCC โดยเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ด้วยการจัดหาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้เช่าที่ดินในราคาถูก เร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสาร ตลอดจนให้สิ่งจูงใจด้านภาษี โดยลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ อีกทั้งเร่งปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายการลงทุน เพื่อให้เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลเกื้อหนุนต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในกลุ่ม GCC ได้แก่
ประเทศมอริเชียส (Mauritius) เป็นหมู่เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันออกของทวีปแอฟริกาและเกาะมาดากัสการ์ โดยอยู่ห่างจากมาดากัสการ์ประมาณ 800 กิโลเมตร ประเทศมอริเชียสประกอบด้วยเกาะ 4 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุด คือ เกาะมอริเชียส นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 เกาะ คือ เกาะ Rodrigues เกาะ Saint Brandon และเกาะ Agalega มีประชากรรวมกันทั้งหมดราว 1.2 ล้านคน เมืองหลวง คือ เมืองพอร์ตหลุยส์ (Port Louis) เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึก และสนามบินนานาชาติที่ทันสมัย
หลังจากได้รับเอกราชจากการปกครองของอังกฤษในปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลมอริเชียสพัฒนาประเทศจนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้ชาวมอริเชียสมีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก จากเดิมที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพียง 219 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2511 เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 3,540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2540
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากในปี 2535 รัฐบาลมอริเชียสได้ออกกฎหมายจัดตั้งเขตเมืองท่าปลอดภาษี (The Free-Port Zone) ขึ้นที่เมืองพอร์ตหลุยส์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและบริการระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางธุรกิจต่างประเทศ (Offshore Business Center) ส่งผลให้มอริเชียสกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา โดยมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากกว่า 300 รายในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีกิจการใหม่ ๆ ยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเปิดดำเนินกิจการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 กิจการต่อเดือน เนื่องจากรัฐบาลมอริเชียสให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายแก่นักลงทุน ทั้งสิทธิประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน อาทิ ลดค่าบริการการใช้ท่าเรือให้แก่กิจการที่นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกต่อ (re-export) ไปยังต่างประเทศ ยกเว้นภาษีการขายสินค้าสำเร็จรูปทุกประเภท รวมทั้งยกเว้นภาษีเครื่องจักรกลและวัสดุอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าในเขตเมืองท่าปลอดภาษี อนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการในมอริเชียสได้ 100% นักลงทุนต่างชาติได้รับการยกเว้นภาษีที่เก็บจากผลกำไร และอนุญาตให้ส่งผลกำไรจากการลงทุนกลับประเทศได้อย่างเสรีแรงงานชาวต่างประเทศเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ มีข้อตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (The Avoidance of Double Taxation) กับเยอรมนี ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี มาเลเซีย อังกฤษ และซิมบับเว การเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ทำให้มอริเชียสนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศในเอเชียเพื่อส่งออกต่อไปขายยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2541 มอริเชียสนำเข้าสินค้าจากไทยสูงเป็นอันดับ 3 (มีส่วนแบ่งตลาด 10% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งหมดของมอริเชียส) รองจากจีน (27%) และอินเดีย (11%) สำหรับสินค้าที่มอริเชียสนำเข้าจากไทยสูง ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว ผ้าผืนและเสื้อผ้า-สำเร็จรูป ฯลฯ นอกจากนี้ การที่มอริเชียสให้สิทธิประโยชน์มากมายแก่นักลงทุนต่างชาติ ดึงดูดให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในมอริเชียสเป็นมูลค่าราว 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2542 นี้
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145
--ที่มา ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร--
-อน-
ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศสมาชิกกลุ่ม GCC แต่ละประเทศ กำลังเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศของตนให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกเฉพาะสินค้าน้ำมันเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ รัฐบาลของประเทศสมาชิกกลุ่ม GCC ทุกประเทศมีนโยบายสนับสนุนให้ภาคเอกชนของตนลงทุนทั้งภายในประเทศและเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของกลุ่ม GCC โดยเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ด้วยการจัดหาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้เช่าที่ดินในราคาถูก เร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสาร ตลอดจนให้สิ่งจูงใจด้านภาษี โดยลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ อีกทั้งเร่งปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายการลงทุน เพื่อให้เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลเกื้อหนุนต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในกลุ่ม GCC ได้แก่
ประเทศมอริเชียส (Mauritius) เป็นหมู่เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันออกของทวีปแอฟริกาและเกาะมาดากัสการ์ โดยอยู่ห่างจากมาดากัสการ์ประมาณ 800 กิโลเมตร ประเทศมอริเชียสประกอบด้วยเกาะ 4 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุด คือ เกาะมอริเชียส นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 เกาะ คือ เกาะ Rodrigues เกาะ Saint Brandon และเกาะ Agalega มีประชากรรวมกันทั้งหมดราว 1.2 ล้านคน เมืองหลวง คือ เมืองพอร์ตหลุยส์ (Port Louis) เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึก และสนามบินนานาชาติที่ทันสมัย
หลังจากได้รับเอกราชจากการปกครองของอังกฤษในปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลมอริเชียสพัฒนาประเทศจนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้ชาวมอริเชียสมีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก จากเดิมที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพียง 219 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2511 เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 3,540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2540
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากในปี 2535 รัฐบาลมอริเชียสได้ออกกฎหมายจัดตั้งเขตเมืองท่าปลอดภาษี (The Free-Port Zone) ขึ้นที่เมืองพอร์ตหลุยส์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและบริการระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางธุรกิจต่างประเทศ (Offshore Business Center) ส่งผลให้มอริเชียสกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา โดยมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากกว่า 300 รายในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีกิจการใหม่ ๆ ยื่นจดทะเบียนเพื่อขอเปิดดำเนินกิจการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 กิจการต่อเดือน เนื่องจากรัฐบาลมอริเชียสให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายแก่นักลงทุน ทั้งสิทธิประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน อาทิ ลดค่าบริการการใช้ท่าเรือให้แก่กิจการที่นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกต่อ (re-export) ไปยังต่างประเทศ ยกเว้นภาษีการขายสินค้าสำเร็จรูปทุกประเภท รวมทั้งยกเว้นภาษีเครื่องจักรกลและวัสดุอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าในเขตเมืองท่าปลอดภาษี อนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการในมอริเชียสได้ 100% นักลงทุนต่างชาติได้รับการยกเว้นภาษีที่เก็บจากผลกำไร และอนุญาตให้ส่งผลกำไรจากการลงทุนกลับประเทศได้อย่างเสรีแรงงานชาวต่างประเทศเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ มีข้อตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (The Avoidance of Double Taxation) กับเยอรมนี ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี มาเลเซีย อังกฤษ และซิมบับเว การเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ทำให้มอริเชียสนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศในเอเชียเพื่อส่งออกต่อไปขายยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2541 มอริเชียสนำเข้าสินค้าจากไทยสูงเป็นอันดับ 3 (มีส่วนแบ่งตลาด 10% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งหมดของมอริเชียส) รองจากจีน (27%) และอินเดีย (11%) สำหรับสินค้าที่มอริเชียสนำเข้าจากไทยสูง ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว ผ้าผืนและเสื้อผ้า-สำเร็จรูป ฯลฯ นอกจากนี้ การที่มอริเชียสให้สิทธิประโยชน์มากมายแก่นักลงทุนต่างชาติ ดึงดูดให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในมอริเชียสเป็นมูลค่าราว 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2542 นี้
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145
--ที่มา ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร--
-อน-