แท็ก
สุกร
สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่ภาวะตลาดโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังสอดคล้องกับความต้องการบริโภค ในขณะที่ทางด้านความต้องการเลี้ยงเริ่มมีมากขึ้น เพราะลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในช่วงนี้จะให้ผลผลิตออกมาในช่วงฤดูร้อนที่ราคาค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลูกสุกรเริ่มปรับราคาขึ้นในสัปดาห์นี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 32.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 31.71 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 700 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นลงในขณะนี้ ทำให้ไก่เติบโตดีขึ้น ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้นส่งผลให้ราคาโดยรวมอ่อนตัวลง แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงเพราะกลุ่มผู้ผลิตลูกไก่ ยังคงใช้มาตรการควบคุมการผลิตลูกไก่เพื่อรักษาระดับราคาไก่เนื้อ คาดว่าราคาไก่เนื้อจะทรงตัวไปจนถึงอ่อนลงเล็กน้อย
สมาคมภาคปศุสัตว์ได้รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อสถานฑูตสหรัฐอเมริกา และประธานกรรมาธิการการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฏร กรณีที่มีการนำเข้าเนื้อไก่ป่าสหรัฐฯ จากบริษัท ไทสัน มาจำหน่ายใน Supermarket ต่าง ๆ ของไทย และได้จัดสัมมนาโต๊ะกลมถึงผลกระทบจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่สหรัฐฯ ก่อนถึงกำหนดที่ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยการขอให้ไทยลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 10 จากภาษีที่ผูกพันกับ WTO ที่ร้อยละ 40-50 และจะปรับลดลงร้อยละ 3 ต่อปี
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.49 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 26.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77 ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายไข่ไก่ยังไม่ค่อยดีนัก เพราะผลผลิตในช่วงต้นฤดูหนาวเริ่มออกมามาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังเป็นไปตามปกติ ประกอบกับการระบายส่งออกต่างประเทศก็ทำได้ไม่มาก ทำให้มีแนวโน้มว่าตลาดไข่ไก่และราคาจะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 140 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 130 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 146 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 135 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 156 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 130 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 140 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 165 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 148 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 165 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 182 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 215 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ข่าวประจำสัปดาห์ 23-29 ต.ค. 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 23-29 ต.ค. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่ภาวะตลาดโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังสอดคล้องกับความต้องการบริโภค ในขณะที่ทางด้านความต้องการเลี้ยงเริ่มมีมากขึ้น เพราะลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในช่วงนี้จะให้ผลผลิตออกมาในช่วงฤดูร้อนที่ราคาค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลูกสุกรเริ่มปรับราคาขึ้นในสัปดาห์นี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 32.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 31.71 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 700 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นลงในขณะนี้ ทำให้ไก่เติบโตดีขึ้น ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้นส่งผลให้ราคาโดยรวมอ่อนตัวลง แต่ก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงเพราะกลุ่มผู้ผลิตลูกไก่ ยังคงใช้มาตรการควบคุมการผลิตลูกไก่เพื่อรักษาระดับราคาไก่เนื้อ คาดว่าราคาไก่เนื้อจะทรงตัวไปจนถึงอ่อนลงเล็กน้อย
สมาคมภาคปศุสัตว์ได้รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อสถานฑูตสหรัฐอเมริกา และประธานกรรมาธิการการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฏร กรณีที่มีการนำเข้าเนื้อไก่ป่าสหรัฐฯ จากบริษัท ไทสัน มาจำหน่ายใน Supermarket ต่าง ๆ ของไทย และได้จัดสัมมนาโต๊ะกลมถึงผลกระทบจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่สหรัฐฯ ก่อนถึงกำหนดที่ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยการขอให้ไทยลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 10 จากภาษีที่ผูกพันกับ WTO ที่ร้อยละ 40-50 และจะปรับลดลงร้อยละ 3 ต่อปี
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.49 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 26.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77 ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายไข่ไก่ยังไม่ค่อยดีนัก เพราะผลผลิตในช่วงต้นฤดูหนาวเริ่มออกมามาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังเป็นไปตามปกติ ประกอบกับการระบายส่งออกต่างประเทศก็ทำได้ไม่มาก ทำให้มีแนวโน้มว่าตลาดไข่ไก่และราคาจะอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 140 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 130 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 146 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 135 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 156 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 130 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 140 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 165 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 148 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 165 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 182 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 215 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ข่าวประจำสัปดาห์ 23-29 ต.ค. 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 23-29 ต.ค. 2543--
-สส-