คชก. : มติ คชก. ครั้งที่ 14/2543
1. การแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ ฤดูการผลิต ปี 2543/44
ผลผลิตกาแฟไทย ฤดูการผลิตปี 2543/44 คาดว่าจะมีปริมาณ 85,000 ตันใช้ภายในประเทศ 30,000 ตัน และส่งออกตลาดต่างประเทศ 55,000 ตัน โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสตาของตลาดลอนดอน เดือนกันยายน 2543 (ส่งมอบ กย., พย. 43 มค. มีค. พค. กค. 44 ) เฉลี่ยประมาณตันละ 823 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีที่แล้วตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 34.16 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา และผลผลิตกาแฟปีนี้จะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเร็วกว่าทุกปี คาดว่าเกษตรกรชาวสวนกาแฟจะได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคาตลาดโลกตกต่ำ
มติที่ประชุมคณะกรรมการ คชก. เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 เห็นควรให้มีการแทรกแซงตลาด ตั้งแต่พฤศจิกายน 2543-เมษายน 2544 โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำเมล็ดกาแฟ ณ แหล่งผลิตที่กิโลกรัมละ 32.00 บาท (ความชื้นไม่เกินร้อยละ 13 และข้อบกพร่องไม่เกินร้อยละ 7) ซึ่งคำนวณจากราคาเมล็ดกาแฟรายเดือนที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีที่กิโลกรัมละ 32.12 บาท ประกอบการพิจารณาร่วมกับต้นทุนการผลิตปี 2543/44 ที่ประมาณการไว้กิโลกรัมละ 31.92 บาท ดดยกำหนดวิธีการแทรกแซงด้วยการรับจำนำการชดเชยส่วนต่างของราคาในการซื้อและขายและเห็นควรให้ใช้มาตรการแทรกแซงตลาดด้วยวิธีจ่ายส่วนต่าง ของราคาเป้าหมายนำกับราคาตามกลไกตลาดที่คำนวณจากราคาตลาดโลก เช่นเดียวกับมาตรการในปี 2539/40 แต่ให้ปรับปรุงข้อบกพร่องและกำกับดูแลให้รัดกุม ดังนี้
1.1 อคส. ตั้งจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท และหยุดรับซื้อเมื่อราคาตามกลไกตลาดที่คำนวณจากราคาตลาดโลกทอนเป็นราคาที่เกษตรกรขายได้เท่ากับหรือสูงกว่ากิโลกรัมละ 32.00 บาท
1.2. อคส. กำหนดระเบียบการรับซื้อและการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่รับซื้อ โดยจำหน่ายให้แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับการจัดสรรทันทีในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท ณ จุดรับซื้อ ซึ่งผู้ส่งออกเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งออกและดำเนินการ (ค่าแรงงาน ค่าภาชนะบรรจุ ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา ค่าปรับปรุงคุณภาพ ฯลฯ ) และค่าขนส่งจากแหล่งผลิตถึงกรุงเทพฯ และอคส. จ่ายค่าส่วนต่างของราคาเป้าหมายนำกับราคาตามกลไกตลาดแก่ผู้ส่งออกในราคากิโลกรัมละ 13.52 บาท หาก อคส. รับซื้อเมล็ดกาแฟ 55,000 ตัน จะต้องใช้เงินค่าส่วนต่างของราคา 743.6 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรับซื้อเมล็ดกาแฟของ อคส. ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน ร้อยละ 1 ของวงเงิน ค่าส่วนต่างของราคาอีก 7.43 ล้านบาท รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 751.03 ล้านบาท
1.3 การแทรกแซงตลาดด้วยวิธีดังกล่าว ในเบื้องต้นคาดว่าจะต้องจ่ายค่าส่วนต่างของราคากิโลกรัมละ 11.11 บาท ปริมาณ 55,000 ตัน จะต้องใช้เงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 611.05 ล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนนำเสนอ คชก. ให้คำนวณค่าส่วนต่างของราคาจากราคาตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบัน เพื่อกำหนดวงเงินให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและยึดเป็นเกณฑ์การช่วยเหลือต่อไป
1.4 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนกรมการค้าภายใน กระทรวงมหาดไทย สมาคมชาวสวนกาแฟไทย สมาคมผู้ส่งออกกาแฟไทย มูลนิธิชาวสวนกาแฟ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร (นายสุวโรช พะลัง) มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ ฤดุการผลิต ปี 2543/44 เช่น การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ปลูกกาแฟ เพื่อใช้ในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟของเกษตรกร และการตรวจสต็อกเมล็ดกาแฟ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวด้วย 2. การแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2543
1) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยวงเงิน 250 ล้านบาทให้องค์การคลังสินค้านำไปใช้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวนประมาณ 15,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 12.00 บาท โดยมีเงื่อนไขให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่เข้าร่วมโครงการ รับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรรายย่อย ( พื้นที่ปลูกไม่เกิน 50 ไร่ ) และขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในราคากิโลกรัม 1.70 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 2) ระยะเวลารับซื้อ ตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 ระยะเวลาโครงการ ตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544
3) ใช้หลักการดำเนินการเดียวกับการดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มปี 2542 3. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้อนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอขอใช้เงินจาก คชก. ซึ่งที่ประชุมได้อนุมัติให้ใช้เงิน จากกองทุนรวมช่วยเหลือเกษตรกรในวงเงิน 756 ล้านบาท เป็นค่าชดเชยน้ำมันดีเซลให้กับเกษตรกรและเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารให้กับ ธกส. อีก 12.6 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2543 และมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
- อัตราค่าชดเชยน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท เฉลี่ย 15 ลิตรต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน ถ้าใช้ไม่หมดแต่ละเดือนนำมาสะสมได้สูงสุดไม่เกินครัวเรือนละ 45 ลิตร เป็นเงิน 135 บาท
- ระยะเวลาเริ่มเติมน้ำมันที่สถานีบริการตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2543
- ระยะเวลาเบิกจ่ายค่าชดเชยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึง 31 มกราคม 2544
- เป็นสถานีบริการน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการที่จดทะเบียนเสียภาษีจากมิเตอร์หัวจ่ายและสามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ (ยกเว้นปั๊มหลอด)
- เป็นสถานีบริการน้ำมันที่อยู่ในเขตอำเภอที่สถาบัน หรือองค์กรเกษตรกรแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการและ/หรือสถานีบริการน้ำมันนอกเขตที่ระบุให้ไปใช้บริการได้
- เกษตรกรต้องเป็นสมาชิกสถาบัน หรือองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด จำกัด ลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) และกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตด้านพืช ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ยกเว้นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรด้านประมงทะเลที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว)
- เกษตรกรไม่เป็นสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกของสถาบันหรือองค์กรเกษตรกร ที่เป็นนิติบุคคลใดก่อน ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2543
- เกษตรกรสมาชิกต้องแสดงความจำนงและมีความประสงค์ที่จะใช้น้ำมันดีเชลเพื่อการผลิตทางการเกษตรจริง ต่อสถาบันและองค์กรเกษตรกรที่เป็นสมาชิกอยู่ โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย ภายในวันที 7 ตุลาคม 2543
- เกษตรกรไปใช้บริการที่สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งใกล้บ้านในเขตอำเภอที่สมาชิกแสดงความจำนงไว้ (ตั้งแต่1ตค. ถึง 31 ธค.43)
- เกษตรกรขอใบเสร็จรับเงินและตรวจสอบใบเสร็จรับเงินต้องมี ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก วันที่เติมน้ำมัน จำนวนลิตร-เงิน ลายเซ็นเกษตรกรบนใบเสร็จก่อนฉีก เกษตรกรเก็บสะสมใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อขอเบิกจ่ายค่าชดเชยได้ภายใน 3 เดือน (1 พย. 43 ถึง 31 มค. 44)
- กรณีเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) เกษตรกรไปด้วยตนเอง นำหลักฐานใบเสร็จรับเงิน บัตรประชาชน ไปที่ ธ.ก.ส. สาขาอำเภอ
- กรณีเป็นสมาชิกสถาบันหรือองค์กรเกษตรกร เกษตรกรไปด้วยตนเอง นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินไปที่สถาบันหรือองค์กรเกษตรกรที่สมาชิกสังกัดอยู่ ประธานรวบรวมหลักฐานและทำการเบิกจ่ายให้สมาชิกพร้อมๆกัน ที่ ธ.ก.ส.สาขาอำเภอ
- สนใจรายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันหรือองค์กรเกษตรกรที่สมาชิกสังกัดอยู่หรือ ธ.ก.ส. สาขาใกล้บ้าน
- ขอสงวนสิทธิ์ไม่จ่ายคืนค่าชดเชยในกรณีพบว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 4. การลดพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียม ปีเพาะปลูก 2543/44
สืบเนื่องจากการผลิตหอมหัวใหญ่และกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ มักจะประสบปัญหาราคาตกต่ำ เพราะมีปริมาณมากเกินความต้องการ จึงได้มีการจัดทำโครงการลดพื้นที่ปลุกหอมหัวใหญ่และกระเทียม โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการตามโครงการ และขอรับการสนับสนุนเงินจ่ายขาดจาก คชก. เพื่อนำไปสนับสนุนค่าเมล็ดพันธุ์บางส่วนแก่เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,500 บาท มาแล้ว 2 ฤดูกาลผลิตซึ่งโครงการในปี 2541/42 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จและปิดบัญชีโครงการแล้ว ส่วนโครงการปี 2542/43 อยุ่ระหว่างดำเนินการ และจะสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 254
สำหรับโครงการในปี 2543/44 คชก. คราวประชุมเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ได้อนุมัติเงินจ่ายขาด 3.32 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามโครงการลดพื้นที่ ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียม เพื่อใช้สนับสนุนเป็นค่าพันธุ์มันฝรั่ง แก่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ในอัตราไร่ละ 1,500 บาท พื้นที่รวม 2,215.5 ไร่ กำหนดระยะเวลาโครงการตุลาคม 2543- กันยายน 2544
กนข. : กนข. อนุมัตินโยบายและมาตรการข้าวปี 2543/44
คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 8/2543 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2543 และได้อนุมัติให้ดำเนินนโยบายและมาตรการข้าวในปี 2543/44 ดังนี้ 1. นโยบายข้าวปี 2543/44
(1) การส่งออกข้าว จะใช้กลไกของผู้ส่งออกภาคเอกชนเป็นหลัก สำหรับการส่งออกข้าวของภาครัฐบาล จะดำเนินการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(2) การรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก เมื่อจำเป็นจะต้องดำเนินการผ่านสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตลาดกลาง และผู้ประกอบการค้าข้าว รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
(3) กำกับดูแลให้มีสต๊อกข้าวอยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ
(4) การรับจำนำข้าวเปลือก จะให้ ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานหลักในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
(5) การให้บริการสินเชื่อ จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ค้าข้าวเปลือกและผู้ส่งออกในปริมาณที่เพียงพอ 2. มาตรการข้าว ปี 2543/44
อนุมัติมาตรการและโครงการข้าวปี 2543/44 ซึ่งประกอบด้วย 3 มาตรการ รวม 9 โครงการ พร้อมทั้งวงเงินดำเนินการ ดังนี้
(1) มาตรการสนับสนุนตลาดข้าวสาร ประกอบด้วย
1. การเร่งรัดการส่งออกข้าว
1.1 การส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยกรมการค้าต่างประเทศ จำนวนไม่เกิน 500,000 ตัน
1.2 การส่งออกข้าวภายใต้กองทุนรวมข้าว (Rice Pool) โดยกรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
1.3 สนับสนุนการส่งออกข้าวคุณภาพดี โดยกรมการค้าต่างประเทศ จะให้การส่งเสริมการใช้ดวงตราสัญลักษณ์ข้าวไทย และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
2. การจำนำข้าวสาร โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1,000,000 ตัน จำแนกหน่วยงานละ 500,000 ตัน (โดยให้ ธกส.รับจำนำใบประทวน)
(2) มาตรการสนับสนุนตลาดข้าวเปลือก ประกอบด้วย
3. การรับจำนำข้าวเปลือก โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรรายย่อย และสถาบันเกษตรกร และ รับจำนำใบประทวนสินค้าที่องค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรออกให้แก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร จำนวน 2.5 ล้านตัน
4. การเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของ สหกรณ์ วงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 1,000 ล้านบาท และกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท
5. การเก็บรวบรวมข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตรกร วงเงิน 100 ล้านบาท
6. การแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกของกระทรวงมหาดไทย วงเงิน 300 ล้านบาท
7-8 การแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกของกองทัพอากาศ และ นทพ. บก.ทหารสูงสุด วงเงิน 2.5 และ 10 ล้านบาท ตามลำดับ
(3) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ
9. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ค้าข้าวเปลือก ของธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 20,000 ล้านบาท และผู้ส่งออกผ่านธนาคารเพื่อ การส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงิน 20,000 ล้านบาท 3. การกำหนดราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2543/44
เห็นชอบให้กำหนดราคาเป้าหมายนำ และราคารับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2543/44 เท่ากับปีการผลิต 2542/43 ดังนี้
หน่วย:บาท/ตัน ชนิดข้าว ราคาเป้าหมายข้าวเปลือก ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,840 6,495 ข้าวเปลือกเจ้า 100% 5,560 5,280 ข้าวเปลือกเจ้า 5% 5,460 5,185 ข้าวเปลือกเจ้า 10% 5,260 4,995 ข้าวเปลือกเจ้า 15% 5,160 4,900 ข้าวเปลือกเจ้า 25% 4,960 4,710 ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว 6,200 5,890 ข้าวเปลือกเหนียวคละ 5,900 5,605
กล้วยไม้ : การส่งออกกล้วยไม้ไทยไปตลาดโลก
จากการประชุมปรึกษาหารือกล้วยไม้ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับทราบจากผู้แทนบริษัทส่งออกที่เข้าร่วมประชุมว่า การส่งออกกล้วยไม้ไทยไปตลาดยุโรปในขณะนี้ลดลงจากเดิมร้อยละ 10 ตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มคงที่ ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับตลาดยุโรปที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดกล้วยไม้ 80% กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเข้มงวดตรวจสอบเพลี้ยไฟ ส่วนตลาดญี่ปุ่นก็ได้มีการเข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องการหาแมลงและศัตรูพืช ทำให้เสียเวลาการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปตลาดญี่ปุ่นถึง 3 วัน กว่าจะถึงผู้บริโภค
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. ควรหาแนวทางเพิ่มพื้นที่ ให้ผู้ที่ส่งออกกล้วยไม้ไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น
2. ดำเนินการจัดทำแผนเพื่อลดปัญหาเพลี้ยไฟ
3. รัฐควรหาแนวทางเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นในการทำ Plant quarantine ทำการตรวจโรคและแมลงกล้วยไม้ในประเทศไทย ก่อนส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 2-8 ต.ค. 2543--
-สส-
1. การแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ ฤดูการผลิต ปี 2543/44
ผลผลิตกาแฟไทย ฤดูการผลิตปี 2543/44 คาดว่าจะมีปริมาณ 85,000 ตันใช้ภายในประเทศ 30,000 ตัน และส่งออกตลาดต่างประเทศ 55,000 ตัน โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสตาของตลาดลอนดอน เดือนกันยายน 2543 (ส่งมอบ กย., พย. 43 มค. มีค. พค. กค. 44 ) เฉลี่ยประมาณตันละ 823 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีที่แล้วตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 34.16 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา และผลผลิตกาแฟปีนี้จะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเร็วกว่าทุกปี คาดว่าเกษตรกรชาวสวนกาแฟจะได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคาตลาดโลกตกต่ำ
มติที่ประชุมคณะกรรมการ คชก. เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 เห็นควรให้มีการแทรกแซงตลาด ตั้งแต่พฤศจิกายน 2543-เมษายน 2544 โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำเมล็ดกาแฟ ณ แหล่งผลิตที่กิโลกรัมละ 32.00 บาท (ความชื้นไม่เกินร้อยละ 13 และข้อบกพร่องไม่เกินร้อยละ 7) ซึ่งคำนวณจากราคาเมล็ดกาแฟรายเดือนที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีที่กิโลกรัมละ 32.12 บาท ประกอบการพิจารณาร่วมกับต้นทุนการผลิตปี 2543/44 ที่ประมาณการไว้กิโลกรัมละ 31.92 บาท ดดยกำหนดวิธีการแทรกแซงด้วยการรับจำนำการชดเชยส่วนต่างของราคาในการซื้อและขายและเห็นควรให้ใช้มาตรการแทรกแซงตลาดด้วยวิธีจ่ายส่วนต่าง ของราคาเป้าหมายนำกับราคาตามกลไกตลาดที่คำนวณจากราคาตลาดโลก เช่นเดียวกับมาตรการในปี 2539/40 แต่ให้ปรับปรุงข้อบกพร่องและกำกับดูแลให้รัดกุม ดังนี้
1.1 อคส. ตั้งจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท และหยุดรับซื้อเมื่อราคาตามกลไกตลาดที่คำนวณจากราคาตลาดโลกทอนเป็นราคาที่เกษตรกรขายได้เท่ากับหรือสูงกว่ากิโลกรัมละ 32.00 บาท
1.2. อคส. กำหนดระเบียบการรับซื้อและการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่รับซื้อ โดยจำหน่ายให้แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับการจัดสรรทันทีในราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท ณ จุดรับซื้อ ซึ่งผู้ส่งออกเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งออกและดำเนินการ (ค่าแรงงาน ค่าภาชนะบรรจุ ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา ค่าปรับปรุงคุณภาพ ฯลฯ ) และค่าขนส่งจากแหล่งผลิตถึงกรุงเทพฯ และอคส. จ่ายค่าส่วนต่างของราคาเป้าหมายนำกับราคาตามกลไกตลาดแก่ผู้ส่งออกในราคากิโลกรัมละ 13.52 บาท หาก อคส. รับซื้อเมล็ดกาแฟ 55,000 ตัน จะต้องใช้เงินค่าส่วนต่างของราคา 743.6 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรับซื้อเมล็ดกาแฟของ อคส. ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน ร้อยละ 1 ของวงเงิน ค่าส่วนต่างของราคาอีก 7.43 ล้านบาท รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 751.03 ล้านบาท
1.3 การแทรกแซงตลาดด้วยวิธีดังกล่าว ในเบื้องต้นคาดว่าจะต้องจ่ายค่าส่วนต่างของราคากิโลกรัมละ 11.11 บาท ปริมาณ 55,000 ตัน จะต้องใช้เงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 611.05 ล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนนำเสนอ คชก. ให้คำนวณค่าส่วนต่างของราคาจากราคาตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบัน เพื่อกำหนดวงเงินให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและยึดเป็นเกณฑ์การช่วยเหลือต่อไป
1.4 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนกรมการค้าภายใน กระทรวงมหาดไทย สมาคมชาวสวนกาแฟไทย สมาคมผู้ส่งออกกาแฟไทย มูลนิธิชาวสวนกาแฟ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร (นายสุวโรช พะลัง) มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ ฤดุการผลิต ปี 2543/44 เช่น การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ปลูกกาแฟ เพื่อใช้ในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟของเกษตรกร และการตรวจสต็อกเมล็ดกาแฟ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวด้วย 2. การแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2543
1) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยวงเงิน 250 ล้านบาทให้องค์การคลังสินค้านำไปใช้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวนประมาณ 15,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 12.00 บาท โดยมีเงื่อนไขให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่เข้าร่วมโครงการ รับซื้อผลปาล์มทะลายจากเกษตรกรรายย่อย ( พื้นที่ปลูกไม่เกิน 50 ไร่ ) และขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในราคากิโลกรัม 1.70 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 2) ระยะเวลารับซื้อ ตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 ระยะเวลาโครงการ ตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544
3) ใช้หลักการดำเนินการเดียวกับการดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มปี 2542 3. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้อนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอขอใช้เงินจาก คชก. ซึ่งที่ประชุมได้อนุมัติให้ใช้เงิน จากกองทุนรวมช่วยเหลือเกษตรกรในวงเงิน 756 ล้านบาท เป็นค่าชดเชยน้ำมันดีเซลให้กับเกษตรกรและเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารให้กับ ธกส. อีก 12.6 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2543 และมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
- อัตราค่าชดเชยน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท เฉลี่ย 15 ลิตรต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน ถ้าใช้ไม่หมดแต่ละเดือนนำมาสะสมได้สูงสุดไม่เกินครัวเรือนละ 45 ลิตร เป็นเงิน 135 บาท
- ระยะเวลาเริ่มเติมน้ำมันที่สถานีบริการตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2543
- ระยะเวลาเบิกจ่ายค่าชดเชยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึง 31 มกราคม 2544
- เป็นสถานีบริการน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการที่จดทะเบียนเสียภาษีจากมิเตอร์หัวจ่ายและสามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ (ยกเว้นปั๊มหลอด)
- เป็นสถานีบริการน้ำมันที่อยู่ในเขตอำเภอที่สถาบัน หรือองค์กรเกษตรกรแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการและ/หรือสถานีบริการน้ำมันนอกเขตที่ระบุให้ไปใช้บริการได้
- เกษตรกรต้องเป็นสมาชิกสถาบัน หรือองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด จำกัด ลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) และกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตด้านพืช ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ยกเว้นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรด้านประมงทะเลที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว)
- เกษตรกรไม่เป็นสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกของสถาบันหรือองค์กรเกษตรกร ที่เป็นนิติบุคคลใดก่อน ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2543
- เกษตรกรสมาชิกต้องแสดงความจำนงและมีความประสงค์ที่จะใช้น้ำมันดีเชลเพื่อการผลิตทางการเกษตรจริง ต่อสถาบันและองค์กรเกษตรกรที่เป็นสมาชิกอยู่ โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย ภายในวันที 7 ตุลาคม 2543
- เกษตรกรไปใช้บริการที่สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งใกล้บ้านในเขตอำเภอที่สมาชิกแสดงความจำนงไว้ (ตั้งแต่1ตค. ถึง 31 ธค.43)
- เกษตรกรขอใบเสร็จรับเงินและตรวจสอบใบเสร็จรับเงินต้องมี ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก วันที่เติมน้ำมัน จำนวนลิตร-เงิน ลายเซ็นเกษตรกรบนใบเสร็จก่อนฉีก เกษตรกรเก็บสะสมใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อขอเบิกจ่ายค่าชดเชยได้ภายใน 3 เดือน (1 พย. 43 ถึง 31 มค. 44)
- กรณีเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) เกษตรกรไปด้วยตนเอง นำหลักฐานใบเสร็จรับเงิน บัตรประชาชน ไปที่ ธ.ก.ส. สาขาอำเภอ
- กรณีเป็นสมาชิกสถาบันหรือองค์กรเกษตรกร เกษตรกรไปด้วยตนเอง นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินไปที่สถาบันหรือองค์กรเกษตรกรที่สมาชิกสังกัดอยู่ ประธานรวบรวมหลักฐานและทำการเบิกจ่ายให้สมาชิกพร้อมๆกัน ที่ ธ.ก.ส.สาขาอำเภอ
- สนใจรายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันหรือองค์กรเกษตรกรที่สมาชิกสังกัดอยู่หรือ ธ.ก.ส. สาขาใกล้บ้าน
- ขอสงวนสิทธิ์ไม่จ่ายคืนค่าชดเชยในกรณีพบว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 4. การลดพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียม ปีเพาะปลูก 2543/44
สืบเนื่องจากการผลิตหอมหัวใหญ่และกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ มักจะประสบปัญหาราคาตกต่ำ เพราะมีปริมาณมากเกินความต้องการ จึงได้มีการจัดทำโครงการลดพื้นที่ปลุกหอมหัวใหญ่และกระเทียม โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการตามโครงการ และขอรับการสนับสนุนเงินจ่ายขาดจาก คชก. เพื่อนำไปสนับสนุนค่าเมล็ดพันธุ์บางส่วนแก่เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,500 บาท มาแล้ว 2 ฤดูกาลผลิตซึ่งโครงการในปี 2541/42 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จและปิดบัญชีโครงการแล้ว ส่วนโครงการปี 2542/43 อยุ่ระหว่างดำเนินการ และจะสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 254
สำหรับโครงการในปี 2543/44 คชก. คราวประชุมเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ได้อนุมัติเงินจ่ายขาด 3.32 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามโครงการลดพื้นที่ ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียม เพื่อใช้สนับสนุนเป็นค่าพันธุ์มันฝรั่ง แก่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ในอัตราไร่ละ 1,500 บาท พื้นที่รวม 2,215.5 ไร่ กำหนดระยะเวลาโครงการตุลาคม 2543- กันยายน 2544
กนข. : กนข. อนุมัตินโยบายและมาตรการข้าวปี 2543/44
คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 8/2543 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2543 และได้อนุมัติให้ดำเนินนโยบายและมาตรการข้าวในปี 2543/44 ดังนี้ 1. นโยบายข้าวปี 2543/44
(1) การส่งออกข้าว จะใช้กลไกของผู้ส่งออกภาคเอกชนเป็นหลัก สำหรับการส่งออกข้าวของภาครัฐบาล จะดำเนินการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(2) การรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก เมื่อจำเป็นจะต้องดำเนินการผ่านสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตลาดกลาง และผู้ประกอบการค้าข้าว รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
(3) กำกับดูแลให้มีสต๊อกข้าวอยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ
(4) การรับจำนำข้าวเปลือก จะให้ ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานหลักในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
(5) การให้บริการสินเชื่อ จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ค้าข้าวเปลือกและผู้ส่งออกในปริมาณที่เพียงพอ 2. มาตรการข้าว ปี 2543/44
อนุมัติมาตรการและโครงการข้าวปี 2543/44 ซึ่งประกอบด้วย 3 มาตรการ รวม 9 โครงการ พร้อมทั้งวงเงินดำเนินการ ดังนี้
(1) มาตรการสนับสนุนตลาดข้าวสาร ประกอบด้วย
1. การเร่งรัดการส่งออกข้าว
1.1 การส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยกรมการค้าต่างประเทศ จำนวนไม่เกิน 500,000 ตัน
1.2 การส่งออกข้าวภายใต้กองทุนรวมข้าว (Rice Pool) โดยกรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
1.3 สนับสนุนการส่งออกข้าวคุณภาพดี โดยกรมการค้าต่างประเทศ จะให้การส่งเสริมการใช้ดวงตราสัญลักษณ์ข้าวไทย และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
2. การจำนำข้าวสาร โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1,000,000 ตัน จำแนกหน่วยงานละ 500,000 ตัน (โดยให้ ธกส.รับจำนำใบประทวน)
(2) มาตรการสนับสนุนตลาดข้าวเปลือก ประกอบด้วย
3. การรับจำนำข้าวเปลือก โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรรายย่อย และสถาบันเกษตรกร และ รับจำนำใบประทวนสินค้าที่องค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรออกให้แก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร จำนวน 2.5 ล้านตัน
4. การเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของ สหกรณ์ วงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 1,000 ล้านบาท และกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท
5. การเก็บรวบรวมข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตรกร วงเงิน 100 ล้านบาท
6. การแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกของกระทรวงมหาดไทย วงเงิน 300 ล้านบาท
7-8 การแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกของกองทัพอากาศ และ นทพ. บก.ทหารสูงสุด วงเงิน 2.5 และ 10 ล้านบาท ตามลำดับ
(3) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ
9. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ค้าข้าวเปลือก ของธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 20,000 ล้านบาท และผู้ส่งออกผ่านธนาคารเพื่อ การส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงิน 20,000 ล้านบาท 3. การกำหนดราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2543/44
เห็นชอบให้กำหนดราคาเป้าหมายนำ และราคารับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2543/44 เท่ากับปีการผลิต 2542/43 ดังนี้
หน่วย:บาท/ตัน ชนิดข้าว ราคาเป้าหมายข้าวเปลือก ราคารับจำนำ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,840 6,495 ข้าวเปลือกเจ้า 100% 5,560 5,280 ข้าวเปลือกเจ้า 5% 5,460 5,185 ข้าวเปลือกเจ้า 10% 5,260 4,995 ข้าวเปลือกเจ้า 15% 5,160 4,900 ข้าวเปลือกเจ้า 25% 4,960 4,710 ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว 6,200 5,890 ข้าวเปลือกเหนียวคละ 5,900 5,605
กล้วยไม้ : การส่งออกกล้วยไม้ไทยไปตลาดโลก
จากการประชุมปรึกษาหารือกล้วยไม้ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับทราบจากผู้แทนบริษัทส่งออกที่เข้าร่วมประชุมว่า การส่งออกกล้วยไม้ไทยไปตลาดยุโรปในขณะนี้ลดลงจากเดิมร้อยละ 10 ตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มคงที่ ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับตลาดยุโรปที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดกล้วยไม้ 80% กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเข้มงวดตรวจสอบเพลี้ยไฟ ส่วนตลาดญี่ปุ่นก็ได้มีการเข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องการหาแมลงและศัตรูพืช ทำให้เสียเวลาการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปตลาดญี่ปุ่นถึง 3 วัน กว่าจะถึงผู้บริโภค
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. ควรหาแนวทางเพิ่มพื้นที่ ให้ผู้ที่ส่งออกกล้วยไม้ไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น
2. ดำเนินการจัดทำแผนเพื่อลดปัญหาเพลี้ยไฟ
3. รัฐควรหาแนวทางเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นในการทำ Plant quarantine ทำการตรวจโรคและแมลงกล้วยไม้ในประเทศไทย ก่อนส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 2-8 ต.ค. 2543--
-สส-