1. สภาวะเศรษฐกิจของไซปรัส
- เศรษฐกิจของไซปรัสโดยรวมมีพื้นฐานที่ดี อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ4.8 ต่อปี (ในช่วงระหว่างปี 2541 - 2543) รายได้ประชาชาติต่อหัว 13,000 เหรียญสหรัฐฯ (ปี 2543)
- ไซปรัสผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศ สินค้าไทยที่นักธุรกิจไซปรัสประสงค์จะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งและปลาแช่แข็ง สับปะรดและผลไม้กระป๋อง เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น อะไหล่รถยนต์ทุกชนิด ผ้าปูที่นอน ผ้าขนหนู
- ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไซปรัสเมื่อปี 2543 มีมูลค่ารวม 4.74 พันล้านเหรียญฯ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ กรีซ อิตาลี เยอรมนี และประเทศในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง2. การค้าไทย-ไซปรัส
- ปริมาณการค้าไทย-ไซปรัสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า การค้าสองฝ่ายในปี 2543 มีมูลค่ารวม 79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกไปไซปรัส 77.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไซปรัสมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- สินค้าส่งออกของไทยไปไซปรัส ได้แก่ รถยนต์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะ) ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ วิทยุ/โทรทัศน์ อาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ โดยสินค้าที่ไทยนำเข้าจากไซปรัส คือ เวชภัณฑ์3. ตลาดข้าวไทยในไซปรัส
ไซปรัสนำเข้าข้าวประมาณปีละ 44,000 ตัน โดยนำเข้าจากไทยจำนวน 4,300 ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ 0 และโดยที่ไซปรัสกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ประเทศไทยจึงควรเร่งส่งข้าวไปขายในไซปรัสเพิ่มขึ้นก่อนที่ไซปรัสจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และเมื่อไซปรัสเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้วไทยอาจเจรจาขอให้สหภาพยุโรปตั้ง Tariff Quota ร้อยละ 0 ตามปริมาณที่ไทยเคยส่งให้ไซปรัส ในทำนองเดียวกับที่สหภาพยุโรปได้กำหนด Tariff Quota ร้อยละ 0 ให้แก่ข้าวไทยในปริมาณที่ออสเตรียเคยนำเข้าข้าวจากไทย
(ที่มา : จากโครงการการสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 17-22 พฤษภาคม 2544)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/2544 วันที่ 15 มิถุนายน 2544--
-อน-
- เศรษฐกิจของไซปรัสโดยรวมมีพื้นฐานที่ดี อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ4.8 ต่อปี (ในช่วงระหว่างปี 2541 - 2543) รายได้ประชาชาติต่อหัว 13,000 เหรียญสหรัฐฯ (ปี 2543)
- ไซปรัสผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศ สินค้าไทยที่นักธุรกิจไซปรัสประสงค์จะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งและปลาแช่แข็ง สับปะรดและผลไม้กระป๋อง เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น อะไหล่รถยนต์ทุกชนิด ผ้าปูที่นอน ผ้าขนหนู
- ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไซปรัสเมื่อปี 2543 มีมูลค่ารวม 4.74 พันล้านเหรียญฯ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ กรีซ อิตาลี เยอรมนี และประเทศในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง2. การค้าไทย-ไซปรัส
- ปริมาณการค้าไทย-ไซปรัสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า การค้าสองฝ่ายในปี 2543 มีมูลค่ารวม 79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกไปไซปรัส 77.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไซปรัสมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- สินค้าส่งออกของไทยไปไซปรัส ได้แก่ รถยนต์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะ) ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ วิทยุ/โทรทัศน์ อาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ โดยสินค้าที่ไทยนำเข้าจากไซปรัส คือ เวชภัณฑ์3. ตลาดข้าวไทยในไซปรัส
ไซปรัสนำเข้าข้าวประมาณปีละ 44,000 ตัน โดยนำเข้าจากไทยจำนวน 4,300 ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ 0 และโดยที่ไซปรัสกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ประเทศไทยจึงควรเร่งส่งข้าวไปขายในไซปรัสเพิ่มขึ้นก่อนที่ไซปรัสจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และเมื่อไซปรัสเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้วไทยอาจเจรจาขอให้สหภาพยุโรปตั้ง Tariff Quota ร้อยละ 0 ตามปริมาณที่ไทยเคยส่งให้ไซปรัส ในทำนองเดียวกับที่สหภาพยุโรปได้กำหนด Tariff Quota ร้อยละ 0 ให้แก่ข้าวไทยในปริมาณที่ออสเตรียเคยนำเข้าข้าวจากไทย
(ที่มา : จากโครงการการสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 17-22 พฤษภาคม 2544)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/2544 วันที่ 15 มิถุนายน 2544--
-อน-