แท็ก
อาเซียน
กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
แถลงข่าว การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 17 - 19 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรม เลอ รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรมเลอ รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ โดยมี อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นายการุณ กิตติสถาพร) เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ด้วย ได้แก่ กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (SEOM-MITI) จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี (SEOM+3) ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (SEOM-CER) และสหภาพ ยุโรป (SEOM-EU)
การประชุมครั้งนี้ จะมีการพิจารณาประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
วิธีการ (modality) ในการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า ที่ประชุมจะพิจารณาวิธีการ (modality) ในการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า โดยใช้ข้อกำหนดของมาตรา 28 ของแกตต์มาเป็นพื้นฐานในการจัดทำ modality ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ขอบเขตสินค้าที่จะมีการแก้ไขข้อลดหย่อนได้ การเจรจาระหว่างประเทศ ผู้ขอแก้ไขกับประเทศที่ได้รับผลกระทบ การชดเชยแก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบ ระยะเวลา ขั้นตอน โดยจะใช้เป็นบรรทัดฐานดำเนินการในการพิจารณาคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อลดหย่อนของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป โดยเฉพาะกรณีของมาเลเซียที่ไม่โอนย้ายสินค้ารถยนต์เข้ามาลดภาษีตามเวลาที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่มาเลเซียไม่โอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU เข้ามาลดภาษีในอาฟต้าตามกำหนดเวลาในวันที่ 1 มกราคม 2543 ซึ่งมีผลเท่ากับมาเลเซียต้องการแก้ไขพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงอาฟต้า (CEPT Agreement) แต่เนื่องจากในข้อตกลงของอาฟต้าเองไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน-2 พฤษภาคม 2543 ที่ประเทศพม่า ได้ตกลงให้จัดทำวิธีการ (modality) ในการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า
สำหรับข้อกำหนดในมาตรา 28 ของแกตต์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอปรับปรุงแก้ไข ตารางข้อลดหย่อนภาษีศุลกากร ซึ่งกำหนดว่าสมาชิกสามารถขอแก้ไขตารางข้อลดหย่อนของตนที่ผูกพันใน WTO ได้ โดยต้องเจรจากับสมาชิกที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลประโยชน์ชดเชย (compensation) ซึ่งอาจเป็นไปในรูปของการลดภาษีสินค้าอื่นแทน ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ต้องการแก้ไขข้อผูกพัน ก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบก็มีสิทธิเพิกถอนสิทธิประโยชน์ของตนเองที่ให้แก่ประเทศผู้ขอแก้ไขได้เช่นกัน
การพิจารณาร่างข้อตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ที่ประชุมจะพิจารณาร่างข้อตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งคณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Task Force : EATF) ได้จัดทำขึ้น เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม 2543 และให้ผู้นำอาเซียนลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ โดยร่างความตกลงดังกล่าวประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ
2.1 การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ (ASEAN Information Infrastructure: AII)
ให้มีระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้โดยไม่ติดขัดภายในอาเซียนใน ปี 2544 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล ให้มีการวางแผนผังโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ASEAN Backbone) และจัดตั้งศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลอาเซียน (ASEAN Internet Exchange)
2.2 การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Facilitating E-Commerce)
พิจารณาการจัดทำมาตรฐานร่วมของอาเซียน (Common Regional Standards) ที่ยึดหลักมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีกฎหมายที่ยอมรับการตกลงซื้อขายทางคอมพิวเตอร์ภายในปี 2546 สนับสนุนให้มีการยอมรับร่วมกันในเรื่องการลงลายมือชื่อและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature and Documents) ในปี 2544 และมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างช้าที่สุดในปี 2545
2.3 การจัดทำเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (Common marketplace for ASEAN ICT goods and services)
พิจารณากรอบความตกลงว่าด้วยการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ด้านการค้าสินค้า (e-Trade) ด้านการค้าบริการ (e-Service) และด้านการส่งเสริมการลงทุน (e-Investment)
2.4 การส่งเสริมการพัฒนาสังคม e-Society ในอาเซียน
การเสริมสร้างสังคมบนพื้นฐานความรู้ที่สูงขึ้น (Knowledge-based Society) เพื่อลดช่องว่างในอาเซียน รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของแรงงานอาเซียน และสนับสนุนให้แรงงาน/ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้และประสบการณ์สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยเสรีภายในอาเซียน
2.5 การสร้าง e-Government
ให้รัฐบาลนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อประสานงานกับภาคเอกชน เช่น ในการขอใบอนุญาต การเสียภาษี และพิธีการศุลกากร เป็นต้น
3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออก (อาเซียน+จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
ที่ประชุมจะพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อนำเสนอในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและผู้นำต่อไป
ทั้งนี้แนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออก จะมีสาขาต่างๆ ดังนี้
เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง
เพิ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยผ่านโครงการเครือข่ายต่าง ๆ
เช่น สภาธุรกิจในเอเชียตะวันออก (East Asia Business Council) และเวทีธุรกิจอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน (Industrial-Specific Business Fora : ISBF)
ส่งเสริมความร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
เสริมสร้างความแข็งแกร่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และอุตสาหกรรมสนับสนุน
ความร่วมมือกันในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประสานความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในเวทีระหว่างประเทศและภูมิภาค (WTO, APEC, ASEM)
4. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น
อาเซียนและญี่ปุ่นมีแผนปฏิบัติงานร่วม (Joint Action Plan) เป็นกรอบความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee: AMEICC) 5 ด้านหลัก ได้แก่
การเร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนาดกลาง-เล็ก/อุตสาหกรรมสนับสนุน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ในการดำเนินงานนี้ คณะทำงานฯ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายรัฐบาล และเอกชนของอาเซียน กับญี่ปุ่น ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำโครงการความร่วมมือที่จะขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น
ที่ประชุมจะติดตามผลความคืบหน้าในการดำเนินงานที่ผ่านมา และพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาเซียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับอุตสาหกรรมของอาเซียนให้ฟื้นตัว และการเพิ่มขีดความสามารถในด้านส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาเซียนไปยังตลาดญี่ปุ่น และประเทศที่สาม เช่นลาตินอเมริกา และแอฟริกา เป็นต้น โดยพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การฝึกอบรมการตลาด และการจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-CER Linkage)
นับตั้งแต่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีการค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีมติให้เชื่อมโยงความร่วมมือกันในด้านการค้า ตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายได้เชื่อมโยงความร่วมมือกันในสาขาต่างๆ เช่น การเข้าสู่ตลาด มาตรฐานและความสอดคล้อง การเกษตร ศุลกากร การขนส่ง การท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านต่างๆ และความร่วมมือกับภาคเอกชน เป็นต้น
ทั้งนี้ ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ได้เสนอโครงการความร่วมมือกับอาเซียนในอนาคต เช่นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดทำ Website ข้อมูลโอกาสการลงทุน และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านการให้บริการตรวจสอบ และการรับรองสินค้าพืช สัตว์ และประมง รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถในด้านการแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายความร่วมมือร่วมกัน
ที่ประชุมจะพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือใหม่ๆ ที่จะเสริมสร้างและอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างกัน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการลดอุปสรรคด้านมาตรการมิใช่ภาษี (SPS) สินค้าเกษตรของอาเซียนไปยังออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดยขอให้ช่วยเหลืออาเซียนในด้านความร่วมมือทางวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
สำหรับในเรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AFTA-CER FTA) ที่ประชุมจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการจัดทำเขตการค้าเสรีร่วมกันและแนวทางที่ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์จะช่วยเหลืออาเซียนในการปรับตัวต่อไป
6. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
ที่ประชุมจะแลกเปลี่ยนความเห็นกันเกี่ยวกับสถานะเศรษฐกิจปัจจุบัน และความคืบหน้าของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปมีการปรับองค์กรภายใน จึงทำให้ข้อเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียน และสหภาพยุโรปชะงักงันไป เช่นด้านมาตรฐานและการรับรอง ทรัพย์สินทางปัญญา และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนจะขอให้สหภาพยุโรปเร่งรัดการดำเนินโครงการต่างๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ในโอกาสนี้อาเซียน
จะยกประเด็นปัญหาอุปสรรคการค้าของอาเซียนไปยังสหภาพยุโรป เช่นข้อจำกัดโควตาสิ่งทอ การตัดสิทธิ GSP การตอบโต้อุดหนุนและการต่อต้านการทุ่มตลาด รวมทั้งการออกกฎหมายการค้าใหม่ๆ ของสหภาพยุโรปที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของอาเซียนขึ้นหารือด้วย เช่นสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) การจัดการกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) และการห้ามใช้สารที่เป็นอันตรายบางประเภท เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-
แถลงข่าว การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 17 - 19 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรม เลอ รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรมเลอ รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ โดยมี อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นายการุณ กิตติสถาพร) เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ด้วย ได้แก่ กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (SEOM-MITI) จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี (SEOM+3) ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (SEOM-CER) และสหภาพ ยุโรป (SEOM-EU)
การประชุมครั้งนี้ จะมีการพิจารณาประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
วิธีการ (modality) ในการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า ที่ประชุมจะพิจารณาวิธีการ (modality) ในการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า โดยใช้ข้อกำหนดของมาตรา 28 ของแกตต์มาเป็นพื้นฐานในการจัดทำ modality ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ขอบเขตสินค้าที่จะมีการแก้ไขข้อลดหย่อนได้ การเจรจาระหว่างประเทศ ผู้ขอแก้ไขกับประเทศที่ได้รับผลกระทบ การชดเชยแก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบ ระยะเวลา ขั้นตอน โดยจะใช้เป็นบรรทัดฐานดำเนินการในการพิจารณาคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อลดหย่อนของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป โดยเฉพาะกรณีของมาเลเซียที่ไม่โอนย้ายสินค้ารถยนต์เข้ามาลดภาษีตามเวลาที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่มาเลเซียไม่โอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU เข้ามาลดภาษีในอาฟต้าตามกำหนดเวลาในวันที่ 1 มกราคม 2543 ซึ่งมีผลเท่ากับมาเลเซียต้องการแก้ไขพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงอาฟต้า (CEPT Agreement) แต่เนื่องจากในข้อตกลงของอาฟต้าเองไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน-2 พฤษภาคม 2543 ที่ประเทศพม่า ได้ตกลงให้จัดทำวิธีการ (modality) ในการแก้ไขข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า
สำหรับข้อกำหนดในมาตรา 28 ของแกตต์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอปรับปรุงแก้ไข ตารางข้อลดหย่อนภาษีศุลกากร ซึ่งกำหนดว่าสมาชิกสามารถขอแก้ไขตารางข้อลดหย่อนของตนที่ผูกพันใน WTO ได้ โดยต้องเจรจากับสมาชิกที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลประโยชน์ชดเชย (compensation) ซึ่งอาจเป็นไปในรูปของการลดภาษีสินค้าอื่นแทน ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ต้องการแก้ไขข้อผูกพัน ก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบก็มีสิทธิเพิกถอนสิทธิประโยชน์ของตนเองที่ให้แก่ประเทศผู้ขอแก้ไขได้เช่นกัน
การพิจารณาร่างข้อตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ที่ประชุมจะพิจารณาร่างข้อตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งคณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Task Force : EATF) ได้จัดทำขึ้น เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม 2543 และให้ผู้นำอาเซียนลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ โดยร่างความตกลงดังกล่าวประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ
2.1 การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ (ASEAN Information Infrastructure: AII)
ให้มีระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้โดยไม่ติดขัดภายในอาเซียนใน ปี 2544 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล ให้มีการวางแผนผังโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ASEAN Backbone) และจัดตั้งศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลอาเซียน (ASEAN Internet Exchange)
2.2 การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Facilitating E-Commerce)
พิจารณาการจัดทำมาตรฐานร่วมของอาเซียน (Common Regional Standards) ที่ยึดหลักมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีกฎหมายที่ยอมรับการตกลงซื้อขายทางคอมพิวเตอร์ภายในปี 2546 สนับสนุนให้มีการยอมรับร่วมกันในเรื่องการลงลายมือชื่อและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature and Documents) ในปี 2544 และมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างช้าที่สุดในปี 2545
2.3 การจัดทำเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (Common marketplace for ASEAN ICT goods and services)
พิจารณากรอบความตกลงว่าด้วยการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ด้านการค้าสินค้า (e-Trade) ด้านการค้าบริการ (e-Service) และด้านการส่งเสริมการลงทุน (e-Investment)
2.4 การส่งเสริมการพัฒนาสังคม e-Society ในอาเซียน
การเสริมสร้างสังคมบนพื้นฐานความรู้ที่สูงขึ้น (Knowledge-based Society) เพื่อลดช่องว่างในอาเซียน รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของแรงงานอาเซียน และสนับสนุนให้แรงงาน/ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้และประสบการณ์สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยเสรีภายในอาเซียน
2.5 การสร้าง e-Government
ให้รัฐบาลนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อประสานงานกับภาคเอกชน เช่น ในการขอใบอนุญาต การเสียภาษี และพิธีการศุลกากร เป็นต้น
3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออก (อาเซียน+จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
ที่ประชุมจะพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อนำเสนอในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและผู้นำต่อไป
ทั้งนี้แนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออก จะมีสาขาต่างๆ ดังนี้
เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง
เพิ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยผ่านโครงการเครือข่ายต่าง ๆ
เช่น สภาธุรกิจในเอเชียตะวันออก (East Asia Business Council) และเวทีธุรกิจอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน (Industrial-Specific Business Fora : ISBF)
ส่งเสริมความร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
เสริมสร้างความแข็งแกร่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และอุตสาหกรรมสนับสนุน
ความร่วมมือกันในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประสานความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในเวทีระหว่างประเทศและภูมิภาค (WTO, APEC, ASEM)
4. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น
อาเซียนและญี่ปุ่นมีแผนปฏิบัติงานร่วม (Joint Action Plan) เป็นกรอบความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-MITI Economic and Industrial Cooperation Committee: AMEICC) 5 ด้านหลัก ได้แก่
การเร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนาดกลาง-เล็ก/อุตสาหกรรมสนับสนุน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ในการดำเนินงานนี้ คณะทำงานฯ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายรัฐบาล และเอกชนของอาเซียน กับญี่ปุ่น ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำโครงการความร่วมมือที่จะขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น
ที่ประชุมจะติดตามผลความคืบหน้าในการดำเนินงานที่ผ่านมา และพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาเซียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับอุตสาหกรรมของอาเซียนให้ฟื้นตัว และการเพิ่มขีดความสามารถในด้านส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาเซียนไปยังตลาดญี่ปุ่น และประเทศที่สาม เช่นลาตินอเมริกา และแอฟริกา เป็นต้น โดยพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การฝึกอบรมการตลาด และการจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-CER Linkage)
นับตั้งแต่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีการค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีมติให้เชื่อมโยงความร่วมมือกันในด้านการค้า ตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายได้เชื่อมโยงความร่วมมือกันในสาขาต่างๆ เช่น การเข้าสู่ตลาด มาตรฐานและความสอดคล้อง การเกษตร ศุลกากร การขนส่ง การท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านต่างๆ และความร่วมมือกับภาคเอกชน เป็นต้น
ทั้งนี้ ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ได้เสนอโครงการความร่วมมือกับอาเซียนในอนาคต เช่นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดทำ Website ข้อมูลโอกาสการลงทุน และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านการให้บริการตรวจสอบ และการรับรองสินค้าพืช สัตว์ และประมง รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถในด้านการแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายความร่วมมือร่วมกัน
ที่ประชุมจะพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือใหม่ๆ ที่จะเสริมสร้างและอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างกัน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการลดอุปสรรคด้านมาตรการมิใช่ภาษี (SPS) สินค้าเกษตรของอาเซียนไปยังออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดยขอให้ช่วยเหลืออาเซียนในด้านความร่วมมือทางวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
สำหรับในเรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AFTA-CER FTA) ที่ประชุมจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการจัดทำเขตการค้าเสรีร่วมกันและแนวทางที่ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์จะช่วยเหลืออาเซียนในการปรับตัวต่อไป
6. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
ที่ประชุมจะแลกเปลี่ยนความเห็นกันเกี่ยวกับสถานะเศรษฐกิจปัจจุบัน และความคืบหน้าของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปมีการปรับองค์กรภายใน จึงทำให้ข้อเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียน และสหภาพยุโรปชะงักงันไป เช่นด้านมาตรฐานและการรับรอง ทรัพย์สินทางปัญญา และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนจะขอให้สหภาพยุโรปเร่งรัดการดำเนินโครงการต่างๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ในโอกาสนี้อาเซียน
จะยกประเด็นปัญหาอุปสรรคการค้าของอาเซียนไปยังสหภาพยุโรป เช่นข้อจำกัดโควตาสิ่งทอ การตัดสิทธิ GSP การตอบโต้อุดหนุนและการต่อต้านการทุ่มตลาด รวมทั้งการออกกฎหมายการค้าใหม่ๆ ของสหภาพยุโรปที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของอาเซียนขึ้นหารือด้วย เช่นสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) การจัดการกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) และการห้ามใช้สารที่เป็นอันตรายบางประเภท เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-