1. สถานการณ์การผลิต
อาร์ทีเมียขาดแคลน กรมประมงและผู้ค้าร่วมแก้ปัญหา
ขณะนี้ได้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาร์ทีเมีย ซึ่งเป็นอาหารสัตว์น้ำ วัยอ่อน โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตคือ สหรัฐอเมริกา โดยการ รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปริมาณลดน้อยลงอย่างมาก มีผลทำให้การนำเข้าอาร์ทีเมียในประเทศไทยลดลงตามไปด้วย ในขณะที่ความต้องการอาร์ทีเมียยังมีปริมาณเท่าเดิม ปัญหาดังกล่าว กรมประมงได้ประชุมหารือกับบริษัทผู้ค้าอาร์ทีเมียเพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปเรื่องราคาและคุณภาพ โดยกรมประมงขอความร่วมมือให้เอกชนพยายามรักษาระดับราคาที่สามารถทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งอยู่รอดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ค้าอาร์ทีเมียอยู่ได้เช่นกัน ส่วนเรื่องคุณภาพก็ขอให้ผู้ค้าอาร์ทีเมียระบุคุณภาพและวิธีการใช้ให้ชัดเจนกว่าเดิม ทั้งนี้ กรมประมงมีมาตรการในการตรวจสอบคุณภาพอยู่แล้ว
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 - 7 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,097.16 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 589.19 ตัน สัตว์น้ำจืด 507.97 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.16 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.87 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 48.08 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 90.27 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.44 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กรมประมงตรวจเข้มพ่อค้าฉีดสารแปลกปลอมในกุ้ง
นายสิทธิ บุณยรัตนผลิน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวถึง กรณีที่ กรมประมงได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกร และภาคเอกชนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ประกอบด้วยสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ชมรมผู้ค้ากุ้งสมุทรสาคร ชมรมผู้ซื้อกุ้งไทยบริเวณตลาดกลางค้ากุ้งสมุทรสาคร และสมาคมผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไทย ว่า ปัจจุบันได้มีพ่อค้าคนกลางซื้อกุ้งจากบ่อเลี้ยงของเกษตรกรบางรายใส่สิ่งแปลกปลอมลงในกุ้งที่ซื้อจากบ่อเลี้ยง โดยวิธีการแช่หรือฉีดเข้าไปในตัวกุ้ง เพื่อให้กุ้งมีน้ำหนักมากขึ้นและป้องกันการเสื่อมสภาพนั้น กรมประมง ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า สารที่ปนเปื้อนในกุ้งเป็นสารจำพวกเยลลี่ และสารเคมีฟอกขาว ที่มีคุณสมบัติเก็บรักษาสภาพเนื้อและกันน้ำออกจากตัวกุ้ง ซึ่งพ่อค้าคนกลางจะฉีดเข้าด้านหลังบริเวณข้อต่อระหว่างหัวกับตัวกุ้ง และบริเวณหน้าท้อง สามารถเพิ่มน้ำหนักกุ้งได้อีก 5-10%
กรณีดังกล่าว กรมประมงได้ร่วมหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยมอบหมายให้ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาครตรวจวิเคราะห์กุ้งกุลาดำที่ตลาดกลางกุ้งมหาชัยอย่างเข้มงวด หากพบว่าพ่อค้าคนกลางหรือเกษตรกรรายใดใส่สิ่งปลอมปนเข้าไปในกุ้งจะดำเนินการตามกฎหมายทันทีพร้อมทั้งขึ้นบัญชาดำเพื่อแจกจ่ายไปยังห้องเย็นทุกจังหวัดไม่ให้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการรายนั้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท-3-
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 365.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 356.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 382.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 386.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.87 บาท ลดลงจาก 19.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 6-10 กพ.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 6-12 มี.ค. 2543--
อาร์ทีเมียขาดแคลน กรมประมงและผู้ค้าร่วมแก้ปัญหา
ขณะนี้ได้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาร์ทีเมีย ซึ่งเป็นอาหารสัตว์น้ำ วัยอ่อน โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตคือ สหรัฐอเมริกา โดยการ รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปริมาณลดน้อยลงอย่างมาก มีผลทำให้การนำเข้าอาร์ทีเมียในประเทศไทยลดลงตามไปด้วย ในขณะที่ความต้องการอาร์ทีเมียยังมีปริมาณเท่าเดิม ปัญหาดังกล่าว กรมประมงได้ประชุมหารือกับบริษัทผู้ค้าอาร์ทีเมียเพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปเรื่องราคาและคุณภาพ โดยกรมประมงขอความร่วมมือให้เอกชนพยายามรักษาระดับราคาที่สามารถทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งอยู่รอดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ค้าอาร์ทีเมียอยู่ได้เช่นกัน ส่วนเรื่องคุณภาพก็ขอให้ผู้ค้าอาร์ทีเมียระบุคุณภาพและวิธีการใช้ให้ชัดเจนกว่าเดิม ทั้งนี้ กรมประมงมีมาตรการในการตรวจสอบคุณภาพอยู่แล้ว
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 - 7 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,097.16 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 589.19 ตัน สัตว์น้ำจืด 507.97 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.16 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.87 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 48.08 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 90.27 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.44 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กรมประมงตรวจเข้มพ่อค้าฉีดสารแปลกปลอมในกุ้ง
นายสิทธิ บุณยรัตนผลิน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวถึง กรณีที่ กรมประมงได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกร และภาคเอกชนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ประกอบด้วยสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ชมรมผู้ค้ากุ้งสมุทรสาคร ชมรมผู้ซื้อกุ้งไทยบริเวณตลาดกลางค้ากุ้งสมุทรสาคร และสมาคมผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไทย ว่า ปัจจุบันได้มีพ่อค้าคนกลางซื้อกุ้งจากบ่อเลี้ยงของเกษตรกรบางรายใส่สิ่งแปลกปลอมลงในกุ้งที่ซื้อจากบ่อเลี้ยง โดยวิธีการแช่หรือฉีดเข้าไปในตัวกุ้ง เพื่อให้กุ้งมีน้ำหนักมากขึ้นและป้องกันการเสื่อมสภาพนั้น กรมประมง ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า สารที่ปนเปื้อนในกุ้งเป็นสารจำพวกเยลลี่ และสารเคมีฟอกขาว ที่มีคุณสมบัติเก็บรักษาสภาพเนื้อและกันน้ำออกจากตัวกุ้ง ซึ่งพ่อค้าคนกลางจะฉีดเข้าด้านหลังบริเวณข้อต่อระหว่างหัวกับตัวกุ้ง และบริเวณหน้าท้อง สามารถเพิ่มน้ำหนักกุ้งได้อีก 5-10%
กรณีดังกล่าว กรมประมงได้ร่วมหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยมอบหมายให้ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาครตรวจวิเคราะห์กุ้งกุลาดำที่ตลาดกลางกุ้งมหาชัยอย่างเข้มงวด หากพบว่าพ่อค้าคนกลางหรือเกษตรกรรายใดใส่สิ่งปลอมปนเข้าไปในกุ้งจะดำเนินการตามกฎหมายทันทีพร้อมทั้งขึ้นบัญชาดำเพื่อแจกจ่ายไปยังห้องเย็นทุกจังหวัดไม่ให้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการรายนั้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท-3-
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 365.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 356.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 382.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 386.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.87 บาท ลดลงจาก 19.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 6-10 กพ.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 6-12 มี.ค. 2543--