การปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นท้องที่ใหม่ การผลิตยางอยู่ในระยะเริ่มต้น ในปี 2540-2541 ผลิตได้ประมาณ 7,317 ตัน ตั้งแต่เริ่มโครงการปลูกยาง หลายฝ่ายมีความเห็นว่า การแปรรูปยาง จะเป็นปัญหาสำคัญเพราะการทำยางแผ่น ของชาวสวนยาง จำเป็นต้องใช้ น้ำสะอาด ในปริมาณมาก แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นท้องที่แห้งแล้ง ขาดน้ำในฤดูแล้ง
จากความวิตกกังวลดังกล่าวจึงตั้ง ข้อสังเกตุกันว่า การผลิตยางใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะต้องหลากหลาย ตามความสะดวก และความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละแห่ง
จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสภาพการแปรรูปยางที่เป็นเอกลักษณะของรูปแบบยาง ที่ชาวสวนผลิตออกขาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อหาทางพัฒนาให้ชาวสวนมีการแปร
รูปแบบ เหมาะสมและมีรายได้สูงขึ้น
การศึกษาโครงการพัฒนาให้ ชาวสวนมีการแปรรูปยาง ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำท้องที่ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงทำยางและโรงอบยาง ที่รัฐบาลจัดหาให้กลุ่มชาวสวนผ่าน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง รูปแบบของยาง ชั้นยางที่ชาวสวนสมาชิกกลุ่มผลิตได้ และชาวสวนยาง กระจัดกระจายผลิตได้ระดับความสำเร็จของโครงการโรงงานแปรรูปของเอกชน และการศึกษาสภาพท้องที่ในลักษณะ ของการกระจัดกระจายการขนส่งและสภาพน้ำกิน น้ำใช้ โดยการรวมกลุ่มทำยางของชาวสวน
สรุปการศึกษา
ตั้งแต่มีการเปิดกรีดยางและแปรรูปยางประมาณ 6-7 ปี ที่ผ่านมาพบว่าชาวสวน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปเริ่มต้นด้วย การทำยาง แผ่นดิบขาย มาโดย ตลอด ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มแรก สวนเปิดกรีดมีน้อยกระจัดกระจาย พ่อค้ารับซื้อ มีน้อย จึงเป็นความจำเป็น สำหรับชาวสวนที่จะต้องทำเป็นแผ่น เพราะสามารถเก็บไว้ รอขายได้เป็นเวลานานวัน สำหรับการรมควันยางนั้น มีเพียงสมาชิกนิคมสร้างตนเอง ที่อำเภอประสาท จังหวัดบุรีรัมย์ แห่งเดียวที่มีการรมควันยางขาย ชาวสวนใน แหล่งอื่น ๆ ทำยางแผ่นดิบกันหมด
เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้จัดกลุ่มทำยางแผ่นแหล่งกลาง และโรงอบยางขึ้น จำนวน 62 โรง ซึ่งแต่ละโรงทำยางจะมีตะกงจักรรีดยาง บ่อน้ำ สำหรับสมาชิกจำนวน ประมาณ 30 คนและมีโรงอบยางขนาดความจุ 500 แผ่น โรงทำยางแผ่นแหล่งกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสอนให้ชาวสวนรู้จัก
วิธีทำยางแผ่นชั้นดี ถูกต้องตามมาตรฐาน
ปรากฏว่า โดยภาพรวมชาวสวนยางสามารถทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 ร้อยละ 17 คุณภาพ 2 ร้อยละ 25 คุณภาพ 3 ร้อยละ 51 และ คุณภาพ 4 ร้อยละ 7 ของยางแผ่นที่ผลิตได้ทั้งหมด จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี ทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 และ 2 ได้มากที่สุด กลุ่มทำยางแหล่งกลางจำนวน 62 โรงดังกล่าว ครอบคลุมสมาชิก ได้ประมาณ 1,800 คน หรือประมาณร้อยละ 45 ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่อีกประมาณร้อยละ 55 หรือประมาณ 2,200 คน อยู่กันอย่างกระจัดกระจายเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะสร้างโรงทำยางแหล่งกลางได้ สำหรับโรงอบยางที่ควบคู่อยู่กับ โรงทำยางนั้น จุยางแผ่นได้เพียง 500 แผ่น และเป็นการใช้อบยางให้ความชื้นเหลือน้อยที่สุด มิได้อบจนแห้งสนิท รูปแบบของยางยังไม่เปลี่ยนแปลงไป จากยางแผ่นดิบไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าพื้นที่กรีด และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายสนใจที่จะตั้ง โรงงานผลิตน้ำยางข้น มากกว่าที่จะตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
จากความวิตกกังวลดังกล่าวจึงตั้ง ข้อสังเกตุกันว่า การผลิตยางใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะต้องหลากหลาย ตามความสะดวก และความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละแห่ง
จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสภาพการแปรรูปยางที่เป็นเอกลักษณะของรูปแบบยาง ที่ชาวสวนผลิตออกขาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อหาทางพัฒนาให้ชาวสวนมีการแปร
รูปแบบ เหมาะสมและมีรายได้สูงขึ้น
การศึกษาโครงการพัฒนาให้ ชาวสวนมีการแปรรูปยาง ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำท้องที่ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงทำยางและโรงอบยาง ที่รัฐบาลจัดหาให้กลุ่มชาวสวนผ่าน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง รูปแบบของยาง ชั้นยางที่ชาวสวนสมาชิกกลุ่มผลิตได้ และชาวสวนยาง กระจัดกระจายผลิตได้ระดับความสำเร็จของโครงการโรงงานแปรรูปของเอกชน และการศึกษาสภาพท้องที่ในลักษณะ ของการกระจัดกระจายการขนส่งและสภาพน้ำกิน น้ำใช้ โดยการรวมกลุ่มทำยางของชาวสวน
สรุปการศึกษา
ตั้งแต่มีการเปิดกรีดยางและแปรรูปยางประมาณ 6-7 ปี ที่ผ่านมาพบว่าชาวสวน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปเริ่มต้นด้วย การทำยาง แผ่นดิบขาย มาโดย ตลอด ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มแรก สวนเปิดกรีดมีน้อยกระจัดกระจาย พ่อค้ารับซื้อ มีน้อย จึงเป็นความจำเป็น สำหรับชาวสวนที่จะต้องทำเป็นแผ่น เพราะสามารถเก็บไว้ รอขายได้เป็นเวลานานวัน สำหรับการรมควันยางนั้น มีเพียงสมาชิกนิคมสร้างตนเอง ที่อำเภอประสาท จังหวัดบุรีรัมย์ แห่งเดียวที่มีการรมควันยางขาย ชาวสวนใน แหล่งอื่น ๆ ทำยางแผ่นดิบกันหมด
เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้จัดกลุ่มทำยางแผ่นแหล่งกลาง และโรงอบยางขึ้น จำนวน 62 โรง ซึ่งแต่ละโรงทำยางจะมีตะกงจักรรีดยาง บ่อน้ำ สำหรับสมาชิกจำนวน ประมาณ 30 คนและมีโรงอบยางขนาดความจุ 500 แผ่น โรงทำยางแผ่นแหล่งกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสอนให้ชาวสวนรู้จัก
วิธีทำยางแผ่นชั้นดี ถูกต้องตามมาตรฐาน
ปรากฏว่า โดยภาพรวมชาวสวนยางสามารถทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 ร้อยละ 17 คุณภาพ 2 ร้อยละ 25 คุณภาพ 3 ร้อยละ 51 และ คุณภาพ 4 ร้อยละ 7 ของยางแผ่นที่ผลิตได้ทั้งหมด จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี ทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 และ 2 ได้มากที่สุด กลุ่มทำยางแหล่งกลางจำนวน 62 โรงดังกล่าว ครอบคลุมสมาชิก ได้ประมาณ 1,800 คน หรือประมาณร้อยละ 45 ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่อีกประมาณร้อยละ 55 หรือประมาณ 2,200 คน อยู่กันอย่างกระจัดกระจายเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะสร้างโรงทำยางแหล่งกลางได้ สำหรับโรงอบยางที่ควบคู่อยู่กับ โรงทำยางนั้น จุยางแผ่นได้เพียง 500 แผ่น และเป็นการใช้อบยางให้ความชื้นเหลือน้อยที่สุด มิได้อบจนแห้งสนิท รูปแบบของยางยังไม่เปลี่ยนแปลงไป จากยางแผ่นดิบไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าพื้นที่กรีด และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายสนใจที่จะตั้ง โรงงานผลิตน้ำยางข้น มากกว่าที่จะตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-