แท็ก
ธปท.
ข่าวในประเทศ
1. รมว.คลังเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ว่าการธปท.จะมารับตำแหน่งประธานทีเอเอ็มซีอีกตำแหน่ง รมว.คลังเปิดเผยถึงกรณีการแต่งตั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ซึ่งเดิมถูกกำหนดให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) นั้นว่า มีความเป็นไปได้ที่ผู้ว่าการ ธปท.จะควบตำแหน่งประธานทีเอเอ็มซีอีกตำแหน่งหนึ่ง เพราะไม่มีข้อกำหนดอะไรห้ามไว้ อีกทั้งเรื่องของสถาบันการเงินเป็นหน้าที่ของ ธปท.ต้องกำกับดูแลอยู่แล้ว……………………………………………… (มติชน 31)
2. สถานการณ์ค่าเงินบาท รมว.คลังเปิดเผยถึงการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระยะนี้ว่าเป็นผลมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในเรื่องของนโยบายอัตราดอกเบี้ยว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายหลังที่มีการเปลี่ยนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม รมว.คลังคาดว่าภายใน 2 วัน ตลาดเงินจะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติ………………………………………………………………………………(ผู้จัดการรายวัน 31)
3. ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นชอบขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่มและลดภาษีสินค้าตามข้อผูกพันอาฟตา นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รอง นรม. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก.ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ ก.คลังเสนอ โดยให้ขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่มีกำหนดจะสิ้นสุดลงในเดือน ก.ย.44 ขยายออกไปถึงเดือน ก.ย.45 ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้มีการขยายตัวด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชนไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติให้ลดอัตราภาษีสินค้าตามข้อผูกพันเขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)เหลือร้อยละ 0-5 เพิ่มเติมอีกจำนวน 435 รายการ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.44 โดยเป็นการลดภาษีจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 จำนวน 98 รายการ และลดจากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 5 จำนวน 337 รายการ(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ 31)
4. กรมสรรพากรแก้เงื่อนไขการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ก.คลังจะเสนอร่างแก้ไขกฎหมายเรื่องการแก้ไขคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. จากหลักการเดิมที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดหรือเครดิตได้ทุกเดือน เปลี่ยนเป็นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดได้ทุกเดือนเฉพาะผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเครื่องจักรและก่อสร้างอาคารที่มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ส่วนผู้ประกอบการภายในประเทศที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกนั้น กรมสรรพากรจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตให้ในแต่ละเดือน โดยให้นำภาษีขายมาหักลบด้วยภาษีซื้อ หากมีภาษีซื้อเกินกว่าภาษีขายให้นำมาเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป และผู้ประกอบการสามารถขอเครดิตภาษีเป็นเงินสดได้ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ จะมีการประกาศแก้ไขคุณสมบัติผู้ส่งออกที่ดีที่ได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมที่ผู้ส่งออกที่ดีต้องมีกำไรสุทธิ 3 ปีติดต่อกัน เปลี่ยนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินก็สามารถเป็นผู้ส่งออกที่ดีได้(ไทยรัฐ 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวประมาณร้อยละ 0.5 ในปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 30 พ.ค.44 กรรมการอำนวยการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า ญี่ปุ่นต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเงิน รวมทั้งแก้ปัญหาหนี้เสียของระบบธนาคาร โดยการฟื้นเศรษฐกิจที่เปราะบางนั้นไม่ควรพึ่งพาการอ่อนค่าของเงินเยน และคาดว่าปี 44 ญี่ปุ่นจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 0.5 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในอนาคต (รอยเตอร์ 30)
2. ค่าล่วงเวลาของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 31 พ.ค.44 Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ค่าลวงเวลา ซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะรายได้ที่สำคัญของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้าง ลดลงร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 19,244 เยน/เดือน (159.8 ดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นับจากเดือน มี.ค.44 ที่ลดลงร้อยละ 1.1 ส่วนรายได้เป็นรายเดือนโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มีจำนวนเฉลี่ย 292,505 เยน สูงขึ้นจากเดือน มี.ค.44 ที่ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบต่อปี ทั้งนี้ รายได้จากค่าล่วงเวลาที่ลดลงทำให้แรงงานไม่กล้าใช้จ่ายมาก และเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ (รอยเตอร์ 31)
3. ปรับลดประมาณการขยายตัวของจีดีพีในกลุ่มประเทศยูโร รายงานจากลอนดอนเมื่อ 30 พ.ค. 44 จากผลการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ 22 คนจาก 27 คน ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของกลุ่มประเทศยูโร ลงเหลือร้อยละ 2.3 ในปี 44 ต่ำกว่าที่ ธ. กลางยุโรปและนักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ ที่อัตราร้อยละ 2.5 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มีการปรับลดการคาดการณ์ครั้งนี้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของกลุ่มยูโร มีอัตราการเติบโตของจีดีพีในไตรมาสแรกปี 44 ลดลงเหลือร้อยละ 2 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 (รอยเตอร์30)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนี NAPM จะเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.44 รายงานจากนิวยอร์คเมื่อ 30 พ.ค.44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ดัชนี NAPM (National Association of Purchasing Management) ในเดือน พ.ค.44 จะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยอยู่ที่ระดับ 43.5 จากระดับ 43.2 ในเดือน เม.ย.44 และสูงขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ 41.2 ในเดือน ม.ค.44 (รอยเตอร์ 30)
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากโซลเมื่อ 31 พ.ค. 44
สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ใช้เป็นเครื่องชี้เงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในเดือน พ.ค. 44 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในเดือน เม.ย. 44 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เงินเฟ้อในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาผลผลิตอุตสาหกรรมและค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 พ.ค. 44 45.381(45.556)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 พ.ค. 44ซื้อ 45.2157(45.3858) ขาย 45.5219 (45.6861)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,850) ขาย 5,800 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.28 (27.25)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. รมว.คลังเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ว่าการธปท.จะมารับตำแหน่งประธานทีเอเอ็มซีอีกตำแหน่ง รมว.คลังเปิดเผยถึงกรณีการแต่งตั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ ซึ่งเดิมถูกกำหนดให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) นั้นว่า มีความเป็นไปได้ที่ผู้ว่าการ ธปท.จะควบตำแหน่งประธานทีเอเอ็มซีอีกตำแหน่งหนึ่ง เพราะไม่มีข้อกำหนดอะไรห้ามไว้ อีกทั้งเรื่องของสถาบันการเงินเป็นหน้าที่ของ ธปท.ต้องกำกับดูแลอยู่แล้ว……………………………………………… (มติชน 31)
2. สถานการณ์ค่าเงินบาท รมว.คลังเปิดเผยถึงการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระยะนี้ว่าเป็นผลมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในเรื่องของนโยบายอัตราดอกเบี้ยว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายหลังที่มีการเปลี่ยนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม รมว.คลังคาดว่าภายใน 2 วัน ตลาดเงินจะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติ………………………………………………………………………………(ผู้จัดการรายวัน 31)
3. ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นชอบขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่มและลดภาษีสินค้าตามข้อผูกพันอาฟตา นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รอง นรม. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก.ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ ก.คลังเสนอ โดยให้ขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่มีกำหนดจะสิ้นสุดลงในเดือน ก.ย.44 ขยายออกไปถึงเดือน ก.ย.45 ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้มีการขยายตัวด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชนไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติให้ลดอัตราภาษีสินค้าตามข้อผูกพันเขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)เหลือร้อยละ 0-5 เพิ่มเติมอีกจำนวน 435 รายการ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.44 โดยเป็นการลดภาษีจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 จำนวน 98 รายการ และลดจากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 5 จำนวน 337 รายการ(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ 31)
4. กรมสรรพากรแก้เงื่อนไขการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ก.คลังจะเสนอร่างแก้ไขกฎหมายเรื่องการแก้ไขคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. จากหลักการเดิมที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดหรือเครดิตได้ทุกเดือน เปลี่ยนเป็นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดได้ทุกเดือนเฉพาะผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเครื่องจักรและก่อสร้างอาคารที่มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ส่วนผู้ประกอบการภายในประเทศที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกนั้น กรมสรรพากรจะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตให้ในแต่ละเดือน โดยให้นำภาษีขายมาหักลบด้วยภาษีซื้อ หากมีภาษีซื้อเกินกว่าภาษีขายให้นำมาเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป และผู้ประกอบการสามารถขอเครดิตภาษีเป็นเงินสดได้ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ จะมีการประกาศแก้ไขคุณสมบัติผู้ส่งออกที่ดีที่ได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมที่ผู้ส่งออกที่ดีต้องมีกำไรสุทธิ 3 ปีติดต่อกัน เปลี่ยนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินก็สามารถเป็นผู้ส่งออกที่ดีได้(ไทยรัฐ 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวประมาณร้อยละ 0.5 ในปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 30 พ.ค.44 กรรมการอำนวยการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า ญี่ปุ่นต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเงิน รวมทั้งแก้ปัญหาหนี้เสียของระบบธนาคาร โดยการฟื้นเศรษฐกิจที่เปราะบางนั้นไม่ควรพึ่งพาการอ่อนค่าของเงินเยน และคาดว่าปี 44 ญี่ปุ่นจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 0.5 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในอนาคต (รอยเตอร์ 30)
2. ค่าล่วงเวลาของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 31 พ.ค.44 Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ค่าลวงเวลา ซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะรายได้ที่สำคัญของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้าง ลดลงร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 19,244 เยน/เดือน (159.8 ดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นับจากเดือน มี.ค.44 ที่ลดลงร้อยละ 1.1 ส่วนรายได้เป็นรายเดือนโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มีจำนวนเฉลี่ย 292,505 เยน สูงขึ้นจากเดือน มี.ค.44 ที่ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบต่อปี ทั้งนี้ รายได้จากค่าล่วงเวลาที่ลดลงทำให้แรงงานไม่กล้าใช้จ่ายมาก และเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ (รอยเตอร์ 31)
3. ปรับลดประมาณการขยายตัวของจีดีพีในกลุ่มประเทศยูโร รายงานจากลอนดอนเมื่อ 30 พ.ค. 44 จากผลการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ 22 คนจาก 27 คน ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของกลุ่มประเทศยูโร ลงเหลือร้อยละ 2.3 ในปี 44 ต่ำกว่าที่ ธ. กลางยุโรปและนักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ ที่อัตราร้อยละ 2.5 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มีการปรับลดการคาดการณ์ครั้งนี้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของกลุ่มยูโร มีอัตราการเติบโตของจีดีพีในไตรมาสแรกปี 44 ลดลงเหลือร้อยละ 2 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 (รอยเตอร์30)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนี NAPM จะเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.44 รายงานจากนิวยอร์คเมื่อ 30 พ.ค.44 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ดัชนี NAPM (National Association of Purchasing Management) ในเดือน พ.ค.44 จะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยอยู่ที่ระดับ 43.5 จากระดับ 43.2 ในเดือน เม.ย.44 และสูงขึ้นจากระดับต่ำสุดที่ 41.2 ในเดือน ม.ค.44 (รอยเตอร์ 30)
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากโซลเมื่อ 31 พ.ค. 44
สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ใช้เป็นเครื่องชี้เงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในเดือน พ.ค. 44 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในเดือน เม.ย. 44 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เงินเฟ้อในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาผลผลิตอุตสาหกรรมและค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 พ.ค. 44 45.381(45.556)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 พ.ค. 44ซื้อ 45.2157(45.3858) ขาย 45.5219 (45.6861)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,850) ขาย 5,800 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.28 (27.25)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-