คำแถลงของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เพื่อเสนอพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 ต่อสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544
________________________
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ
กระผมนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้นำเสนอพระราชกำหนดบรรษัทสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาเพื่อสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบ
กระผมใคร่ขอเรียนว่าการที่ต้องออกกฎหมายจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัยพ์ไทยหรือ บสท. ในรูปแบบของพระราชกำหนดนั้น เพราะมีความจำเป็นอันเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้เสีย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่บั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้เสียอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ใช้กลับไม่ได้ผลเท่าที่ควร หนี้เสียคงค้างในระบบสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนที่ยังไม่สามารถตกลงปรับโครงสร้างหรือจัดการจำหน่ายเพื่อเคลียร์หนี้เสียได้ ยังคงมีอยู่สูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 30% ของรายได้ประชาชาติ
ในขณะเดียวกันหนี้ที่ปรับโครงสร้างไปแล้ว ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาทนั้น ก็กำลังหวนกลับมาเป็นหนี้เสียอีก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้ว กลับมาเป็นหนี้เสีย เฉลี่ยเดือนละ 15,000 - 20,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งหากปล่อยละเลยต่อไป หนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วก็จะกลับกลายมาเป็นหนี้เสียอีกหลายแสนล้านบาทได้ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก
ปัญหาเกี่ยวกับหนี้เสียนั้น สรุปได้ว่ามี 3 ประการคือ ปัญหาของหนี้เสียที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาของหนี้ที่ปรับแล้วแต่กำลังหวนกลับมาเป็นหนี้เสียอีก และปัญหาหนี้เสียใหม่ที่เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หากปล่อยไว้เช่นนี้โดยไม่มีมาตรการแก้ไข ย่อมจะทำให้ศักยภาพในการผลิตและการแข่งขันของประเทศถูกบั่น3ทอนลง ธุรกิจจะอ่อนแอไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ สถาบันการเงินเมื่อเห็นเช่นนั้นก็จะมีความกังวลและไม่ต้องการปล่อยสินเชื่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้เสียที่คั่งค้างอยู่ได้ และจะพะวงกับการตั้งสำรองความเสียหายโดยไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดนี้จะยิ่งสร้างความมืดมนให้กับธุรกิจที่ไม่สามารถหาเงินทุนมาหมุนเวียนได้ ทำให้ธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจนับวันก็จะเสี่ยงต่อความชะงักงัน
รัฐบาลเห็นว่าการจัดการกับภัยอันตรายดังกล่าวเป็นภารกิจสำคัญและเป็นหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงของรัฐบาล จึงได้รีบเร่งจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยขึ้นเพื่อเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูธุรกิจของคนไทยทั้งการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการ อันจะทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานมากขึ้นและการขยายกิจการที่มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในตลาดโลก และตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการลดภาระในการบริหารหนี้เสียของสถาบันการเงิน อันจะทำให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินการตามปกติ เพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ดียิ่งขึ้น
กระผมใคร่ขอเรียนย้ำว่า จุดมุ่งหมายหลักของการจัดตั้ง บสท. ก็เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโต และทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงซึ่งการดำเนินงานของ บสท. จะคำนึงถึงหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาหนี้เสีย เพราะความเสียหายดังกล่าวย่อมเป็นภาระของรัฐบาลและประชาชน 2. ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการแก้ปัญหา เพราะความเสียหายดังกล่าวย่อมเป็นภาระของรัฐบาลและประชาชน 3. เพื่อให้ธุรกิจซึ่งเป็นกลไกของเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหนี้ที่สุจริตให้สามารถประกอบการต่อไปได้เพื่อเป็นกำลังให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมั่นคง
1. อำนาจพิเศษเพื่อความรวดเร็วและเป็นธรรม
กระผมได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า บสท. จะต้องเป็นกลไกที่แก้ปัญหาหนี้เสีย อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้อำนาจพิเศษที่รวบรัดกว่ากระบวนการปกติ กล่าวคือต้องมีอำนาจพิเศษ เพราะต้องแก้ไขปัญหาพิเศษในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ทั้งนี้ก็ได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า บสท. ถูกตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะอย่างแท้จริง และเมื่อภารกิจสำเร็จแล้ว บสท. และอำนาจพิเศษก็จะถูกยุบเลิกไปในระยะเวลาไม่เกิน 12 ปี
อำนาจพิเศษของ บสท. นั้นเป็นอำนาจขององค์กรพิเศษที่ได้รับมอบหมายเสมือนกับเป็น "คนกลาง" ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ และให้ประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจของประเทศ การปรับโครงสร้างหนี้ในอดีตที่ล่าช้า และการปรับโครงสร้างหนี้ที่กลับมาเป็นหนี้เสียอีก ย่อมไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายใดเลย
นอกจากนั้นรัฐบาลต้องการจำกัดความขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่ให้ยืดเยื้อและไม่ประสงค์ให้เกิดการบังคับล้มละลายของบุคคลที่เป็นนักธุรกิจที่สุจริตเพราะเป็นผู้ทำมาหากิน เสียภาษีให้กับประเทศ และเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่เราจะผลักดันเขาออกจากวงจรเศรษฐกิจของประเทศ การทำโทษนักธุรกิจไทยที่สุจริตโดยการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยืดเยื้อทำให้นักธุรกิจไทยหมดหนทางทำธุรกิจ หรือการฟ้องล้มละลายทำให้เขาหมดอนาคต ย่อมไม่เป็นประโยชน์ทั้งกับลูกหนี้ เจ้าหนี้และเศรษฐกิจของชาติโดยรวม
กระบวนการของ บสท. หลังการโอนหนี้มาแล้วนั้น จะต้องรีบพิจารณาว่าลูกหนี้รายใดสมควรปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้รายใดสมควรได้รับการปรับโครงสร้างกิจการหรือจำเป็นต้องนำหลักประกันมาขายเพื่อชำระหนี้ โดยกฎหมายจะปกป้องสิทธิประโยชน์ของลูกหนี้ในทุกกระบวนการ
2. ลดความเสียหายและต้นทุนในการแก้ปัญหา
บสท. นั้น นอกจากจะเป็นกลไกเพื่อฟื้นฟูธุรกิจอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมแล้ว จะต้องลดความเสียหายและจำกัดต้นทุนในการแก้ปัญหาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้โดยการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวบรัด และไม่ซ้ำซ้อน
การปรับโครงสร้างหนี้ที่ปฏิบัติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น มีปัญหาล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเพราะมีเจ้าหนี้หลายราย ทำให้การเจรจายืดเยื้อ เพราะเมื่อเจ้าหนี้รายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับแผนฟื้นฟูก็จะทำให้เกิความล่าช้าได้ บสท. จึงเป็นกลไกที่จะลดจำนวนเจ้าหนี้ จากหลายรายมาเหลือรายเดียว เพื่อการปรับโครงสร้างที่รวดเร็วและเป็นประโยชน์กับลูกหนี้
นอกจากนั้น นโยบายในอดีตที่ส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จัดตั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ของตัวเอง จนกระทั่งปัจจุบันมีบริษัทสินทรัพย์ถึง 11 แห่ง ย่อมเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเป็นการใช้บุคคลากรของประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพเพราะเราไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับโครงสร้างหนี้มากมายเช่นนั้น
ฉะนั้น การจัดตั้งกลไกกลางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบจึงน่าจะมีเหตุผลมากกว่าทั้งในด้านของประสิทธิภาพการจัดการ และต้นทุนในการดำเนินการ ดีกว่าปล่อยให้ต่างคนต่างทำ ประเด็นนี้เป็นจุดอ่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของธนาคารรัฐที่ยังมีหนี้เสียคงค้างกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของสินเชื่อธนาคารรัฐเพราะที่ผ่านมาการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารรัฐดำเนินการได้ไม่คล่องตัว จึงเกิดความล่าช้ากว่าภาคเอกชนที่มีหนี้เสียเหลือประมาณ 20 % ของสินเชื่อธนาคารเอกชน
ต่อกรณีที่ได้มีการแสดงความเป็นห่วงว่า การจัดตั้ง บสท. จะทำให้เกิดความเสียหายคิดมูลค่าเป็นแสนล้านบาท กระผมขอเรียนว่า ความกังวลดังกล่าวเป็นเพราะความไม่เข้าใจ เนื่องจากความเสียหายจากการเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินของรัฐบาลในอดีต ซึ่งได้มีการประเมินว่ามีมูลค่าประมาณ 8 แสนล้านบาท ถึง 1.2 ล้านล้านบาทนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วกับกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ยังไม่ได้รับรู้ในทางบัญชี เมื่อมีการโอนหนี้เสียมาให้ บสท. ความเสียหายในอดีตก็จะปรากฏขึ้น ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นข้อดีเพราะเป็นการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น และข้อดีอีกประการหนึ่งคือ เปิดโอกาสให้ บสท. ได้จัดการบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายลงได้เมื่อเทียบกับแนวทางเดิมที่ปฏิบัติมา ซึ่งนับวันความเสียหายมีแต่จะเพิ่มเพราะความล่าช้าและการขาดประสิทธิภาพได้เมื่อเทียบกับแนวทางเดิมที่ปฏิบัติมา ซึ่งนับวันความเสียหายมีแต่จะเพิ่มเพราะความล่าช้าและการขาดประสิทธิภาพ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ ตามที่กระผมได้กราบเรียนว่าการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างกลไกในการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการเงินสามารถกลับไปดำเนินกิจการได้ตามปกติโดยเร็ว โดยยึดหลักความเป็นธรรม การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พุทธศักราช 2544 จึงได้กำหนดหลักการพื้นฐานประการหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินงานของ บสท. มีความคล่องตัว และสนองตอบวัตถุประสงค์หลักขององค์กร คือ การร่วมรับรู้ผลขาดทุนและการแบ่งปันผลกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่าง บสท. (ผู้รับโอน) และสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้เป็นเจ้าหนี้เดิม หลักการพื้นฐานดังกล่าวเป็นกลไกหลักของกระบวนการปฏิบัติการของ บสท. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อมีการรับรู้ผลจากการบริหารงานของ บสท.
พระราชกำหนดฯ ได้กำหนดให้ บสท. รับโอนหนี้มาในราคาเท่ากับมูลค่าหลักประกันของหนี้ที่โอน ซึ่งหลักประกันอาจมีมูลค่าแตกต่างกันตามลักษณะของสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันหนี้ ทั้งนี้คณะกรรมการบสท. จะกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาหลักประกันที่เหมาะสมโดยยืดถือแนวปฏิบัติสากลที่ใช้อยู่ทั่วไป และในการโอนหนี้ไปบสท. สถาบันการเงินผู้โอนหนี้ถือว่าได้รับรู้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเดิมไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องสำรองให้ครบร้อยละร้อยตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ในความเป็นจริงราคาประเมินของหลักประกันย่อมจะสูงหรือต่ำกว่าราคาในท้องตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาได้ นอกจากนี้ลูกหนี้แต่ละรายก็มีคุณภาพและศักยภาพในการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการที่แตกต่างกัน การคาดการณ์ผลกำไรหรือขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ หรือการปรับโครงสร้างกิจการล่วงหน้าจึงมีความไม่แน่นอนและอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้มีการร่วมรับรู้ผลขาดทุนและการแบ่งปันผลกำไรระหว่าง บสท. และสถาบันการเงินผู้โอนหนี้
ในเชิงปฏิบัติ การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้ทั้งหลายย่อมจะนำไปสู่ความสูญเสียและกำไรที่คละกันไป อาทิ บสท. อาจรับโอนลูกหนี้บางรายที่ราคาประเมินของสินทรัพย์ค้ำประกันสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น หรือเป็นลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับโครงสร้างกิจการต่ำ ในกรณีเหล่านี้ บสท. จะไม่ต้องรับความสูญเสียดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะการสูญเสียร้อยละ 20 แรกของราคาโอนซึ่งอาจเกิดจากมูลค่าหลักประกันที่เสื่อมราคาลงเร็วหรือมากกว่าที่ควร ในทางตรงกันข้าม แม้ว่า บสท. จะมิได้มุ่งแสวงหากำไรจากสินทรัพย์ที่รับโอน ในกรณีที่ บสท. ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างกิจการจนเกิดผลกำไรแท้จริง สถาบันการเงินผู้โอนหนี้ก็สมควรได้รับส่วนแบ่งผลกำไร เพื่อไปชดเชยความสูญเสียที่สถาบันการเงินได้รับรู้ไปแล้วส่วนหนึ่งก่อนการโอนหนี้ไปบสท. ทั้งนี้ บสท. จะนำต้นทุนในการบริหารสินทรัพย์มาหักออกจากรายรับก่อนที่จะมีการแบ่งผลกำไรด้วย
กล่าวโดยสรุป การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้แต่ละรายอาจนำไปสู่ความสูญเสียหรือกำไร แต่หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว หลักการร่วมรับรู้ความสูญเสียและการแบ่งผลกำไรจะก่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และรัฐบาล ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการปฏิบัติงานของ บสท.
3. การฟื้นฟูธุรกิจของลูกหนี้และส่งเสริมสถานะของสถาบันการเงินให้แข็งแกร่งขึ้น
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ เพื่อให้การบริหารงานของ บสท. สามารถบรรลุในวัตถุประสงค์ที่จะฟื้นฟูลูกหนี้ และส่งเสริมสถานะของสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง คณะกรรมการบริหารของบสท. จะต้องตัดสินใจว่า หนี้แต่ละรายสมควรจะปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ หรือควรจำหน่ายสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ ความสุจริต ความร่วมมือและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ประกอบกัน
ในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้นั้น จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืนของลูกหนี้ที่สุจริต และจะผ่อนปรนได้ เช่น หากลูกหนี้ชำระหนี้ไปส่วนหนึ่งแล้วและลูกหนี้ไม่มีทรพัย์สินอื่นมาชำระอีก หากผู้คำประกันยอมชำระหนี้ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันก็จะหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว
ในส่วนของการปรับโครงสร้างกิจการที่จะสามารถทำควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้นั้น บสท. มีเจตนารมณ์ที่จะให้ลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และรักษาสิทธิ ผลประโยชน์ของลูกหนี้อย่างเต็มที่ เช่น แม้ในกรณีที่ลูกหนี้มิได้เป็นผู้บริหารแผนลูกหนี้ยังสามารถทักท้วงและขอให้ปลดผู้บริหารแผนได้หากชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารแผนมิได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผน หรือ กระทำการที่เป็นการเสียหายต่อลูกหนี้
นอกเหนือจากการมุ่งฟื้นฟูลูกหนี้ที่สุจริต การดำเนินการของ บสท. จะช่วยส่งเสริมสถานะของสถาบันการเงินเช่นกัน เพื่อให้สถาบันการเงินซึ่งบอบซ้ำจากวิกฤติเศรษฐกิจและผลกระทบที่ติดตามมาแข็งแกร่งขึ้น สามารถดำเนินกิจการได้เป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง
การที่สถาบันการเงินโอนหนี้เสียที่มีเจ้าหนี้หลายราย และมักจะยุ่งยากในการหาข้อยุติไป บสท. โดยแลกกับพันธบัตรของ บสท. ที่มีผลตอบแทน เป็นการช่วยบรรเทาภาระของสถาบันการเงินในการแก้ปัญหาหนี้เสีย ทำให้สถาบันการเงินสามารถทุ่มเททรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรือเวลาให้กับการปรับปรุงเสริมสร้างกิจการให้เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งสร้างหรือขยายธุรกิจได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั่วไปและต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่หนี้เสียของสถาบันการเงินที่โอนออกไปนั้น จะได้รับการดูแลและบริหารฟื้นฟูโดย บสท. อย่างเป็นระบบ โปร่งใส และยุติธรรม
จึงกล่าวได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลมุ่งหวังคือ การที่ บสท. จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่ยังมีศักยภาพ มีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้กลับเป็นกิจการที่เจริญก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้สถาบันการเงินซึ่งเป็นกลไกหลักด้านการเงินของระบบเศรษฐกิจ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อเสริมสร้างให้กิจการมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความมั่นคงและมั่นใจ เมื่อธุรกิจฟื้นตัวและสถาบันการเงินเดินหน้าได้เป็นปกติ ก็จะเป็นแรงร่วมผลักดันให้การพัฒนาประเทศก้าวไปได้อย่างต่อเนื่อง
4. ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของ บสท.
ความสำเร็จของ บสท. นั้นไม่เพียงแต่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ยังขึ้นอยู่กับการที่จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องเป็นกระบวงการที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน จึงได้มีการกำหนดไว้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ- การให้อำนาจแก่ รมว. คลังในการกำกับกิจการของ บสท. และมีอำนาจสั่งให้ บสท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ บสท. ที่ขัดกับนโยบายของรัฐบาล- การให้มีคณะกรรมการตรวจสอบกิจการภายใน 5 คน- การให้ ธปท. มีอำนาจตรวจสอบอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับอำนาจที่ใช้ตรวจสอบและแทรกแซงธนาคารพาณิชย์- นอกจากนี้ บสท. ยังจะต้องถูกประเมินผลงานโดยคณะทำงานอิสระเมื่อครบ 2 ปีแรกของการทำงาน และหากทำได้ดีก็สามารถดำเนินการต่อไป แต่หากทำไม่ดีก็ต้องปรับปรุงหรือจะยุบเลิกก็ได้- บสท. จะต้องถูกตรวจสอบบัญชีทุก 6 เดือนและต้องเปิดเผย และเผยแพร่รายงานกิจการงบดุล และบัญชีกำไรและขาดทุนให้ ครม. และประชาชน ทราบ- ที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ บสท. ที่เรียกรับ หรือยอมจะรับสินบนจากลูกหนี้หรือบุคคลใด เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
5. สรุป
จากที่กระผมได้ลำดับความข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่น และตั้งใจ แน่วแน่ในการแก้ปัญหาหนี้เสีย โดยเร่งด่วนและเบ็ดเสร็จ จึงได้ตราพระราชกำหนด บสท. ขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นฟูภาคธุรกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม และลดภาระความเสียหายในอดีตให้น้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้เสียภาษี
รัฐบาลมีความมั่นใจว่า โครงสร้างและกลไกการบริหารของ บสท. ที่ได้จัดตั้งขึ้นนั้นมีความชัดเจนและมีศักยภาพในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กล่าวข้างต้น ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความซื่อสัตย์สุจริตที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ ท้ายที่สุดนี้กระผมใคร่ขอกราบเรียนอีกครั้งหนึ่งว่า พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฉบับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอันจะชี้ชะตาเศรษฐกิจไทยในอนาคต ประโยชน์อันพึงจะเกิดก็มิใช่จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือจะบังเกิดต่อรัฐบาลก็หาไม่ได้ แต่ประโยชน์นั้นจะมีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม แน่นอนที่สุดว่า การตัดสินใจใด ๆ ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียติ เมื่อสถานการณ์และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจดำเนินมาถึงจุดนี้ กระผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า พระราชกำหนดฉบับนี้ จะก่อประโยชน์ต่อชาติ และประชาชนโดยส่วนรวม กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สภาฯ แห่งนี้จะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดฉบับนี้ เพื่อให้รัฐบาลได้เร่งดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
กรองจิตร : พิมพ์--จบ--
-ศน-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เพื่อเสนอพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 ต่อสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544
________________________
กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ
กระผมนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้นำเสนอพระราชกำหนดบรรษัทสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาเพื่อสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบ
กระผมใคร่ขอเรียนว่าการที่ต้องออกกฎหมายจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัยพ์ไทยหรือ บสท. ในรูปแบบของพระราชกำหนดนั้น เพราะมีความจำเป็นอันเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้เสีย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่บั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้เสียอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ใช้กลับไม่ได้ผลเท่าที่ควร หนี้เสียคงค้างในระบบสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนที่ยังไม่สามารถตกลงปรับโครงสร้างหรือจัดการจำหน่ายเพื่อเคลียร์หนี้เสียได้ ยังคงมีอยู่สูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 30% ของรายได้ประชาชาติ
ในขณะเดียวกันหนี้ที่ปรับโครงสร้างไปแล้ว ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาทนั้น ก็กำลังหวนกลับมาเป็นหนี้เสียอีก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้ว กลับมาเป็นหนี้เสีย เฉลี่ยเดือนละ 15,000 - 20,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งหากปล่อยละเลยต่อไป หนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วก็จะกลับกลายมาเป็นหนี้เสียอีกหลายแสนล้านบาทได้ อันจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก
ปัญหาเกี่ยวกับหนี้เสียนั้น สรุปได้ว่ามี 3 ประการคือ ปัญหาของหนี้เสียที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาของหนี้ที่ปรับแล้วแต่กำลังหวนกลับมาเป็นหนี้เสียอีก และปัญหาหนี้เสียใหม่ที่เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หากปล่อยไว้เช่นนี้โดยไม่มีมาตรการแก้ไข ย่อมจะทำให้ศักยภาพในการผลิตและการแข่งขันของประเทศถูกบั่น3ทอนลง ธุรกิจจะอ่อนแอไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ สถาบันการเงินเมื่อเห็นเช่นนั้นก็จะมีความกังวลและไม่ต้องการปล่อยสินเชื่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้เสียที่คั่งค้างอยู่ได้ และจะพะวงกับการตั้งสำรองความเสียหายโดยไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดนี้จะยิ่งสร้างความมืดมนให้กับธุรกิจที่ไม่สามารถหาเงินทุนมาหมุนเวียนได้ ทำให้ธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจนับวันก็จะเสี่ยงต่อความชะงักงัน
รัฐบาลเห็นว่าการจัดการกับภัยอันตรายดังกล่าวเป็นภารกิจสำคัญและเป็นหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงของรัฐบาล จึงได้รีบเร่งจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยขึ้นเพื่อเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูธุรกิจของคนไทยทั้งการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการ อันจะทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานมากขึ้นและการขยายกิจการที่มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในตลาดโลก และตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการลดภาระในการบริหารหนี้เสียของสถาบันการเงิน อันจะทำให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินการตามปกติ เพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ดียิ่งขึ้น
กระผมใคร่ขอเรียนย้ำว่า จุดมุ่งหมายหลักของการจัดตั้ง บสท. ก็เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโต และทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงซึ่งการดำเนินงานของ บสท. จะคำนึงถึงหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาหนี้เสีย เพราะความเสียหายดังกล่าวย่อมเป็นภาระของรัฐบาลและประชาชน 2. ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการแก้ปัญหา เพราะความเสียหายดังกล่าวย่อมเป็นภาระของรัฐบาลและประชาชน 3. เพื่อให้ธุรกิจซึ่งเป็นกลไกของเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหนี้ที่สุจริตให้สามารถประกอบการต่อไปได้เพื่อเป็นกำลังให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมั่นคง
1. อำนาจพิเศษเพื่อความรวดเร็วและเป็นธรรม
กระผมได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า บสท. จะต้องเป็นกลไกที่แก้ปัญหาหนี้เสีย อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องให้อำนาจพิเศษที่รวบรัดกว่ากระบวนการปกติ กล่าวคือต้องมีอำนาจพิเศษ เพราะต้องแก้ไขปัญหาพิเศษในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ทั้งนี้ก็ได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า บสท. ถูกตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะอย่างแท้จริง และเมื่อภารกิจสำเร็จแล้ว บสท. และอำนาจพิเศษก็จะถูกยุบเลิกไปในระยะเวลาไม่เกิน 12 ปี
อำนาจพิเศษของ บสท. นั้นเป็นอำนาจขององค์กรพิเศษที่ได้รับมอบหมายเสมือนกับเป็น "คนกลาง" ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ และให้ประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจของประเทศ การปรับโครงสร้างหนี้ในอดีตที่ล่าช้า และการปรับโครงสร้างหนี้ที่กลับมาเป็นหนี้เสียอีก ย่อมไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายใดเลย
นอกจากนั้นรัฐบาลต้องการจำกัดความขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่ให้ยืดเยื้อและไม่ประสงค์ให้เกิดการบังคับล้มละลายของบุคคลที่เป็นนักธุรกิจที่สุจริตเพราะเป็นผู้ทำมาหากิน เสียภาษีให้กับประเทศ และเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่เราจะผลักดันเขาออกจากวงจรเศรษฐกิจของประเทศ การทำโทษนักธุรกิจไทยที่สุจริตโดยการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยืดเยื้อทำให้นักธุรกิจไทยหมดหนทางทำธุรกิจ หรือการฟ้องล้มละลายทำให้เขาหมดอนาคต ย่อมไม่เป็นประโยชน์ทั้งกับลูกหนี้ เจ้าหนี้และเศรษฐกิจของชาติโดยรวม
กระบวนการของ บสท. หลังการโอนหนี้มาแล้วนั้น จะต้องรีบพิจารณาว่าลูกหนี้รายใดสมควรปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้รายใดสมควรได้รับการปรับโครงสร้างกิจการหรือจำเป็นต้องนำหลักประกันมาขายเพื่อชำระหนี้ โดยกฎหมายจะปกป้องสิทธิประโยชน์ของลูกหนี้ในทุกกระบวนการ
2. ลดความเสียหายและต้นทุนในการแก้ปัญหา
บสท. นั้น นอกจากจะเป็นกลไกเพื่อฟื้นฟูธุรกิจอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมแล้ว จะต้องลดความเสียหายและจำกัดต้นทุนในการแก้ปัญหาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้โดยการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวบรัด และไม่ซ้ำซ้อน
การปรับโครงสร้างหนี้ที่ปฏิบัติในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น มีปัญหาล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเพราะมีเจ้าหนี้หลายราย ทำให้การเจรจายืดเยื้อ เพราะเมื่อเจ้าหนี้รายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับแผนฟื้นฟูก็จะทำให้เกิความล่าช้าได้ บสท. จึงเป็นกลไกที่จะลดจำนวนเจ้าหนี้ จากหลายรายมาเหลือรายเดียว เพื่อการปรับโครงสร้างที่รวดเร็วและเป็นประโยชน์กับลูกหนี้
นอกจากนั้น นโยบายในอดีตที่ส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จัดตั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ของตัวเอง จนกระทั่งปัจจุบันมีบริษัทสินทรัพย์ถึง 11 แห่ง ย่อมเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเป็นการใช้บุคคลากรของประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพเพราะเราไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับโครงสร้างหนี้มากมายเช่นนั้น
ฉะนั้น การจัดตั้งกลไกกลางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบจึงน่าจะมีเหตุผลมากกว่าทั้งในด้านของประสิทธิภาพการจัดการ และต้นทุนในการดำเนินการ ดีกว่าปล่อยให้ต่างคนต่างทำ ประเด็นนี้เป็นจุดอ่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของธนาคารรัฐที่ยังมีหนี้เสียคงค้างกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของสินเชื่อธนาคารรัฐเพราะที่ผ่านมาการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารรัฐดำเนินการได้ไม่คล่องตัว จึงเกิดความล่าช้ากว่าภาคเอกชนที่มีหนี้เสียเหลือประมาณ 20 % ของสินเชื่อธนาคารเอกชน
ต่อกรณีที่ได้มีการแสดงความเป็นห่วงว่า การจัดตั้ง บสท. จะทำให้เกิดความเสียหายคิดมูลค่าเป็นแสนล้านบาท กระผมขอเรียนว่า ความกังวลดังกล่าวเป็นเพราะความไม่เข้าใจ เนื่องจากความเสียหายจากการเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินของรัฐบาลในอดีต ซึ่งได้มีการประเมินว่ามีมูลค่าประมาณ 8 แสนล้านบาท ถึง 1.2 ล้านล้านบาทนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วกับกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ยังไม่ได้รับรู้ในทางบัญชี เมื่อมีการโอนหนี้เสียมาให้ บสท. ความเสียหายในอดีตก็จะปรากฏขึ้น ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นข้อดีเพราะเป็นการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น และข้อดีอีกประการหนึ่งคือ เปิดโอกาสให้ บสท. ได้จัดการบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายลงได้เมื่อเทียบกับแนวทางเดิมที่ปฏิบัติมา ซึ่งนับวันความเสียหายมีแต่จะเพิ่มเพราะความล่าช้าและการขาดประสิทธิภาพได้เมื่อเทียบกับแนวทางเดิมที่ปฏิบัติมา ซึ่งนับวันความเสียหายมีแต่จะเพิ่มเพราะความล่าช้าและการขาดประสิทธิภาพ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ ตามที่กระผมได้กราบเรียนว่าการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างกลไกในการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการเงินสามารถกลับไปดำเนินกิจการได้ตามปกติโดยเร็ว โดยยึดหลักความเป็นธรรม การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พุทธศักราช 2544 จึงได้กำหนดหลักการพื้นฐานประการหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินงานของ บสท. มีความคล่องตัว และสนองตอบวัตถุประสงค์หลักขององค์กร คือ การร่วมรับรู้ผลขาดทุนและการแบ่งปันผลกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่าง บสท. (ผู้รับโอน) และสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้เป็นเจ้าหนี้เดิม หลักการพื้นฐานดังกล่าวเป็นกลไกหลักของกระบวนการปฏิบัติการของ บสท. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเมื่อมีการรับรู้ผลจากการบริหารงานของ บสท.
พระราชกำหนดฯ ได้กำหนดให้ บสท. รับโอนหนี้มาในราคาเท่ากับมูลค่าหลักประกันของหนี้ที่โอน ซึ่งหลักประกันอาจมีมูลค่าแตกต่างกันตามลักษณะของสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันหนี้ ทั้งนี้คณะกรรมการบสท. จะกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาหลักประกันที่เหมาะสมโดยยืดถือแนวปฏิบัติสากลที่ใช้อยู่ทั่วไป และในการโอนหนี้ไปบสท. สถาบันการเงินผู้โอนหนี้ถือว่าได้รับรู้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเดิมไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องสำรองให้ครบร้อยละร้อยตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ในความเป็นจริงราคาประเมินของหลักประกันย่อมจะสูงหรือต่ำกว่าราคาในท้องตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาได้ นอกจากนี้ลูกหนี้แต่ละรายก็มีคุณภาพและศักยภาพในการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการที่แตกต่างกัน การคาดการณ์ผลกำไรหรือขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ หรือการปรับโครงสร้างกิจการล่วงหน้าจึงมีความไม่แน่นอนและอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้มีการร่วมรับรู้ผลขาดทุนและการแบ่งปันผลกำไรระหว่าง บสท. และสถาบันการเงินผู้โอนหนี้
ในเชิงปฏิบัติ การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้ทั้งหลายย่อมจะนำไปสู่ความสูญเสียและกำไรที่คละกันไป อาทิ บสท. อาจรับโอนลูกหนี้บางรายที่ราคาประเมินของสินทรัพย์ค้ำประกันสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น หรือเป็นลูกหนี้ที่มีศักยภาพในการปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับโครงสร้างกิจการต่ำ ในกรณีเหล่านี้ บสท. จะไม่ต้องรับความสูญเสียดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะการสูญเสียร้อยละ 20 แรกของราคาโอนซึ่งอาจเกิดจากมูลค่าหลักประกันที่เสื่อมราคาลงเร็วหรือมากกว่าที่ควร ในทางตรงกันข้าม แม้ว่า บสท. จะมิได้มุ่งแสวงหากำไรจากสินทรัพย์ที่รับโอน ในกรณีที่ บสท. ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างกิจการจนเกิดผลกำไรแท้จริง สถาบันการเงินผู้โอนหนี้ก็สมควรได้รับส่วนแบ่งผลกำไร เพื่อไปชดเชยความสูญเสียที่สถาบันการเงินได้รับรู้ไปแล้วส่วนหนึ่งก่อนการโอนหนี้ไปบสท. ทั้งนี้ บสท. จะนำต้นทุนในการบริหารสินทรัพย์มาหักออกจากรายรับก่อนที่จะมีการแบ่งผลกำไรด้วย
กล่าวโดยสรุป การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้แต่ละรายอาจนำไปสู่ความสูญเสียหรือกำไร แต่หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว หลักการร่วมรับรู้ความสูญเสียและการแบ่งผลกำไรจะก่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และรัฐบาล ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการปฏิบัติงานของ บสท.
3. การฟื้นฟูธุรกิจของลูกหนี้และส่งเสริมสถานะของสถาบันการเงินให้แข็งแกร่งขึ้น
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ เพื่อให้การบริหารงานของ บสท. สามารถบรรลุในวัตถุประสงค์ที่จะฟื้นฟูลูกหนี้ และส่งเสริมสถานะของสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง คณะกรรมการบริหารของบสท. จะต้องตัดสินใจว่า หนี้แต่ละรายสมควรจะปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ หรือควรจำหน่ายสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ ความสุจริต ความร่วมมือและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ประกอบกัน
ในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้นั้น จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืนของลูกหนี้ที่สุจริต และจะผ่อนปรนได้ เช่น หากลูกหนี้ชำระหนี้ไปส่วนหนึ่งแล้วและลูกหนี้ไม่มีทรพัย์สินอื่นมาชำระอีก หากผู้คำประกันยอมชำระหนี้ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันก็จะหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว
ในส่วนของการปรับโครงสร้างกิจการที่จะสามารถทำควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้นั้น บสท. มีเจตนารมณ์ที่จะให้ลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และรักษาสิทธิ ผลประโยชน์ของลูกหนี้อย่างเต็มที่ เช่น แม้ในกรณีที่ลูกหนี้มิได้เป็นผู้บริหารแผนลูกหนี้ยังสามารถทักท้วงและขอให้ปลดผู้บริหารแผนได้หากชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารแผนมิได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผน หรือ กระทำการที่เป็นการเสียหายต่อลูกหนี้
นอกเหนือจากการมุ่งฟื้นฟูลูกหนี้ที่สุจริต การดำเนินการของ บสท. จะช่วยส่งเสริมสถานะของสถาบันการเงินเช่นกัน เพื่อให้สถาบันการเงินซึ่งบอบซ้ำจากวิกฤติเศรษฐกิจและผลกระทบที่ติดตามมาแข็งแกร่งขึ้น สามารถดำเนินกิจการได้เป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง
การที่สถาบันการเงินโอนหนี้เสียที่มีเจ้าหนี้หลายราย และมักจะยุ่งยากในการหาข้อยุติไป บสท. โดยแลกกับพันธบัตรของ บสท. ที่มีผลตอบแทน เป็นการช่วยบรรเทาภาระของสถาบันการเงินในการแก้ปัญหาหนี้เสีย ทำให้สถาบันการเงินสามารถทุ่มเททรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรือเวลาให้กับการปรับปรุงเสริมสร้างกิจการให้เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งสร้างหรือขยายธุรกิจได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั่วไปและต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่หนี้เสียของสถาบันการเงินที่โอนออกไปนั้น จะได้รับการดูแลและบริหารฟื้นฟูโดย บสท. อย่างเป็นระบบ โปร่งใส และยุติธรรม
จึงกล่าวได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลมุ่งหวังคือ การที่ บสท. จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่ยังมีศักยภาพ มีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้กลับเป็นกิจการที่เจริญก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้สถาบันการเงินซึ่งเป็นกลไกหลักด้านการเงินของระบบเศรษฐกิจ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อเสริมสร้างให้กิจการมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความมั่นคงและมั่นใจ เมื่อธุรกิจฟื้นตัวและสถาบันการเงินเดินหน้าได้เป็นปกติ ก็จะเป็นแรงร่วมผลักดันให้การพัฒนาประเทศก้าวไปได้อย่างต่อเนื่อง
4. ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของ บสท.
ความสำเร็จของ บสท. นั้นไม่เพียงแต่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ยังขึ้นอยู่กับการที่จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องเป็นกระบวงการที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน จึงได้มีการกำหนดไว้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ- การให้อำนาจแก่ รมว. คลังในการกำกับกิจการของ บสท. และมีอำนาจสั่งให้ บสท. ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของ บสท. ที่ขัดกับนโยบายของรัฐบาล- การให้มีคณะกรรมการตรวจสอบกิจการภายใน 5 คน- การให้ ธปท. มีอำนาจตรวจสอบอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับอำนาจที่ใช้ตรวจสอบและแทรกแซงธนาคารพาณิชย์- นอกจากนี้ บสท. ยังจะต้องถูกประเมินผลงานโดยคณะทำงานอิสระเมื่อครบ 2 ปีแรกของการทำงาน และหากทำได้ดีก็สามารถดำเนินการต่อไป แต่หากทำไม่ดีก็ต้องปรับปรุงหรือจะยุบเลิกก็ได้- บสท. จะต้องถูกตรวจสอบบัญชีทุก 6 เดือนและต้องเปิดเผย และเผยแพร่รายงานกิจการงบดุล และบัญชีกำไรและขาดทุนให้ ครม. และประชาชน ทราบ- ที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ บสท. ที่เรียกรับ หรือยอมจะรับสินบนจากลูกหนี้หรือบุคคลใด เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
5. สรุป
จากที่กระผมได้ลำดับความข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่น และตั้งใจ แน่วแน่ในการแก้ปัญหาหนี้เสีย โดยเร่งด่วนและเบ็ดเสร็จ จึงได้ตราพระราชกำหนด บสท. ขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นฟูภาคธุรกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม และลดภาระความเสียหายในอดีตให้น้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้เสียภาษี
รัฐบาลมีความมั่นใจว่า โครงสร้างและกลไกการบริหารของ บสท. ที่ได้จัดตั้งขึ้นนั้นมีความชัดเจนและมีศักยภาพในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กล่าวข้างต้น ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความซื่อสัตย์สุจริตที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ ท้ายที่สุดนี้กระผมใคร่ขอกราบเรียนอีกครั้งหนึ่งว่า พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฉบับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดอันจะชี้ชะตาเศรษฐกิจไทยในอนาคต ประโยชน์อันพึงจะเกิดก็มิใช่จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือจะบังเกิดต่อรัฐบาลก็หาไม่ได้ แต่ประโยชน์นั้นจะมีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม แน่นอนที่สุดว่า การตัดสินใจใด ๆ ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียติ เมื่อสถานการณ์และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจดำเนินมาถึงจุดนี้ กระผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า พระราชกำหนดฉบับนี้ จะก่อประโยชน์ต่อชาติ และประชาชนโดยส่วนรวม กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สภาฯ แห่งนี้จะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดฉบับนี้ เพื่อให้รัฐบาลได้เร่งดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
กรองจิตร : พิมพ์--จบ--
-ศน-