ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดพัทลุงประกอบด้วย 9 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน เขาชัยสน ศรีบรรพต ตะโหมด กงหรา ป่าบอน ปากพยูน บางแก้ว และกิ่งอำเภอป่าพยอม
พื้นที่รวม 3,424.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,140,300 ไร่
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีประชากรรวม 502,662 คน หรือร้อยละ 6.2 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price )ปี 2539มีจำนวน9,831.8 ล้านบาท โดยมีสาขาการเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คือมีสัดส่วนร้อยละ 35.0ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและการค้าส่งร้อยละ 22.3 และสาขาบริการร้อยละ9.9 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ30,697บาทต่อปีเป็นอันดับสุดท้ายของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดพัทลุงแม้จะเป็นจังหวัดเล็ก ๆ อยู่ระหว่างกึ่งกลางในการเชื่อมโยงระหว่าง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็จัดได้ว่าเป็นจังหวัดที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่อยู่ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และมีศักยภาพในการขยายตัวต่อไปได้อีก
สภาพพื้นที่และภูมิอากาศยังเหมาะสมแก่การเกษตรกรรม พัทลุงจึงเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ เป็นแหล่งผลิตข้าว ยางพารา เป็นแหล่งผลิตโคนม ปศุสัตว์และการประมง
จังหวัดพัทลุงมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ภูเขา ถ้ำ ทะเลสาบสงขลา ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย น้ำพุร้อน อุทยานนกน้ำ และเกาะแก่งต่าง ๆ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นอกจากนี้พัทลุงยังเป็นเมืองเก่าที่มีวัฒนธรรมมาช้านาน มีศาสนสถานโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม งานเทศกาลซึ่งหาดูได้ยาก เช่นโบราณสถานที่วัดเขียนบางแก้ว วังเจ้าเมืองพัทลุง วัดวังและประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ อย่างประเพณีโพนกลอง มหกรรมมโนราห์ และประเพณีการแข่งขันชิงแชมป์หนังตะลุง เป็นต้น
เนื่องจากจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของภาคใต้ และเป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อของโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจและโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ จังหวัดพัทลุงจึงเป็นแหล่งที่ผลิตผลิตผลทางการเกษตร แหล่งวัตถุดิบและแหล่งอาหารหรือเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำให้กับจังหวัดข้างเคียงที่อยู่ในโครงการทั้งสองนั่นเอง
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASIAN FREE TRADE AREA ,AFTA) ซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลายชนิดในภาคใต้ และมีผลดีต่อการลงทุนในจังหวัดพัทลุง ทั้งด้านอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ไม้ การท่องเที่ยว และธุรกิจการโรงแรม นอกจากนี้ยังส่งผลถึงธุรกิจบริการต่าง ๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นด้วย
ความพร้อมทางด้านศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน
การคมนาคม
จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ประมาณ 3424473 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยูห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟ 846 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถยนต์ตามถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 41 )เป็นระยะทาง 858 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ โดยสามารถเลือกใช้สนามบินในจังหวัดสงขลาหรือจังหวัดตรังที่อยู่ห่างออกไปเพียง 109 และ 62 กิโลเมตรเท่านั้น
ลักษณะสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
จังหวัดพัทลุงมีสภาพพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ สามารถปรับปรุงและดัดแปลงไปปลูกพืชได้หลายชนิด หริอพัฒนาเป้นทุ่งเลี้ยงสัตว์ได้ ปริมาณน้ำฝนรวม 1,853.5 มม.ต่อปี มีการกระจายตัวของฝนดี ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1- 2 เมตรต่อวินาที จังหวัดพัทลุงจึงเป็นจังหวัดที่ไม่มีปัญหาเรื่องวาตภัยที่รุนแรง
สาธารณูปโภค
จังหวัดพัทลุงยังได้มีการพัฒนาและขยายระบบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านไฟฟ้า ประปา และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
สังคมและแรงงาน
ในจังหวัดพัทลุงมีสถานีอนามัย โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลีนิกกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ส่วนทางด้านการสึกษานั้นจะพบว่าประชากรของจังหวัดพัทลุงมีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นขำนวนร้อยละ 55 ซึ่งจัดได้ว่าแรงงานมีคุณภาพ และในอนาคตอันใกล้นี้ยังมีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาพัทลุง อันจะส่งผลดีในอีกหลาย ๆ ด้านด้วย
ข้อเสนอในการลงทุน
ธุรกิจที่เหมาะสมในการลงทุน
จากศักยภาพของจังหวัดพัทลุงในด้านต่าง ๆ จะเห็นว่า การพัฒนาการลงทุนของจังหวัดพัทลุง ควรเป็นการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่มาก ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวยังมีราคาถูก การคมนาคมสะดวก สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ และแหล่งงเนทุนในระบบพร้อม -โรงงานผลิตยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เพราะใกล้แหล่งวัตถถุดิบและยังมีการลงทุนในด้านนี้น้อยโครงการนานาชาติหลายโครงการจะช่วยส่งผลสนับสนุนธุรกิจในด้านนี้
การแปรรูปเนื้อสุกร เพราะมีจำนวนผู้เลี้ยงมาก ทำให้วัตถุดิบในการแปรรูปมีเพียงพอ และมีตลาดทั้งในจังหวัดใกล้เคียง การแปรรูปพืชผักผลไม้ ภูมิประเทศและอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก การพัฒนาทางด้านนี้ยังทำได้อีกมาก การเลี้ยงโคนม สามารถเลี้ยงโคนมได้อีกประมาณ 3-6 เท่า เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตของโรงงานสหกรณ์โคนมที่มีอยู่แล้วในจังหวัด และแหล่งวัตถุดิบอาหารสำหรับเลี้ยงโคก็มีอย่างเพียงพอเพราะพัทลุงเป็นแหล่งกสิกรรมที่ปลูกข้าวได้มากของภาคใต้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดพัทลุงประกอบด้วย 9 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน เขาชัยสน ศรีบรรพต ตะโหมด กงหรา ป่าบอน ปากพยูน บางแก้ว และกิ่งอำเภอป่าพยอม
พื้นที่รวม 3,424.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,140,300 ไร่
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีประชากรรวม 502,662 คน หรือร้อยละ 6.2 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price )ปี 2539มีจำนวน9,831.8 ล้านบาท โดยมีสาขาการเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คือมีสัดส่วนร้อยละ 35.0ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและการค้าส่งร้อยละ 22.3 และสาขาบริการร้อยละ9.9 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ30,697บาทต่อปีเป็นอันดับสุดท้ายของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดพัทลุงแม้จะเป็นจังหวัดเล็ก ๆ อยู่ระหว่างกึ่งกลางในการเชื่อมโยงระหว่าง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็จัดได้ว่าเป็นจังหวัดที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่อยู่ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และมีศักยภาพในการขยายตัวต่อไปได้อีก
สภาพพื้นที่และภูมิอากาศยังเหมาะสมแก่การเกษตรกรรม พัทลุงจึงเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ เป็นแหล่งผลิตข้าว ยางพารา เป็นแหล่งผลิตโคนม ปศุสัตว์และการประมง
จังหวัดพัทลุงมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ภูเขา ถ้ำ ทะเลสาบสงขลา ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย น้ำพุร้อน อุทยานนกน้ำ และเกาะแก่งต่าง ๆ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นอกจากนี้พัทลุงยังเป็นเมืองเก่าที่มีวัฒนธรรมมาช้านาน มีศาสนสถานโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม งานเทศกาลซึ่งหาดูได้ยาก เช่นโบราณสถานที่วัดเขียนบางแก้ว วังเจ้าเมืองพัทลุง วัดวังและประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ อย่างประเพณีโพนกลอง มหกรรมมโนราห์ และประเพณีการแข่งขันชิงแชมป์หนังตะลุง เป็นต้น
เนื่องจากจังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของภาคใต้ และเป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อของโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจและโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ จังหวัดพัทลุงจึงเป็นแหล่งที่ผลิตผลิตผลทางการเกษตร แหล่งวัตถุดิบและแหล่งอาหารหรือเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำให้กับจังหวัดข้างเคียงที่อยู่ในโครงการทั้งสองนั่นเอง
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASIAN FREE TRADE AREA ,AFTA) ซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลายชนิดในภาคใต้ และมีผลดีต่อการลงทุนในจังหวัดพัทลุง ทั้งด้านอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ไม้ การท่องเที่ยว และธุรกิจการโรงแรม นอกจากนี้ยังส่งผลถึงธุรกิจบริการต่าง ๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นด้วย
ความพร้อมทางด้านศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน
การคมนาคม
จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ประมาณ 3424473 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยูห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟ 846 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถยนต์ตามถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 41 )เป็นระยะทาง 858 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ โดยสามารถเลือกใช้สนามบินในจังหวัดสงขลาหรือจังหวัดตรังที่อยู่ห่างออกไปเพียง 109 และ 62 กิโลเมตรเท่านั้น
ลักษณะสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
จังหวัดพัทลุงมีสภาพพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ สามารถปรับปรุงและดัดแปลงไปปลูกพืชได้หลายชนิด หริอพัฒนาเป้นทุ่งเลี้ยงสัตว์ได้ ปริมาณน้ำฝนรวม 1,853.5 มม.ต่อปี มีการกระจายตัวของฝนดี ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1- 2 เมตรต่อวินาที จังหวัดพัทลุงจึงเป็นจังหวัดที่ไม่มีปัญหาเรื่องวาตภัยที่รุนแรง
สาธารณูปโภค
จังหวัดพัทลุงยังได้มีการพัฒนาและขยายระบบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านไฟฟ้า ประปา และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
สังคมและแรงงาน
ในจังหวัดพัทลุงมีสถานีอนามัย โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลีนิกกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ส่วนทางด้านการสึกษานั้นจะพบว่าประชากรของจังหวัดพัทลุงมีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นขำนวนร้อยละ 55 ซึ่งจัดได้ว่าแรงงานมีคุณภาพ และในอนาคตอันใกล้นี้ยังมีโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาพัทลุง อันจะส่งผลดีในอีกหลาย ๆ ด้านด้วย
ข้อเสนอในการลงทุน
ธุรกิจที่เหมาะสมในการลงทุน
จากศักยภาพของจังหวัดพัทลุงในด้านต่าง ๆ จะเห็นว่า การพัฒนาการลงทุนของจังหวัดพัทลุง ควรเป็นการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่มาก ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวยังมีราคาถูก การคมนาคมสะดวก สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ และแหล่งงเนทุนในระบบพร้อม -โรงงานผลิตยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เพราะใกล้แหล่งวัตถถุดิบและยังมีการลงทุนในด้านนี้น้อยโครงการนานาชาติหลายโครงการจะช่วยส่งผลสนับสนุนธุรกิจในด้านนี้
การแปรรูปเนื้อสุกร เพราะมีจำนวนผู้เลี้ยงมาก ทำให้วัตถุดิบในการแปรรูปมีเพียงพอ และมีตลาดทั้งในจังหวัดใกล้เคียง การแปรรูปพืชผักผลไม้ ภูมิประเทศและอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก การพัฒนาทางด้านนี้ยังทำได้อีกมาก การเลี้ยงโคนม สามารถเลี้ยงโคนมได้อีกประมาณ 3-6 เท่า เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตของโรงงานสหกรณ์โคนมที่มีอยู่แล้วในจังหวัด และแหล่งวัตถุดิบอาหารสำหรับเลี้ยงโคก็มีอย่างเพียงพอเพราะพัทลุงเป็นแหล่งกสิกรรมที่ปลูกข้าวได้มากของภาคใต้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-