พืชผล จากข้อมูลการเก็บเกี่ยวผลผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่าผลผลิตพืชผลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ ข้าว (14.1%) เนื่องจากผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จาก ปีก่อน เพราะมีการส่งเสริมให้เกษตรกร
ใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น ยางพารา (0.1%) เนื่องจากราคายางจูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมัน (7.5%) เนื่องจากการเพิ่มขึ้น
ของพื้นที่ให้ผล ขณะที่ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากราคาหัวมันสดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลง
ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ตามการ
เพิ่มขึ้นของราคาพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากการส่งออกมันสำปะหลัง และไก่เนื้ออยู่ในเกณฑ์ดี รวมถึงผลบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
ลง ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคากุ้งส่งออกลดลงถึงร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแข่งขัน
ด้านราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
รายได้เกษตรกรที่ได้จากการขายพืชผลสำคัญในครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคา และผลผลิตพืชผล
ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก(เฉพาะ 12 ชนิด สินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 จากภาวะ
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
ปศุสัตว์ ผลผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่เนื้อ เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการบริโภคจากต่าง
ประเทศ เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวที่ประสบปัญหาโรควัวบ้า และสุกรที่ประสบปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย ส่วนปริมาณผลผลิตสุกร และไข่ไก่
ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสุกรบางส่วนได้รับความเสียหายจาก โรคระบาดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะที่เกษตรกร
ผู้เลี้ยงไก่ไข่มีการควบคุมปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี ปริมาณและ มูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 42.2 และ
44.2 ตามลำดับ โดยการส่งออกไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 36.7 และ 59.4 ตามลำดับ ตามความ
ต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศในเอเชียเป็นหลัก ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย คาดว่าในปี 2544 ไทยจะสามารถ
ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ได้ปริมาณ 400,000 ตัน มูลค่า 34,640 ล้านบาท ในปี 2544
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของปศุสัตว์เกือบทุกประเภท
โดยเฉพาะไก่เนื้อ (+10%) เนื่องจากความต้องการไก่เนื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก
ประมง ผลผลิตในช่วง 5 เดือนแรก ของปีลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่า ยังคงลดลงร้อยละ 9 เนื่องจาก
ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง กอปรกับชาวประมงประสบปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ เพราะทางการอินโดนีเซียปรับระเบียบการทำประมง
ที่เข้มงวดมากขึ้น และได้ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการทำประมง ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 เป็นต้นมา ส่งผลให้ต้นทุน การทำประมงทั้งใน
และนอกน่านน้ำของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีปริมาณและมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4 และ 11.6
ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และความต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรป เพื่อทดแทนเนื้อวัวโดยการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง
ปลาสดแช่แข็ง และปลาหมึกสดแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 1.3 และ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งตลาดหลักของไทยยังคง
เป็นญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสัตว์น้ำที่เป็น
วัตถุดิบในการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งยกเว้นกุ้งกุลาดำที่ราคาลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลก
ถดถอยการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น
เครื่องชี้ภาวะสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเมตริกตัน
2539/40 2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 %การเปลี่ยน
แปลงจากปีก่อน
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 22.07 23.34 23.24 24.17 25.29 4.6
นาปี 17.78 18.79 18.45 19.02 19.55 2.9
นาปรัง 4.29 4.55 4.79 5.16 5.74 11.2
ยางพารา 2.03 2.07 2.16 2.35 2.42 3
ข้าวโพด 3.97 3.83 4.77 4.29 4.4 2.6
มันสำปะหลัง 18.08 15.59 16.51 18.75 18.28 -2.5
อ้อย 58.98 45.85 52.84 53.49 48.65 -9.1
ถั่วเขียว 0.24 0.2 0.23 0.25 0.25 -
ถั่วเหลือง 0.36 0.34 0.32 0.32 0.33 3.1
ปาล์มน้ำมัน 2.69 2.68 2.46 3.51 3.25 -7.4
กาแฟ 0.08 0.08 0.05 0.08 0.09 12.5
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,871.30 1,881.10 1,872.20 1,872.40 1,830.60 -2.2
การค้า 217.2 217 224.1 239.3 225.6 -5.7
ข้าว
ผลผลิต 380.4 386.6 394 408.2 395.5 -3.1
การค้า 18.8 27.3 25.1 22.9 22.3 -2.6
ข้าวโพด
ผลผลิต 592.2 576.1 605.5 606.5 584.9 -3.6
การค้า 66.4 62.9 68.4 73 71.9 -1.5
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 132.2 158.1 159.8 159.9 172.1 7.6
การค้า 37.1 40.5 38.7 46.6 52.4 12.4
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.5 6.8 6.8 6.9 7 1.5
การค้า 6.5 6.5 6.7 7.3 7.3 0.1
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมีนาคม 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมิถุนายน 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2543/44 คือยางปี 2544 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2544 | ธันวาคม 2544
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, June 2001
Rubber Statistical Bulletin, May 2001
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี เม.ย. พ.ค. มิ.ย. H1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 108.7 111.6 112.3 109
(2538 =100)
D % -15.4 -7.5 0.6 -3.5 1.8 3.2 5.7 2.4
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 99.9 103.1 103.8 100.2
D % -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 -0.6 1.8 7.8 1.4
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,862 5,784 5,573 5,992
D % -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.9 -22 -26.9 -15.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,430 4,414 4,640 4,447
D % -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -8 -8.9 -4 -7.2
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,010 23,820 24,340 22,400
D % -22.6 19.8 19.9 19.8 3.3 10.2 16.5 6.6
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,840 3,910 4,030 3,912
D % -7.8 14.6 -11.8 1.2 -21.5 -19.2 -8.2 -17.5
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 690 830 990 750
D % -44.5 -24.6 -12.2 -19 7.8 23.9 41.4 18
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 108.3 118.3 120.4 110.2
D % 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 9.7 17.8 15.6 7.4
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 136.8 131.8 130.8 135.7
D % -16.2 6.4 9.8 8.1 1.6 -3.9 -6.4 1.1
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.4 103.4 103.4 103.8
D % -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 5.1 -2.4 -2.4 2.9
D % อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
และองค์การสะพานปลา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ ข้าว (14.1%) เนื่องจากผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จาก ปีก่อน เพราะมีการส่งเสริมให้เกษตรกร
ใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น ยางพารา (0.1%) เนื่องจากราคายางจูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมัน (7.5%) เนื่องจากการเพิ่มขึ้น
ของพื้นที่ให้ผล ขณะที่ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากราคาหัวมันสดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลง
ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ตามการ
เพิ่มขึ้นของราคาพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากการส่งออกมันสำปะหลัง และไก่เนื้ออยู่ในเกณฑ์ดี รวมถึงผลบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
ลง ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคากุ้งส่งออกลดลงถึงร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแข่งขัน
ด้านราคาในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
รายได้เกษตรกรที่ได้จากการขายพืชผลสำคัญในครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคา และผลผลิตพืชผล
ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก(เฉพาะ 12 ชนิด สินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 จากภาวะ
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
ปศุสัตว์ ผลผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่เนื้อ เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการบริโภคจากต่าง
ประเทศ เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวที่ประสบปัญหาโรควัวบ้า และสุกรที่ประสบปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย ส่วนปริมาณผลผลิตสุกร และไข่ไก่
ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากสุกรบางส่วนได้รับความเสียหายจาก โรคระบาดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะที่เกษตรกร
ผู้เลี้ยงไก่ไข่มีการควบคุมปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ
ในช่วง 5 เดือนแรกของปี ปริมาณและ มูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 42.2 และ
44.2 ตามลำดับ โดยการส่งออกไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 36.7 และ 59.4 ตามลำดับ ตามความ
ต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศในเอเชียเป็นหลัก ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย คาดว่าในปี 2544 ไทยจะสามารถ
ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ได้ปริมาณ 400,000 ตัน มูลค่า 34,640 ล้านบาท ในปี 2544
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของปศุสัตว์เกือบทุกประเภท
โดยเฉพาะไก่เนื้อ (+10%) เนื่องจากความต้องการไก่เนื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก
ประมง ผลผลิตในช่วง 5 เดือนแรก ของปีลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่า ยังคงลดลงร้อยละ 9 เนื่องจาก
ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง กอปรกับชาวประมงประสบปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ เพราะทางการอินโดนีเซียปรับระเบียบการทำประมง
ที่เข้มงวดมากขึ้น และได้ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการทำประมง ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 เป็นต้นมา ส่งผลให้ต้นทุน การทำประมงทั้งใน
และนอกน่านน้ำของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีปริมาณและมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4 และ 11.6
ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และความต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรป เพื่อทดแทนเนื้อวัวโดยการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง
ปลาสดแช่แข็ง และปลาหมึกสดแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 1.3 และ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งตลาดหลักของไทยยังคง
เป็นญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสัตว์น้ำที่เป็น
วัตถุดิบในการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งยกเว้นกุ้งกุลาดำที่ราคาลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลก
ถดถอยการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น
เครื่องชี้ภาวะสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเมตริกตัน
2539/40 2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 %การเปลี่ยน
แปลงจากปีก่อน
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 22.07 23.34 23.24 24.17 25.29 4.6
นาปี 17.78 18.79 18.45 19.02 19.55 2.9
นาปรัง 4.29 4.55 4.79 5.16 5.74 11.2
ยางพารา 2.03 2.07 2.16 2.35 2.42 3
ข้าวโพด 3.97 3.83 4.77 4.29 4.4 2.6
มันสำปะหลัง 18.08 15.59 16.51 18.75 18.28 -2.5
อ้อย 58.98 45.85 52.84 53.49 48.65 -9.1
ถั่วเขียว 0.24 0.2 0.23 0.25 0.25 -
ถั่วเหลือง 0.36 0.34 0.32 0.32 0.33 3.1
ปาล์มน้ำมัน 2.69 2.68 2.46 3.51 3.25 -7.4
กาแฟ 0.08 0.08 0.05 0.08 0.09 12.5
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,871.30 1,881.10 1,872.20 1,872.40 1,830.60 -2.2
การค้า 217.2 217 224.1 239.3 225.6 -5.7
ข้าว
ผลผลิต 380.4 386.6 394 408.2 395.5 -3.1
การค้า 18.8 27.3 25.1 22.9 22.3 -2.6
ข้าวโพด
ผลผลิต 592.2 576.1 605.5 606.5 584.9 -3.6
การค้า 66.4 62.9 68.4 73 71.9 -1.5
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 132.2 158.1 159.8 159.9 172.1 7.6
การค้า 37.1 40.5 38.7 46.6 52.4 12.4
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.5 6.8 6.8 6.9 7 1.5
การค้า 6.5 6.5 6.7 7.3 7.3 0.1
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมีนาคม 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมิถุนายน 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2543/44 คือยางปี 2544 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2544 | ธันวาคม 2544
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, June 2001
Rubber Statistical Bulletin, May 2001
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี เม.ย. พ.ค. มิ.ย. H1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 108.7 111.6 112.3 109
(2538 =100)
D % -15.4 -7.5 0.6 -3.5 1.8 3.2 5.7 2.4
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 99.9 103.1 103.8 100.2
D % -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 -0.6 1.8 7.8 1.4
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,862 5,784 5,573 5,992
D % -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.9 -22 -26.9 -15.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,430 4,414 4,640 4,447
D % -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -8 -8.9 -4 -7.2
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,010 23,820 24,340 22,400
D % -22.6 19.8 19.9 19.8 3.3 10.2 16.5 6.6
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,840 3,910 4,030 3,912
D % -7.8 14.6 -11.8 1.2 -21.5 -19.2 -8.2 -17.5
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 690 830 990 750
D % -44.5 -24.6 -12.2 -19 7.8 23.9 41.4 18
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 108.3 118.3 120.4 110.2
D % 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 9.7 17.8 15.6 7.4
ดัชนีราคาปลาและ สัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 136.8 131.8 130.8 135.7
D % -16.2 6.4 9.8 8.1 1.6 -3.9 -6.4 1.1
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.4 103.4 103.4 103.8
D % -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 5.1 -2.4 -2.4 2.9
D % อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
และองค์การสะพานปลา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-