กลุ่มความตกลงและพิธีสื่อสารเพื่อเปิดตลาดสินค้า ได้แก่ พิธีสารมาร์ราเกช(Marrakesh Protocol to the General Agreement on Tariffs and Trade 1994X เป็นเอกสารทางกฎหมาย ที่กำหนดให้ตาราง ข้อลดหย่อนและข้อผูกพัน (Schedule of Concessions and Commitments) ซึ่งแนบ ท้ายพิธีสาร เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงแกตต์ 1994 จึงใช้บังคับให้ประเทศสมาชิกต้องลดภาษีและการอุดหนุน ต่าง ๆ ตามที่ได้เจรจากันไว้ ความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) เป็นความตกลงที่ ผูกพันให้สมาชิก ต้องปฏิรูปการเกษตร โดยการลดภาษีศุลกากร, ยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี, ลดการอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนการส่งออก แต่กำหนดให้มีอายุเพียง 6 ปี และในปีที่ 5 จะได้พิจารณากันว่าจะเปลี่ยนรูปแบบ หรือจะให้มีการปฏิรูปอย่างไรต่อไป ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Agreement on Textiles and Clothing) เป็นความตกลง ที่กำหนดพันธกรณี ให้สมาชิกต้องขยายตลาดนำเข้าสิ่งทอ และเสื้อผ้าอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนการค้าเป็นเสรีภายใน 10 ปี ทั้งนี้ เพราะในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาการค้าสิ่งทอ และเสื้อผ้าใน โลกอยู่ภายใต้ข้อตกลง MFA ที่ยกเว้นสิ่งทอ ออกจากกฎเกณฑ์ของแกตต์ ความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade Related Investment Measures) แม้ชื่อจะทำให้ดูว่าเกี่ยวข้องกับการลงทุน แต่โดยเนื้อหาแล้ว ความตกลงกำหนดพันธกรณี ให้สมาชิกยกเลิกมาตรการที่ใช้บังคับ ให้ผู้ผลิตภายในต้องซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ ที่ผลิตภายในประเทศ จนปิดโอกาสการนำเข้า เพราะแม้ว่าอัตราภาษี ที่เรียกเก็บที่ ชายแดนจะต่ำ แต่หากบังคับให้ซื้อภายในในสัดส่วนที่กำหนดล่วงหน้า ก็ย่อมมีผลจำกัดการนำเข้านั่นเอง มาตรการ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ Local content requirement และ Trade balancing requirement กลุ่มที่เป็นกฎเกณฑ์การค้าบังคับใช้เป็นการทั่วไป ได้แก่ ความตกลงแกตต์ 1994 (General Agreement on Tariffs and Trade 1994) ในแง่สาระ ความตกลงแกตต์ 1994 ก็คือ ความตกลงแกตต์ 1947 เดิม แล้วเพิ่มมติความเข้าใจที่เรียกว่า Understandings อีก 6 ฉบับ มติความเข้าใจเหล่านี้ ก็คือการตีความ และขยายความหมายบทบัญญัติ บางข้อในความตกลงแกตต์ 1947 โดยได้จัดทำขึ้นเพื่อให้มีผลในทาง ปฏิบัติโดยไม่ต้องทำการแก้ไขตัวบทของความตกลงแกตต์ 1994 การมีผลผูกพัน สมาชิกเพราะ เป็นส่วนหนึ่งของภาคผนวก ของความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก ในแง่ความสัมพันธ์กับความตกลงเฉพาะอื่น ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ในการปฏิบัติ ตามพันธกรณี ตามบทบัญญัติบางข้อของความตกลงแกตต์นั้น ได้มีข้อสังเกตตีความว่า หากบท บัญญัติในความตกลงเฉพาะในส่วนที่ 1 (หรือภายใต้ภาคผนวก Annex 1A) ขัดกับความตกลงแกตต์ 1994 ก็ให้ยึดบทบัญญัติ ในความตกลงเฉพาะนั้นเป็นเกณฑ์ ในการตีความหรือในการปฏิบัติเท่าที่เกี่ยวกับความขัดแย้งนั้น ความเข้าใจว่าด้วยกฎและกระบวนการที่ใช้กับการระงับข้อพิพาท (Understanding on Rules and Procedures Governing the Settlement of Disputes) เป็นแนวทางที่สมาชิกยอมรับให้ใช้ใน การระงับหรือยุติข้อพิพาททาง การค้า และภายใต้ WTO เมื่อสมาชิกเห็นว่ามาตการการค้า ที่ประเทศคู่ค้าใดก็ตามใช้อยู่นั้น ขัดกับบทบัญญัติของ ความตกลงใดก็ตาม และทำให้ตนได้รับความเสียหาย ทางการค้า หรือไม่ขัด แต่การใช้มาตรการทำให้ประเทศ ตนสูญเสียประโยชน์ที่ควร ได้รับจากการเป็นภาคีความตกลง แกตต์ ก็สมารถหารือ กับประเทศต้นเหตุ เพื่อให้ยกเลิกมาตรการ และหากไม่ได้ผล ก็นำมาฟ้องในองค์กรระงับข้อพิพาท ซึ่งองค์กรก็จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นมา (Panel) พิจารณาตัดสิน ประกอบด้วยผู้แทนประเทศอื่นที่ไม่มี ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคระผู้พิจารณาตัดสินแล้วก็จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะ ซึ่งประเทศต้นเหตุต้องยอมรับ และยกเลิกโดยไม่มีเงื่อนไข โดยมีโอกาสยื่นอุทธรณ์ให้คณะผู้รับเรื่องอุทธรณ์พิจารณาข้อ กฎหมายที่ประเทศต้น เหตุอาจมีความเห็นขัดแย้ง แต่หากคณะผู้รับเรื่องอุทธรณ์ตัดสินแล้ว ก็เป็นอันต้องยอกรับ เว้นแต่ทุก ประเทศสมาชิกเห็นว่าไม่ควรยอมรับ กลุ่มความตกลงทางด้านระเบียบการนำเข้าส่งออกสินค้า ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) กำหนดให้มีการ ใช้มาตรการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชเพื่อความจำเป็นในการปกป้องสุขภาพ และ ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืช โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการ ทางวิทยาศาสตร์ และไม่เลือกปฏิบัติ มาตรการที่ใช้ต้องสอดคล้องกับ มาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันมิให้ ประเทศสมาชิกกำหนดมาตรฐานตามใจชอบ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการค้า ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barrier to Trade) มีการปรับปรุงกฎระเบียบ เดิมที่เป็นผลจากการเจรจารอบโตเกียว ให้มีความรัดกุม เป็นธรรมและโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องกฎข้อบังคับ ด้านเทคนิค และ มาตรฐาน รวมทั้งการทดสอบ และระเบียบการรับรอง นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีจุดตอบข้อซักถาม (Enquiry Point) เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องนี้ ความตกลงว่าด้วยการปฏิบัติตามข้อ 7 ของความตกลงแกตต์ (Agreement on Implementation of Article VII of the GATT 1994) ความตกลงนี้เกี่ยวกับการประเมินราคาศุลกากร โดยกำหนดให้ฝ่ายบริหารศุลกากรใช้ราคา ตามใบส่งของในการคำนวณ มูลค่าสินค้าเพื่อ การเก็บภาษีศุลกากร หากมีข้อสงสัยในราคาดังกล่าว ผู้นำเข้ามีภาระต้องพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับ โดยมีขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในความตกลง ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบก่อนส่งออก (Agreement on Preshipment Inspection) กำหนดให้มีวิธีการตรวจ สอบสินค้าก่อนส่งออก โดยตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐบาลในการทำหน้าที่ตรวจสอบ จะต้องไม่เลือกปฏิบัติ และยึดหลักให้มีความ โปร่งใส ความตกลงว่าด้วยกฎเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า (Agreement on Rules of Origin) กำหนดให้มีการประสานกฎ ระเบียบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าให้เป็นบรรทัดฐานที่คล้ายคลึงกัน เพื่อไม่ให้เกิด อุปสรรคต่อการค้าโดยไม่จำเป็น กฎระเบียบดังกล่าวจะไม่ เกี่ยวข้องกับการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าที่ใช้เป็นเงื่อนไขใน การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีการเจรจาเพื่อประสาน กฎระเบียบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ หลังจากผลการเจรจารอบอุรุกวัยมีผลใช้บังคับ ความตกลงว่าด้วยวิธีดำเนินการ ออกใบอนุญาตนำเข้า (Agreement on Import Licensing Procedures) กำหนดวิธีดำเนินการใน การออกใบอนุญาตนำเข้าให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตาม โดยกำหนดระยะเวลาแน่นอน ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องออกใบ อนุญาตและลดโอกาสที่จะถ่วงเวลานำเข้า กล่าวคือ การออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ จะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการ ยื่นขอที่ถูกต้องโดยทันที หรือไม่เกิน 10 วันทำการ สำหรับการออกใบอนุญาตแบบไม่อัตโนมัติ จะต้องดำเนินการโดยไม่บิดเบือน การค้า และออกใบอนุญาตภายใน 30 วันทำการ เมื่อได้รับคำร้อง กลุ่มกฎระเบียบที่เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง (Agreement on Safeguards) ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการใช้มาตรการ ปกป้องภายใต้ มาตรา 19 ของความตกลงแกตต์ 1947 กล่าวคือ กำหนดเงื่อนไขในการใช้มาตรการนี้ การใช้โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อแหล่งนำเข้า และ กำหนดระยะเวลาการใช้ มาตรการนี้ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดห้ามใช้มาตรการ จำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ รวมทั้ง กำหนด ให้มีการปฏิบัติเป็นพิเศษในการใช้ มาตรการนี้กับสินค้าส่งออก ของประเทศกำลังพัฒนา ความตกลงว่าด้วยการปฏิบัติตามข้อ 6 ของความตกลงแกตต์ (Agreement on the Implementation of Article VI of the GATT 1994) ความตกลงนี้เกี่ยวกับการตอบโต้ การทุ่มตลาด โดยมีการปรับปรุง หลักเกณฑ์ และวิธีการไต่สวนการทุ่มตลาดในรายละเอียด และทำให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อประเทศต่าง ๆ จะได้ปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เป็นการลดโอกาสที่อาจมี ประเทศผู้นำเข้าใช้ มาตรการตอบโต้นี้ก่อกวนการค้า อย่างไม่เป็นธรรม ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุน และมาตรการตอบโต้ (Agreement on Subsidies and Countervailing Measures) ด้มีการปรับปรุงการกำหนดประเภทของการ อุดหนุนให้ชัดเจนว่า การอุดหนุนประเภทใดเป็นการ อุดหนุนที่ต้องห้าม ที่ทำได้ และที่อาจ ถูกมาตรการตอบโต้ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวปฏิบัติในการไต่สวนสินค้าเข้าที่เข้าข่ายในการได้รับการอุดหนุน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (Agreement on Trade in Service) ได้มีการกำหนดกรอบความตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าบริการ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีหลักการสำคัญ ๆ ทำนองเดียวกับแกตต์ กล่าวคือ หลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) ความโปร่งใส การเปิดเสรีตามลำดับ เป็นต้น รวมทั้งการกำหนด ให้ประเทศสมาชิกยื่นตารางข้อผูกพัน ที่จะเปิดตลาดการค้าบริการตามความสามารถ ของเศรษฐกิจ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ กรอบความตกลง เรียกว่า "ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ " กำหนดพันธกรณีหลักที่ ประเทศสมาชิก องค์การ การค้าโลก ต้องถือปฏิบัติ ตารางข้อผูกพันของประเทศต่าง ๆ ในการเปิดตลาดบริการสาขาต่างๆ ของตน ให้กับประเทศอื่นที่เป็นสมาชิก องค์การการค้าโลก โดยยึดหลักการเปิดเสรีตามลำดับ และหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) ภาคผนวก ระบุสถานการณ์ของบริการบางสาขา ที่ต้องมีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติมจากกรอบความตกลง ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights) นับเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่มี การกำหนดมาตรฐาน การคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้แกตต์ โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ คือ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ ลิขสิทธิ์ และสิทธิเกี่ยวเนื่อง การออกแบบวงจรรวม ชื่อทางภูมิศาสตร์ ความลับทางการค้า และการออกแบบผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังได้กำหนด กฎระเบียบในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกำหนดให้มีมาตรการ ณ จุดนำเข้าส่งออก รวมทั้งวิธีการกักกันสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ ได้ระบุให้มีระยะ เวลาการปรับตัว 1 ปีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว 5 ปี สำหรับประเทศกำลังพัฒนา และ 11 ปี สำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด WTO ในแง่สถาบัน [Back to Header
] องค์การการค้าโลก มีโครงสร้างสถาบัน ตามความตกลงจัดตั้งองค์การ ดังนี้ องค์กรสุดในการตัดสินใจ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) เป็นระดับที่ทำหน้าที่ตัดสินใจสูงสุด ประกอบด้วย ผู้แทนระดับสูงจาก สมาชิกทุกประเทศ โดยประชุมทุก 2 ปี คณะมนตรีทั่วไป (General Council) ทำหน้าที่แทนที่ ประชุมระดับรัฐมนตรีในช่องว่าง 2 ปีที่ยังไม่มีการประชุม ระดับรัฐมนตรี รวมทั้งการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการต่าง ๆ นอกจากนี้จะทำหน้าที่เป็นองค์กรระงับข้อพิพาท และคณะกรรมการทบทวนนโยบายด้านการค้า อีกด้วย องค์กรระดับรองจากองค์กรสูงสุด มี 6 องค์กร และแต่ละองค์การอาจมีคณะกรรมการตาม ที่ตกลงเฉพาะซึ่งองค์กรควบคุมนี้กำหนด ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (Committee on Trade and Development) ทำหน้าที่ทบทวนบทบัญญัติพิเศษ ในความตกลงการค้าพหุภาคีต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา คณะกรรมการว่าด้วยมาตรการจำกัด ดุลการชำระเงิน (Committee on Balance-of-Payment Restricitions) คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณ การเงิน และการบริหาร (Committee on Budget, Finance and Administration) คณะมนตรีสำหรับการค้าสินค้า (Council for Trade in Goods) มีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตาม พันธกรณีตามความตกลง ในกลุ่มกฎเกณฑ์การค้าที่บังคับใช้เป็นการทั่วไป และกลุ่มที่เป็นระเบียบการค้า ทางด้านการนำเข้าส่งออก และกฎระเบียบด้านมาตรการ ชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมภายใน ภายใต้คณะมนตรีชุดนี้ ก็จะมีคณะกรรมการต่าง ๆ ดังนี้ คณะกรรมการการเกษตร (Committee on Agriculture) คณะกรรมการทางด้านมาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures) องค์กรติดตามเรื่องสิ่งทอ (Textiles Monitoring Body) คณะกรรมการทางด้านอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า (Committee on Technical Barriers to Trade) คณะกรรมการทางด้านมาตรการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (Committee on Trade-Related Investment Measures) คณะกรรมการทางด้านการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Committe on Aniti-Dumping Practices) คณะกรรมการทางด้านการประเมินค่าเพื่อการศุลกากร (Committee Customs Valuation) คณะกรรมการทางด้านกฎเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้า (Committee on Rules of Origin) คณะกรรมการทางด้านการออกใบอนุญาติ (Committee on Import Licensing) คณะกรรมการทางด้านมาตรการปกป้อง (Committee on Safeguards) คณะกรรมการทางด้านการอุดหนุนและมาตรการต่อต้าน (Committee on Subsidies and Countervailing Measures) คณะมนตรีสำหรับการค้าบริการ (Council for Trade in Servives) มีหน้าที่ดูแลความตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าบริการ คณะมนตรีสำหรับสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการค้า (Council for Trade Rellated Aspects of Intellectual Property Rights) มีหน้าที่ดูแล ความตกลงว่าด้วยสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก [Back to Header
] ประเทศไทยได้ดำเนินการสมัครเข้าเป็นภาคีแกตต์ 1947 เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2524 และหลังจากการเจรจาตามกระบวนการรับประเทศ เข้าเป็นภาคีจนประเทศอื่นที่เป็นภาคีอยู่เดิม มั่นใจว่าไทยจะปฎิบัติตาม พันธกรณีของความตกลงแกตต์ 1947 ได้ จึงได้มีการยอมรับให้ไทยเป็นภาคี โดยให้มีสถานะเป็นภาคีอย่าง สมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2525 นับเป็นภาคีลำดับที่ 87 ดังนั้น ในฐานะประเทศภาคี แกตต์ 1947 ไทยจึงได้เข้าร่วม เจรจารอบอุรุกวัยมาตั้งแต่ต้น และได้มีบทบาทสำคัญ เพราะประเทศอื่น ได้ยอมรับว่าไทยมีระบบการค้าที่ ค่อน ข้างเปิด และมีอัตราการเพิ่มการส่งออก และนำเข้าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในส่วนของ สินค้าเกษตรกรรม และเมื่อการเจรจาสิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีก็ได้ มอบหมายให้มี คณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี เดินทางไป ลงนามย่อรับรอง กรรมสารสุดท้าย ซึ่งแสดงผลการเจรจาทั้งหมด ที่เมือง มาร์ราเกช ประเทศโมร็อคโค เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 การดำเนินงานในชั้นแรก เมื่อคณะผู้แทนไทยได้ลงนามย่อรับรองกรรมสาร สุดท้ายซึ่งมีผลเท่ากับยอมรับ ผลการเจรจารอบอุรุกวัยทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปใน ประเพณีปฎิบัติระหว่างประเทศ ก็คือการที่รัฐบาลไทยต้อง ให้สัตยาบันยอมรับความตกลงมาร์ราเกช จัดตั้งองค์การการค้าโลก เพื่อยืนยันการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ ซึ่งในระบบกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 178 วรรค 2 กำหนด "หนังสือสัญญาใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตาม สัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบ ของรัฐสภา" เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องพิจารณาว่า ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้อง ปฎิบัติตามอะไรบ้าง
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
] องค์การการค้าโลก มีโครงสร้างสถาบัน ตามความตกลงจัดตั้งองค์การ ดังนี้ องค์กรสุดในการตัดสินใจ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) เป็นระดับที่ทำหน้าที่ตัดสินใจสูงสุด ประกอบด้วย ผู้แทนระดับสูงจาก สมาชิกทุกประเทศ โดยประชุมทุก 2 ปี คณะมนตรีทั่วไป (General Council) ทำหน้าที่แทนที่ ประชุมระดับรัฐมนตรีในช่องว่าง 2 ปีที่ยังไม่มีการประชุม ระดับรัฐมนตรี รวมทั้งการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการต่าง ๆ นอกจากนี้จะทำหน้าที่เป็นองค์กรระงับข้อพิพาท และคณะกรรมการทบทวนนโยบายด้านการค้า อีกด้วย องค์กรระดับรองจากองค์กรสูงสุด มี 6 องค์กร และแต่ละองค์การอาจมีคณะกรรมการตาม ที่ตกลงเฉพาะซึ่งองค์กรควบคุมนี้กำหนด ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (Committee on Trade and Development) ทำหน้าที่ทบทวนบทบัญญัติพิเศษ ในความตกลงการค้าพหุภาคีต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา คณะกรรมการว่าด้วยมาตรการจำกัด ดุลการชำระเงิน (Committee on Balance-of-Payment Restricitions) คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณ การเงิน และการบริหาร (Committee on Budget, Finance and Administration) คณะมนตรีสำหรับการค้าสินค้า (Council for Trade in Goods) มีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตาม พันธกรณีตามความตกลง ในกลุ่มกฎเกณฑ์การค้าที่บังคับใช้เป็นการทั่วไป และกลุ่มที่เป็นระเบียบการค้า ทางด้านการนำเข้าส่งออก และกฎระเบียบด้านมาตรการ ชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมภายใน ภายใต้คณะมนตรีชุดนี้ ก็จะมีคณะกรรมการต่าง ๆ ดังนี้ คณะกรรมการการเกษตร (Committee on Agriculture) คณะกรรมการทางด้านมาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures) องค์กรติดตามเรื่องสิ่งทอ (Textiles Monitoring Body) คณะกรรมการทางด้านอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า (Committee on Technical Barriers to Trade) คณะกรรมการทางด้านมาตรการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (Committee on Trade-Related Investment Measures) คณะกรรมการทางด้านการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Committe on Aniti-Dumping Practices) คณะกรรมการทางด้านการประเมินค่าเพื่อการศุลกากร (Committee Customs Valuation) คณะกรรมการทางด้านกฎเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้า (Committee on Rules of Origin) คณะกรรมการทางด้านการออกใบอนุญาติ (Committee on Import Licensing) คณะกรรมการทางด้านมาตรการปกป้อง (Committee on Safeguards) คณะกรรมการทางด้านการอุดหนุนและมาตรการต่อต้าน (Committee on Subsidies and Countervailing Measures) คณะมนตรีสำหรับการค้าบริการ (Council for Trade in Servives) มีหน้าที่ดูแลความตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าบริการ คณะมนตรีสำหรับสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการค้า (Council for Trade Rellated Aspects of Intellectual Property Rights) มีหน้าที่ดูแล ความตกลงว่าด้วยสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก [Back to Header
] ประเทศไทยได้ดำเนินการสมัครเข้าเป็นภาคีแกตต์ 1947 เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2524 และหลังจากการเจรจาตามกระบวนการรับประเทศ เข้าเป็นภาคีจนประเทศอื่นที่เป็นภาคีอยู่เดิม มั่นใจว่าไทยจะปฎิบัติตาม พันธกรณีของความตกลงแกตต์ 1947 ได้ จึงได้มีการยอมรับให้ไทยเป็นภาคี โดยให้มีสถานะเป็นภาคีอย่าง สมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2525 นับเป็นภาคีลำดับที่ 87 ดังนั้น ในฐานะประเทศภาคี แกตต์ 1947 ไทยจึงได้เข้าร่วม เจรจารอบอุรุกวัยมาตั้งแต่ต้น และได้มีบทบาทสำคัญ เพราะประเทศอื่น ได้ยอมรับว่าไทยมีระบบการค้าที่ ค่อน ข้างเปิด และมีอัตราการเพิ่มการส่งออก และนำเข้าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในส่วนของ สินค้าเกษตรกรรม และเมื่อการเจรจาสิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีก็ได้ มอบหมายให้มี คณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี เดินทางไป ลงนามย่อรับรอง กรรมสารสุดท้าย ซึ่งแสดงผลการเจรจาทั้งหมด ที่เมือง มาร์ราเกช ประเทศโมร็อคโค เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 การดำเนินงานในชั้นแรก เมื่อคณะผู้แทนไทยได้ลงนามย่อรับรองกรรมสาร สุดท้ายซึ่งมีผลเท่ากับยอมรับ ผลการเจรจารอบอุรุกวัยทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปใน ประเพณีปฎิบัติระหว่างประเทศ ก็คือการที่รัฐบาลไทยต้อง ให้สัตยาบันยอมรับความตกลงมาร์ราเกช จัดตั้งองค์การการค้าโลก เพื่อยืนยันการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ ซึ่งในระบบกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 178 วรรค 2 กำหนด "หนังสือสัญญาใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตาม สัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบ ของรัฐสภา" เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องพิจารณาว่า ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้อง ปฎิบัติตามอะไรบ้าง
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-