ข่าวในประเทศ
1. หนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้าและจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัย ธ.กรุงเทพ ประเมินว่า หนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นสูงกว่าร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่สูงกว่าร้อยละ 50 ของจีดีพี หรือ 2.65 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งในและต่างประเทศรวม 983,235 ล.บาท หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันจำนวน 897,557 ล.บาท รวมทั้งหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 777,425 ล.บาท ซึ่งระดับหนี้ดังกล่าวเป็นระดับที่ควรให้ความระมัดระวัง และต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้นในอนาคตจึงมีความจำเป็นต้องรักษาวินัยทางการคลังมากขึ้น โดยรัฐบาลไม่สามารถก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นจะต่ำกว่าเพดานก็ตาม สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบจากหนี้สาธารณะนั้นอาจเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ (1) รัฐบาลขาดดุลการคลังในระดับสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังไม่เป็นผล และ (2) แม้การใช้นโยบายการคลังเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจยังมิได้ปฏิรูป ซึ่งจะนำไปสู่การขาดดุลการค้า และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอีกครั้ง ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น (กรุงเทพธุรกิจ 3)
2. กบข.เตรียมเสนอ ก.คลังขอนำเงินกองทุนไปลงทุนในต่างประเทศ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า กองทุน กบข.เป็นกองทุนขนาดใหญ่ การนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีขนาดเล็กเพียงร้อยละ 0.1 ของมูลค่าตลาดโลก ทำให้ไม่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในด้านการลงทุน คณะกรรมการ กบข.จึงมีมติเสนอ ก.คลังแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการลงทุนในต่างประเทศ โดยกำหนดสัดส่วนที่ชัดเจน ทั้งนี้ การลดความเสี่ยงด้วยวิธีดังกล่าวนับว่ามีความจำเป็นมาก เพราะปัจจุบัน กบข.นำเงินไปฝากกับ ธพ. ได้รับดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ขณะที่การลงทุนด้านอื่นๆ ก็เพิ่งดำเนินการ ทำให้มีรายได้กลับเข้ามาไม่มากนัก (แนวหน้า 3)
3. ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยแถลงผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกปี 43 ประธานกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย แถลงผลงานรอบ 6 เดือนแรกปี 43 ว่ามีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวน 577,915 ล.บาท จากปริมาณการซื้อขายตลอดปี 42 จำนวน 431,197 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.03 ส่วนปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีจำนวน 4,737 ล.บาท คิดเป็น 2.7 เท่าของการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในปี 42 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 169.15 และอัตราการหมุนเวียนรวมของตลาดเท่ากับร้อยละ 51 สำหรับปริมาณตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนช่วง 6 เดือนแรกปี 43 มีมูลค่า 99,316 ล.บาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลและองค์กรพิเศษอื่นๆ 18,094 ล.บาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 45,238 ล.บาท และหุ้นกู้ภาคเอกชน 35,984 ล.บาท ซึ่งสัดส่วนพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 82.2 ของตราสารหนี้ทั้งหมด ในส่วนของขนาดตลาดตราสารหนี้คิดเป็นร้อยละ 24 ของจีดีพี เทียบกับปี 40 ที่เท่ากับร้อยละ 4 และคาดว่าตลาดตราสารหนี้จะเติบโตอย่างมั่นคงต่อเนื่อง เนื่องจากมีปริมาณตราสารหนี้เข้าสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอทั้งของภาครัฐและเอกชน เพราะรัฐบาลยังมีนโยบายขาดดุล งปม.ต่อเนื่องอีก 2-3 ปี (มติชน 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 2 ส.ค.43 Conference Board รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 ดัชนีเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของ สรอ. อยู่ที่ระดับ 106.0 ไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค.43 และไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน เม.ย.43 ทั้งนี้ เว้นแต่เดือน ม.ค. และ มี.ค. 43 ที่ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 0.1 ตามลำดับแล้ว ดัชนีฯ อยู่ในระดับโน้มต่ำตลอด นักเศรษฐศาสตร์ของ Conference Board (นาย Ken Goldstein) กล่าวว่า ดัชนีฯ อ่อนตัวลงจากปลายปี 42 นับเป็นสถานการณ์ที่ไม่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ที่ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ทั้งนี้ เนื่องมาจากดัชนีฯ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างตลาด พธบ. กับ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) จากการที่เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกันหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ในเดือน มิ.ย.43 Coincident Index เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันในเดือน พ.ค.43 และ Lagging Index เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค.43 ซึ่งหากดูดัชนีฯ ทั้ง 3 ตัวประกอบกัน แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของ สรอ.ยังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ แต่จะไม่ขยายตัวในอัตราเร่งเหมือนเมื่อต้นปี 43 (รอยเตอร์ 2)
2. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ลดลงในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 ยอดขายบ้านใหม่ครอบครัวเดี่ยว ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 3.7 อยู่ที่จำนวน 8.29 แสนหลังต่อปี จากจำนวน 8.61 แสนหลังในเดือน พ.ค. 43 และลดลงร้อยละ 12.6 จากระยะเดียวกันของปี 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และลดต่ำที่สุดตั้งแต่เคยอยู่ที่จำนวน 7.93 แสนหลังในเดือน ธ.ค. 40 และลดลงยังต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะอยู่ที่จำนวน 8.81 แสนหลัง ชี้ให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยอาจจะชะลอตัวลง หลังจากที่ ธ. กลางขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 2)
3. คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อเดือน ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 43 ผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดว่า เดือน มิ.ย. 43 คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นที่ปรับตามฤดูกาลโดยไม่รวมการต่อเรือและผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระหว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ถึงลดลงร้อยละ 2 ทั้งนี้ ในเดือน พ.ค. 43 คำสั่งซื้อฯ ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 หลังจากที่ลดลง 4 เดือนติดต่อกัน ส่วนสำนักวางแผนเศรษฐกิจ (EPA) คาดว่า คำสั่งซื้อฯ ในเดือน มิ.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และในช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 43 จะชะลอลงร้อยละ 1 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ (รอยเตอร์ 3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 ส.ค. 43 40.980 (41.221)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 2 ส.ค.43ซื้อ 40.8150 (41.0497) ขาย 41.1259 (41.3543)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.43 (25.48)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. หนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้าและจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัย ธ.กรุงเทพ ประเมินว่า หนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นสูงกว่าร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่สูงกว่าร้อยละ 50 ของจีดีพี หรือ 2.65 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งในและต่างประเทศรวม 983,235 ล.บาท หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันจำนวน 897,557 ล.บาท รวมทั้งหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 777,425 ล.บาท ซึ่งระดับหนี้ดังกล่าวเป็นระดับที่ควรให้ความระมัดระวัง และต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้นในอนาคตจึงมีความจำเป็นต้องรักษาวินัยทางการคลังมากขึ้น โดยรัฐบาลไม่สามารถก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นจะต่ำกว่าเพดานก็ตาม สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบจากหนี้สาธารณะนั้นอาจเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ (1) รัฐบาลขาดดุลการคลังในระดับสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังไม่เป็นผล และ (2) แม้การใช้นโยบายการคลังเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจยังมิได้ปฏิรูป ซึ่งจะนำไปสู่การขาดดุลการค้า และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอีกครั้ง ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น (กรุงเทพธุรกิจ 3)
2. กบข.เตรียมเสนอ ก.คลังขอนำเงินกองทุนไปลงทุนในต่างประเทศ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า กองทุน กบข.เป็นกองทุนขนาดใหญ่ การนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีขนาดเล็กเพียงร้อยละ 0.1 ของมูลค่าตลาดโลก ทำให้ไม่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในด้านการลงทุน คณะกรรมการ กบข.จึงมีมติเสนอ ก.คลังแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการลงทุนในต่างประเทศ โดยกำหนดสัดส่วนที่ชัดเจน ทั้งนี้ การลดความเสี่ยงด้วยวิธีดังกล่าวนับว่ามีความจำเป็นมาก เพราะปัจจุบัน กบข.นำเงินไปฝากกับ ธพ. ได้รับดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ขณะที่การลงทุนด้านอื่นๆ ก็เพิ่งดำเนินการ ทำให้มีรายได้กลับเข้ามาไม่มากนัก (แนวหน้า 3)
3. ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยแถลงผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกปี 43 ประธานกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย แถลงผลงานรอบ 6 เดือนแรกปี 43 ว่ามีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวน 577,915 ล.บาท จากปริมาณการซื้อขายตลอดปี 42 จำนวน 431,197 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.03 ส่วนปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีจำนวน 4,737 ล.บาท คิดเป็น 2.7 เท่าของการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในปี 42 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 169.15 และอัตราการหมุนเวียนรวมของตลาดเท่ากับร้อยละ 51 สำหรับปริมาณตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนช่วง 6 เดือนแรกปี 43 มีมูลค่า 99,316 ล.บาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลและองค์กรพิเศษอื่นๆ 18,094 ล.บาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 45,238 ล.บาท และหุ้นกู้ภาคเอกชน 35,984 ล.บาท ซึ่งสัดส่วนพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 82.2 ของตราสารหนี้ทั้งหมด ในส่วนของขนาดตลาดตราสารหนี้คิดเป็นร้อยละ 24 ของจีดีพี เทียบกับปี 40 ที่เท่ากับร้อยละ 4 และคาดว่าตลาดตราสารหนี้จะเติบโตอย่างมั่นคงต่อเนื่อง เนื่องจากมีปริมาณตราสารหนี้เข้าสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอทั้งของภาครัฐและเอกชน เพราะรัฐบาลยังมีนโยบายขาดดุล งปม.ต่อเนื่องอีก 2-3 ปี (มติชน 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 2 ส.ค.43 Conference Board รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 ดัชนีเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของ สรอ. อยู่ที่ระดับ 106.0 ไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ค.43 และไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน เม.ย.43 ทั้งนี้ เว้นแต่เดือน ม.ค. และ มี.ค. 43 ที่ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 0.1 ตามลำดับแล้ว ดัชนีฯ อยู่ในระดับโน้มต่ำตลอด นักเศรษฐศาสตร์ของ Conference Board (นาย Ken Goldstein) กล่าวว่า ดัชนีฯ อ่อนตัวลงจากปลายปี 42 นับเป็นสถานการณ์ที่ไม่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ที่ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ทั้งนี้ เนื่องมาจากดัชนีฯ ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างตลาด พธบ. กับ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) จากการที่เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกันหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ในเดือน มิ.ย.43 Coincident Index เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันในเดือน พ.ค.43 และ Lagging Index เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ค.43 ซึ่งหากดูดัชนีฯ ทั้ง 3 ตัวประกอบกัน แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของ สรอ.ยังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ แต่จะไม่ขยายตัวในอัตราเร่งเหมือนเมื่อต้นปี 43 (รอยเตอร์ 2)
2. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ลดลงในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 ยอดขายบ้านใหม่ครอบครัวเดี่ยว ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 3.7 อยู่ที่จำนวน 8.29 แสนหลังต่อปี จากจำนวน 8.61 แสนหลังในเดือน พ.ค. 43 และลดลงร้อยละ 12.6 จากระยะเดียวกันของปี 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และลดต่ำที่สุดตั้งแต่เคยอยู่ที่จำนวน 7.93 แสนหลังในเดือน ธ.ค. 40 และลดลงยังต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะอยู่ที่จำนวน 8.81 แสนหลัง ชี้ให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยอาจจะชะลอตัวลง หลังจากที่ ธ. กลางขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 2)
3. คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อเดือน ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 43 ผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดว่า เดือน มิ.ย. 43 คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นที่ปรับตามฤดูกาลโดยไม่รวมการต่อเรือและผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระหว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ถึงลดลงร้อยละ 2 ทั้งนี้ ในเดือน พ.ค. 43 คำสั่งซื้อฯ ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 หลังจากที่ลดลง 4 เดือนติดต่อกัน ส่วนสำนักวางแผนเศรษฐกิจ (EPA) คาดว่า คำสั่งซื้อฯ ในเดือน มิ.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และในช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 43 จะชะลอลงร้อยละ 1 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ (รอยเตอร์ 3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 ส.ค. 43 40.980 (41.221)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 2 ส.ค.43ซื้อ 40.8150 (41.0497) ขาย 41.1259 (41.3543)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.43 (25.48)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-