ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ปรับปรุงระบบตรวจสอบการโอนเงินระหว่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการพิจารณาปรับปรุงระบบตรวจสอบการโอนเงินระหว่างประเทศ ภายหลังเกิดปัญหาการนำเงินออกนอกประเทศเกินความจำเป็นของพนักงาน ธ.ยูโอบีรัตนสิน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการเงินเปิดโอกาสให้ผู้ที่กู้เงินตราต่างประเทศผ่าน ธพ.แห่งหนึ่งสามารถส่งเงินออกไปชำระหนี้ต่างประเทศผ่าน ธพ.อื่นได้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ทำให้การตรวจสอบล่าช้า โดยการปรับปรุงจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่คงไม่มีการแก้ไขแบบรายงานที่ใช้อยู่ (มติชน 4)
2. รมว.คลังเปิดเผยถึงโครงการใช้จ่ายงบสำรองฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รมว.คลังเปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดให้มีการใช้งบสำรองฉุกเฉินจำนวน 58,000 ล.บาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ขณะนี้ได้ให้แต่ละกระทรวงเป็นผู้พิจารณาและเสนอรายละเอียดโครงการเฉพาะที่มีความจำเป็นมาให้คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณา ขณะที่คณะกรรมการฯ ได้เปิดเผยว่า เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 44 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ จะต้องเร่งให้มีการใช้จ่ายในไตรมาส 3 และ 4 ปี 44 เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่าช่วงครึ่งปีแรก โดยได้ตั้งเป้าหมายการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 2.4 และ 2.65 ตามลำดับ สำหรับโครงการที่จะได้รับการพิจารณาใช้งบสำรองฉุกเฉินจะต้องเป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์โดยมองภาพรวมทั้งระบบ และคาดว่าผลของการใช้งบสำรองฉุกเฉินนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.6 ในปี 44 และร้อยละ 1 ในปี 45 มากกว่าการใช้จ่ายเงินในโครงการมิยาซาวา ที่ช่วยให้เศรษฐกิจปี 42 และ 43 ขยายตัวร้อยละ 0.9 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ (ข่าวสด, ไทยรัฐ 4)
3. ธปท.รายงานฐานะหนี้ต่างประเทศเดือน มิ.ย.44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้น มิ.ย.44 มีจำนวน 73,243 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงประมาณ 1,593 ล.ดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชนและการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และการชำระคืนหนี้ของ ธปท.ของภาคทางการ โดยหนี้ภาคเอกชนรวมมีจำนวน 42,270 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 508 ล.ดอลลาร์ สรอ. หนี้ภาคทางการรวมมีจำนวน 30,973 ล.ดอลลาร์ ลดลง 1,085 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ สัดส่วนหนี้ระยะยาวต่อระยะสั้นอยู่ที่ 80:20 ขณะที่สัดส่วนหนี้ภาคเอกชนต่อภาคทางการอยู่ที่ 58:42 (โลกวันนี้ 4)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 44 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 44 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 43 และดัชนีเฉลี่ย 8 เดือนแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.5 ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมดัชนีฯ ให้อยู่ในระดับร้อยละ 2-2.5 ตามเป้าหมายทั้งตั้งไว้ได้ (ไทยรัฐ, ไทยโพสต์ 4)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนี PMI ของเยอรมนีเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ มิ.ย.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 3 ก.ย.44 จากการสำรวจ BME/Reuters PMI ระบุว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนี PMI หลังปรับฤดูกาลอยู่ที่ระดับ 46.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.3 ในเดือน ก.ค.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 43 และต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 การที่ PMI อยู่ที่ระดับดังกล่าว แสดงถึงการหดตัวของอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นผลจากบริษัทต่างๆ ได้ลดระดับการผลิตให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อและสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการจ้างงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์ 3)
2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษเข้าสู่ภาวะถดถอย รายงานจากลอนดอนเมื่อ 3 ก.ย. 44 Chartered Institute of Purchasing and Supply's (CPIS) รายงานว่า ดัชนีชี้ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษ หลังปรับฤดูกาล ลดลงเหลือที่ระดับ 46.4 ในเดือน ส.ค. 44 จากระดับ 47.0 ในเดือน ก.ค. 44 ซึ่งใกล้เคียงกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 46.8 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 42 ซึ่งการที่ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 50 ชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว รายงานครั้งนี้ประกาศก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 5 (รอยเตอร์3)
3. มาเลเซียเกินดุลการค้า 1.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 3 ก.ย. 44 นรม. (Mahathir Mohamad) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 มาเลเซียเกินดุลการค้า 4.2 พัน ล.ริงกิต (1.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้น 200 ล.ริงกิต จากระยะเดียวกันปี 43 เป็นผลจากการส่งออกและนำเข้าลดลง ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเดือน ก.ค.44 การนำเข้ามีมูลค่า 22.7 การส่งออกมีมูลค่า 26.9 พัน ล.ริงกิต ลดลงจากเดือน ก.ค.43 ร้อยละ 21.0 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ สำหรับช่วง 7 เดือนแรกของปี 44 ยอดเกินดุลการค้ามีมูลค่า 30.0 พัน ล.ริงกิต ลดลงจากช่วงระยะเดียวกันปีก่อน 2.8 พัน ล.ริงกิต รอยเตอร์ 3)
4. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวลงร้อยละ 0.6 ในปี 44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 3 ก.ย. 44 Monetary Authority of Singapore (MAS) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ในปี 44 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและ สรอ. ที่ลดลงอย่างรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ เมื่อเดือน มิ.ย. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะเติบโตร้อยละ 3.5 ซึ่งอยู่ในช่วงต่ำสุดจากที่รัฐบาลประมาณการว่าจะเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 -5.5 ในปี 44 และหลังจากนั้น รัฐบาลได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5-1.5 ชะลอตัวลงจากปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 9.9 (รอยเตอร์3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 3 ก.ย. 44 44.080 (44.104)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 3 ก.ย. 44ซื้อ 43.8793 (43.9436) ขาย 44.1769 (44.2480)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,700) ขาย 5,750 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.15(24.07)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.69 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับปรุงระบบตรวจสอบการโอนเงินระหว่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการพิจารณาปรับปรุงระบบตรวจสอบการโอนเงินระหว่างประเทศ ภายหลังเกิดปัญหาการนำเงินออกนอกประเทศเกินความจำเป็นของพนักงาน ธ.ยูโอบีรัตนสิน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการเงินเปิดโอกาสให้ผู้ที่กู้เงินตราต่างประเทศผ่าน ธพ.แห่งหนึ่งสามารถส่งเงินออกไปชำระหนี้ต่างประเทศผ่าน ธพ.อื่นได้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ทำให้การตรวจสอบล่าช้า โดยการปรับปรุงจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่คงไม่มีการแก้ไขแบบรายงานที่ใช้อยู่ (มติชน 4)
2. รมว.คลังเปิดเผยถึงโครงการใช้จ่ายงบสำรองฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รมว.คลังเปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดให้มีการใช้งบสำรองฉุกเฉินจำนวน 58,000 ล.บาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ขณะนี้ได้ให้แต่ละกระทรวงเป็นผู้พิจารณาและเสนอรายละเอียดโครงการเฉพาะที่มีความจำเป็นมาให้คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณา ขณะที่คณะกรรมการฯ ได้เปิดเผยว่า เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 44 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ จะต้องเร่งให้มีการใช้จ่ายในไตรมาส 3 และ 4 ปี 44 เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่าช่วงครึ่งปีแรก โดยได้ตั้งเป้าหมายการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 2.4 และ 2.65 ตามลำดับ สำหรับโครงการที่จะได้รับการพิจารณาใช้งบสำรองฉุกเฉินจะต้องเป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์โดยมองภาพรวมทั้งระบบ และคาดว่าผลของการใช้งบสำรองฉุกเฉินนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.6 ในปี 44 และร้อยละ 1 ในปี 45 มากกว่าการใช้จ่ายเงินในโครงการมิยาซาวา ที่ช่วยให้เศรษฐกิจปี 42 และ 43 ขยายตัวร้อยละ 0.9 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ (ข่าวสด, ไทยรัฐ 4)
3. ธปท.รายงานฐานะหนี้ต่างประเทศเดือน มิ.ย.44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้น มิ.ย.44 มีจำนวน 73,243 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงประมาณ 1,593 ล.ดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชนและการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และการชำระคืนหนี้ของ ธปท.ของภาคทางการ โดยหนี้ภาคเอกชนรวมมีจำนวน 42,270 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลง 508 ล.ดอลลาร์ สรอ. หนี้ภาคทางการรวมมีจำนวน 30,973 ล.ดอลลาร์ ลดลง 1,085 ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ สัดส่วนหนี้ระยะยาวต่อระยะสั้นอยู่ที่ 80:20 ขณะที่สัดส่วนหนี้ภาคเอกชนต่อภาคทางการอยู่ที่ 58:42 (โลกวันนี้ 4)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 44 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 44 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 43 และดัชนีเฉลี่ย 8 เดือนแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.5 ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมดัชนีฯ ให้อยู่ในระดับร้อยละ 2-2.5 ตามเป้าหมายทั้งตั้งไว้ได้ (ไทยรัฐ, ไทยโพสต์ 4)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนี PMI ของเยอรมนีเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ มิ.ย.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 3 ก.ย.44 จากการสำรวจ BME/Reuters PMI ระบุว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนี PMI หลังปรับฤดูกาลอยู่ที่ระดับ 46.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.3 ในเดือน ก.ค.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 43 และต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 การที่ PMI อยู่ที่ระดับดังกล่าว แสดงถึงการหดตัวของอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นผลจากบริษัทต่างๆ ได้ลดระดับการผลิตให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อและสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการจ้างงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์ 3)
2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษเข้าสู่ภาวะถดถอย รายงานจากลอนดอนเมื่อ 3 ก.ย. 44 Chartered Institute of Purchasing and Supply's (CPIS) รายงานว่า ดัชนีชี้ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษ หลังปรับฤดูกาล ลดลงเหลือที่ระดับ 46.4 ในเดือน ส.ค. 44 จากระดับ 47.0 ในเดือน ก.ค. 44 ซึ่งใกล้เคียงกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 46.8 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 42 ซึ่งการที่ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 50 ชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว รายงานครั้งนี้ประกาศก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 5 (รอยเตอร์3)
3. มาเลเซียเกินดุลการค้า 1.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 3 ก.ย. 44 นรม. (Mahathir Mohamad) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 มาเลเซียเกินดุลการค้า 4.2 พัน ล.ริงกิต (1.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้น 200 ล.ริงกิต จากระยะเดียวกันปี 43 เป็นผลจากการส่งออกและนำเข้าลดลง ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเดือน ก.ค.44 การนำเข้ามีมูลค่า 22.7 การส่งออกมีมูลค่า 26.9 พัน ล.ริงกิต ลดลงจากเดือน ก.ค.43 ร้อยละ 21.0 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ สำหรับช่วง 7 เดือนแรกของปี 44 ยอดเกินดุลการค้ามีมูลค่า 30.0 พัน ล.ริงกิต ลดลงจากช่วงระยะเดียวกันปีก่อน 2.8 พัน ล.ริงกิต รอยเตอร์ 3)
4. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวลงร้อยละ 0.6 ในปี 44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 3 ก.ย. 44 Monetary Authority of Singapore (MAS) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ในปี 44 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและ สรอ. ที่ลดลงอย่างรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ เมื่อเดือน มิ.ย. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะเติบโตร้อยละ 3.5 ซึ่งอยู่ในช่วงต่ำสุดจากที่รัฐบาลประมาณการว่าจะเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 -5.5 ในปี 44 และหลังจากนั้น รัฐบาลได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5-1.5 ชะลอตัวลงจากปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 9.9 (รอยเตอร์3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 3 ก.ย. 44 44.080 (44.104)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 3 ก.ย. 44ซื้อ 43.8793 (43.9436) ขาย 44.1769 (44.2480)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,650 (5,700) ขาย 5,750 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.15(24.07)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.69 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-