แท็ก
บัญชี
โครงการกำหนดกลยุทธ์การชำระเงิน (Payment Strategic Direction) เป็นโครงการศึกษาเพื่อวางแผนการพัฒนาบริการชำระเงินในอนาคตอย่างเหมาะสม
ความเป็นมา
1. ที่ผ่านมาธปท ได้พัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ ระบบหักบัญชีเช็ค ECS (Electronic Check Clearing System) ซึ่งใช้ข้อมูลเช็คที่ส่งทาง Online เพื่อการหักบัญชีระหว่างธนาคาร ซึ่งรายการตรวจสอบเอกสารเช็คจะทำตามหลัง ระบบโอนเงินมูลค่าสูงบาทเนต (BAHTNET) การโอนเงินมีผลทันทีแบบ RTGS (Real-time Gross Settlement) และมีมาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบ flow ดีขึ้น ระบบโอนเงินรายย่อยมีทั้งระบบ Real-time ผ่าน ATM ที่พัฒนาโดยธนาคารพาณิชย์และระบบ online batch ผ่านระบบ Media Clearing การพัฒนาในระยะต่อไป (phase II) จะขยายกรอบธุรกรรมระบบมูลค่าสูงให้รองรับบริการโอนหลักทรัพย์ตราสารหนี้ภาครัฐแบบ DVP (Delivery versus Payment) และระบบอื่นๆ จะรองรับธุรกิจ online ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
2. การกำหนดแผนพัฒนาระบบการชำระเงินในระยะต่อไปจะต้องโปร่งใส ระบบมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการของระบบเศรษฐกิจ โครงการศึกษาเพื่อกำหนดกลยุทธ์การชำระเงินเป็นการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยมีขั้นตอนดำเนินการที่เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความเป็นกลางโดยมีคณะที่ปรึกษาโครงการนำโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ระบบการชำระเงินมีกติกาสากล Core Principles for Systemically Important Payment Systems กำหนดโดย Committee on Payment and Settlement Systems ที่ธนาคารกลางมีบทบาทหน้าที่ประเมินและกระตุ้นให้เกิดการปรับระบบให้เกิดความสอดคล้อง (compliant) ขณะเดียวกันระบบที่พัฒนาใหม่ ๆ ก็พึงต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกันด้วย
ขั้นตอนดำเนินการ
1. Stock Take (เดือนพ.ค. ถึง มิ.ย. 2544) คือประเมินบริการชำระเงินปัจจุบันรวบรวมประเด็นที่พึงพิจารณาปรับปรุงและเก็บข้อมูลทางธุรกิจและทางเทคนิค เพื่อการพัฒนาระบบชำระเงินเพิ่มเติม โดยจะเป็นการมองภาพรวมร่วมกันหลายฝ่าย คือภาคทางการ ภาคธุรกิจ ประชาชน และธนาคารรวมถึงผู้ให้บริการชำระเงินและผู้ให้บริการโทรคมนาคม วิธีดำเนินการคือการจัดสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง (Focus Group) โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม จับประเด็นข้อคิดเห็นจาก Focus Group นำไปออกแบบแบบสำรวจข้อมูลละเอียดในขั้นตอนต่อไป
2. Survey (เดือน ก.ค. ถึง ต.ค. 2544) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ให้บริการชำระเงินโดยตรง วิธีดำเนินการคือจัดสัมมนาในภูมิภาค 3 ครั้ง ที่จังหวัดขอนแก่น (3 ส.ค. 2544) เชียงใหม่ ( 17 ส.ค. 2544) และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (27 ส.ค. 2544) โดยเชิญนักธุรกิจ นักวิชาการ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารธนาคารในต่างจังหวัดเข้าร่วมครั้งละประมาณ 100 คน สำหรับในส่วนกลางได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการชำระเงิน (Service Providers) ช่วยสำรวจเพิ่มเติมให้สถาบันละประมาณ 30 ตัวอย่างแบบสอบถาม นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนข้อเท็จจริงและทิศทางในอนาคต ได้แต่งตั้งบุคคลผู้มีประสพการณ์ในระบบที่เกี่ยวข้องเป็น Advisory Group ร่วมทบทวนประเด็นข้อมูลและทบทวนรายงานผลการศึกษาเป็นระยะ ๆ
3. Vision and Strategic Direction (เดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. 2544) การระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องภายในธปท. และภายนอก และจัดลำดับความสำคัญโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบการชำระเงิน ซึ่งขอบเขตจะครอบคลุม โครงสร้างองค์กรปฏิบัติการระบบชำระเงิน การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน โครงสร้างกฎหมายและกฎระเบียบการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การแข่งขัน และการคุ้มครองผู้บริโภค และระบบการชำระเงินที่ระบบเศรษฐกิจต้องการเพิ่มเติม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ความเป็นมา
1. ที่ผ่านมาธปท ได้พัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ ระบบหักบัญชีเช็ค ECS (Electronic Check Clearing System) ซึ่งใช้ข้อมูลเช็คที่ส่งทาง Online เพื่อการหักบัญชีระหว่างธนาคาร ซึ่งรายการตรวจสอบเอกสารเช็คจะทำตามหลัง ระบบโอนเงินมูลค่าสูงบาทเนต (BAHTNET) การโอนเงินมีผลทันทีแบบ RTGS (Real-time Gross Settlement) และมีมาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบ flow ดีขึ้น ระบบโอนเงินรายย่อยมีทั้งระบบ Real-time ผ่าน ATM ที่พัฒนาโดยธนาคารพาณิชย์และระบบ online batch ผ่านระบบ Media Clearing การพัฒนาในระยะต่อไป (phase II) จะขยายกรอบธุรกรรมระบบมูลค่าสูงให้รองรับบริการโอนหลักทรัพย์ตราสารหนี้ภาครัฐแบบ DVP (Delivery versus Payment) และระบบอื่นๆ จะรองรับธุรกิจ online ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
2. การกำหนดแผนพัฒนาระบบการชำระเงินในระยะต่อไปจะต้องโปร่งใส ระบบมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการของระบบเศรษฐกิจ โครงการศึกษาเพื่อกำหนดกลยุทธ์การชำระเงินเป็นการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยมีขั้นตอนดำเนินการที่เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความเป็นกลางโดยมีคณะที่ปรึกษาโครงการนำโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ระบบการชำระเงินมีกติกาสากล Core Principles for Systemically Important Payment Systems กำหนดโดย Committee on Payment and Settlement Systems ที่ธนาคารกลางมีบทบาทหน้าที่ประเมินและกระตุ้นให้เกิดการปรับระบบให้เกิดความสอดคล้อง (compliant) ขณะเดียวกันระบบที่พัฒนาใหม่ ๆ ก็พึงต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกันด้วย
ขั้นตอนดำเนินการ
1. Stock Take (เดือนพ.ค. ถึง มิ.ย. 2544) คือประเมินบริการชำระเงินปัจจุบันรวบรวมประเด็นที่พึงพิจารณาปรับปรุงและเก็บข้อมูลทางธุรกิจและทางเทคนิค เพื่อการพัฒนาระบบชำระเงินเพิ่มเติม โดยจะเป็นการมองภาพรวมร่วมกันหลายฝ่าย คือภาคทางการ ภาคธุรกิจ ประชาชน และธนาคารรวมถึงผู้ให้บริการชำระเงินและผู้ให้บริการโทรคมนาคม วิธีดำเนินการคือการจัดสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง (Focus Group) โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม จับประเด็นข้อคิดเห็นจาก Focus Group นำไปออกแบบแบบสำรวจข้อมูลละเอียดในขั้นตอนต่อไป
2. Survey (เดือน ก.ค. ถึง ต.ค. 2544) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ให้บริการชำระเงินโดยตรง วิธีดำเนินการคือจัดสัมมนาในภูมิภาค 3 ครั้ง ที่จังหวัดขอนแก่น (3 ส.ค. 2544) เชียงใหม่ ( 17 ส.ค. 2544) และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (27 ส.ค. 2544) โดยเชิญนักธุรกิจ นักวิชาการ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารธนาคารในต่างจังหวัดเข้าร่วมครั้งละประมาณ 100 คน สำหรับในส่วนกลางได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการชำระเงิน (Service Providers) ช่วยสำรวจเพิ่มเติมให้สถาบันละประมาณ 30 ตัวอย่างแบบสอบถาม นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนข้อเท็จจริงและทิศทางในอนาคต ได้แต่งตั้งบุคคลผู้มีประสพการณ์ในระบบที่เกี่ยวข้องเป็น Advisory Group ร่วมทบทวนประเด็นข้อมูลและทบทวนรายงานผลการศึกษาเป็นระยะ ๆ
3. Vision and Strategic Direction (เดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. 2544) การระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องภายในธปท. และภายนอก และจัดลำดับความสำคัญโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบการชำระเงิน ซึ่งขอบเขตจะครอบคลุม โครงสร้างองค์กรปฏิบัติการระบบชำระเงิน การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน โครงสร้างกฎหมายและกฎระเบียบการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การแข่งขัน และการคุ้มครองผู้บริโภค และระบบการชำระเงินที่ระบบเศรษฐกิจต้องการเพิ่มเติม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-