ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานธุรกรรมในตลาดซื้อคืนในช่วงเดือนเมษายน 2544 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2544นายโอบเอื้อ ครุฑานุช ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษก ธปท. เปิดเผยว่า ปริมาณการซื้อขายในตลาดซื้อคืนในเดือนเมษายนที่ผ่านมามียอดเฉลี่ยประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่มียอดเฉลี่ยประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท โดยที่ธุรกรรมส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในประเภท 1-14 วัน
ในช่วงครึ่งแรกของเดือนที่มีวันหยุดต่อเนื่องช่วงวันจักรีและวันสงกรานต์ ซึ่งสถาบันการเงินต้องสำรองเงินสดไว้เพื่อการเบิกถอนของประชาชนและเพื่อดำรงเงินสดสำรองรายปักษ์ให้ได้ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด ประกอบกับตลอดเดือนเมษายน กระทรวงการคลังนำตราสารหนี้ออกประมูลขายมีจำนวนมากกว่าที่ครบกำหนด ทำให้ตลาดซื้อคืนตึงตัวและอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 และ 7 วันปรับตัวสูงขึ้นโดยสูงสุดที่ร้อยละ 1.5625 และ 1.5 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินได้ไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นวันหยุด นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือนเมษายน ภาครัฐได้เบิกจ่ายเงินให้แก่กองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อเตรียมให้กู้เพื่อการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.9375-1.5625 และ 1.0625-1.5 ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยประเภท 14 วันซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยส่งสัญญาณนโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ตามมติคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2544 สำหรับอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือนยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมที่ระดับร้อยละ 1.875, 1.9375 และ 2.0 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/10 พฤษภาคม 2544--
-ยก-
ในช่วงครึ่งแรกของเดือนที่มีวันหยุดต่อเนื่องช่วงวันจักรีและวันสงกรานต์ ซึ่งสถาบันการเงินต้องสำรองเงินสดไว้เพื่อการเบิกถอนของประชาชนและเพื่อดำรงเงินสดสำรองรายปักษ์ให้ได้ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด ประกอบกับตลอดเดือนเมษายน กระทรวงการคลังนำตราสารหนี้ออกประมูลขายมีจำนวนมากกว่าที่ครบกำหนด ทำให้ตลาดซื้อคืนตึงตัวและอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 และ 7 วันปรับตัวสูงขึ้นโดยสูงสุดที่ร้อยละ 1.5625 และ 1.5 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินได้ไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นวันหยุด นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือนเมษายน ภาครัฐได้เบิกจ่ายเงินให้แก่กองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อเตรียมให้กู้เพื่อการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.9375-1.5625 และ 1.0625-1.5 ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยประเภท 14 วันซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยส่งสัญญาณนโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ตามมติคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2544 สำหรับอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือนยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมที่ระดับร้อยละ 1.875, 1.9375 และ 2.0 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/10 พฤษภาคม 2544--
-ยก-