การผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเมษายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนเดียวกันปีก่อนหมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+22.7%) ผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ผู้ประกอบการเปิดสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ หมวดเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก (+14.3%) ผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสีซึ่งมีความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น หมวดเครื่องดื่ม (+10.7%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราและเบียร์ โดยมีการผลิตเบียร์ยี่ห้อใหม่ของบริษัทไทยอมฤตบริวเวอรี่ ในช่วงต้นเดือน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดระดับล่าง และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+5.4%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อ ทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาด ที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม และ สิงคโปร์
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-27.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและโทรทัศน์เป็นสำคัญ และหมวดอาหาร (-13.9%) ลดลงตามผลผลิตน้ำตาล เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อน โรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูงกับสินค้าของฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.3%) เนื่องจากผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริม การขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดเครื่องดื่ม (+6.2%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ เป็นสำคัญ
--ทีมอุตสาหกรรม ฝ่ายภาคการผลิต/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนเมษายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนเดียวกันปีก่อนหมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+22.7%) ผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ผู้ประกอบการเปิดสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ หมวดเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก (+14.3%) ผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสีซึ่งมีความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น หมวดเครื่องดื่ม (+10.7%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราและเบียร์ โดยมีการผลิตเบียร์ยี่ห้อใหม่ของบริษัทไทยอมฤตบริวเวอรี่ ในช่วงต้นเดือน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดระดับล่าง และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+5.4%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อ ทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาด ที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม และ สิงคโปร์
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-27.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและโทรทัศน์เป็นสำคัญ และหมวดอาหาร (-13.9%) ลดลงตามผลผลิตน้ำตาล เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อน โรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูงกับสินค้าของฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.3%) เนื่องจากผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริม การขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดเครื่องดื่ม (+6.2%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ เป็นสำคัญ
--ทีมอุตสาหกรรม ฝ่ายภาคการผลิต/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-