แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต
อาหารปลาดุกต้นทุนต่ำจากวัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม
ปลาดุกเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย รสชาติดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ตลาดปลาดุกในบ้านเราอยู่ในระดับมาตรฐานคือ ผู้เลี้ยงมีจำนวนมากในขณะที่ตลาดผู้บริโภคก็มาก ราคาไม่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น ถ้าผู้เลี้ยงต้องการทำกำไรมาก ๆ ต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม และลดอัตราเสี่ยงในการตายของปลาโดยการซื้อปลาดุกขนาด 10-20 ตัวต่อกิโลกรัม นำมาเลี้ยงต่อ ซึ่งเป็นการย่นระยะเวลาและลดอัตราเสี่ยงในการตายของลูกปลา ตัวอย่างเช่น ซื้อปลามาเลี้ยงประมาณ 500 กิโลกรัม เลี้ยงได้ประมาณ 3-5 เดือน จะได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 1,000 กิโลกรัม
ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกจะให้วันละ 1มื้อโดยใช้ใส้ไก่หว่านลงในบ่อและบางครั้งจะนำเศษเนื้อมาต้มผสมกับกากมะพร้าว ซึ่งกากมะพร้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ ส่วนใส้ไก่และเศษเนื้อก็หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก อาหารเหล่านี้ถือว่าเป็นอาหารธรรมชาติ ทำให้ปลาดุกโตเร็ว ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี การจับขาย ให้ทยอยจับโดยใช้อวนลากเพื่อคัดขนาดส่งให้กับพ่อค้าต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 9-16 มค. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,881.93 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 849.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,032.19 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 8.61 1.2 ปลาช่อน 10.66 1.3 กุ้งทะเล 86.86 1.4 ปลาทู 151.89
2. สถานการณ์การตลาดความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.56 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 344.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 348 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ494.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 476.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 17.95 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ15.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.29 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท จากกิโลกรัมละ 52.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ83.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 29 มค.-2 กพ.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 29 ม.ค. - 4 ก.พ. 2544--
-สส-
อาหารปลาดุกต้นทุนต่ำจากวัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม
ปลาดุกเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย รสชาติดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ตลาดปลาดุกในบ้านเราอยู่ในระดับมาตรฐานคือ ผู้เลี้ยงมีจำนวนมากในขณะที่ตลาดผู้บริโภคก็มาก ราคาไม่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น ถ้าผู้เลี้ยงต้องการทำกำไรมาก ๆ ต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม และลดอัตราเสี่ยงในการตายของปลาโดยการซื้อปลาดุกขนาด 10-20 ตัวต่อกิโลกรัม นำมาเลี้ยงต่อ ซึ่งเป็นการย่นระยะเวลาและลดอัตราเสี่ยงในการตายของลูกปลา ตัวอย่างเช่น ซื้อปลามาเลี้ยงประมาณ 500 กิโลกรัม เลี้ยงได้ประมาณ 3-5 เดือน จะได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 1,000 กิโลกรัม
ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกจะให้วันละ 1มื้อโดยใช้ใส้ไก่หว่านลงในบ่อและบางครั้งจะนำเศษเนื้อมาต้มผสมกับกากมะพร้าว ซึ่งกากมะพร้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ ส่วนใส้ไก่และเศษเนื้อก็หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก อาหารเหล่านี้ถือว่าเป็นอาหารธรรมชาติ ทำให้ปลาดุกโตเร็ว ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี การจับขาย ให้ทยอยจับโดยใช้อวนลากเพื่อคัดขนาดส่งให้กับพ่อค้าต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 9-16 มค. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,881.93 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 849.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,032.19 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 8.61 1.2 ปลาช่อน 10.66 1.3 กุ้งทะเล 86.86 1.4 ปลาทู 151.89
2. สถานการณ์การตลาดความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.56 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.97 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 344.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 348 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ494.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 476.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 17.95 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ15.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.29 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท จากกิโลกรัมละ 52.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ83.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 29 มค.-2 กพ.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 29 ม.ค. - 4 ก.พ. 2544--
-สส-