เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวเพียงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยเสริมที่สำคัญ คือ การขยายตัวของ ผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารทะเล และการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว การลงทุน และการค้ายานพาหนะ ขณะที่การส่งออกหดตัวลงตามภาวะชะลอตัวของตลาดต่างประเทศและการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ลดลง เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณด้านงบลงทุนมีน้อยมาก โดยเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 90 ของงบลงทุนทั้งหมด ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 1.4 เป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบปี เพราะสินค้าหลายประเภทปรับราคาลดลงตามภาวะต้นทุนการผลิตที่ลดลงบ้างเป็นสำคัญ
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ผลผลิตพืชผลเกษตรยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะที่ราคาสินค้าหลักซึ่งได้แก่ ยางแผ่นดิบและกุ้งกุลาดำ ปรับตัวลดลง
ทางด้านราคานั้น ยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.73 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำตามภาวะอุตสาหกรรม รถยนต์ ส่วนราคาน้ำยางเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.73 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เพราะยังส่งไปมาเลเซีย ได้ต่อเนื่อง ทางด้านราคาผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.05 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 9.6 เพราะผลผลิตในตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะผลผลิตของมาเลเซีย สำหรับข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมือง 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,860.00 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.6 เพราะตลาดให้ความสนใจข้าวของไทย ซึ่งเริ่มมีราคาต่ำกว่าข้าวของเวียดนาม
ส่วนสาขาการประมง ปริมาณผลผลิตกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยในเดือนนี้ กุ้งกุลาดำที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 1,190.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.8 ในขณะที่ราคาปรับตัวลดลง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 302.50 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 เพราะมีการนำกุ้งจากอินเดีย บังคลาเทศและเวียดนามมาผลิต แข่งขันในตลาดแปรรูปส่งออก รวมถึงมีกุ้งขาวจากเอกวาดอร์เข้าไปแข่งขันจำหน่ายในตลาดสหรัฐอเมริกามากขึ้น สำหรับสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในเดือนนี้มีมูลค่า 1,178.90 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 เพราะชาวประมงยังคงเผชิญกับปัญหาน้ำมันราคาสูง ปัญหาประมงนอกน่านน้ำและคุณภาพสัตว์น้ำด้อยลง
ทางด้านปศุสัตว์ราคายังคงสูงขึ้น เพราะความต้องการจากตลาดยังมีมาก เนื่องจาก เป็นช่วงเทศกาลสารทจีน จึงมีการแข่งขันราคารับซื้อ โดยราคาสุกรเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.08 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.3 ขณะเดียวกันไก่เนื้อราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.47 บาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.4
เหมืองแร่
ผลผลิตสินแร่ดีบุกในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 205.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.6 ขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมจากแหล่งผลิตหลักคือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มีจำนวน 329,098.0 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.6
ส่วนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 5,788.9 เมตริกตัน มูลค่า 59.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 101.1 และ 82.1 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 185,675.7 เมตริกตัน มูลค่า 1,599.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อน ลดลง ร้อยละ 18.6 และ 25.3 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเพียงบางประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน น้ำยาง ถุงมือยาง และอาหารทะเล โดยในเดือนนี้ผลผลิตยางส่งออกมีจำนวนรวม 195,519.7 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็นผลผลิตยางแผ่นรมควัน 74,296.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เพราะยังมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ ส่วน ผลผลิตยางแท่งมีจำนวน 55,492.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ขณะที่ยังมีการแข่งขันตัดราคาขายยางจากอินโดนีเซีย ทำให้ราคายางแท่ง STR20 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.67 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 สำหรับผลผลิตน้ำยางสดและน้ำยางข้นส่งออกจำนวน 55,803.2 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกผ่านไปยังประเทศมาเลเซีย
ในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเดือนนี้ การส่งออกถุงมือยางของภาคใต้ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีการส่งออกรวม 5,739.7 เมตริกตัน มูลค่า 761.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.1 และ 45.2 ตามลำดับ ขณะที่ไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์มีข้อจำกัดด้านตลาดชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้การส่งออกลดลง โดยมีปริมาณส่งออกรวม 23,011.5 เมตริกตัน มูลค่า 236.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.5 และ 34.8 ตามลำดับ
ทางด้านอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ ในเดือนนี้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 73,273.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.8 ทำให้ราคา น้ำมันปาล์มดิบเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานครเฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.70 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 ตามการ เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซียเป็นสำคัญ
ส่วนภาวะการผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากโรควัวบ้า จึงหันมาบริโภคอาหารทะเลแทน ซึ่งส่งผลในทางที่ดีต่อการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนนี้มีจำนวน 22,026.6 เมตริกตัน มูลค่า 2,270.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.5 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลกระป๋องในเดือนเดียวกันนี้มีจำนวน 11,227.4 เมตริกตัน มูลค่า 996.2 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณค่อนข้างทรงตัว ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เนื่องจากปัจจัยทางด้านค่าเงินที่อ่อนตัวลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่นำเข้ามาแปรรูปมีราคาสูง
ทางด้านปลาป่น ราคาปรับลดลง เพราะผลจากการปรับราคาลงของอาหารสัตว์ รวมถึงมีการแข่งขันกันมากขึ้น ทั้งจากคู่แข่งภายในประเทศและผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาขยับตัวลดลง
สำหรับการส่งออกโลหะดีบุกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ ในเดือนนี้มีจำนวน 1,622.0 เมตริกตัน มูลค่า 314.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.7 และ 11.2 ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
ในเดือนนี้ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัว เนื่องจากเป็นช่วงวันชาติของมาเลเซีย และมี กิจกรรมงานสุดปลายทางที่หาดใหญ่ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เดือนสิงหาคมนี้ทั้งสิ้น 184,406 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.6
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองระนองและท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งสิ้น 79,699 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1
ส่วนภาวะการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมือง 104,707 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.0 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.8 เพราะเป็นช่วงวันหยุดและวันชาติของมาเลเซีย อีกทั้งมีกิจกรรมการจัดงานสุดปลายทางหาดใหญ่ รวมถึงมีการขยายเวลาเปิดด่านชายแดน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นมา เป็นสำคัญ
การลงทุน
ในเดือนนี้มีโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 8 โครงการ เงินลงทุน 2,737.0 ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.6 เพราะมีโครงการลงทุนที่สำคัญคือ โครงการผลิตน้ำยางข้น ถุงมือยาง โรงแรม ไม้ยางพาราแปรรูปและสัตว์น้ำแช่แข็ง
สำหรับพื้นที่ก่อสร้างนั้น ในเดือนนี้มีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองเทศบาลนครและเทศบาลตำบลทั้งสิ้น 99,866 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และเพื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 78.6 และ 23.8 ตามลำดับเป็นสำคัญ
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้มีเพียงการซื้อขายยานพาหนะที่ขยายตัวขึ้นมาก ส่วนทางด้านการค้าอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกระเตื้องเพียงเล็กน้อย ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณ ชะลอตัว แม้ว่าทางการได้พยายามดำเนินนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม โดยในเดือนนี้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 363.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียง ร้อยละ 4.8 ขณะที่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.4
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์ยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลานี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น ทั้งประชาชน ทั่วไปและธุรกิจร้านค้าที่มีผลประกอบการดี ได้เปลี่ยนรถใหม่เป็นจำนวนมาก โดยยอดจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,004 คัน เพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.8 ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีจำนวน 15,274 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.8 และยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 1,453 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนสิงหาคมนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในรอบปี ทั้งนี้ มีสาเหตุจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ไก่สดและไข่ไก่ และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลงได้แก่ ข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ เพราะมีการแข่งขันของผู้ประกอบการ และมีสินค้าผลิตออกมาจำหน่ายมากขึ้น ประกอบกับต้นทุนการผลิตบางประเภทลดลงบ้าง ทั้งต้นทุนจากวัตถุดิบนำเข้าและ ต้นทุนน้ำมันที่ปรับราคาลดลงบ้างในบางช่วงเวลา
การค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนสิงหาคม สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่า 15,896.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าลดลงคือ น้ำมันดิบ ยางแท่ง ไม้ยางพาราแปรรูป ผักสด ผลไม้ ส่วนสินค้าส่งออกที่ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน สัตว์น้ำ และอาหารบรรจุกระป๋อง ซึ่งตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศจีนได้มีคำสั่งซื้อยางแผ่นรมควันก่อนหน้านี้ ส่วนอาหารทะเลนั้น ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิต โดยนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ทำให้สามารถแข่งขันราคาในตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น
ทางด้านสินค้านำเข้ามีมูลค่า 4,002.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ และการนำเข้าสัตว์น้ำยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองตลาดอาหารทะเลที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ภาคการคลัง
ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 7,241.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 การเบิกจ่ายลดลง เนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบลงทุนน้อยมาก โดยเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 90 ของงบลงทุนทั้งหมด
ทางด้านการจัดเก็บภาษีอากร เดือนนี้จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 1,420.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 เนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรเก็บได้ 1,252.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เพราะสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับ การชำระภาษีจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานสร้างทางรถไฟเส้นทางจากประจวบคีรีขันธ์-สุราษฎร์ธานี เป็นสำคัญ ส่วนรายได้จากภาษีสรรพสามิตและศุลกากรลดลงร้อยละ 0.4 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวนรวม 30,274.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.1 เป็นเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทน ธปท. (เงินสดรับ) จำนวน 13,863.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 และเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์ขอเบิกจากผู้แทน ธปท. (เงินสดจ่าย) จำนวน 16,411.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1
ขณะเดียวกันเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวน 11,183.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.3
การใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีในเดือนสิงหาคมมีจำนวนรวม 432,191 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 37,810.1 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.9 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ส่วนสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมเท่ากับร้อยละ 1.2 เท่ากับเมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน
ทางด้านสถาบันการเงินนั้น เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 253,800ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.9 เพราะส่วนหนึ่งประชาชนถอนเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล และเงินฝากของสาขาธนาคารออมสินมีจำนวน 34,618.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินลดลงเกือบทุกแห่ง โดยสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 154,700 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.4 เพราะลูกค้ามีการชำระหนี้คงค้างคืน ขณะที่โครงการขยายการผลิตของผู้ประกอบการมีไม่มาก เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันทางธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดในการพิจารณาคัดเลือกลูกค้าที่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเงินสินเชื่อไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จึงทำให้กลุ่มลูกค้าถูกจำกัดลง
นอกจากนี้ การให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของ ธ.ก.ส. มีจำนวน 1,221.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.5 เพราะผลจากโครงการพักชำระหนี้ซึ่งมีเงื่อนไขว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ ไม่สามารถได้รับเงินสินเชื่อในช่วงเวลา 3 ปีของโครงการ
สำหรับสินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) มีจำนวน 1,183.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.7 เพราะมีลูกค้าบางส่วนใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของ ธสน. สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ประมาณ 0.5-1.0%
และสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีจำนวน 158.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.8
ส่วนทางด้านการให้บริการของสำนักงานอำนวยสินเชื่อ (สอช.) ยังคงขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยอดเงินให้สินเชื่อมีจำนวน 5,725.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 68.0 เพราะ สอช. มีนโยบายขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้น ในเขตพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เช่น พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี เป็นต้น รวมถึงขณะนี้มีโครงการขยายสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น โดยเฉพาะมีโครงการลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยจัดทำโครงการร่วมกับบรรดาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ต่าง ๆ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ย - ต.ค. 2544
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอ ตัวลง โดยมีสัญญาณบ่งชี้จากการที่ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำ โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ ภาวะการประมงทะเลยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น รวมถึงการลงทุนและการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจของมาเลเซียและสิงคโปร์ชะลอตัว นอกจากนี้ผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลด้านลบต่อภาวะการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าบางชนิด ส่วนปัจจัยที่คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวไปได้ มีเพียงความคาดหวังจากนโยบายการคลังในการกระตุ้นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณ 58,000 ล้านบาท ซึ่งทางการจะเร่งนำมาใช้จ่ายในโครงการ ต่าง ๆ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในตลาดภายในประเทศจากโครงการพักชำระหนี้และธนาคารประชาชน และการใช้จ่ายด้านยานพาหนะที่มีการส่งเสริมการขายมากขึ้นในขณะนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ผลผลิตพืชผลเกษตรยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะที่ราคาสินค้าหลักซึ่งได้แก่ ยางแผ่นดิบและกุ้งกุลาดำ ปรับตัวลดลง
ทางด้านราคานั้น ยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.73 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำตามภาวะอุตสาหกรรม รถยนต์ ส่วนราคาน้ำยางเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.73 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เพราะยังส่งไปมาเลเซีย ได้ต่อเนื่อง ทางด้านราคาผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.05 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 9.6 เพราะผลผลิตในตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะผลผลิตของมาเลเซีย สำหรับข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมือง 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,860.00 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.6 เพราะตลาดให้ความสนใจข้าวของไทย ซึ่งเริ่มมีราคาต่ำกว่าข้าวของเวียดนาม
ส่วนสาขาการประมง ปริมาณผลผลิตกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยในเดือนนี้ กุ้งกุลาดำที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 1,190.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.8 ในขณะที่ราคาปรับตัวลดลง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 302.50 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 เพราะมีการนำกุ้งจากอินเดีย บังคลาเทศและเวียดนามมาผลิต แข่งขันในตลาดแปรรูปส่งออก รวมถึงมีกุ้งขาวจากเอกวาดอร์เข้าไปแข่งขันจำหน่ายในตลาดสหรัฐอเมริกามากขึ้น สำหรับสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในเดือนนี้มีมูลค่า 1,178.90 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 เพราะชาวประมงยังคงเผชิญกับปัญหาน้ำมันราคาสูง ปัญหาประมงนอกน่านน้ำและคุณภาพสัตว์น้ำด้อยลง
ทางด้านปศุสัตว์ราคายังคงสูงขึ้น เพราะความต้องการจากตลาดยังมีมาก เนื่องจาก เป็นช่วงเทศกาลสารทจีน จึงมีการแข่งขันราคารับซื้อ โดยราคาสุกรเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.08 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.3 ขณะเดียวกันไก่เนื้อราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.47 บาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.4
เหมืองแร่
ผลผลิตสินแร่ดีบุกในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 205.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.6 ขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมจากแหล่งผลิตหลักคือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มีจำนวน 329,098.0 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.6
ส่วนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 5,788.9 เมตริกตัน มูลค่า 59.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 101.1 และ 82.1 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 185,675.7 เมตริกตัน มูลค่า 1,599.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อน ลดลง ร้อยละ 18.6 และ 25.3 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเพียงบางประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน น้ำยาง ถุงมือยาง และอาหารทะเล โดยในเดือนนี้ผลผลิตยางส่งออกมีจำนวนรวม 195,519.7 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็นผลผลิตยางแผ่นรมควัน 74,296.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เพราะยังมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ ส่วน ผลผลิตยางแท่งมีจำนวน 55,492.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ขณะที่ยังมีการแข่งขันตัดราคาขายยางจากอินโดนีเซีย ทำให้ราคายางแท่ง STR20 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.67 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 สำหรับผลผลิตน้ำยางสดและน้ำยางข้นส่งออกจำนวน 55,803.2 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกผ่านไปยังประเทศมาเลเซีย
ในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเดือนนี้ การส่งออกถุงมือยางของภาคใต้ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีการส่งออกรวม 5,739.7 เมตริกตัน มูลค่า 761.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.1 และ 45.2 ตามลำดับ ขณะที่ไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์มีข้อจำกัดด้านตลาดชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้การส่งออกลดลง โดยมีปริมาณส่งออกรวม 23,011.5 เมตริกตัน มูลค่า 236.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.5 และ 34.8 ตามลำดับ
ทางด้านอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ ในเดือนนี้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 73,273.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.8 ทำให้ราคา น้ำมันปาล์มดิบเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานครเฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.70 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 ตามการ เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดมาเลเซียเป็นสำคัญ
ส่วนภาวะการผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากโรควัวบ้า จึงหันมาบริโภคอาหารทะเลแทน ซึ่งส่งผลในทางที่ดีต่อการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนนี้มีจำนวน 22,026.6 เมตริกตัน มูลค่า 2,270.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.5 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลกระป๋องในเดือนเดียวกันนี้มีจำนวน 11,227.4 เมตริกตัน มูลค่า 996.2 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณค่อนข้างทรงตัว ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เนื่องจากปัจจัยทางด้านค่าเงินที่อ่อนตัวลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่นำเข้ามาแปรรูปมีราคาสูง
ทางด้านปลาป่น ราคาปรับลดลง เพราะผลจากการปรับราคาลงของอาหารสัตว์ รวมถึงมีการแข่งขันกันมากขึ้น ทั้งจากคู่แข่งภายในประเทศและผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาขยับตัวลดลง
สำหรับการส่งออกโลหะดีบุกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ ในเดือนนี้มีจำนวน 1,622.0 เมตริกตัน มูลค่า 314.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.7 และ 11.2 ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
ในเดือนนี้ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัว เนื่องจากเป็นช่วงวันชาติของมาเลเซีย และมี กิจกรรมงานสุดปลายทางที่หาดใหญ่ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เดือนสิงหาคมนี้ทั้งสิ้น 184,406 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.6
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองระนองและท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งสิ้น 79,699 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1
ส่วนภาวะการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมือง 104,707 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.0 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.8 เพราะเป็นช่วงวันหยุดและวันชาติของมาเลเซีย อีกทั้งมีกิจกรรมการจัดงานสุดปลายทางหาดใหญ่ รวมถึงมีการขยายเวลาเปิดด่านชายแดน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นมา เป็นสำคัญ
การลงทุน
ในเดือนนี้มีโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 8 โครงการ เงินลงทุน 2,737.0 ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.6 เพราะมีโครงการลงทุนที่สำคัญคือ โครงการผลิตน้ำยางข้น ถุงมือยาง โรงแรม ไม้ยางพาราแปรรูปและสัตว์น้ำแช่แข็ง
สำหรับพื้นที่ก่อสร้างนั้น ในเดือนนี้มีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองเทศบาลนครและเทศบาลตำบลทั้งสิ้น 99,866 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และเพื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 78.6 และ 23.8 ตามลำดับเป็นสำคัญ
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้มีเพียงการซื้อขายยานพาหนะที่ขยายตัวขึ้นมาก ส่วนทางด้านการค้าอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกระเตื้องเพียงเล็กน้อย ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณ ชะลอตัว แม้ว่าทางการได้พยายามดำเนินนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม โดยในเดือนนี้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 363.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียง ร้อยละ 4.8 ขณะที่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.4
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์ยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลานี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น ทั้งประชาชน ทั่วไปและธุรกิจร้านค้าที่มีผลประกอบการดี ได้เปลี่ยนรถใหม่เป็นจำนวนมาก โดยยอดจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 1,004 คัน เพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.8 ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีจำนวน 15,274 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.8 และยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 1,453 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนสิงหาคมนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในรอบปี ทั้งนี้ มีสาเหตุจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ไก่สดและไข่ไก่ และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลงได้แก่ ข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ เพราะมีการแข่งขันของผู้ประกอบการ และมีสินค้าผลิตออกมาจำหน่ายมากขึ้น ประกอบกับต้นทุนการผลิตบางประเภทลดลงบ้าง ทั้งต้นทุนจากวัตถุดิบนำเข้าและ ต้นทุนน้ำมันที่ปรับราคาลดลงบ้างในบางช่วงเวลา
การค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนสิงหาคม สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่า 15,896.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าลดลงคือ น้ำมันดิบ ยางแท่ง ไม้ยางพาราแปรรูป ผักสด ผลไม้ ส่วนสินค้าส่งออกที่ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน สัตว์น้ำ และอาหารบรรจุกระป๋อง ซึ่งตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศจีนได้มีคำสั่งซื้อยางแผ่นรมควันก่อนหน้านี้ ส่วนอาหารทะเลนั้น ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิต โดยนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ทำให้สามารถแข่งขันราคาในตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น
ทางด้านสินค้านำเข้ามีมูลค่า 4,002.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ และการนำเข้าสัตว์น้ำยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองตลาดอาหารทะเลที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ภาคการคลัง
ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 7,241.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 การเบิกจ่ายลดลง เนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบลงทุนน้อยมาก โดยเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 90 ของงบลงทุนทั้งหมด
ทางด้านการจัดเก็บภาษีอากร เดือนนี้จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 1,420.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 เนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรเก็บได้ 1,252.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เพราะสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับ การชำระภาษีจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานสร้างทางรถไฟเส้นทางจากประจวบคีรีขันธ์-สุราษฎร์ธานี เป็นสำคัญ ส่วนรายได้จากภาษีสรรพสามิตและศุลกากรลดลงร้อยละ 0.4 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวนรวม 30,274.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.1 เป็นเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทน ธปท. (เงินสดรับ) จำนวน 13,863.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 และเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์ขอเบิกจากผู้แทน ธปท. (เงินสดจ่าย) จำนวน 16,411.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1
ขณะเดียวกันเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวน 11,183.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.3
การใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีในเดือนสิงหาคมมีจำนวนรวม 432,191 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 37,810.1 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.9 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ส่วนสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมเท่ากับร้อยละ 1.2 เท่ากับเมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน
ทางด้านสถาบันการเงินนั้น เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 253,800ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.9 เพราะส่วนหนึ่งประชาชนถอนเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล และเงินฝากของสาขาธนาคารออมสินมีจำนวน 34,618.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินลดลงเกือบทุกแห่ง โดยสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 154,700 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.4 เพราะลูกค้ามีการชำระหนี้คงค้างคืน ขณะที่โครงการขยายการผลิตของผู้ประกอบการมีไม่มาก เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันทางธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดในการพิจารณาคัดเลือกลูกค้าที่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเงินสินเชื่อไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จึงทำให้กลุ่มลูกค้าถูกจำกัดลง
นอกจากนี้ การให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของ ธ.ก.ส. มีจำนวน 1,221.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.5 เพราะผลจากโครงการพักชำระหนี้ซึ่งมีเงื่อนไขว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ ไม่สามารถได้รับเงินสินเชื่อในช่วงเวลา 3 ปีของโครงการ
สำหรับสินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) มีจำนวน 1,183.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.7 เพราะมีลูกค้าบางส่วนใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของ ธสน. สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ประมาณ 0.5-1.0%
และสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีจำนวน 158.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.8
ส่วนทางด้านการให้บริการของสำนักงานอำนวยสินเชื่อ (สอช.) ยังคงขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยอดเงินให้สินเชื่อมีจำนวน 5,725.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 68.0 เพราะ สอช. มีนโยบายขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้น ในเขตพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เช่น พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี เป็นต้น รวมถึงขณะนี้มีโครงการขยายสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น โดยเฉพาะมีโครงการลดอัตราดอกเบี้ยลง โดยจัดทำโครงการร่วมกับบรรดาตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ต่าง ๆ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ย - ต.ค. 2544
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอ ตัวลง โดยมีสัญญาณบ่งชี้จากการที่ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำ โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ ภาวะการประมงทะเลยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น รวมถึงการลงทุนและการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจของมาเลเซียและสิงคโปร์ชะลอตัว นอกจากนี้ผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลด้านลบต่อภาวะการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าบางชนิด ส่วนปัจจัยที่คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวไปได้ มีเพียงความคาดหวังจากนโยบายการคลังในการกระตุ้นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณ 58,000 ล้านบาท ซึ่งทางการจะเร่งนำมาใช้จ่ายในโครงการ ต่าง ๆ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในตลาดภายในประเทศจากโครงการพักชำระหนี้และธนาคารประชาชน และการใช้จ่ายด้านยานพาหนะที่มีการส่งเสริมการขายมากขึ้นในขณะนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-