บทสรุปสำหรับนักลงทุน
เครื่องประดับเทียมในประเทศนิยมนำเข้า แต่ในช่วงปี 2538-2541 มูลค่าตลาดลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย เครื่องประดับเทียมส่วนใหญ่นำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นหลัก แม้ว่าได้มีการผลิตภายในประเทศ แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างมุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ส่วนการส่งออกมีความไม่แน่นอน เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างสูง ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ เป็นต้น จึงทำให้การส่งออกเครื่องประดับของไทยขยายตัวในอัตราที่ต่ำ ในปี 2542 ความต้องการเครื่องประดับเทียมในประเทศก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องดังเห็นได้จากปริมาณการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปีร้อยละ 9.2 เป็น 68.86 ล้านบาทจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการแข่งขันกับตลาดเครื่องประดับแท้ที่ราคาถูก ส่วนการส่งออกเครื่องประดับเทียมในปี 2542 กลับลดลงอีกครั้งหลังจากที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงปี 2540-2541 โดยลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.2 เป็น 2,205 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากต้นทุนการผลิตของไทยที่สูงขึ้น และมีการแข่งขันในตลาดโลกอย่างมาก
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการนำเข้าเครื่องประดับเทียมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนเป็น 200 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ตลาดเครื่องประดับแท้ที่ราคาถูกก็ยังคงเข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดระดับปานกลาง/ล่าง ส่วนการส่งออกในปี 2543คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 7.7 เป็น 2,375 ล้านบาท แต่รัฐจำเป็นต้องให้การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพราะการผลิตเครื่องประดับเทียมของไทยยังมีต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูง เนื่องจากไม่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบเครื่องประดับเทียมในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมสามารถผลิตสินค้าในราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมมีราว 22 ราย และเป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมเกือบทั้งหมด มีผู้ผลิตรายใหญ่เพียง 4-5 ราย เท่านั้น และมีเงื่อนไขของ BOI ผลิตเพื่อการส่งออกกว่าร้อยละ 80ของยอดจำหน่าย แหล่งผลิตจะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เพชรพลอยสังเคราะห์ ผงเงินผงทองผงโรเดียม และชิ้นส่วนประกอบต่างๆ นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ส่วนโลหะที่ใช้ทำตัวเรือน ได้แก่ ดีบุก พลวง ตะกั่ว จัดซื้อในประเทศ ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เครื่องอัดแม่พิมพ์ยาง เครื่องหล่อโลหะ เครื่องขัดเงาและฝน และเครื่องชุบทอง/โรเดียม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก
การลงทุน อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับเทียมขนาดกลาง ขนาดกำลังการผลิตประมาณ 1.2ล้านชิ้นต่อปี ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นราว 16 ล้านบาท และมีเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 12 ล้านบาท มีแรงงานประมาณ 300 คน สำหรับต้นทุนการผลิตเครื่องประดับเทียม ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 56 แรงงาน ร้อยละ 11 ค่าสาธารณูโภค ร้อยละ 2 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ร้อยละ 24 และโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 7 ตามลำดับ กำไรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 10-15 ของรายได้จากการขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ความต้องการเครื่องประดับเทียม1ในประเทศ ผู้บริโภคนิยมเครื่องประดับเทียมนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นหลัก แม้ว่าจะมีผู้ผลิตภายในประเทศ แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างมุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก แต่ในช่วงปี 2538-2541 จะพบว่าปริมาณการนำเข้าลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย เครื่องประดับก็เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ ในช่วงปี 2539-2541 ตลาดเครื่องประดับแท้ ในระดับราคาไม่แพงเริ่มเข้ามาแข่งขันมากขึ้น และมีการจัดประชาสัมพันธ์สม่ำเสมอ สำหรับการส่งออกมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างสูง คู่แข่งที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ เป็นต้น จึงทำให้การส่งออกเครื่องประดับของไทยในปัจจุบันขยายตัวในอัตราที่ต่ำ อย่างไรก็ตามในปี 2540-2541 การส่งออกเครื่องประดับเทียมกลับขยายตัวสูงขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 18.7 คิดเป็นมูลค่าถึง 2,553 ล้านบาท ในปี 2541 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ระดับราคาส่งออกของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น
ในปี 2542 ความต้องการเครื่องประดับเทียมในประเทศก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จาก ปริมาณการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.24 เป็น46,206 กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่า 68.86 ล้านบาท เนื่องจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการแข่งขันกับตลาดเครื่องประดับแท้ราคาถูก ส่วนการส่งออกเครื่องประดับเทียมในปี 2542 กลับลดลงอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงปี 2540-2541 ทั้งนี้เป็นผลจากต้นทุนการผลิตของไทยที่สูงขึ้น และมีการแข่งขันในตลาดโลกอย่างมาก ดังจะเห็นได้จาก ปริมาณการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.53 เป็น 408,390 กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่า 985.34 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2542 มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.2 เป็น 2,205 ล้านบาท
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการนำเข้าเครื่องประดับเทียมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนเป็น 200 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ตลาดเครื่องประดับแท้ราคาถูกก็ยังคงเข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดระดับปานกลาง/ล่าง ส่วนการส่งออกในปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 7.7 เป็น 2,375 ล้านบาท แต่รัฐจำเป็นต้องเข้ามาส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมสามารถผลิตสินค้าในราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เพราะการผลิตเครื่องประดับเทียมของไทยยังมีต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูง เนื่องจากยังไม่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบเครื่องประดับเทียมในประเทศ
1/ เครื่องประดับเทียม ในที่นี้หมายถึงเครื่องประดับอัญมณีเทียมเลียนแบบเครื่องดับอัญมณีแท้ ได้แก่ ต่างหู แหวน สร้อย กำไลและเข็มกลัด
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
การผลิตเครื่องประดับเทียมในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ส่วนเครื่องประดับเทียมที่จำหน่ายในประเทศเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ ผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมในประเทศไทยมีอยู่ราว 22 ราย ปัจจุบันผู้ผลิตชะลอการผลิตลง เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศและตลาดส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เดอร์กรอร์เซย์ 110,000,000
บริษัท เซ็งฮวด แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 29,000,000
บริษัท แมริก็อท จิวเวลรี (ประเทศไทย) จำกัด 20,000,000
บริษัท กลอรี่ จิวเวลรี่ จำกัด 10,000,000
บริษัท คอนเซ็พท์ แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 10,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
หมายเหตุ: ไม่ปรากฎผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ที่มีเงินทุนเกิน 200 ล้านบาท
ช่องทางการจำหน่าย
การจัดจำหน่ายเครื่องประดับในประเทศ ผู้ผลิตมักจะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศหรือเป็นการรับจ้างผลิตตามแบบของผู้ว่าจ้าง ส่วนเครื่องประดับเทียมที่มีคุณภาพ (ส่วนใหญ่มักนำเข้าจากต่างประเทศ) จำหน่ายในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ สำหรับตลาดส่งออก ผู้ผลิตจะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ เพื่อกระจายสินค้าต่อไป
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
- วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องประดับอัญมณีเทียมเลียนแบบเครื่องประดับแท้ ได้แก่ พลอยเทียม มุกเทียม ผงเงิน ผงทอง ผงโรเดียม สี และชิ้นส่วนต่างๆ เช่น แป้นต่างหู ฐานรอง ขาจับ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด สำหรับโลหะที่ใช้ทำตัวเรือนได้แก่ ดีบุก พลวง ตะกั่ว สามารถซื้อได้ในประเทศ
แหล่งวัตถุดิบเครื่องประดับอัญมณีเทียม
อัญมณีสังเคราะห์ นำเข้าจาก สวิตเซอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง
รัสเซีย ฝรั่งเศส ลิกช์เทนสไตน์
ผงเงิน ในประเทศ หรือนำเข้าจากญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน อิตาลี
ผงทอง เกลือทอง ในประเทศ หรือนำเข้าจากสิงคโปร์
ผงโรเดียม ในประเทศ หรือนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
ดีบุก พลวง ตะกั่ว ในประเทศ
โมลยาง ในประเทศ
บรรจุภัณฑ์ ในประเทศ หรือนำเข้าจากฮ่องกง
ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 56
- วัตถุดิบในประเทศ 45
- วัตถุดิบนำเข้า 55
2. ค่าแรงงาน 11
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 24
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 9
รวม 100
ที่มา: จากการสอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 การทำแม่พิมพ์ตามที่ได้ออกแบบไว้หรือตามที่ลูกค้าสั่ง (ในขั้นตอนนี้ อาจจ้างผู้ผลิตแม่พิมพ์ยางทำแทนได้)
ขั้นที่ 2 นำแม่พิมพ์ที่ได้ มาขึ้นรูปเป็นตัวเรือน จากนั้นนำมาเจียร ตกแต่งตามแบบ ขัดและทำความสะอาด
ขั้นที่ 3 นำตัวเรือนมาชุบทองแดง นิกเกิล ทอง โรเดียม ให้มีความหนาตามความที่ลูกค้าต้องการ แล้วทำให้แห้งและเคลือบเงาให้ตัวเรือนคงทนไม่ลอกง่าย
ขั้นที่ 4 นำตัวเรือนสำเร็จมาติดพลอยสังเคราะห์ และตรวจสอบคุณภาพสินค้า
ขั้นที่ 5 บรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ และเตรียมจัดส่ง
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เครื่องอัดแม่พิมพ์ยาง อยู่ในขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ เครื่องหล่อใช้ในการหล่อโลหะ เครื่องขัดเงาและฝน และเครื่องชุบทอง เครื่องชุบโรเดียม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องประดับควรตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องประดับขนาดกลาง กำลังการผลิต 1,200,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียน 7,000,000 บาท และเงินทุนเริ่มต้น 16,000,000 บาท
2.!ขนาดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 7,000,000 บาท
3.!เงินลงทุนในเครื่องจักร 6,000,000 บาท
4.!เงินลงทุนในยานพาหนะ 1,500,000 บาท
5.!เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 12,000,000 บาท
บุคลากร การผลิตเครื่องประดับเทียมใช้บุคลากรประมาณ 300 คน ประกอบด้วย
- พนักงานในโรงงาน จำนวน 285 คน
- พนักงานในสำนักงาน จำนวน 10 คน
- ผู้บริหาร จำนวน 5 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.!ต้นทุนวัตถุดิบ 92,000,000 บาทต่อปี
- เกลือทอง ผงโรเดียม ผงเงิน 37,000,000 บาทต่อปี
- ดีบุก พลวง ตะกั่ว 2,000,000 บาทต่อปี
- พลอยสังเคราะห์ 18,500,000 บาทต่อปี
- ชิ้นส่วนประกอบ 9,200,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 23,000,000 บาทต่อปี
- แม่พิมพ์ยาง 2,300,000 บาทต่อปี
2.!ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 20,800,000 บาทต่อปี
3.!ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 39,600,000 บาทต่อปี
4.!ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 3,440,000 บาทต่อปี
4.1! สาธารณูปโภค 3,200,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 200,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟฟ้า 2,800,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 200,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง 240,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 80,000 บาทต่อปี
- ค่ายานพาหนะ 160,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ 10,486,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10-15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 149.00 ล้านบาทต่อปี
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท Pan Abraives จำกัด 282/319 ถ.จรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ โทร.3985929-30
บริษัท Loius T.Leonowens (Thailand) จำกัด 723 ถ.สี่พระยา กรุงเทพฯ โทร.237-7040
บริษัท ดาวา แมชชีนเนอรี่ จำกัด 21/593-6 ถ.บางนา-ตราด สมุทรปราการ โทร.3985929-30
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! การขออนุญาตตั้งโรงงาน (ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2.! การจัดเก็บภาษี
กรมศุลกากร จัดเก็บอัตราอากรขาเข้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม ร้อยละ 60และได้ปรับลดอัตราอากรขาเข้าของกระดุมข้อมือเชิ้ตและสตัด และวัตถุดิบที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นไป
สำหรับวัตถุดิบอื่นๆที่ใช้ในการผลิต กรมศุลกากรได้จัดเก็บอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
- ผงเงิน อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 1
- ผงทอง เกลือทอง อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 0
- ผงโรเดียม อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
- เพชรพลอยสังเคราะห์ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 0
ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต กรมศุลกากรได้จัดเก็บอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
- เครื่องหล่อโลหะ และส่วนประกอบ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
- เครื่องมือกลสำหรับเจียระไน ขัดมันโลหะ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
- เครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์สำหรับการชุบด้วยไฟฟ้า อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เครื่องประดับเทียมในประเทศนิยมนำเข้า แต่ในช่วงปี 2538-2541 มูลค่าตลาดลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย เครื่องประดับเทียมส่วนใหญ่นำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นหลัก แม้ว่าได้มีการผลิตภายในประเทศ แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างมุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ส่วนการส่งออกมีความไม่แน่นอน เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างสูง ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ เป็นต้น จึงทำให้การส่งออกเครื่องประดับของไทยขยายตัวในอัตราที่ต่ำ ในปี 2542 ความต้องการเครื่องประดับเทียมในประเทศก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องดังเห็นได้จากปริมาณการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปีร้อยละ 9.2 เป็น 68.86 ล้านบาทจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการแข่งขันกับตลาดเครื่องประดับแท้ที่ราคาถูก ส่วนการส่งออกเครื่องประดับเทียมในปี 2542 กลับลดลงอีกครั้งหลังจากที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงปี 2540-2541 โดยลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.2 เป็น 2,205 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากต้นทุนการผลิตของไทยที่สูงขึ้น และมีการแข่งขันในตลาดโลกอย่างมาก
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการนำเข้าเครื่องประดับเทียมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนเป็น 200 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ตลาดเครื่องประดับแท้ที่ราคาถูกก็ยังคงเข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดระดับปานกลาง/ล่าง ส่วนการส่งออกในปี 2543คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 7.7 เป็น 2,375 ล้านบาท แต่รัฐจำเป็นต้องให้การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพราะการผลิตเครื่องประดับเทียมของไทยยังมีต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูง เนื่องจากไม่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบเครื่องประดับเทียมในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมสามารถผลิตสินค้าในราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมมีราว 22 ราย และเป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมเกือบทั้งหมด มีผู้ผลิตรายใหญ่เพียง 4-5 ราย เท่านั้น และมีเงื่อนไขของ BOI ผลิตเพื่อการส่งออกกว่าร้อยละ 80ของยอดจำหน่าย แหล่งผลิตจะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เพชรพลอยสังเคราะห์ ผงเงินผงทองผงโรเดียม และชิ้นส่วนประกอบต่างๆ นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ส่วนโลหะที่ใช้ทำตัวเรือน ได้แก่ ดีบุก พลวง ตะกั่ว จัดซื้อในประเทศ ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เครื่องอัดแม่พิมพ์ยาง เครื่องหล่อโลหะ เครื่องขัดเงาและฝน และเครื่องชุบทอง/โรเดียม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก
การลงทุน อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับเทียมขนาดกลาง ขนาดกำลังการผลิตประมาณ 1.2ล้านชิ้นต่อปี ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นราว 16 ล้านบาท และมีเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 12 ล้านบาท มีแรงงานประมาณ 300 คน สำหรับต้นทุนการผลิตเครื่องประดับเทียม ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 56 แรงงาน ร้อยละ 11 ค่าสาธารณูโภค ร้อยละ 2 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ร้อยละ 24 และโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 7 ตามลำดับ กำไรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 10-15 ของรายได้จากการขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ความต้องการเครื่องประดับเทียม1ในประเทศ ผู้บริโภคนิยมเครื่องประดับเทียมนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เป็นหลัก แม้ว่าจะมีผู้ผลิตภายในประเทศ แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างมุ่งเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก แต่ในช่วงปี 2538-2541 จะพบว่าปริมาณการนำเข้าลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลจากในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย เครื่องประดับก็เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ ในช่วงปี 2539-2541 ตลาดเครื่องประดับแท้ ในระดับราคาไม่แพงเริ่มเข้ามาแข่งขันมากขึ้น และมีการจัดประชาสัมพันธ์สม่ำเสมอ สำหรับการส่งออกมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างสูง คู่แข่งที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ เป็นต้น จึงทำให้การส่งออกเครื่องประดับของไทยในปัจจุบันขยายตัวในอัตราที่ต่ำ อย่างไรก็ตามในปี 2540-2541 การส่งออกเครื่องประดับเทียมกลับขยายตัวสูงขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 18.7 คิดเป็นมูลค่าถึง 2,553 ล้านบาท ในปี 2541 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ระดับราคาส่งออกของไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น
ในปี 2542 ความต้องการเครื่องประดับเทียมในประเทศก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จาก ปริมาณการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.24 เป็น46,206 กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่า 68.86 ล้านบาท เนื่องจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการแข่งขันกับตลาดเครื่องประดับแท้ราคาถูก ส่วนการส่งออกเครื่องประดับเทียมในปี 2542 กลับลดลงอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงปี 2540-2541 ทั้งนี้เป็นผลจากต้นทุนการผลิตของไทยที่สูงขึ้น และมีการแข่งขันในตลาดโลกอย่างมาก ดังจะเห็นได้จาก ปริมาณการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.53 เป็น 408,390 กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่า 985.34 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2542 มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.2 เป็น 2,205 ล้านบาท
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการนำเข้าเครื่องประดับเทียมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีก่อนเป็น 200 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ตลาดเครื่องประดับแท้ราคาถูกก็ยังคงเข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดระดับปานกลาง/ล่าง ส่วนการส่งออกในปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 7.7 เป็น 2,375 ล้านบาท แต่รัฐจำเป็นต้องเข้ามาส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมสามารถผลิตสินค้าในราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เพราะการผลิตเครื่องประดับเทียมของไทยยังมีต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูง เนื่องจากยังไม่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบเครื่องประดับเทียมในประเทศ
1/ เครื่องประดับเทียม ในที่นี้หมายถึงเครื่องประดับอัญมณีเทียมเลียนแบบเครื่องดับอัญมณีแท้ ได้แก่ ต่างหู แหวน สร้อย กำไลและเข็มกลัด
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
การผลิตเครื่องประดับเทียมในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ส่วนเครื่องประดับเทียมที่จำหน่ายในประเทศเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ ผู้ผลิตเครื่องประดับเทียมในประเทศไทยมีอยู่ราว 22 ราย ปัจจุบันผู้ผลิตชะลอการผลิตลง เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศและตลาดส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เดอร์กรอร์เซย์ 110,000,000
บริษัท เซ็งฮวด แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 29,000,000
บริษัท แมริก็อท จิวเวลรี (ประเทศไทย) จำกัด 20,000,000
บริษัท กลอรี่ จิวเวลรี่ จำกัด 10,000,000
บริษัท คอนเซ็พท์ แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 10,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
หมายเหตุ: ไม่ปรากฎผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ที่มีเงินทุนเกิน 200 ล้านบาท
ช่องทางการจำหน่าย
การจัดจำหน่ายเครื่องประดับในประเทศ ผู้ผลิตมักจะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศหรือเป็นการรับจ้างผลิตตามแบบของผู้ว่าจ้าง ส่วนเครื่องประดับเทียมที่มีคุณภาพ (ส่วนใหญ่มักนำเข้าจากต่างประเทศ) จำหน่ายในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ สำหรับตลาดส่งออก ผู้ผลิตจะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ เพื่อกระจายสินค้าต่อไป
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
- วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องประดับอัญมณีเทียมเลียนแบบเครื่องประดับแท้ ได้แก่ พลอยเทียม มุกเทียม ผงเงิน ผงทอง ผงโรเดียม สี และชิ้นส่วนต่างๆ เช่น แป้นต่างหู ฐานรอง ขาจับ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด สำหรับโลหะที่ใช้ทำตัวเรือนได้แก่ ดีบุก พลวง ตะกั่ว สามารถซื้อได้ในประเทศ
แหล่งวัตถุดิบเครื่องประดับอัญมณีเทียม
อัญมณีสังเคราะห์ นำเข้าจาก สวิตเซอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง
รัสเซีย ฝรั่งเศส ลิกช์เทนสไตน์
ผงเงิน ในประเทศ หรือนำเข้าจากญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน อิตาลี
ผงทอง เกลือทอง ในประเทศ หรือนำเข้าจากสิงคโปร์
ผงโรเดียม ในประเทศ หรือนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
ดีบุก พลวง ตะกั่ว ในประเทศ
โมลยาง ในประเทศ
บรรจุภัณฑ์ ในประเทศ หรือนำเข้าจากฮ่องกง
ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 56
- วัตถุดิบในประเทศ 45
- วัตถุดิบนำเข้า 55
2. ค่าแรงงาน 11
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 24
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 9
รวม 100
ที่มา: จากการสอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 การทำแม่พิมพ์ตามที่ได้ออกแบบไว้หรือตามที่ลูกค้าสั่ง (ในขั้นตอนนี้ อาจจ้างผู้ผลิตแม่พิมพ์ยางทำแทนได้)
ขั้นที่ 2 นำแม่พิมพ์ที่ได้ มาขึ้นรูปเป็นตัวเรือน จากนั้นนำมาเจียร ตกแต่งตามแบบ ขัดและทำความสะอาด
ขั้นที่ 3 นำตัวเรือนมาชุบทองแดง นิกเกิล ทอง โรเดียม ให้มีความหนาตามความที่ลูกค้าต้องการ แล้วทำให้แห้งและเคลือบเงาให้ตัวเรือนคงทนไม่ลอกง่าย
ขั้นที่ 4 นำตัวเรือนสำเร็จมาติดพลอยสังเคราะห์ และตรวจสอบคุณภาพสินค้า
ขั้นที่ 5 บรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ และเตรียมจัดส่ง
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เครื่องอัดแม่พิมพ์ยาง อยู่ในขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ เครื่องหล่อใช้ในการหล่อโลหะ เครื่องขัดเงาและฝน และเครื่องชุบทอง เครื่องชุบโรเดียม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องประดับควรตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องประดับขนาดกลาง กำลังการผลิต 1,200,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียน 7,000,000 บาท และเงินทุนเริ่มต้น 16,000,000 บาท
2.!ขนาดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 7,000,000 บาท
3.!เงินลงทุนในเครื่องจักร 6,000,000 บาท
4.!เงินลงทุนในยานพาหนะ 1,500,000 บาท
5.!เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 12,000,000 บาท
บุคลากร การผลิตเครื่องประดับเทียมใช้บุคลากรประมาณ 300 คน ประกอบด้วย
- พนักงานในโรงงาน จำนวน 285 คน
- พนักงานในสำนักงาน จำนวน 10 คน
- ผู้บริหาร จำนวน 5 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.!ต้นทุนวัตถุดิบ 92,000,000 บาทต่อปี
- เกลือทอง ผงโรเดียม ผงเงิน 37,000,000 บาทต่อปี
- ดีบุก พลวง ตะกั่ว 2,000,000 บาทต่อปี
- พลอยสังเคราะห์ 18,500,000 บาทต่อปี
- ชิ้นส่วนประกอบ 9,200,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 23,000,000 บาทต่อปี
- แม่พิมพ์ยาง 2,300,000 บาทต่อปี
2.!ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 20,800,000 บาทต่อปี
3.!ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 39,600,000 บาทต่อปี
4.!ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 3,440,000 บาทต่อปี
4.1! สาธารณูปโภค 3,200,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 200,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟฟ้า 2,800,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 200,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง 240,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 80,000 บาทต่อปี
- ค่ายานพาหนะ 160,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ 10,486,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10-15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 149.00 ล้านบาทต่อปี
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท Pan Abraives จำกัด 282/319 ถ.จรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ โทร.3985929-30
บริษัท Loius T.Leonowens (Thailand) จำกัด 723 ถ.สี่พระยา กรุงเทพฯ โทร.237-7040
บริษัท ดาวา แมชชีนเนอรี่ จำกัด 21/593-6 ถ.บางนา-ตราด สมุทรปราการ โทร.3985929-30
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! การขออนุญาตตั้งโรงงาน (ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2.! การจัดเก็บภาษี
กรมศุลกากร จัดเก็บอัตราอากรขาเข้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม ร้อยละ 60และได้ปรับลดอัตราอากรขาเข้าของกระดุมข้อมือเชิ้ตและสตัด และวัตถุดิบที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นไป
สำหรับวัตถุดิบอื่นๆที่ใช้ในการผลิต กรมศุลกากรได้จัดเก็บอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
- ผงเงิน อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 1
- ผงทอง เกลือทอง อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 0
- ผงโรเดียม อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
- เพชรพลอยสังเคราะห์ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 0
ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต กรมศุลกากรได้จัดเก็บอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
- เครื่องหล่อโลหะ และส่วนประกอบ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
- เครื่องมือกลสำหรับเจียระไน ขัดมันโลหะ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
- เครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์สำหรับการชุบด้วยไฟฟ้า อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--