ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๔
วันพุธที่ ๑๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงการคลัง ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนในส่วนของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กระทรวงยุติธรรม ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวง
กรมคุมประพฤติและกรมบังคับคดี ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๘,๔๓๘,๕๔๔,๘๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๗,๒๖๗,๐๒๒,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการพักชำระหนี้และลด
ภาระหนี้ของเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้รับการชี้แจงว่าได้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
ดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น ๒,๒๕๔,๗๙๒ คน คิดเป็นเงินกู้คงเป็นหนี้ทั้งสิ้น ๙๐,๖๗๒ ล้านบาท โดยมี
เกษตรกรเข้ารับการพักชำระหนี้ จำนวน ๑,๑๕๕,๓๖๐ คน คิดเป็นเงินกู้คงเป็นหนี้ ๕๓,๗๑๐ ล้านบาท
และมีเกษตรกรเข้ารับการลดภาระหนี้ จำนวน ๑,๐๙๙,๔๓๒ คน คิดเป็นเงินกู้คงเป็นหนี้ ๓๖,๙๖๒
ล้านบาท กรณีนโยบายพักชำระหนี้ ๓ ปี หากปีที่สี่เกษตรกรชำระหนี้ได้เพียง ๕๐% หนี้ส่วนที่เหลือ
ธ.ก.ส. จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกรโดยจัดให้มีพนักงานเข้าไปพบเกษตรกรไม่ต่ำกว่า
ปีละ ๒ ครั้ง เพื่อช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำหาแนวทางในการจ่ายชำระหนี้คืน และมีคณะกรรมการ
เข้าไปดูแลติดตามและประเมินต่อไป นอกจากนี้เกษตรกรที่จะเข้ารับการพักชำระหนี้จะต้องมีหนี้ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่าเงื่อนไขการเข้ารับการพักชำระหนี้ดังกล่าวอาจจะ
ไม่เกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกรบางราย จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาตามสภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
มากกว่าวงเงินที่เป็นหนี้สิน
๒. ปัญหาโครงการประกันภัยพืชผล ขณะนี้อยู่ในขั้นรอมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติและในด้าน
งบประมาณส่วนนี้ก็ยังไม่เพียงพอ ธ.ก.ส. จึงขอแปรญัตติเป็นจำนวนเงิน ๑,๒๖๘ ล้านบาท เพื่อให้
โครงการนี้สามารถดำเนินการไปตามเป้าหมายที่วางไว้
๓. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ของ ธ.ก.ส. ยังไม่เพียงพอและเกษตรกร
ยังขาดความเข้าใจในข้อมูลเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับ คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนะให้ ธ.ก.ส.
แต่ละจังหวัดเข้าไปดูแลและชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
อย่างแท้จริง และควรได้มีการประสานงานกับผู้ร่วมงานด้วยกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานได้รับความร่วมมือ
จากทุกฝ่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานที่มิชอบของพนักงาน
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและรัดกุมมากยิ่งขึ้น
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ๕๔,๕๔๖,๔๙๙,๓๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสนับสนุนการบริการศึกษา ๒๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ๒๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑. กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต สรุปดังนี้
๑. กระบวนการพิจารณาคัดเลือกให้เงินกู้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยเฉพาะเรื่อง
คุณสมบัติของผู้กู้นั้น คณะกรรมาธิการเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้กู้ เช่น ห้ามมิให้
ผู้กู้ทำงานประจำ ห้ามมิให้ผู้กู้เป็นบุคคลล้มละลาย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกองทุนฯ ชี้แจงว่า การกำหนด
คุณสมบัติของผู้กู้ ไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. กู้ยืมเพื่อการศึกษา
๒. การจัดสรรเงินให้กับผู้กู้นั้นคณะกรรมาธิการเสนอให้มีการวางหลักเกณฑ์การจัดสรร
ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งเรื่องนี้กองทุนฯ รับทราบพร้อมกับชี้แจงเพิ่มเติมว่า การจัดสรรเงินให้กับผู้กู้
ได้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยกำหนดกรอบไว้กว้าง ๆ ดังนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา กองทุนฯ จะโอนเงินให้กับสถานศึกษา
(๒) ค่าใช้จ่ายด้านที่พัก กองทุนฯ จะโอนเข้าบัญชีผู้กู้
(๓) ค่าใช้จ่ายส่วนตัว กองทุนฯ จะโอนเข้าบัญชีผู้กู้
๓. กรณีของความล่าช้าในการอนุมัติเงินกู้ กรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่าดำเนินการด้วย
ความล่าช้า กองทุนฯ ควรจะปรับปรุงหรือลดขั้นตอนการอนุมัติให้กระชับขึ้น ซึ่งกองทุนฯ ได้กำหนด
หลักเกณฑ์สำคัญคือ กำหนดรายได้ของครอบครัวเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ และเมื่อได้รับ
การอนุมัติแล้ว ผู้กู้จะต้องเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย พร้อมกับทำสัญญากู้ยืม และลงนามที่สถานศึกษา
โดยมีคณะกรรมการพิจารณากองทุนเพื่อการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้า
เกิดจากความผิดพลาดในการยื่นหลักฐาน และจำนวนผู้กู้ที่ยังไม่ครบตามอัตราที่กำหนด แต่ในปัจจุบัน
กองทุนฯ ดำเนินการแก้ไขโดยอนุโลมให้ส่งหลักฐานไปยังสำนักงานของธนาคาร โดยไม่ต้องรอให้ครบ
ตามจำนวนที่กำหนด
๔. จากกรณีที่กองทุนฯ ประสบกับปัญหาการค้างชำระหนี้ของผู้กู้ กรรมาธิการได้ซักถาม
ถึงมาตรการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทุนฯ ชี้แจงถึงขั้นตอนการติดตามชำระหนี้ว่า
ได้ใช้บริการการชำระหนี้ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งการบริการติดตามหนี้ต้องชำระปีละครั้ง โดยหนี้ที่
กำหนดค้างชำระ ๑ ปี นั้น หลังจากที่ได้ทวงหนี้ทางจดหมายและโทรศัพท์แล้วยังไม่ได้ผล ก็จะใช้วิธี
Home visit คือไปเยี่ยมและสอบถามผู้กู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
๕. กองทุนฯ ควรจะพิจารณาการอนุมัติเงินกู้ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากในปัจจุบัน
ผู้ที่ได้รับเงินกู้ ไม่ใช่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่แท้จริง
กองทนุรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการได้แสดงความสนใจและอภิปรายเรื่องการแทรกแซงราคาพืชผลทางการ
เกษตรอย่างกว้างขวาง โดยคณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังล่าวว่า ควรจะ
ดำเนินการหามาตรการป้องกันปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ซึ่งกองทุนฯ จะต้องจัดทำตารางปฏิทินพืชผล
การเกษตรกว่า ๓๐ ชนิด พร้อมกับกำหนดแผนการดำเนินงานล่วงหน้าที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
อย่างแท้จริง และป้องกันปัญหาพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบเกษตรกรจากการแทรกแซงราคาพืชผล
และกรรมาธิการได้แสดงความคิดเห็นว่ากองทุนฯ ควรปรับปรุงแผนการแทรกแซงทางการตลาด เนื่องจาก
แผนงานเดิมไม่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือเกษตรกร
กระทรวงยุติธรรม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๖๕๔,๘๓๑,๗๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๘๘๓,๘๑๔,๒๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๕,๐๓๐,๐๗๙,๖๐๐ บาท
มีปรับลด ๔๖,๖๐๐,๘๐๐ บาท
คงเหลือ ๘๓๗,๒๑๓,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณา และตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินอุดหนุนสภาทนายความ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งต้องเบิกจ่ายผ่านหน่วยงานของรัฐว่าควรจะจ่ายโดยตรงให้กับสภาทนายความเป็นการลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก
ซึ่งปลัดกระทรวงและสำนักงบประมาณได้แจงว่า สภาทนายความเป็นองค์กรเอกชน ไม่ใช่ส่วนราชการ
จึงไม่สามารถของบประมาณโดยตรงได้ แต่เป็นองค์กรที่มีผลงานช่วยเหลือและให้ประโยชน์แก่ประชาชน
ดังนั้น จึงให้มีการของบประมาณโดยผ่านกระทรวงยุติธรรมแต่ต้องมีการแจกแจงไว้ว่านำไปใช้จ่ายอะไร
เท่าใดบ้าง
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเนติบัณฑิตยสภา จำนวน
๘๐๐,๐๐๐ บาท ว่ามีจำนวนน้อยทั้ง ๆ ที่เป็นองค์กรที่มีความสำคัญทำหน้าที่ในการอบรมบุคคลให้มี
ความรู้ทางด้านกฎหมายมากขึ้นอีกระดับปลัดกระทรวงได้ชี้แจงว่า เนติบัณฑิตยสภามีรายได้จาก
ค่าเล่าเรียนของนักศึกษา ซึ่งมีกฎหมายอนุญาตให้สามารถนำรายได้มาจัดสรรใช้จ่ายได้โดยไม่ต้อง
พึ่งเงินงบประมาณ แต่ทางองค์กรจะมีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยประสานงานในเรื่องเกี่ยวกับปัญหา
ด้านกฎหมายจึงของบประมาณอุดหนุนในเรื่องเหล่านี้
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินงบประมาณค่าเช่าทรัพย์สินซึ่งเป็นอาคาร
ที่ตั้งกระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ ๖๔,๔๓๗,๐๐๐ บาท ว่าควรจะมีการก่อสร้างอาคารของกระทรวงเอง
หรือมิฉะนั้นให้ซื้อหรือเช่าซื้ออาคารซึ่งเช่าอยู่ในปัจจุบัน โดยการผ่านชำระเป็นรายปี และหากจะขอ
งบประมาณในการก่อสร้างสำนักงบประมาณเสนอให้ของบประมาณปี ๒๕๔๕ เป็นค่าสำรวจออกแบบ
ก่อน
กรมคุมประพฤติ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๔๒,๔๗๙,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๔๔,๙๔๒,๒๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กรมบังคับคดี
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๒๘,๕๓๗,๘๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๕๘,๗๒๗,๕๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๔
วันพุธที่ ๑๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงการคลัง ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนในส่วนของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กระทรวงยุติธรรม ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวง
กรมคุมประพฤติและกรมบังคับคดี ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๘,๔๓๘,๕๔๔,๘๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๗,๒๖๗,๐๒๒,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการพักชำระหนี้และลด
ภาระหนี้ของเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้รับการชี้แจงว่าได้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
ดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น ๒,๒๕๔,๗๙๒ คน คิดเป็นเงินกู้คงเป็นหนี้ทั้งสิ้น ๙๐,๖๗๒ ล้านบาท โดยมี
เกษตรกรเข้ารับการพักชำระหนี้ จำนวน ๑,๑๕๕,๓๖๐ คน คิดเป็นเงินกู้คงเป็นหนี้ ๕๓,๗๑๐ ล้านบาท
และมีเกษตรกรเข้ารับการลดภาระหนี้ จำนวน ๑,๐๙๙,๔๓๒ คน คิดเป็นเงินกู้คงเป็นหนี้ ๓๖,๙๖๒
ล้านบาท กรณีนโยบายพักชำระหนี้ ๓ ปี หากปีที่สี่เกษตรกรชำระหนี้ได้เพียง ๕๐% หนี้ส่วนที่เหลือ
ธ.ก.ส. จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกรโดยจัดให้มีพนักงานเข้าไปพบเกษตรกรไม่ต่ำกว่า
ปีละ ๒ ครั้ง เพื่อช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำหาแนวทางในการจ่ายชำระหนี้คืน และมีคณะกรรมการ
เข้าไปดูแลติดตามและประเมินต่อไป นอกจากนี้เกษตรกรที่จะเข้ารับการพักชำระหนี้จะต้องมีหนี้ไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่าเงื่อนไขการเข้ารับการพักชำระหนี้ดังกล่าวอาจจะ
ไม่เกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกรบางราย จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาตามสภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
มากกว่าวงเงินที่เป็นหนี้สิน
๒. ปัญหาโครงการประกันภัยพืชผล ขณะนี้อยู่ในขั้นรอมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติและในด้าน
งบประมาณส่วนนี้ก็ยังไม่เพียงพอ ธ.ก.ส. จึงขอแปรญัตติเป็นจำนวนเงิน ๑,๒๖๘ ล้านบาท เพื่อให้
โครงการนี้สามารถดำเนินการไปตามเป้าหมายที่วางไว้
๓. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ของ ธ.ก.ส. ยังไม่เพียงพอและเกษตรกร
ยังขาดความเข้าใจในข้อมูลเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับ คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนะให้ ธ.ก.ส.
แต่ละจังหวัดเข้าไปดูแลและชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
อย่างแท้จริง และควรได้มีการประสานงานกับผู้ร่วมงานด้วยกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานได้รับความร่วมมือ
จากทุกฝ่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานที่มิชอบของพนักงาน
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและรัดกุมมากยิ่งขึ้น
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ๕๔,๕๔๖,๔๙๙,๓๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสนับสนุนการบริการศึกษา ๒๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ๒๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑. กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต สรุปดังนี้
๑. กระบวนการพิจารณาคัดเลือกให้เงินกู้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยเฉพาะเรื่อง
คุณสมบัติของผู้กู้นั้น คณะกรรมาธิการเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้กู้ เช่น ห้ามมิให้
ผู้กู้ทำงานประจำ ห้ามมิให้ผู้กู้เป็นบุคคลล้มละลาย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกองทุนฯ ชี้แจงว่า การกำหนด
คุณสมบัติของผู้กู้ ไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. กู้ยืมเพื่อการศึกษา
๒. การจัดสรรเงินให้กับผู้กู้นั้นคณะกรรมาธิการเสนอให้มีการวางหลักเกณฑ์การจัดสรร
ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งเรื่องนี้กองทุนฯ รับทราบพร้อมกับชี้แจงเพิ่มเติมว่า การจัดสรรเงินให้กับผู้กู้
ได้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยกำหนดกรอบไว้กว้าง ๆ ดังนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา กองทุนฯ จะโอนเงินให้กับสถานศึกษา
(๒) ค่าใช้จ่ายด้านที่พัก กองทุนฯ จะโอนเข้าบัญชีผู้กู้
(๓) ค่าใช้จ่ายส่วนตัว กองทุนฯ จะโอนเข้าบัญชีผู้กู้
๓. กรณีของความล่าช้าในการอนุมัติเงินกู้ กรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่าดำเนินการด้วย
ความล่าช้า กองทุนฯ ควรจะปรับปรุงหรือลดขั้นตอนการอนุมัติให้กระชับขึ้น ซึ่งกองทุนฯ ได้กำหนด
หลักเกณฑ์สำคัญคือ กำหนดรายได้ของครอบครัวเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ และเมื่อได้รับ
การอนุมัติแล้ว ผู้กู้จะต้องเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย พร้อมกับทำสัญญากู้ยืม และลงนามที่สถานศึกษา
โดยมีคณะกรรมการพิจารณากองทุนเพื่อการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้า
เกิดจากความผิดพลาดในการยื่นหลักฐาน และจำนวนผู้กู้ที่ยังไม่ครบตามอัตราที่กำหนด แต่ในปัจจุบัน
กองทุนฯ ดำเนินการแก้ไขโดยอนุโลมให้ส่งหลักฐานไปยังสำนักงานของธนาคาร โดยไม่ต้องรอให้ครบ
ตามจำนวนที่กำหนด
๔. จากกรณีที่กองทุนฯ ประสบกับปัญหาการค้างชำระหนี้ของผู้กู้ กรรมาธิการได้ซักถาม
ถึงมาตรการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทุนฯ ชี้แจงถึงขั้นตอนการติดตามชำระหนี้ว่า
ได้ใช้บริการการชำระหนี้ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งการบริการติดตามหนี้ต้องชำระปีละครั้ง โดยหนี้ที่
กำหนดค้างชำระ ๑ ปี นั้น หลังจากที่ได้ทวงหนี้ทางจดหมายและโทรศัพท์แล้วยังไม่ได้ผล ก็จะใช้วิธี
Home visit คือไปเยี่ยมและสอบถามผู้กู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
๕. กองทุนฯ ควรจะพิจารณาการอนุมัติเงินกู้ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากในปัจจุบัน
ผู้ที่ได้รับเงินกู้ ไม่ใช่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่แท้จริง
กองทนุรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการได้แสดงความสนใจและอภิปรายเรื่องการแทรกแซงราคาพืชผลทางการ
เกษตรอย่างกว้างขวาง โดยคณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังล่าวว่า ควรจะ
ดำเนินการหามาตรการป้องกันปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ซึ่งกองทุนฯ จะต้องจัดทำตารางปฏิทินพืชผล
การเกษตรกว่า ๓๐ ชนิด พร้อมกับกำหนดแผนการดำเนินงานล่วงหน้าที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
อย่างแท้จริง และป้องกันปัญหาพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบเกษตรกรจากการแทรกแซงราคาพืชผล
และกรรมาธิการได้แสดงความคิดเห็นว่ากองทุนฯ ควรปรับปรุงแผนการแทรกแซงทางการตลาด เนื่องจาก
แผนงานเดิมไม่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือเกษตรกร
กระทรวงยุติธรรม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๖๕๔,๘๓๑,๗๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๘๘๓,๘๑๔,๒๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๕,๐๓๐,๐๗๙,๖๐๐ บาท
มีปรับลด ๔๖,๖๐๐,๘๐๐ บาท
คงเหลือ ๘๓๗,๒๑๓,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณา และตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินอุดหนุนสภาทนายความ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งต้องเบิกจ่ายผ่านหน่วยงานของรัฐว่าควรจะจ่ายโดยตรงให้กับสภาทนายความเป็นการลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก
ซึ่งปลัดกระทรวงและสำนักงบประมาณได้แจงว่า สภาทนายความเป็นองค์กรเอกชน ไม่ใช่ส่วนราชการ
จึงไม่สามารถของบประมาณโดยตรงได้ แต่เป็นองค์กรที่มีผลงานช่วยเหลือและให้ประโยชน์แก่ประชาชน
ดังนั้น จึงให้มีการของบประมาณโดยผ่านกระทรวงยุติธรรมแต่ต้องมีการแจกแจงไว้ว่านำไปใช้จ่ายอะไร
เท่าใดบ้าง
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเนติบัณฑิตยสภา จำนวน
๘๐๐,๐๐๐ บาท ว่ามีจำนวนน้อยทั้ง ๆ ที่เป็นองค์กรที่มีความสำคัญทำหน้าที่ในการอบรมบุคคลให้มี
ความรู้ทางด้านกฎหมายมากขึ้นอีกระดับปลัดกระทรวงได้ชี้แจงว่า เนติบัณฑิตยสภามีรายได้จาก
ค่าเล่าเรียนของนักศึกษา ซึ่งมีกฎหมายอนุญาตให้สามารถนำรายได้มาจัดสรรใช้จ่ายได้โดยไม่ต้อง
พึ่งเงินงบประมาณ แต่ทางองค์กรจะมีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยประสานงานในเรื่องเกี่ยวกับปัญหา
ด้านกฎหมายจึงของบประมาณอุดหนุนในเรื่องเหล่านี้
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเงินงบประมาณค่าเช่าทรัพย์สินซึ่งเป็นอาคาร
ที่ตั้งกระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ ๖๔,๔๓๗,๐๐๐ บาท ว่าควรจะมีการก่อสร้างอาคารของกระทรวงเอง
หรือมิฉะนั้นให้ซื้อหรือเช่าซื้ออาคารซึ่งเช่าอยู่ในปัจจุบัน โดยการผ่านชำระเป็นรายปี และหากจะขอ
งบประมาณในการก่อสร้างสำนักงบประมาณเสนอให้ของบประมาณปี ๒๕๔๕ เป็นค่าสำรวจออกแบบ
ก่อน
กรมคุมประพฤติ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๔๒,๔๗๙,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๔๔,๙๔๒,๒๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กรมบังคับคดี
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๒๘,๕๓๗,๘๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๕๘,๗๒๗,๕๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต