สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงโรงเรียนปิดเทอม อย่างไรก็ตามทางภาคใต้ราคาก็ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้มีโอกาสที่จะนำสุกรจากภาคกลางลงไปจำหน่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตโดยรวมก็มีแนวโน้มลดลงเพราะอากาศที่ร้อนขึ้น คาดว่าราคาสุกรจะทรงตัวไปจนถึงปรับสูงขึ้น
ทางด้านการเลี้ยงก็ยังคงมีไม่มาก เพราะจะเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้ราคาลูกสุกรในช่วงนี้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.64 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.79 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.76 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 37.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท ลดลงจากตัวละ 850 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.90 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซาทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะความต้องการบริโภคมีไม่มาก ทำให้ราคาปรับลดลงในทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าความต้องการบริโภคในช่วงปิดภาคเรียนจะลดลง แต่ความต้องการนำลูกไก่เข้าเลี้ยงก็ลดลงด้วยเพราะอากาศร้อนอบอ้าว ส่งผลให้ผลผลิตไก่เนื้อลดปริมาณลง และมีแนวโน้มว่าราคาจะทรงตัวไปจนถึงปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.82 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 26.56 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.06 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.47 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 6.50 บาทลดลงจากตัวละ 8.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39 บาทของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.13
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาในสัปดาห์นี้อ่อนตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการบริโภคของโรงเรียนซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไข่ไก่ลดปริมาณลงในช่วงปิดเทอม ทำให้ภาวะตลาดซบเซาลงอีก แต่จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนในขณะนี้ จะทำให้อัตราการให้ไข่ลดลงและราคาไข่ไก่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น
ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด เปิดเผยว่า ทางผู้ประกอบการภาคปศุสัตว์ 17 องค์กร จะเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาไข่ไก่ตกต่ำ ด้วยการเปิดนำเข้าข้าวโพดจำนวน 545,000 ตัน โดยภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 และยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าข้าวโพดนอกโควตา พร้อมกับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองลงเหลือร้อยละ 0 และยืดระยะเวลาชำระเงินโครงการเก็บสต๊อกไข่ไก่เข้าห้องเย็นวงเงิน 25 ล้านบาท ออกไปจนถึง 30 กันยายน 2543
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 146 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 147 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 144 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 165 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 144 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 143 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาทราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 153 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 159 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 177 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 178 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 164 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 193 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 168 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 178 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.70 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.62 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 13-19 มี.ค. 2543--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงโรงเรียนปิดเทอม อย่างไรก็ตามทางภาคใต้ราคาก็ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้มีโอกาสที่จะนำสุกรจากภาคกลางลงไปจำหน่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตโดยรวมก็มีแนวโน้มลดลงเพราะอากาศที่ร้อนขึ้น คาดว่าราคาสุกรจะทรงตัวไปจนถึงปรับสูงขึ้น
ทางด้านการเลี้ยงก็ยังคงมีไม่มาก เพราะจะเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้ราคาลูกสุกรในช่วงนี้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.64 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.79 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.76 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 37.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 800 บาท ลดลงจากตัวละ 850 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.90 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ค่อนข้างซบเซาทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะความต้องการบริโภคมีไม่มาก ทำให้ราคาปรับลดลงในทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าความต้องการบริโภคในช่วงปิดภาคเรียนจะลดลง แต่ความต้องการนำลูกไก่เข้าเลี้ยงก็ลดลงด้วยเพราะอากาศร้อนอบอ้าว ส่งผลให้ผลผลิตไก่เนื้อลดปริมาณลง และมีแนวโน้มว่าราคาจะทรงตัวไปจนถึงปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.82 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 26.56 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.06 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.47 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 6.50 บาทลดลงจากตัวละ 8.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39 บาทของ สัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.13
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาในสัปดาห์นี้อ่อนตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการบริโภคของโรงเรียนซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไข่ไก่ลดปริมาณลงในช่วงปิดเทอม ทำให้ภาวะตลาดซบเซาลงอีก แต่จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนในขณะนี้ จะทำให้อัตราการให้ไข่ลดลงและราคาไข่ไก่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น
ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด เปิดเผยว่า ทางผู้ประกอบการภาคปศุสัตว์ 17 องค์กร จะเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาไข่ไก่ตกต่ำ ด้วยการเปิดนำเข้าข้าวโพดจำนวน 545,000 ตัน โดยภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 และยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าข้าวโพดนอกโควตา พร้อมกับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองลงเหลือร้อยละ 0 และยืดระยะเวลาชำระเงินโครงการเก็บสต๊อกไข่ไก่เข้าห้องเย็นวงเงิน 25 ล้านบาท ออกไปจนถึง 30 กันยายน 2543
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 146 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 147 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 144 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 165 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 144 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 143 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาทราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 153 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 159 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 177 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 178 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 164 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 193 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 168 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 178 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.70 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.62 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 13-19 มี.ค. 2543--