1. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและแนวโน้ม
1) สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2542
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2542 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยเป็นผลจากภาคการส่งออก และอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนก็ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญๆ ปรับตัวดีขึ้น ดังนี้
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 12.6 และการใช้กำลังการผลิตก็ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนธันวาคมอยู่ในระดับร้อยละ 63.9 ในขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจาก 7.3 ในเดือนมกราคม เป็น 74.7 ในเดือนธันวาคม และเริ่มขยายตัวเท่ากับศูนย์เป็นครั้งแรกหลังจากที่ติดลบต่อเนื่องกันมา 2 ปี 2 เดือน อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2542 อยู่ในระดับต่ำ เพียงร้อยละ 0.3 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 2.75-3.25 ต่อปี และเงินฝากประจำ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 3.50-4.75 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.25-8.50 อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างมีเสถียรภาพ โดยเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 37.84 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าจะอ่อนตัวเล็กน้อยในเดือนกันยายน-ตุลาคม แต่ก็ไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจ การส่งออกทั้งปี 2542 มีมูลค่า 58.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 7.3 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 4.0 และการนำเข้ามีมูลค่า 49.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นการเกินดุลที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 28 ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีเกินดุล 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของ GDP ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 อยู่ในระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่อสินเชื่อรวมของสถาบันการเงินทั้งระบบลดลงจากที่เคยสูงสุดถึงร้อยละ 47.7 ในเดือนพฤษภาคม เหลือ 38.5 ในเดือนธันวาคม 2) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543
ในปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.4 ตามภาคการผลิตที่มีทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจากภาคการส่งออก และการบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ
อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2543 ยังอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.5 ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หรือมีมูลค่าประมาณ 62 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้ามีมูลค่า 57.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้เกินดุลการค้า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลง โดยอยู่ในระดับ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของ GDP ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ วันที่ 21 มกราคม 2543 อยู่ที่ระดับ 33.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การคลัง คาดว่าในปีงบประมาณ 2543 ภาครัฐจะขาดดุลร้อยละ 5.0 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง การเงิน คาดว่าสภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะระดมทุนในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดทุนนั้นการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่อ่อนแอทั้งจากปัญหาภายในและภายนอกประเทศที่สำคัญคือ ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาการว่างงานซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น และปัจจัยภายนอกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
แนวนโยบายเศรษฐกิจสำคัญในปี 2543
ในขณะนี้แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างทั้งภาคการผลิต และภาคการเงินเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการจัดการและการตลาด ในขณะที่ยังต้องดำเนินนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนภายใต้สภาวะแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดย
ปรับโครงสร้างการผลิต ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการนำเทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกที่จะมีความ รุนแรงมากขึ้น และพร้อมที่จะแข่งขันภายใต้กรอบความตกลงที่ได้ผูกพันไว้ ปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้าง ประสิทธิภาพการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และแน่วแน่ว่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคส่งออก ปฏิรูประบบการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจภาคเอกชน รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของภาคธุรกิจโดยเร็วและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมาอย่างถาวร โดยจะยังคงเร่งดำเนินการควบรวมกิจการและขายสถาบันการเงินที่ถูกแทรกแซงตลอดจนเร่งทบทวนแก้ไขกฎระเบียบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน พัฒนาตลาดและส่งเสริมการส่งออก โดยมุ่งรักษาและขยายส่วนแบ่งในตลาดหลักเดิม และการขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และเอเชียใต้ รวมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาการส่งออก อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ปัญหาสภาพคล่องและ NPL ของผู้ส่งออกอย่าง เร่งด่วน นโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ให้ความสำคัญกับการดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ และมี เสถียรภาพในระดับที่ก่อให้เกิดความมั่นใจในการประกอบธุรกิจ สำหรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ทางการจะดูแลกลไกตลาดเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินนโยบายที่ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมตามต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นโยบายการคลัง มุ่งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศให้ต่อเนื่อง โดยเร่งการใช้จ่ายจากงบประมาณและจากเงินกู้ต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกู้ โครงการมิยาซาวาก่อนที่แรงกระตุ้นด้านการคลังจากภาครัฐจะเริ่มลดลง สำหรับในส่วนของรัฐวิสาหกิจควรเร่งรายจ่ายลงทุนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในปีก่อนเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ควรเพิ่มความระมัดระวังดูแลให้ฐานะการคลังในระยะปานกลางมีความมั่นคงและไม่เป็นภาระในระยะยาว 2. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ : ผลกระทบต่อการนำเข้า
การนำเข้า มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะที่ผ่านมาอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพื่อการผลิตและการลงทุนในประเทศจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นลำดับและสูงถึงร้อยละ 40 ในปี 2542 ขณะเดียวกันก็มีอัตราการขยายตัวสูงมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงปี 2530-2538 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงประมาณร้อยละ 9.9 ต่อปี ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 26 ในขณะที่การส่งออกขยายตัวต่ำกว่าเล็กน้อยเฉลี่ยร้อยละ 23 ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราการขยายตัวของ
* ภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นตัวเลขเป้าหมาย
เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมามีทิศทางเดียวกันกับภาคการค้าระหว่างประเทศ ทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าในระยะที่ผ่านมาสูงกว่าการส่งออกมาโดยตลอด ทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมูลค่าการนำเข้าได้ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2541 มูลค่าการนำเข้าได้ลดลงกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป็นสินค้าทุนกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาได้แก่ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และสินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าลดลงประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 และ 11 ของมูลค่าการ นำเข้าที่ลดลงทั้งสิ้น ตามลำดับ การนำเข้าที่ลดลงอย่างมาก ทำให้ปรับเปลี่ยนจากการเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาเป็นเกินดุลทันทีกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2541 หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของ GDP อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงสร้างการผลิตในประเทศยังไม่ได้มีการพัฒนาถึงระดับที่สามารถผลิตสินค้าทุนและวัตถุดิบได้เองในประเทศ ดังนั้นการเกินดุลดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงอาจจะเป็นภาวะชั่วคราว เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในปี 2542 จากภาคการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศเริ่มฟื้นตัว ทำให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 17.6 และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 15.2 ในปี 2543 ซึ่งจะส่งผลให้การเกินดุลการค้าปรับตัวลดลงจาก 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2542 เหลือประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.4 ต่อ GDP ในปี 2543 แม้ว่าแนวโน้มการนำเข้าในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และจะส่งผลให้การเกินดุลการค้าลดลงเกือบครึ่งนั้น หากเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบ และกึ่งสำเร็จรูปที่ต้องนำเข้ามาเพื่อรองรับการส่งออกก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตัวเลขในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายน และ ธันวาคม จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมีมีมูลค่าสูงขึ้นในแต่ละเดือนกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 33 และ 38 ตามลำดับ หากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงต่อเนื่องแล้ว ในระยะต่อไปก็อาจจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้า ทำให้การเกินดุลลดลงอย่างรวดเร็วและท้ายที่สุดก็จะขาดดุลและส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
1) สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2542
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2542 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยเป็นผลจากภาคการส่งออก และอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนก็ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญๆ ปรับตัวดีขึ้น ดังนี้
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 12.6 และการใช้กำลังการผลิตก็ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนธันวาคมอยู่ในระดับร้อยละ 63.9 ในขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจาก 7.3 ในเดือนมกราคม เป็น 74.7 ในเดือนธันวาคม และเริ่มขยายตัวเท่ากับศูนย์เป็นครั้งแรกหลังจากที่ติดลบต่อเนื่องกันมา 2 ปี 2 เดือน อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2542 อยู่ในระดับต่ำ เพียงร้อยละ 0.3 อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 2.75-3.25 ต่อปี และเงินฝากประจำ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 3.50-4.75 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.25-8.50 อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างมีเสถียรภาพ โดยเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 37.84 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าจะอ่อนตัวเล็กน้อยในเดือนกันยายน-ตุลาคม แต่ก็ไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจ การส่งออกทั้งปี 2542 มีมูลค่า 58.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 7.3 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 4.0 และการนำเข้ามีมูลค่า 49.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นการเกินดุลที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 28 ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีเกินดุล 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของ GDP ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 อยู่ในระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่อสินเชื่อรวมของสถาบันการเงินทั้งระบบลดลงจากที่เคยสูงสุดถึงร้อยละ 47.7 ในเดือนพฤษภาคม เหลือ 38.5 ในเดือนธันวาคม 2) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543
ในปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.4 ตามภาคการผลิตที่มีทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจากภาคการส่งออก และการบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ
อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2543 ยังอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.5 ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หรือมีมูลค่าประมาณ 62 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้ามีมูลค่า 57.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้เกินดุลการค้า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลง โดยอยู่ในระดับ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของ GDP ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ วันที่ 21 มกราคม 2543 อยู่ที่ระดับ 33.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การคลัง คาดว่าในปีงบประมาณ 2543 ภาครัฐจะขาดดุลร้อยละ 5.0 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง การเงิน คาดว่าสภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะระดมทุนในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดทุนนั้นการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่อ่อนแอทั้งจากปัญหาภายในและภายนอกประเทศที่สำคัญคือ ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาการว่างงานซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น และปัจจัยภายนอกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
แนวนโยบายเศรษฐกิจสำคัญในปี 2543
ในขณะนี้แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างทั้งภาคการผลิต และภาคการเงินเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการจัดการและการตลาด ในขณะที่ยังต้องดำเนินนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนภายใต้สภาวะแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดย
ปรับโครงสร้างการผลิต ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการนำเทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกที่จะมีความ รุนแรงมากขึ้น และพร้อมที่จะแข่งขันภายใต้กรอบความตกลงที่ได้ผูกพันไว้ ปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้าง ประสิทธิภาพการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และแน่วแน่ว่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคส่งออก ปฏิรูประบบการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจภาคเอกชน รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของภาคธุรกิจโดยเร็วและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมาอย่างถาวร โดยจะยังคงเร่งดำเนินการควบรวมกิจการและขายสถาบันการเงินที่ถูกแทรกแซงตลอดจนเร่งทบทวนแก้ไขกฎระเบียบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน พัฒนาตลาดและส่งเสริมการส่งออก โดยมุ่งรักษาและขยายส่วนแบ่งในตลาดหลักเดิม และการขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และเอเชียใต้ รวมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาการส่งออก อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ปัญหาสภาพคล่องและ NPL ของผู้ส่งออกอย่าง เร่งด่วน นโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ให้ความสำคัญกับการดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ และมี เสถียรภาพในระดับที่ก่อให้เกิดความมั่นใจในการประกอบธุรกิจ สำหรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ทางการจะดูแลกลไกตลาดเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินนโยบายที่ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมตามต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นโยบายการคลัง มุ่งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศให้ต่อเนื่อง โดยเร่งการใช้จ่ายจากงบประมาณและจากเงินกู้ต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกู้ โครงการมิยาซาวาก่อนที่แรงกระตุ้นด้านการคลังจากภาครัฐจะเริ่มลดลง สำหรับในส่วนของรัฐวิสาหกิจควรเร่งรายจ่ายลงทุนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในปีก่อนเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ควรเพิ่มความระมัดระวังดูแลให้ฐานะการคลังในระยะปานกลางมีความมั่นคงและไม่เป็นภาระในระยะยาว 2. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ : ผลกระทบต่อการนำเข้า
การนำเข้า มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะที่ผ่านมาอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพื่อการผลิตและการลงทุนในประเทศจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นลำดับและสูงถึงร้อยละ 40 ในปี 2542 ขณะเดียวกันก็มีอัตราการขยายตัวสูงมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงปี 2530-2538 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงประมาณร้อยละ 9.9 ต่อปี ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 26 ในขณะที่การส่งออกขยายตัวต่ำกว่าเล็กน้อยเฉลี่ยร้อยละ 23 ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราการขยายตัวของ
* ภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นตัวเลขเป้าหมาย
เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมามีทิศทางเดียวกันกับภาคการค้าระหว่างประเทศ ทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าในระยะที่ผ่านมาสูงกว่าการส่งออกมาโดยตลอด ทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมูลค่าการนำเข้าได้ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2541 มูลค่าการนำเข้าได้ลดลงกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป็นสินค้าทุนกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาได้แก่ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และสินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าลดลงประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 และ 11 ของมูลค่าการ นำเข้าที่ลดลงทั้งสิ้น ตามลำดับ การนำเข้าที่ลดลงอย่างมาก ทำให้ปรับเปลี่ยนจากการเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาเป็นเกินดุลทันทีกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2541 หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของ GDP อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงสร้างการผลิตในประเทศยังไม่ได้มีการพัฒนาถึงระดับที่สามารถผลิตสินค้าทุนและวัตถุดิบได้เองในประเทศ ดังนั้นการเกินดุลดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงอาจจะเป็นภาวะชั่วคราว เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในปี 2542 จากภาคการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศเริ่มฟื้นตัว ทำให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 17.6 และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 15.2 ในปี 2543 ซึ่งจะส่งผลให้การเกินดุลการค้าปรับตัวลดลงจาก 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2542 เหลือประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.4 ต่อ GDP ในปี 2543 แม้ว่าแนวโน้มการนำเข้าในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และจะส่งผลให้การเกินดุลการค้าลดลงเกือบครึ่งนั้น หากเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบ และกึ่งสำเร็จรูปที่ต้องนำเข้ามาเพื่อรองรับการส่งออกก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตัวเลขในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายน และ ธันวาคม จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมีมีมูลค่าสูงขึ้นในแต่ละเดือนกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 33 และ 38 ตามลำดับ หากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงต่อเนื่องแล้ว ในระยะต่อไปก็อาจจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้า ทำให้การเกินดุลลดลงอย่างรวดเร็วและท้ายที่สุดก็จะขาดดุลและส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-