ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งแรกปี 2544 การผลิตภาคอุตสาหกรรม : ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้าสำคัญคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่มและหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม :
ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนอย่างต่อเนื่อง ในอัตราร้อยละ 1.3 และ 1.5 ตามลำดับ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการชะลอลงทุกหมวดสินค้า ยกเว้นหมวดเครื่องดื่ม สิ่งทอ และปิโตรเลียม สำหรับสินค้าที่ขยายตัวได้ค่อนข้างดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องดื่ม และอัญมณีและเครื่องประดับ
ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม(Capacity Utilization) ในครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 53.7 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.1) ซึ่งต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์ อุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงเกินกว่าร้อยละ 90 คือ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และปิโตรเคมีขั้นต้น
ปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม คือ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากปีก่อนมาก ประกอบกับปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และการผันผวนของราคาน้ำมัน ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมที่การผลิตยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ที่สำคัญ ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.3 ตามการผลิตรถยนต์นั่งที่ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นยอดขาย ด้วยการออกรถยนต์รุ่นใหม่ รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์พาณิชย์กลับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ตามการชะลอตัวของการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป และออสเตรเลีย ทำให้การใช้กำลังการผลิตในหมวดนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย โดยอยู่ในระดับร้อยละ 42.5
หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ตามการผลิตสุรา ซึ่งช่วงเดียวกันปีก่อนผลิตในระดับที่ต่ำมาก และการผลิตเบียร์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการแข่งขันสูง ทำให้ราคาของเบียร์ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดภูมิภาค
หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ตามการส่งออกที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และฮ่องกง ประกอบกับผู้ผลิตต่างหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมากขึ้น อาทิ การซื้อขายผ่าน Internet , Home Shopping Network และการขายตรง เป็นต้น ส่งผลให้สามารถขยายส่วนแบ่งในตลาดสำคัญได้เพิ่มขึ้นมาก
หมวดปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 จากการที่ผู้ผลิตหันมาผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่หดตัว โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และเวียดนาม
สำหรับ หมวดอุตสาหกรรมอื่น ที่ยังผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดสิ่งทอ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการผ้าผืนถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปคุณภาพสูงที่ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน หมวดวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวเนื่องจากการร่วมทุนกับพันธมิตรทางการค้าช่วยขยายการส่งออกปูนซิเมนต์ไปสู่ตลาดใหม่ อาทิ บังคลาเทศ และอินเดีย เพื่อทดแทนตลาดในประเทศและตลาดสหรัฐอเมริกาที่ชะลอลง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสี โดยเฉพาะสังกะสีแผ่นเรียบที่มีการผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าที่มีราคาสูง และ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ กระจกแผ่น และปิโตรเคมีขั้นต้น เป็นสำคัญ
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งลดลงมากเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่เป็นตลาดหลัก หมวดอาหาร ลดลงตามผลผลิตน้ำตาล ที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเพราะเกิดโรคใบขาวและหนอนกออ้อย และผลผลิตสับปะรดกระป๋องที่ประสบปัญหาการแข่งขันสูงและได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti-Dumping) ของสหรัฐอเมริกา และการตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป และ หมวดยาสูบ การผลิตลดลงมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม :
ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนอย่างต่อเนื่อง ในอัตราร้อยละ 1.3 และ 1.5 ตามลำดับ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการชะลอลงทุกหมวดสินค้า ยกเว้นหมวดเครื่องดื่ม สิ่งทอ และปิโตรเลียม สำหรับสินค้าที่ขยายตัวได้ค่อนข้างดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องดื่ม และอัญมณีและเครื่องประดับ
ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม(Capacity Utilization) ในครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 53.7 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.1) ซึ่งต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์ อุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงเกินกว่าร้อยละ 90 คือ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และปิโตรเคมีขั้นต้น
ปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม คือ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากปีก่อนมาก ประกอบกับปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และการผันผวนของราคาน้ำมัน ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมที่การผลิตยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ที่สำคัญ ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.3 ตามการผลิตรถยนต์นั่งที่ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นยอดขาย ด้วยการออกรถยนต์รุ่นใหม่ รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์พาณิชย์กลับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ตามการชะลอตัวของการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป และออสเตรเลีย ทำให้การใช้กำลังการผลิตในหมวดนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย โดยอยู่ในระดับร้อยละ 42.5
หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ตามการผลิตสุรา ซึ่งช่วงเดียวกันปีก่อนผลิตในระดับที่ต่ำมาก และการผลิตเบียร์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการแข่งขันสูง ทำให้ราคาของเบียร์ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดภูมิภาค
หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ตามการส่งออกที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และฮ่องกง ประกอบกับผู้ผลิตต่างหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมากขึ้น อาทิ การซื้อขายผ่าน Internet , Home Shopping Network และการขายตรง เป็นต้น ส่งผลให้สามารถขยายส่วนแบ่งในตลาดสำคัญได้เพิ่มขึ้นมาก
หมวดปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 จากการที่ผู้ผลิตหันมาผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่หดตัว โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และเวียดนาม
สำหรับ หมวดอุตสาหกรรมอื่น ที่ยังผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดสิ่งทอ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการผ้าผืนถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปคุณภาพสูงที่ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน หมวดวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวเนื่องจากการร่วมทุนกับพันธมิตรทางการค้าช่วยขยายการส่งออกปูนซิเมนต์ไปสู่ตลาดใหม่ อาทิ บังคลาเทศ และอินเดีย เพื่อทดแทนตลาดในประเทศและตลาดสหรัฐอเมริกาที่ชะลอลง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสี โดยเฉพาะสังกะสีแผ่นเรียบที่มีการผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าที่มีราคาสูง และ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ กระจกแผ่น และปิโตรเคมีขั้นต้น เป็นสำคัญ
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งลดลงมากเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่เป็นตลาดหลัก หมวดอาหาร ลดลงตามผลผลิตน้ำตาล ที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเพราะเกิดโรคใบขาวและหนอนกออ้อย และผลผลิตสับปะรดกระป๋องที่ประสบปัญหาการแข่งขันสูงและได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti-Dumping) ของสหรัฐอเมริกา และการตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป และ หมวดยาสูบ การผลิตลดลงมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-