กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2543 เวลา 10.00 น. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ทำพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าไทยประจำภูมิภาคตะวันออกกลาง (Thai-Middle East Distribution Center-TMDC) ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ Jebel Ali Zone เมืองดูไบ ศูนย์ TMDC นับเป็นศูนย์กระจายสินค้าแห่งแรกในต่างประเทศของไทยเป็นการลงทุนของภาคเอกชนไทยล้วนๆ โดยมีผู้ผลิตสินค้านานาชาติชนิดรวมกลุ่มกันเป็นผู้ถือหุ้น และมีผู้ผลิตสินค้าไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ตกลงใช้บริการเพื่อกระจายสินค้าและทำตลาดในแถบตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศ CIS และแอฟริกา โดยใช้ดูไบเป็นประตูการค้า ด้วยหลักการที่ว่า จะใช้คนไทยเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ผลิต สินค้าไทยให้ทำการตลาดในต่างประเทศเองแทนการพึ่งพาเอเย่นต์หรือพ่อค้าคนกลางต่างชาติต่อมาเวลา 12.00 น. ได้มีพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดย ดร.สุรินทร์ ฯ ลงนามร่วมกับ His Highness Sheilh Hamdan bin Rashid Al Maktoum รองเจ้าผู้ครองรัฐดูไบและรัฐมนตรีว่าการคลังและอุตสาหกรรมของยูเออี นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดให้มีการทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้เป็นกลไกส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า และการลงุทนระหว่างสองประเทศในเวลา 17.00 น. ของวันเดียวกัน ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เป็นประธานทำพิธีเปิดหมู่บ้านไทยในหมู่บ้านนานาชาติ งาน Dubai Shopping Festival 2000 (DSF 2000) ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2543 เป็นการออกร้านขายสินค้าหัตถกรรม สินค้าพื้นบ้านของขวัญและของที่ระลึก การจัดหมู่บ้านไทยเข้าร่วมในงานครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ในงาน DSF โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานเฉลี่ยกันออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด และกระทรวงการต่างประเทศจัดงบประมาณสมทบในการส่งคณะนาฏศิลป์และช่างฝีมือวาดร่มไปแสดง เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยกับยังมีการออกร้านขายอาหารไทยในงานอีกด้วย จากประมาณการของทางการดูไบคาดว่า จะมีผู้คนจากนานาประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงไปเที่ยวงาน DSF 2000 ตลอดทั้งเดือนมากถึง 1.5 ล้านคน ในโอกาสการเยือนยูเออีครั้งนี้ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ฯ ได้ยกเรื่องสำคัญขึ้นหารือกับบุคคลสำคัญของทางการยูเออี 2 ประเด็น คือ
1. การกระชับความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศ ASEAN กับกลุ่มความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (AGCC) โดยรัฐบาลไทยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEAN ประจำปีในเดือนกรกฎาคม 2543 มีดำริที่จะเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของ 6 ประเทศกลุ่ม AGCC ไปร่วมประชุมกับ ASEAN ด้วย
2. ฝ่ายไทยได้แสดงความกังวลต่อปัญหาราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจมีผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในเรื่องนี้ Sheikh Hamdan bin Rashid Al Maktoum แจ้งให้ทราบว่า ราคาน้ำมันดิบอาจขึ้นสูงถึง 31 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล แต่เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งนี้ ยูเออีกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่ม AGCC เห็นฟ้องด้วยกับท่าทีของไทยที่ว่าราคาน้ำมันดิบควรมีเสถียรภาพและมีราคาที่ไม่สูงหรือต่ำไป โดยระดับราคาที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 21-22 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล--จบ--
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2543 เวลา 10.00 น. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ทำพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าไทยประจำภูมิภาคตะวันออกกลาง (Thai-Middle East Distribution Center-TMDC) ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ Jebel Ali Zone เมืองดูไบ ศูนย์ TMDC นับเป็นศูนย์กระจายสินค้าแห่งแรกในต่างประเทศของไทยเป็นการลงทุนของภาคเอกชนไทยล้วนๆ โดยมีผู้ผลิตสินค้านานาชาติชนิดรวมกลุ่มกันเป็นผู้ถือหุ้น และมีผู้ผลิตสินค้าไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ตกลงใช้บริการเพื่อกระจายสินค้าและทำตลาดในแถบตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศ CIS และแอฟริกา โดยใช้ดูไบเป็นประตูการค้า ด้วยหลักการที่ว่า จะใช้คนไทยเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ผลิต สินค้าไทยให้ทำการตลาดในต่างประเทศเองแทนการพึ่งพาเอเย่นต์หรือพ่อค้าคนกลางต่างชาติต่อมาเวลา 12.00 น. ได้มีพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดย ดร.สุรินทร์ ฯ ลงนามร่วมกับ His Highness Sheilh Hamdan bin Rashid Al Maktoum รองเจ้าผู้ครองรัฐดูไบและรัฐมนตรีว่าการคลังและอุตสาหกรรมของยูเออี นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดให้มีการทำความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้เป็นกลไกส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า และการลงุทนระหว่างสองประเทศในเวลา 17.00 น. ของวันเดียวกัน ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เป็นประธานทำพิธีเปิดหมู่บ้านไทยในหมู่บ้านนานาชาติ งาน Dubai Shopping Festival 2000 (DSF 2000) ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2543 เป็นการออกร้านขายสินค้าหัตถกรรม สินค้าพื้นบ้านของขวัญและของที่ระลึก การจัดหมู่บ้านไทยเข้าร่วมในงานครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ในงาน DSF โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานเฉลี่ยกันออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด และกระทรวงการต่างประเทศจัดงบประมาณสมทบในการส่งคณะนาฏศิลป์และช่างฝีมือวาดร่มไปแสดง เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยกับยังมีการออกร้านขายอาหารไทยในงานอีกด้วย จากประมาณการของทางการดูไบคาดว่า จะมีผู้คนจากนานาประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงไปเที่ยวงาน DSF 2000 ตลอดทั้งเดือนมากถึง 1.5 ล้านคน ในโอกาสการเยือนยูเออีครั้งนี้ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ฯ ได้ยกเรื่องสำคัญขึ้นหารือกับบุคคลสำคัญของทางการยูเออี 2 ประเด็น คือ
1. การกระชับความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศ ASEAN กับกลุ่มความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (AGCC) โดยรัฐบาลไทยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEAN ประจำปีในเดือนกรกฎาคม 2543 มีดำริที่จะเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของ 6 ประเทศกลุ่ม AGCC ไปร่วมประชุมกับ ASEAN ด้วย
2. ฝ่ายไทยได้แสดงความกังวลต่อปัญหาราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจมีผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในเรื่องนี้ Sheikh Hamdan bin Rashid Al Maktoum แจ้งให้ทราบว่า ราคาน้ำมันดิบอาจขึ้นสูงถึง 31 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล แต่เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งนี้ ยูเออีกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่ม AGCC เห็นฟ้องด้วยกับท่าทีของไทยที่ว่าราคาน้ำมันดิบควรมีเสถียรภาพและมีราคาที่ไม่สูงหรือต่ำไป โดยระดับราคาที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 21-22 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล--จบ--