ภาวะการส่งออก
การส่งออกของไทยไปยังตลาดเกาหลีในช่วงปี 2541 ตกต่ำลงมาก โดยการส่งออกของไทยไปเกาหลีลดลงถึงร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับปี 2540 หลังจากที่เกาหลีประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 และเกาหลีต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้า ตลอดจนรับคำปรึกษาเพื่อวางพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวเช่นเดียวกับประเทศไทย เกาหลีใต้ได้มีการปฏิรูปภาคการเงิน การรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน รวมและควบกิจการผู้ผลิตให้มีขนาดเหมาะสมและตรงต่อความชำนาญของแต่ละบริษัท และให้มีอุปทานสินค้าพอเหมาะแก่การประหยัดต่อขนาด และมิให้ราคาสินค้าตกต่ำจากปริมาณล้นตลาด มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและขอความร่วมมือจากกลุ่มแรงงานเพื่อการลดจำนวนคนงาน การปรับลดค่าจ้าง การดำเนินมาตรการทางสังคมรองรับ ตลอดจนแก้ไขกฎระเบียบเพื่อเปิดเสรีในอุตสาหกรรมบางสาขารองรับการแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการเปิดเสรีมากขึ้นยังมีผลทำให้มีเงินทุนใหม่หลั่งไหลเข้าไปยังประเทศเกาหลีช่วยเสริมฐานะด้านสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศ และยังมีการระดมซื้อทองจากประชาชนเพื่อส่งออกเป็นรายได้เงินตราต่างประเทศ
ในปี 2541 ไทยส่งออกไปเกาหลี มูลค่า 25,741 ล้านบาท ลดลงจากมูลค่า 30,897.6 ล้านบาท ในปี 2540 แต่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาเป็นมูลค่ากว่า 31,056.1 ล้านบาท ในปี 2542 หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับการส่งออกในปี 2541 ผลจากการที่เศรษฐกิจของเกาหลีเริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี 2542 นี้ จึงมีสินค้าออกของไทยที่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ จากมูลค่า 1,662 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 3,366 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นกว่า1 เท่าตัว
สินค้าแผงวงจรไฟฟ้า จากมูลค่า 1,343.6 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 3,109 ล้านบาท
สินค้าไดโอดทรานซิสเตอร์ จากมูลค่า 385 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 1,280 ล้านบาท
สินค้าไม้อัด จากมูลค่า 166 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 881 ล้านบาท
กุ้งแช่แข็ง จากมูลค่า 417 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 665 ล้านบาท
สิ่งทอและผ้าผืน จากมูลค่า 113 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 385 ล้านบาท
อาหารทะเลกระป๋อง จากมูลค่า 193 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 340 ล้านบาท
แก้วและกระจก จากมูลค่า 333 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 464 ล้านบาท
ไก่แช่แข็ง จากมูลค่า 174 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 342 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ หลอดภาพโทรทัศน์สี เครื่องอุปกรณ์สำหรับตัดต่อไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก็มีการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันเริ่มมีรายงานของทางการเกาหลีแสดงตัวเลขการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่จะเตือนว่าเกาหลีต้องพึ่งพาสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้ามากเกินไป อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่ไทยยังไม่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ข้าว ยางพารา กาแฟ น้ำตาลทราย รองเท้า และชิ้นส่วน ผลิตภัฒฑ์มันสำปะหลัง อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรที่ประสบกับการแข่งขันจากสินค้าชนิดเดียวกันและสินค้าอื่นที่ทดแทนกันได้หลายประเทศยังมีการแข่งขันตัดราคา การเสนอให้กู้ยืมเงินเพื่อการสั่งซื้อในระบบสินเชื่อ ตลอดจนการให้การอุดหนุนโดยตรงแก่ผู้ส่งออกจึงสามารถเสนอขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง
อุปสรรคการค้าไทย-เกาหลีใต้
เกาหลียังมีมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย ได้แก่ การจำกัดปริมาณโควต้านำเข้า การตั้งกำแพงภาษีนำเข้า และมาตราการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์และสาธารณสุขที่เข้มงวด ซึ่งแม้มาตรการเหล่านี้จะเป็นไปตามข้อตกลงที่ผู้พันไว้ในองค์การการค้าโลกที่เปิดโอกาสให้เกาหลีดำเนินมาตาการเหล่านี้ แต่ทำให้สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการผลิตไม่สามารถเพิ่มการส่งออกได้มากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกัศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีที่ประชาชนมีรายได้และอำนาจซื้อที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันเกาหลีได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (โออีซีดี) มีรายได้ต่อคนสูงถึงคนละ 6,600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แมัจะประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้ไทยขาดดุลการค้าให้เกาหลีสะสมต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เนื่องจากสินค้าเกาหลีเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงกว่าสินค้าไทย และยังเป็นสินค้าที่ไทยต้องเปิดตลาดตามพันธกรณีในองค์การการค้าโลก นอกจากนั้น วิสาหกิจยังมีการลงทุนและรับสัมปทานจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงมีการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรกลจกาเกาหลีเพิ่มขึ้น ซึ่งการขาดดุลการค้ากับประเทศใดแม้จะมิใช่สิ่งที่น่าวิตกกังวลเสมอไปหากสินค้านั้นเป็นที่พอใจของลูกค้าและสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตต่อเนื่องในประเทศได้ แต่หากการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากากรส่งออกของไทยที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้จากมาตรการกีดกันการค้า ก็ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดเกาหลีได้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าข้าว มันสำปะหลัง และสินค้าเกษตรแปรรูป
มาตรการควบคุมการนำเข้าของเกาหลี
ข้าว: ให้นำเข้าได้ในปริมาณไม่เกินที่กำหนด (Minimum Market Access) โดยหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เปิดประมูล โดยใช้ราคาต่ำสุด ข้าวที่นำเข้าต้องนำไปเก็บสต๊อคไว้จำหน่ายแก่โรงงานแปรรูปอาหาร ห้ามนำไปจำหน่ายปลีกเพื่อการบริโภคโดยตรงทั้งในครัวเรือน โรงแรม และภัตตาคาร โดยยังไม่มีระบบขายตรงระหว่างเอกชนผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก และเกาหลีได้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์จากข้าว จากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 50
มันสำปะหลัง: นำเข้าโดยการประมูลเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และทำแอลกอฮอล์ในโรงงานสุราพื้นเมือง และกำหนดภาษีนำเข้าสูงกว่าข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบที่ทดแทนมันสำปะหลัง ห้ามนำมันสำปะหลังไปจำหน่ายเพื่อการบริโภคในรูปแป้งมันสัมปะหลัง
มะม่วง: ยังห้ามนำเข้าโดยอ้างปัญหาเรื่องแมลงและโรคพืชที่ติดมากับมะม่วง ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการขอให้เกาหลีเดินทางมาศึกษาขั้นตอนการอบไอน้ำมะม่วงที่ไทยมีการส่งออกไปญี่ปุ่น
ห้ามนำเข้าผักผลไม้จากประเทศเมืองร้อนจากปัญหาแมลงและโรคพืช จึงยังห้ามนำเข้ามังคุด ลำไย มะละกอ ส้มโอ ฯลฯ แต่ให้นำเข้าได้เฉพาะทุเรียน สับปะรด กล้วยหอม และมะพร้าว
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปมีความเข้มงวดในการตรวจสอบและวิเคราะห์ด้านคุณภาพ และสิ่งเจือปนที่เป็นส่วนผสม
ห้ามนำเข้าเนื้อหมูและเนื้อวัวจากไทยจากปัญหาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์
ให้นำเข้าไก่แช่แข็งได้โดยหน่วยงานกักกันโรคสัตว์เกาหลีเดินทางมาตรวจสอบมาตราฐานโรงงานก่อนการอนุญาต
กำหนดกำแพงภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่แข็ง ร้อยละ 35, ปลาหมึก ร้อยละ 40, ผลไม้กระป๋อง ร้อยละ 50, กล้วยหอม ร้อยละ 60, ดอกกล้วยไม้ ร้อยละ 25, ไก่แช่แข็ง ร้อยละ 30และเก็บภาษีเสริมในสินค้าอัญมี
ห้ามนำเข้าลำไยอบแห้งเพื่อการบริโภค แต่ให้ใช้เฉพาะนำไปปรุงยาสมุนไพร การนำเข้าต้องอนุญาตโดยการร้องขอของสมาคมเภสัชกรรม
ลู่ทางการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ตลาดเกาหลียังมีช่องว่างอยู่อีกมากสำหรับสินค้าไทยที่จะเสนอแนะเข้าสู่ตลาด ได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป, อาหารเสริมสุขภาพ, สินค้าของขวัญของชำร่วย, อัญมณี, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน, เฟอร์นิเจอร์, เคหะสิ่งทอ, สินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความพยายามในการเจาะตลาดเพื่อเสนอแนะสินค้าให้ผู้นำเข้าได้รู้จักด้วยการเดินทางไปพบปะเจรจาการค้าโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล ดำเนินการนัดหมายให้ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในเกาหลี และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าร่วมกับผู้นำเข้า
ที่มา: ที่ปรึกษาการพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/29 กุมภาพันธ์ 2543--
การส่งออกของไทยไปยังตลาดเกาหลีในช่วงปี 2541 ตกต่ำลงมาก โดยการส่งออกของไทยไปเกาหลีลดลงถึงร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับปี 2540 หลังจากที่เกาหลีประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 และเกาหลีต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้า ตลอดจนรับคำปรึกษาเพื่อวางพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวเช่นเดียวกับประเทศไทย เกาหลีใต้ได้มีการปฏิรูปภาคการเงิน การรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน รวมและควบกิจการผู้ผลิตให้มีขนาดเหมาะสมและตรงต่อความชำนาญของแต่ละบริษัท และให้มีอุปทานสินค้าพอเหมาะแก่การประหยัดต่อขนาด และมิให้ราคาสินค้าตกต่ำจากปริมาณล้นตลาด มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและขอความร่วมมือจากกลุ่มแรงงานเพื่อการลดจำนวนคนงาน การปรับลดค่าจ้าง การดำเนินมาตรการทางสังคมรองรับ ตลอดจนแก้ไขกฎระเบียบเพื่อเปิดเสรีในอุตสาหกรรมบางสาขารองรับการแข่งขันเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการเปิดเสรีมากขึ้นยังมีผลทำให้มีเงินทุนใหม่หลั่งไหลเข้าไปยังประเทศเกาหลีช่วยเสริมฐานะด้านสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศ และยังมีการระดมซื้อทองจากประชาชนเพื่อส่งออกเป็นรายได้เงินตราต่างประเทศ
ในปี 2541 ไทยส่งออกไปเกาหลี มูลค่า 25,741 ล้านบาท ลดลงจากมูลค่า 30,897.6 ล้านบาท ในปี 2540 แต่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาเป็นมูลค่ากว่า 31,056.1 ล้านบาท ในปี 2542 หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับการส่งออกในปี 2541 ผลจากการที่เศรษฐกิจของเกาหลีเริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี 2542 นี้ จึงมีสินค้าออกของไทยที่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ จากมูลค่า 1,662 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 3,366 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นกว่า1 เท่าตัว
สินค้าแผงวงจรไฟฟ้า จากมูลค่า 1,343.6 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 3,109 ล้านบาท
สินค้าไดโอดทรานซิสเตอร์ จากมูลค่า 385 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 1,280 ล้านบาท
สินค้าไม้อัด จากมูลค่า 166 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 881 ล้านบาท
กุ้งแช่แข็ง จากมูลค่า 417 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 665 ล้านบาท
สิ่งทอและผ้าผืน จากมูลค่า 113 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 385 ล้านบาท
อาหารทะเลกระป๋อง จากมูลค่า 193 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 340 ล้านบาท
แก้วและกระจก จากมูลค่า 333 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 464 ล้านบาท
ไก่แช่แข็ง จากมูลค่า 174 ล้านบาท มาเป็นมูลค่า 342 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ หลอดภาพโทรทัศน์สี เครื่องอุปกรณ์สำหรับตัดต่อไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก็มีการส่งออกได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันเริ่มมีรายงานของทางการเกาหลีแสดงตัวเลขการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่จะเตือนว่าเกาหลีต้องพึ่งพาสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้ามากเกินไป อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่ไทยยังไม่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ข้าว ยางพารา กาแฟ น้ำตาลทราย รองเท้า และชิ้นส่วน ผลิตภัฒฑ์มันสำปะหลัง อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรที่ประสบกับการแข่งขันจากสินค้าชนิดเดียวกันและสินค้าอื่นที่ทดแทนกันได้หลายประเทศยังมีการแข่งขันตัดราคา การเสนอให้กู้ยืมเงินเพื่อการสั่งซื้อในระบบสินเชื่อ ตลอดจนการให้การอุดหนุนโดยตรงแก่ผู้ส่งออกจึงสามารถเสนอขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง
อุปสรรคการค้าไทย-เกาหลีใต้
เกาหลียังมีมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย ได้แก่ การจำกัดปริมาณโควต้านำเข้า การตั้งกำแพงภาษีนำเข้า และมาตราการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์และสาธารณสุขที่เข้มงวด ซึ่งแม้มาตรการเหล่านี้จะเป็นไปตามข้อตกลงที่ผู้พันไว้ในองค์การการค้าโลกที่เปิดโอกาสให้เกาหลีดำเนินมาตาการเหล่านี้ แต่ทำให้สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการผลิตไม่สามารถเพิ่มการส่งออกได้มากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกัศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีที่ประชาชนมีรายได้และอำนาจซื้อที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันเกาหลีได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (โออีซีดี) มีรายได้ต่อคนสูงถึงคนละ 6,600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แมัจะประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้ไทยขาดดุลการค้าให้เกาหลีสะสมต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เนื่องจากสินค้าเกาหลีเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงกว่าสินค้าไทย และยังเป็นสินค้าที่ไทยต้องเปิดตลาดตามพันธกรณีในองค์การการค้าโลก นอกจากนั้น วิสาหกิจยังมีการลงทุนและรับสัมปทานจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงมีการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรกลจกาเกาหลีเพิ่มขึ้น ซึ่งการขาดดุลการค้ากับประเทศใดแม้จะมิใช่สิ่งที่น่าวิตกกังวลเสมอไปหากสินค้านั้นเป็นที่พอใจของลูกค้าและสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตต่อเนื่องในประเทศได้ แต่หากการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากากรส่งออกของไทยที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้จากมาตรการกีดกันการค้า ก็ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดเกาหลีได้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าข้าว มันสำปะหลัง และสินค้าเกษตรแปรรูป
มาตรการควบคุมการนำเข้าของเกาหลี
ข้าว: ให้นำเข้าได้ในปริมาณไม่เกินที่กำหนด (Minimum Market Access) โดยหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เปิดประมูล โดยใช้ราคาต่ำสุด ข้าวที่นำเข้าต้องนำไปเก็บสต๊อคไว้จำหน่ายแก่โรงงานแปรรูปอาหาร ห้ามนำไปจำหน่ายปลีกเพื่อการบริโภคโดยตรงทั้งในครัวเรือน โรงแรม และภัตตาคาร โดยยังไม่มีระบบขายตรงระหว่างเอกชนผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก และเกาหลีได้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์จากข้าว จากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 50
มันสำปะหลัง: นำเข้าโดยการประมูลเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และทำแอลกอฮอล์ในโรงงานสุราพื้นเมือง และกำหนดภาษีนำเข้าสูงกว่าข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบที่ทดแทนมันสำปะหลัง ห้ามนำมันสำปะหลังไปจำหน่ายเพื่อการบริโภคในรูปแป้งมันสัมปะหลัง
มะม่วง: ยังห้ามนำเข้าโดยอ้างปัญหาเรื่องแมลงและโรคพืชที่ติดมากับมะม่วง ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการขอให้เกาหลีเดินทางมาศึกษาขั้นตอนการอบไอน้ำมะม่วงที่ไทยมีการส่งออกไปญี่ปุ่น
ห้ามนำเข้าผักผลไม้จากประเทศเมืองร้อนจากปัญหาแมลงและโรคพืช จึงยังห้ามนำเข้ามังคุด ลำไย มะละกอ ส้มโอ ฯลฯ แต่ให้นำเข้าได้เฉพาะทุเรียน สับปะรด กล้วยหอม และมะพร้าว
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปมีความเข้มงวดในการตรวจสอบและวิเคราะห์ด้านคุณภาพ และสิ่งเจือปนที่เป็นส่วนผสม
ห้ามนำเข้าเนื้อหมูและเนื้อวัวจากไทยจากปัญหาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์
ให้นำเข้าไก่แช่แข็งได้โดยหน่วยงานกักกันโรคสัตว์เกาหลีเดินทางมาตรวจสอบมาตราฐานโรงงานก่อนการอนุญาต
กำหนดกำแพงภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่แข็ง ร้อยละ 35, ปลาหมึก ร้อยละ 40, ผลไม้กระป๋อง ร้อยละ 50, กล้วยหอม ร้อยละ 60, ดอกกล้วยไม้ ร้อยละ 25, ไก่แช่แข็ง ร้อยละ 30และเก็บภาษีเสริมในสินค้าอัญมี
ห้ามนำเข้าลำไยอบแห้งเพื่อการบริโภค แต่ให้ใช้เฉพาะนำไปปรุงยาสมุนไพร การนำเข้าต้องอนุญาตโดยการร้องขอของสมาคมเภสัชกรรม
ลู่ทางการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ตลาดเกาหลียังมีช่องว่างอยู่อีกมากสำหรับสินค้าไทยที่จะเสนอแนะเข้าสู่ตลาด ได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป, อาหารเสริมสุขภาพ, สินค้าของขวัญของชำร่วย, อัญมณี, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน, เฟอร์นิเจอร์, เคหะสิ่งทอ, สินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความพยายามในการเจาะตลาดเพื่อเสนอแนะสินค้าให้ผู้นำเข้าได้รู้จักด้วยการเดินทางไปพบปะเจรจาการค้าโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล ดำเนินการนัดหมายให้ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในเกาหลี และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าร่วมกับผู้นำเข้า
ที่มา: ที่ปรึกษาการพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/29 กุมภาพันธ์ 2543--