การประชุมสหประชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาครั้งที่ 10 หรือ UNCTAD X ซึ่งประเทศไทยเป็น เจ้าภาพในการประชุมระหว่างวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ พร้อมกับความชื่นชมจากนานาประเทศทั่วโลก ผลของการประชุมอังค์ถัดซึ่งอยู่ในรูปของเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) และ (2) แผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ (Bangkok Plan of Action)ได้สะท้อนถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับ การพัฒนาของโลกในกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งในระบบการค้า การเงิน การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างสมบูรณ์ โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าร่วม ในระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพประเด็นสำคัญๆที่เป็นจุดเด่นของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่
- การประเมินผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาทั้งทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะผลที่ ทำให้เกิดความไม่สมดุลและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นที่ประชาคมโลกต้องปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาใหม่เพื่อให้ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากโลกภิวัตน์อย่างเท่าเทียมกัน
- การยอมรับถึงความจำเป็นของการดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกัน ระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ที่รับผิดชอบการพัฒนาในด้านต่างๆของโลกทั้งเรื่องการเงิน การค้า การลงทุน ซึ่งผู้นำขององค์กรเหล่านั้น ได้แสดงเจตนารมย์อย่างแน่วแน่ที่จะปรับปรุงแนวทางการประสานงานระหว่างองค์กรเพื่อให้แนวทางการ พัฒนาในด้านต่างๆ ของโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Policy Coherence)
- การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และ Civil Society ทั้งหลาย ได้มีส่วนร่วม ในการหารือและเสนอแนะข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆระหว่างการประชุม ซึ่งทำให้สามารถสะท้อนความเข้าใจ ระหว่างภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการหารือด้วย
- การให้ความช่วยเหลือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ในเรื่องที่เป็นปัญหาเร่งด่วน อาทิ ปัญหาภาระหนี้สิน ปัญหาจากการได้รับเงินช่วยเหลือลดลงซึ่งการเสนอให้ความช่วยเหลือต่อปัญหา ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกหนี้สิน หรือการเพิ่มเงินช่วยเหลือ ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเปิดตลาดอย่างเต็มที่โดยการยกเลิกภาษี และโควต้าภาษีให้แก่สินค้าส่งออกสำคัญจากประเทศ LDCs และ การส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากประเทศ (FDI)ในประเทศเหล่านั้นด้วย
- การยอมรับถึงบทบาทที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างอังค์ถัดกับองค์การการค้าโลก (WTO) ในเรื่อง การค้ากับการพัฒนาโดยอังค์ถัดเป็นเวทีของการปรึกษาหารือและการสร้างฉันทามติ (consensus-building) ในประเด็นต่างๆ ร่วมกันระหว่างประเทศต่างๆก่อนการเจรจาการค้ารอบใหม่ ในอนาคต นอกจากนี้ ผลงานการวิจัยในเรื่องต่างๆ ของอังค์ถัด นับเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับ การพัฒนานโยบายของประเทศและการกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ (technical assistance)แก่ประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักคือ การทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมและได้รับประโยชน์จากระบบ การค้าพหุภาคีมากขึ้น
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ในฐานะประธานของการประชุม อังค์ถัดครั้งที่ 10 ได้เสนอแนวคิดใหม่เพื่อปรับปรุงการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาของ ประชาคมโลก ดังนี้
- เพื่อให้หลักการของความสอดคล้องทางนโยบาย (Policy Coherence) มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมจึงได้เสนอให้มีการจัดประชุมระหว่างผู้นำองค์การระหว่างประเทศสำคัญๆ กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้าน เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปีและอาจมีการจัดตั้งคณะมนตรีโลก (Global Council) โดยให้องค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่อการพัฒนาของโลกเข้าร่วม เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกันโดยให้มีการตั้งเป้าหมายของการพัฒนา เช่น การจ้างงาน เป็นต้น
- ได้เสนอแนวทางที่แตกต่างออกไปในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเพื่อแก้ไข ปัญหาจากการถูกเบียดตกขอบ (marginalization)ของประเทศเหล่านั้น โดยใช้แนวทางการอุปถัมภ์ (God-fathering Approach) กล่าวคือ มอบหมายให้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศที่มีรายได้ในระดับปานกลาง ดำเนินการแนะแนวการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนา ให้แก่ประเทศพัฒนา น้อยที่สุด ซึ่งประเทศหนึ่งๆอาจรับเป็นผู้อุปถัมภ์ให้กับประเทศพัฒนาน้อยฯ ประเทศเดียวหรือหลาย ประเทศก็ได้ แม้ว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ จะสิ้นสุดลงไปแล้วแต่ความมุ่งมั่นที่ประเทศ สมาชิกได้ร่วมกันสร้างขึ้น (Bangkok Spirit) จะยังคงมีอยู่ และจะต้องสานต่อให้มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมหลังจากการประชุมที่กรุงเทพฯ ภารกิจของอังค์ถัดในอีก 4 ปี ข้างหน้า ตามที่ระบุไว้ ในเอกสารแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯจะมีความหมายต่อการพัฒนาของโลกโดยเฉพาะ อย่างยิ่งประเทศ กำลังพัฒนาได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของประเทศต่างๆ ในการให้ความสนับสนุนต่อ การดำเนินงานของอังค์ถัดโดยการให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการดำเนินงานของอังค์ถัด เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาคมโลก
--กรมส่งเสริมการส่งออก มีนาคม 2543--
- การประเมินผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาทั้งทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะผลที่ ทำให้เกิดความไม่สมดุลและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นที่ประชาคมโลกต้องปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาใหม่เพื่อให้ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากโลกภิวัตน์อย่างเท่าเทียมกัน
- การยอมรับถึงความจำเป็นของการดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกัน ระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ที่รับผิดชอบการพัฒนาในด้านต่างๆของโลกทั้งเรื่องการเงิน การค้า การลงทุน ซึ่งผู้นำขององค์กรเหล่านั้น ได้แสดงเจตนารมย์อย่างแน่วแน่ที่จะปรับปรุงแนวทางการประสานงานระหว่างองค์กรเพื่อให้แนวทางการ พัฒนาในด้านต่างๆ ของโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Policy Coherence)
- การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และ Civil Society ทั้งหลาย ได้มีส่วนร่วม ในการหารือและเสนอแนะข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆระหว่างการประชุม ซึ่งทำให้สามารถสะท้อนความเข้าใจ ระหว่างภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการหารือด้วย
- การให้ความช่วยเหลือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ในเรื่องที่เป็นปัญหาเร่งด่วน อาทิ ปัญหาภาระหนี้สิน ปัญหาจากการได้รับเงินช่วยเหลือลดลงซึ่งการเสนอให้ความช่วยเหลือต่อปัญหา ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกหนี้สิน หรือการเพิ่มเงินช่วยเหลือ ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเปิดตลาดอย่างเต็มที่โดยการยกเลิกภาษี และโควต้าภาษีให้แก่สินค้าส่งออกสำคัญจากประเทศ LDCs และ การส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากประเทศ (FDI)ในประเทศเหล่านั้นด้วย
- การยอมรับถึงบทบาทที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างอังค์ถัดกับองค์การการค้าโลก (WTO) ในเรื่อง การค้ากับการพัฒนาโดยอังค์ถัดเป็นเวทีของการปรึกษาหารือและการสร้างฉันทามติ (consensus-building) ในประเด็นต่างๆ ร่วมกันระหว่างประเทศต่างๆก่อนการเจรจาการค้ารอบใหม่ ในอนาคต นอกจากนี้ ผลงานการวิจัยในเรื่องต่างๆ ของอังค์ถัด นับเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับ การพัฒนานโยบายของประเทศและการกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ (technical assistance)แก่ประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักคือ การทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมและได้รับประโยชน์จากระบบ การค้าพหุภาคีมากขึ้น
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ในฐานะประธานของการประชุม อังค์ถัดครั้งที่ 10 ได้เสนอแนวคิดใหม่เพื่อปรับปรุงการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาของ ประชาคมโลก ดังนี้
- เพื่อให้หลักการของความสอดคล้องทางนโยบาย (Policy Coherence) มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมจึงได้เสนอให้มีการจัดประชุมระหว่างผู้นำองค์การระหว่างประเทศสำคัญๆ กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้าน เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปีและอาจมีการจัดตั้งคณะมนตรีโลก (Global Council) โดยให้องค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่อการพัฒนาของโลกเข้าร่วม เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกันโดยให้มีการตั้งเป้าหมายของการพัฒนา เช่น การจ้างงาน เป็นต้น
- ได้เสนอแนวทางที่แตกต่างออกไปในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเพื่อแก้ไข ปัญหาจากการถูกเบียดตกขอบ (marginalization)ของประเทศเหล่านั้น โดยใช้แนวทางการอุปถัมภ์ (God-fathering Approach) กล่าวคือ มอบหมายให้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศที่มีรายได้ในระดับปานกลาง ดำเนินการแนะแนวการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนา ให้แก่ประเทศพัฒนา น้อยที่สุด ซึ่งประเทศหนึ่งๆอาจรับเป็นผู้อุปถัมภ์ให้กับประเทศพัฒนาน้อยฯ ประเทศเดียวหรือหลาย ประเทศก็ได้ แม้ว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ จะสิ้นสุดลงไปแล้วแต่ความมุ่งมั่นที่ประเทศ สมาชิกได้ร่วมกันสร้างขึ้น (Bangkok Spirit) จะยังคงมีอยู่ และจะต้องสานต่อให้มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมหลังจากการประชุมที่กรุงเทพฯ ภารกิจของอังค์ถัดในอีก 4 ปี ข้างหน้า ตามที่ระบุไว้ ในเอกสารแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯจะมีความหมายต่อการพัฒนาของโลกโดยเฉพาะ อย่างยิ่งประเทศ กำลังพัฒนาได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของประเทศต่างๆ ในการให้ความสนับสนุนต่อ การดำเนินงานของอังค์ถัดโดยการให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการดำเนินงานของอังค์ถัด เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาคมโลก
--กรมส่งเสริมการส่งออก มีนาคม 2543--