สหรัฐอเมริกาออกกฎหมายสนับสนุนให้อุตสาหกรรมภายในเปิดศึกฟ้องร้องการไต่สวนการทุ่มตลาดและอุดหนุนสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้ออกรัฐบัญญัติที่มีชื่อว่า Continued Dumping and Subsidy Offset Act of 2000 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Byrd Amendment ซึ่งมีสาระสำคัญให้รัฐบาลสหรัฐฯ นำอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนที่เก็บได้ไปชดเชยให้กับอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบ โดยให้แจกจ่ายอากรการตอบโต้ที่ศุลกากรสหรัฐฯ เรียกเก็บในแต่ละปีงบประมาณให้กับผู้ผลิตที่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสีย หากยังดำเนินธุรกิจอยู่ ให้อธิบดีกรมศุลกากรเปิดบัญชีพิเศษกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เพื่อฝากเงินอากรตอบโต้ที่เก็บได้ให้กับผู้รับ (อุตสาหกรรมสหรัฐฯ) ใช้เงินในบัญชีนั้นเพื่อชดเชยค่าใช้จ่าย อาทิ ค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการ การฝึกงาน กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และการยกระดับการผลิต ทั้งนี้รัฐบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป
ร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งนำเสนอโดยวุฒิสมาชิกนาย Robert Byrd แห่งมลรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ได้รับการผลักดันมาจากอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูง เนื่องจากภูมิภาคที่ผลิตเหล็กนั้นเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคการเมือง อาทิ มลรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย เวอร์จิเนีย และเพนน์ซิลเวเนีย การโน้มน้าวของอุตสาหกรรมเหล็ก ทำให้นโยบายของสหรัฐฯ เอนเอียงไปในทิศทางที่ปกป้องมากขึ้น และไม่เพียงแต่สินค้าเหล็กเท่านั้น แต่จะขยายไปถึงสินค้าอื่น ๆ อีกด้วย
อุตสาหกรรมเหล็กภายในของสหรัฐฯ ได้เริ่มเปิดศึกยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ศกนี้ ขอให้ทางกระทรวงการค้าสหรัฐอเมริกาเปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าเหล็กคาร์บอนรีดร้อน (Hot Rolled Carbon Steel) จาก 11 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในข้อกล่าวหากับผู้ส่งออกของไทยมีทั้งการทุ่มตลาดและการอุดหนุน รวมสองประเด็นพร้อมกัน
หลายฝ่ายได้แสดงความเป็นห่วงในแง่การส่งออกส่งสินค้าไปตลาดสหรัฐฯ โดยให้ข้อสังกตว่ารัฐบาลบัญญัตินี้จะเป็นกฎหมายที่สร้างแรงจูงใจผู้ผลิตสหรัฐฯ ให้มีกายื่นคำร้องขอให้เปิดการไต่สวนมากขึ้นเพื่อหวังประโยชน์ทางการเงินที่จะได้รับทางตรงจากอากรที่เรียกเก็บนั้น ส่วนผู้คัดค้านหรือไม่ให้ความร่วมมือจะไม่มีสิทธิในอากรที่เรียกเก็บหรือผู้เคยคัดค้านหรือไม่ให้ความร่วมมือในการไต่สวนหากได้ซื้อกิจการของผู้ที่เคยขอยื่นคำร้องขอก็ไม่มีสิทธิในอากรที่เรียกเก็บ อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้สำนักงานกฎหมายต่าง ๆ โดยในสหรัฐฯ โน้มน้าวผู้ผลิตสหรัฐฯ เปิดการฟ้องร้องมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถใช้อากรที่เรียกเก็บที่ได้รับมาชดเชยเป็นค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกิดขึ้น และที่สุดสร้างแรงจูงใจให้เรียกเก็บอัตราอากรที่สูงขึ้น เมื่อเริ่มการไต่สวนแล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อาจจะได้รับแรงกดดันให้เรียกเก็บอากรในอัตราที่สูง
สำหรับประเทศไทยมีความน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตอาจจะมีความเป็นไปได้ที่สินค้าไทยจะถูกเปิดไต่สวนมากขึ้นในสหรัฐฯ ทั้งจำนวนกรณีและสินค้าอันจะเป็นอุปสรรคทางการค้าอย่างสำคัญ นอกจากนั้น ประเทศอื่น ๆ ที่นำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันจากไทยก็อาจจะเปิดการไต่สวนอีกด้วย ถ้าหากไทยแก้ข้อกล่าวหากับสหรัฐฯ ไม่สำเร็จ
ผู้ส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ควรติดตามสินค้าทีมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกเปิดการไต่สวน อาทิ ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ ให้ระมัดระวังอัตราการส่งออก (Growth Rate) สินค้าของตนไปสหรัฐฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งราคาเสนอขายภายในประเทศและราคาส่งออกไปสหรัฐฯ เพราะเมื่อเกิดการไต่สวนขึ้นแล้วไทยจะเป็นฝ่ายเสียหายไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ ถ้าชนะก็เสียค่าทนายความ ซึ่งค่าว่าจ้างแต่ละกรณีฯ สูงมาก นับหลายล้านบาทขึ้นไป ถ้าแพ้ก็ถูกเก็บอากรไปถึง 5 ปีเป็นอย่างน้อย และอาจจะไม่สามารถส่งออกได้จนเสียตลาดไปในที่สุด
ในส่วนของภาครัฐ ขณะนี้ได้ร่วมกับบางมิตรประเทศที่มีความเห็นตรงกันทำการโต้แย้งไปยังสหรัฐฯ และอาจจะนำเข้าพิจารณาในองค์การการค้าโลก หากรัฐบัญญัติฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลก อันจะนำไปสู่อุปสรรต่อการค้าเพิ่มมากขึ้น--จบ--
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้ออกรัฐบัญญัติที่มีชื่อว่า Continued Dumping and Subsidy Offset Act of 2000 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Byrd Amendment ซึ่งมีสาระสำคัญให้รัฐบาลสหรัฐฯ นำอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนที่เก็บได้ไปชดเชยให้กับอุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบ โดยให้แจกจ่ายอากรการตอบโต้ที่ศุลกากรสหรัฐฯ เรียกเก็บในแต่ละปีงบประมาณให้กับผู้ผลิตที่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสีย หากยังดำเนินธุรกิจอยู่ ให้อธิบดีกรมศุลกากรเปิดบัญชีพิเศษกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เพื่อฝากเงินอากรตอบโต้ที่เก็บได้ให้กับผู้รับ (อุตสาหกรรมสหรัฐฯ) ใช้เงินในบัญชีนั้นเพื่อชดเชยค่าใช้จ่าย อาทิ ค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการ การฝึกงาน กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และการยกระดับการผลิต ทั้งนี้รัฐบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป
ร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งนำเสนอโดยวุฒิสมาชิกนาย Robert Byrd แห่งมลรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ได้รับการผลักดันมาจากอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูง เนื่องจากภูมิภาคที่ผลิตเหล็กนั้นเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคการเมือง อาทิ มลรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย เวอร์จิเนีย และเพนน์ซิลเวเนีย การโน้มน้าวของอุตสาหกรรมเหล็ก ทำให้นโยบายของสหรัฐฯ เอนเอียงไปในทิศทางที่ปกป้องมากขึ้น และไม่เพียงแต่สินค้าเหล็กเท่านั้น แต่จะขยายไปถึงสินค้าอื่น ๆ อีกด้วย
อุตสาหกรรมเหล็กภายในของสหรัฐฯ ได้เริ่มเปิดศึกยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ศกนี้ ขอให้ทางกระทรวงการค้าสหรัฐอเมริกาเปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าเหล็กคาร์บอนรีดร้อน (Hot Rolled Carbon Steel) จาก 11 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในข้อกล่าวหากับผู้ส่งออกของไทยมีทั้งการทุ่มตลาดและการอุดหนุน รวมสองประเด็นพร้อมกัน
หลายฝ่ายได้แสดงความเป็นห่วงในแง่การส่งออกส่งสินค้าไปตลาดสหรัฐฯ โดยให้ข้อสังกตว่ารัฐบาลบัญญัตินี้จะเป็นกฎหมายที่สร้างแรงจูงใจผู้ผลิตสหรัฐฯ ให้มีกายื่นคำร้องขอให้เปิดการไต่สวนมากขึ้นเพื่อหวังประโยชน์ทางการเงินที่จะได้รับทางตรงจากอากรที่เรียกเก็บนั้น ส่วนผู้คัดค้านหรือไม่ให้ความร่วมมือจะไม่มีสิทธิในอากรที่เรียกเก็บหรือผู้เคยคัดค้านหรือไม่ให้ความร่วมมือในการไต่สวนหากได้ซื้อกิจการของผู้ที่เคยขอยื่นคำร้องขอก็ไม่มีสิทธิในอากรที่เรียกเก็บ อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้สำนักงานกฎหมายต่าง ๆ โดยในสหรัฐฯ โน้มน้าวผู้ผลิตสหรัฐฯ เปิดการฟ้องร้องมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถใช้อากรที่เรียกเก็บที่ได้รับมาชดเชยเป็นค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกิดขึ้น และที่สุดสร้างแรงจูงใจให้เรียกเก็บอัตราอากรที่สูงขึ้น เมื่อเริ่มการไต่สวนแล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อาจจะได้รับแรงกดดันให้เรียกเก็บอากรในอัตราที่สูง
สำหรับประเทศไทยมีความน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตอาจจะมีความเป็นไปได้ที่สินค้าไทยจะถูกเปิดไต่สวนมากขึ้นในสหรัฐฯ ทั้งจำนวนกรณีและสินค้าอันจะเป็นอุปสรรคทางการค้าอย่างสำคัญ นอกจากนั้น ประเทศอื่น ๆ ที่นำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันจากไทยก็อาจจะเปิดการไต่สวนอีกด้วย ถ้าหากไทยแก้ข้อกล่าวหากับสหรัฐฯ ไม่สำเร็จ
ผู้ส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ควรติดตามสินค้าทีมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกเปิดการไต่สวน อาทิ ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ ให้ระมัดระวังอัตราการส่งออก (Growth Rate) สินค้าของตนไปสหรัฐฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งราคาเสนอขายภายในประเทศและราคาส่งออกไปสหรัฐฯ เพราะเมื่อเกิดการไต่สวนขึ้นแล้วไทยจะเป็นฝ่ายเสียหายไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ ถ้าชนะก็เสียค่าทนายความ ซึ่งค่าว่าจ้างแต่ละกรณีฯ สูงมาก นับหลายล้านบาทขึ้นไป ถ้าแพ้ก็ถูกเก็บอากรไปถึง 5 ปีเป็นอย่างน้อย และอาจจะไม่สามารถส่งออกได้จนเสียตลาดไปในที่สุด
ในส่วนของภาครัฐ ขณะนี้ได้ร่วมกับบางมิตรประเทศที่มีความเห็นตรงกันทำการโต้แย้งไปยังสหรัฐฯ และอาจจะนำเข้าพิจารณาในองค์การการค้าโลก หากรัฐบัญญัติฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลก อันจะนำไปสู่อุปสรรต่อการค้าเพิ่มมากขึ้น--จบ--
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-