บทสรุปนักลงทุน
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออกโดยมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดและส่วนใหญ่ผลิตด้วยไม้ยางพาราประมาณร้อยละ 60 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ส่งออกทั้งหมด การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็ง (Hardwood) เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตประมาณร้อยละ 15 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ทั้งหมดซึ่งการผลิตส่วนใหญ่จะเน้นจำหน่ายในประเทศ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนส่วนใหญ่จะทำจากไม้ยางพารามากกว่าร้อยละ 80 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนทั้งหมด
ส่วนภาวะตลาดในประเทศในปี2542 และ 2543 คาดว่าจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องคาดว่ามูลค่าตลาดในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 ส่วนตลาดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 13.6 คาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ในปี 2543 โดยเฉพาะการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารายังสามารถขยายตัวได้ดีเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศเพียงพอ ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น จำนวนผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้มีทั้งสิ้นประมาณ 2,898 ราย โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม มีเพียงบางรายที่มีศักยภาพในการส่งออกซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ ส่วนช่องทางการจำหน่ายมีทั้งผู้ผลิตจำหน่ายโดยตรงจากโรงงานถึงมือผู้ซื้อ หรือการจำหน่ายโดยตรงผ่านตัวแทนที่ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป การจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ และการจัดงานเฟอร์นิเจอร์โชว์
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภทไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะนำเข้า ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนประเภทยางพาราส่วนใหญ่จะใช้ภายในประเทศ โดยมีกรรมวิธีการผลิตโดยย่อดังนี้ เริ่มจากการตัดไม้แบบหยาบโดยนำไม้แปรรูปที่อัดน้ำยาและอบแห้งแล้วนำมาตัดขนาดคร่าวๆไสไม้และขึ้นรูปไม้ตรง หลังจากนั้นนำไม้มาตัดขนาด เจาะรูเดือยและทำเดือย ประสานไม้โดยอัดประสานด้วยเครื่องอัดประสานให้เป็นแผ่นโดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อม ขัดให้เรียบและชุบน้ำยาเพื่อป้องกันมอดเจาะทำลายเนื้อไม้ หลังจากนั้นประกอบชิ้นส่วนและทำสี และตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า
กรณีการลงทุนขนาดผลิต 10,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 18 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเครื่องจักร รองลงมาได้แก่ค่าเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบ รองลงมาได้แก่แรงงาน ส่วนค่าโสหุ้ยการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นค่าไฟฟ้า นอกนั้นยังมีค่าดอกเบี้ยจ่ายในกรณีที่กู้ยืมเงินเพื่อใช้ในกิจการ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออกโดยมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดและส่วนใหญ่จะผลิตด้วยไม้ยางพาราประมาณร้อยละ 60 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ส่งออกทั้งหมด การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็ง มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เน้นจำหน่ายภายในประเทศเป็นหลัก ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนส่วนใหญ่จะทำจากไม้ยางพารามากกว่าร้อยละ 80ของเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนทั้งหมด เนื่องจากมีการปลูกในเชิงพาณิชย์และปลูกทดแทนได้อย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังมีไม้ประเภทไม้ วีเนียร์และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนจะเน้นตลาดต่างประเทศเนื่องจากการลักษณะการผลิตทำง่ายกว่าไม้เนื้อแข็งและสามารถออกแบบได้หลากหลายโดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภทถอดประกอบได้ (Knock Down Furniture) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศและสามารถประหยัดเนื้อที่และต้นทุนการขนส่ง
ภาวะอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ในปี 2539 ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยตลาดในประเทศขยายตัวประมาณร้อยละ 10.9 เป็น 3,150 ล้านบาท ในขณะที่ภาวะการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ลดลงเหลือร้อยละ 5.4 เป็น 6,980 ล้านบาทจากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 13.7 ในปี 2538 ทั้งนี้เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดโดยเฉพาะในเรื่องของราคาที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทางด้านการนำเข้าในปี 2539 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.5 เป็น 197.9 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลดอัตราภาษีนำเข้าจากร้อยละ 60 เหลือร้อยละ 40 ในปี 2538 และความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในปี 2540-2541 ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงประกอบกับความนิยมในการปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์มีไม่มากนักส่งผลให้มูลค่าตลาดในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเฉลี่ยร้อยละ 6 เป็น 3,345 และ 3,543 ล้านบาท ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับการส่งออกเพิ่มขึ้นและผลจากภาวะที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้มูลค่าส่งออกในปี 2540และ 2541 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และร้อยละ 35.1 คิดเป็นมูลค่า 8,353 และ 11,280 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนปริมาณนำเข้าลดลงในปี 2540 ร้อยละ 6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 เนื่องจากการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็งที่มีราคาสูงประกอบกับค่าเงินบาทที่ลอยตัว นอกจากนี้ยังมีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้สำเร็จรูปลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2540 อย่างไรก็ตามการนำเข้าในปี 2541ปรับลดลงทั้งด้านปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 11.3 และร้อยละ 63.2 คิดเป็นปริมาณ 45,800 ชิ้นและมูลค่า 58 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง
ส่วนภาวะตลาดในประเทศในปี 2542 และ 2543 คาดว่าจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องคาดว่ามูลค่าตลาดในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 ส่วนตลาดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 13.6 คาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ในปี 2543 โดยเฉพาะการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารายังสามารถขยายตัวได้ดีเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศเพียงพอ ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
จำนวนผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้มีทั้งสิ้นประมาณ 2,898 ราย โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม มีเพียงบางรายที่มีศักยภาพในการส่งออกซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ เช่น บริษัท กลุ่มป่าไม้สันติ จำกัด บริษัท พาราวู้ด คอร์ปอเรชั่น (เวิลด์ไวด์) จำกัด บริษัท บางกอกอินเตอร์เฟิร์น จำกัด เครื่องหมายการค้า INDEX บริษัท อีสต์โคสท์ อุตสาหกรรม จำกัด เครื่องหมายการค้า EC เป็นต้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินลงทุน (บาท)
บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 600,000,000
บริษัท กลุ่มป่าไม้สันติ จำกัด 500,000,000
บริษัท ด๊อกเตอร์วูด จำกัด 350,000,000
บริษัท พาราวู้ด คอร์ปอเรชั่น (เวิลด์ไวด์) จำกัด 200,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท แฟนซีวู๊ดอินดัสตรีส จำกัด (มหาชน) 125,000,000
บริษัท ไทยมารูนิ จำกัด 100,000,000
บริษัท สินดีพาราวู้ด จำกัด 50,000,000
บริษัท เอส.พี.วี. เฟอร์นิเทค จำกัด 9,000,000
บริษัท วูดเทคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางการจำหน่ายได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. ผู้ผลิตจะจำหน่ายโดยตรงจากโรงงานถึงมือผู้ซื้อ แต่มักเป็นในกรณีที่ผู้ผลิตมีร้านค้าที่ใช้แสดงสินค้าเป็นของตนเอง
2. การจำหน่ายผ่านตัวแทนที่ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป
3. การจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่
4. การจัดงานเฟอร์นิเจอร์โชว์
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภทไม้เนื้อแข็ง (Solid Wood)เช่น ไม้สัก ไม้ตะแบก ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนไม้เนื้ออ่อนประเภทไม้ยางพารามีจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากมีการปลูกในเชิงพาณิชย์และปลูกทดแทนอย่างต่อเนื่องในประเทศ รวมทั้งมีเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้อื่นๆ เช่น ไม้วีเนียร์ และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ บางส่วนก็ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอยู่สำหรับวัสดุที่ใช้ยึดชิ้นงาน ได้แก่ กาว ตะปูยิง เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !60
- วัตถุดิบในประเทศ !80
- วัตถุดิบนำเข้า !20
!2. ค่าแรงงาน !20
!3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ! 5
!4. ค่าโสหุ้ยการผลิต !15
!รวม !100!
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ!
กรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
ขั้นที่ 1 ตัดไม้แบบหยาบ โดยนำไม้แปรรูปที่อัดน้ำยาและอบแห้งแล้วนำมาตัดขนาดคร่าว ๆ
ขั้นที่ 2 ไสไม้และขึ้นรูปไม้ตรง นำไม้แปรรูปที่ตัดได้ขนาดเรียบร้อยแล้วนำมาทำการไสปรับหน้าให้เรียบร้อยและเป็นการปรับขนาดไม้ให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ต้องการแล้วจึงนำไปเข้าเครื่องไส
ขั้นที่ 3 ตัดขนาด เป็นการตัดขนาดตามแบบของชิ้นงานหลังจากที่ชิ้นงานได้ผ่านขั้นตอนการขึ้นรูป
ขั้นที่ 4 เจาะรูเดือยและทำเดือย โดยนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการตัดขนาดมาเจาะรูหรือทำเดือยเพื่อเป็นส่วนยึดกันระหว่างชิ้นงาน
ขั้นที่ 5 ประสานไม้ โดยนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการไสปรับหน้ามาอัดประสานด้วยเครื่องอัดประสานให้เป็นแผ่นโดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อม
ขั้นที่ 6 ขัดให้เรียบ โดยนำชิ้นงานมาขัดด้วยเครื่องขัดเพื่อรบลอยไสให้เรียบ
ขั้นที่ 7 ชุบน้ำยา ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ที่ทำเสร็จแล้วจะนำมาชุบน้ำยาเพื่อป้องกันมอดเจาะทำลายเนื้อไม้
ขั้นที่ 8 ประกอบ ชิ้นส่วนบางชิ้นจะต้องประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้โต๊ะประกอบซึ่งออกแบบตามความเหมาะสมของชิ้นงาน โดยใช้วัสดุที่ยึดชิ้นงาน ได้แก่ กาว ตะปูยิง เป็นต้น
ขั้นที่ 9 ทำสี โดยนำชิ้นงานที่ผ่านขั้นตอนการผลิตต่างๆ มาทำสีตามวิธีการตั้งแต่ อุดแต่ง ขัดผิวย้อมสี พ่นรองพื้น ขัดตกแต่งผิว พ่น เคลือบผิวหน้า โดยชิ้นงานจะผ่านขั้นตอนการผลิตตามระบบสายพานลำเลียง
ขั้นที่ 10 ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ
ขั้นตอนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
ตัดหยาบ
|
V
ไสไม้และตัดขนาด
|
V
ขึ้นรูป
|
V
เจาะรูและทำเดือย
|
V
ขัดให้เรียบ
|
V
ชุบน้ำยา
|
V
ทำสี
|
V
คัดคุณภาพ
|
V
บรรจุหีบห่อ
เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในธุรกิจการประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ ได้แก่ เครื่องไสไม้ เครื่องขัดไม้เครื่องเจาะไม้ เครื่องปัดทำความสะอาดไม้ เครื่องสูบลม สว่าน เลื่อยสายพานซอยไม้ แท่นผ่าไม้ เลื่อยวงเดือน หม้อไอน้ำและห้องอบไม้ เป็นต้นการลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนเนื่องจากจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง กรณีการลงทุนขนาดผลิต 10,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ตามประมาณการ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 18,000,000 บาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ค่าเช่า) 420,000 บาท
3. ค่าเครื่องจักร 4,500,000 บาท
4. ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า 400,000 บาท
5. เงินทุนหมุนเวียน 12,930,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ขนาดกลางใช้บุคลากรประมาณ 90 คน ประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 แรงงานช่างฝีมือ (ช่างไสไม้ ช่างขัดไม้ ช่างตัดไม้และช่างขึ้นรูปเฟอร์นิเจอร์) จำนวน 79 คน
1.2 พนักงานขับรถของบริษัท จำนวน 2 คน
2. พนักงานสำนักงาน จำนวน 7 คน
3. พนักงานบริหาร จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 18,800,000 บาทต่อปี
2 ต้นทุนแรงงาน 4,400,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 900,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 2,688,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 66,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 1,440,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 168,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ยานพาหนะ 960,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 54,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 1,620,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10-15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 10,000 ชิ้น ราคาเฉลี่ย 3,250 บาทต่อชิ้น คิดเป็นรายได้ราว 32.50 ล้านบาท
ภาคผนวก
การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ % เปลี่ยนแปลง มูลค่า % เปลี่ยนแปลง
(พันชิ้น) (ล้านบาท)
2538 16,364.44 23.79 6,624.25 13.79
2539 13,603.01 -16.87 6,980.05 5.37
2540 14,060.21 3.36 8,352.47 19.66
2541 19,347.43 37.60 11,279.97 35.05
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 9,228.64 7.40 5,830.30 13.55 ที่มา: กรมศุลกากร
ตลาดส่งออกหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1. สหรัฐอเมริกา 38.42
2. ญี่ปุ่น 36.55
3. อังกฤษ 2.96
4. ฝรั่งเศส 2.86
5. เยอรมัน 2.46
6. อื่นๆ 16.75
รวม 100.00
ที่มา: กรมศุลกากร
การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ (พันชิ้น) % เปลี่ยนแปลง มูลค่า (ล้านบาท) % เปลี่ยนแปลง
2538 210.55 -30.51 179.08 10.52
2539 146.32 5.80 197.91 -29.60
2540 138.31 -5.48 281.12 42.05
2541 122.64 -11.32 103.33 -63.24
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 45.80 201.83 58.03 16.74
ที่มา: กรมศุลกากร
ตลาดนำเข้าหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1. สหรัฐอเมริกา 18.94
2. จีน 13.39
3. ญี่ปุ่น 9.83
4. อิตาลี 9.32
5. เยอรมัน 2.98
6. อื่นๆ 45.54
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน) 42,48 ซ.โชคชัยจงจำเริญ ถ. พระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง
เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 295-1000-8 โทรสาร.
295-1009
บริษัท เอสดีพี อินเตอร์เทรด จำกัด 169/78-79 ถ.รัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ
10400 โทร. 276-9210-21 โทรสาร. 276-9222
บริษัท หรงเจี้ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 20/75 หมู่ 7 ถ.พุทธบูชา แขวงบางมด เขตจอมทอง
กรุงเทพฯ 10150 โทร.874-0019-20 โทรสาร. 427-2645
บริษัท ยูไนเต็ดแมชชินเนอร์ จำกัด 10, 20 ถ.หลานหลวง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบ
กรุงเทพฯ 10100 โทร. 282-7140-9 โทรสาร. 280-0433
บริษัท เฟอร์นิไลน์ จำกัด 202 หมู่ 6 ถ.รามคำแหง (สุขาภิบาล 3) แขวงสะพานสูง เขต
บึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 โทร.517-4461 โทรสาร. 517-5550
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง
1. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. กรมป่าไม้ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตแปรรูปไม้ทุก 2 ปี การดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตค้าสิ่งประดิษฐ์ทุก 1 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 561-4292-3
4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขออนุญาตดำเนินการเนื่องจากปัญหาด้านฝุ่นและด้านสี อันเกิดจากการแปรรูปไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอนามัย โทร. 591-8201
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1. สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือน (The Thai Furniture Industries Association) ตั้งอยู่เลขที่1267/3 ลาดพร้าว ซ. 35 ถ.ลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.513-6262-3 โทรสาร. 513-1082เป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องเรือน รวมถึงการแจ้งงานแสดงสินค้าที่จะจัดขึ้นในวาระต่างๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการสามารถสมัครสมาชิกได้ทั้งผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย โดยผู้ผลิตต้องมีใบประกอบโรงงาน 4 (ร.ง.4) และใบภาษีมูลค่าเพิ่ม 20 (ภพ. 20) ส่วนตัวแทนจำหน่ายต้องมีหนังสือรับรองหรือหลักฐานการประกอบกิจการ
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น 3 โซน D เลขที่60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.229-4255 โทรสาร. 229-4941-2 เป็นตัวแทนประสานงานระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล โดยทางสภาอุตสาหกรรมให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการและการแก้ไขปัญหาของสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาลู่ทางการค้าใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการจัดอบรมดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิก เป็นต้น ผู้ประกอบการสามารถสมัครเป็นสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ได้ โดยเป็นสมาชิกสามัญที่ประกอบด้วยนิติบุคคลที่มีใบ ร.ง. 4 ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และสมาคมการค้าประเภทอุตสาหกรรม หรือสมัครเป็นสมาชิกสมทบที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงงาน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออกโดยมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดและส่วนใหญ่ผลิตด้วยไม้ยางพาราประมาณร้อยละ 60 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ส่งออกทั้งหมด การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็ง (Hardwood) เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตประมาณร้อยละ 15 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ทั้งหมดซึ่งการผลิตส่วนใหญ่จะเน้นจำหน่ายในประเทศ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนส่วนใหญ่จะทำจากไม้ยางพารามากกว่าร้อยละ 80 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนทั้งหมด
ส่วนภาวะตลาดในประเทศในปี2542 และ 2543 คาดว่าจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องคาดว่ามูลค่าตลาดในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 ส่วนตลาดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 13.6 คาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ในปี 2543 โดยเฉพาะการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารายังสามารถขยายตัวได้ดีเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศเพียงพอ ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น จำนวนผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้มีทั้งสิ้นประมาณ 2,898 ราย โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม มีเพียงบางรายที่มีศักยภาพในการส่งออกซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ ส่วนช่องทางการจำหน่ายมีทั้งผู้ผลิตจำหน่ายโดยตรงจากโรงงานถึงมือผู้ซื้อ หรือการจำหน่ายโดยตรงผ่านตัวแทนที่ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป การจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ และการจัดงานเฟอร์นิเจอร์โชว์
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภทไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะนำเข้า ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนประเภทยางพาราส่วนใหญ่จะใช้ภายในประเทศ โดยมีกรรมวิธีการผลิตโดยย่อดังนี้ เริ่มจากการตัดไม้แบบหยาบโดยนำไม้แปรรูปที่อัดน้ำยาและอบแห้งแล้วนำมาตัดขนาดคร่าวๆไสไม้และขึ้นรูปไม้ตรง หลังจากนั้นนำไม้มาตัดขนาด เจาะรูเดือยและทำเดือย ประสานไม้โดยอัดประสานด้วยเครื่องอัดประสานให้เป็นแผ่นโดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อม ขัดให้เรียบและชุบน้ำยาเพื่อป้องกันมอดเจาะทำลายเนื้อไม้ หลังจากนั้นประกอบชิ้นส่วนและทำสี และตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า
กรณีการลงทุนขนาดผลิต 10,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 18 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเครื่องจักร รองลงมาได้แก่ค่าเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบ รองลงมาได้แก่แรงงาน ส่วนค่าโสหุ้ยการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นค่าไฟฟ้า นอกนั้นยังมีค่าดอกเบี้ยจ่ายในกรณีที่กู้ยืมเงินเพื่อใช้ในกิจการ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออกโดยมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดและส่วนใหญ่จะผลิตด้วยไม้ยางพาราประมาณร้อยละ 60 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ส่งออกทั้งหมด การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็ง มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของเฟอร์นิเจอร์ไม้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เน้นจำหน่ายภายในประเทศเป็นหลัก ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนส่วนใหญ่จะทำจากไม้ยางพารามากกว่าร้อยละ 80ของเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนทั้งหมด เนื่องจากมีการปลูกในเชิงพาณิชย์และปลูกทดแทนได้อย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังมีไม้ประเภทไม้ วีเนียร์และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้ออ่อนจะเน้นตลาดต่างประเทศเนื่องจากการลักษณะการผลิตทำง่ายกว่าไม้เนื้อแข็งและสามารถออกแบบได้หลากหลายโดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภทถอดประกอบได้ (Knock Down Furniture) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศและสามารถประหยัดเนื้อที่และต้นทุนการขนส่ง
ภาวะอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ในปี 2539 ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยตลาดในประเทศขยายตัวประมาณร้อยละ 10.9 เป็น 3,150 ล้านบาท ในขณะที่ภาวะการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ลดลงเหลือร้อยละ 5.4 เป็น 6,980 ล้านบาทจากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 13.7 ในปี 2538 ทั้งนี้เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดโดยเฉพาะในเรื่องของราคาที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทางด้านการนำเข้าในปี 2539 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.5 เป็น 197.9 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลดอัตราภาษีนำเข้าจากร้อยละ 60 เหลือร้อยละ 40 ในปี 2538 และความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในปี 2540-2541 ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูงเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลงประกอบกับความนิยมในการปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์มีไม่มากนักส่งผลให้มูลค่าตลาดในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเฉลี่ยร้อยละ 6 เป็น 3,345 และ 3,543 ล้านบาท ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับการส่งออกเพิ่มขึ้นและผลจากภาวะที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้มูลค่าส่งออกในปี 2540และ 2541 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และร้อยละ 35.1 คิดเป็นมูลค่า 8,353 และ 11,280 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนปริมาณนำเข้าลดลงในปี 2540 ร้อยละ 6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 เนื่องจากการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็งที่มีราคาสูงประกอบกับค่าเงินบาทที่ลอยตัว นอกจากนี้ยังมีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้สำเร็จรูปลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2540 อย่างไรก็ตามการนำเข้าในปี 2541ปรับลดลงทั้งด้านปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 11.3 และร้อยละ 63.2 คิดเป็นปริมาณ 45,800 ชิ้นและมูลค่า 58 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง
ส่วนภาวะตลาดในประเทศในปี 2542 และ 2543 คาดว่าจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องคาดว่ามูลค่าตลาดในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 ส่วนตลาดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 13.6 คาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ในปี 2543 โดยเฉพาะการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารายังสามารถขยายตัวได้ดีเนื่องจากมีวัตถุดิบในประเทศเพียงพอ ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
จำนวนผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้มีทั้งสิ้นประมาณ 2,898 ราย โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม มีเพียงบางรายที่มีศักยภาพในการส่งออกซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ เช่น บริษัท กลุ่มป่าไม้สันติ จำกัด บริษัท พาราวู้ด คอร์ปอเรชั่น (เวิลด์ไวด์) จำกัด บริษัท บางกอกอินเตอร์เฟิร์น จำกัด เครื่องหมายการค้า INDEX บริษัท อีสต์โคสท์ อุตสาหกรรม จำกัด เครื่องหมายการค้า EC เป็นต้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินลงทุน (บาท)
บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 600,000,000
บริษัท กลุ่มป่าไม้สันติ จำกัด 500,000,000
บริษัท ด๊อกเตอร์วูด จำกัด 350,000,000
บริษัท พาราวู้ด คอร์ปอเรชั่น (เวิลด์ไวด์) จำกัด 200,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท แฟนซีวู๊ดอินดัสตรีส จำกัด (มหาชน) 125,000,000
บริษัท ไทยมารูนิ จำกัด 100,000,000
บริษัท สินดีพาราวู้ด จำกัด 50,000,000
บริษัท เอส.พี.วี. เฟอร์นิเทค จำกัด 9,000,000
บริษัท วูดเทคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางการจำหน่ายได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. ผู้ผลิตจะจำหน่ายโดยตรงจากโรงงานถึงมือผู้ซื้อ แต่มักเป็นในกรณีที่ผู้ผลิตมีร้านค้าที่ใช้แสดงสินค้าเป็นของตนเอง
2. การจำหน่ายผ่านตัวแทนที่ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป
3. การจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่
4. การจัดงานเฟอร์นิเจอร์โชว์
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ประเภทไม้เนื้อแข็ง (Solid Wood)เช่น ไม้สัก ไม้ตะแบก ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนไม้เนื้ออ่อนประเภทไม้ยางพารามีจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากมีการปลูกในเชิงพาณิชย์และปลูกทดแทนอย่างต่อเนื่องในประเทศ รวมทั้งมีเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้อื่นๆ เช่น ไม้วีเนียร์ และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ บางส่วนก็ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอยู่สำหรับวัสดุที่ใช้ยึดชิ้นงาน ได้แก่ กาว ตะปูยิง เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !60
- วัตถุดิบในประเทศ !80
- วัตถุดิบนำเข้า !20
!2. ค่าแรงงาน !20
!3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ! 5
!4. ค่าโสหุ้ยการผลิต !15
!รวม !100!
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ!
กรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
ขั้นที่ 1 ตัดไม้แบบหยาบ โดยนำไม้แปรรูปที่อัดน้ำยาและอบแห้งแล้วนำมาตัดขนาดคร่าว ๆ
ขั้นที่ 2 ไสไม้และขึ้นรูปไม้ตรง นำไม้แปรรูปที่ตัดได้ขนาดเรียบร้อยแล้วนำมาทำการไสปรับหน้าให้เรียบร้อยและเป็นการปรับขนาดไม้ให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ต้องการแล้วจึงนำไปเข้าเครื่องไส
ขั้นที่ 3 ตัดขนาด เป็นการตัดขนาดตามแบบของชิ้นงานหลังจากที่ชิ้นงานได้ผ่านขั้นตอนการขึ้นรูป
ขั้นที่ 4 เจาะรูเดือยและทำเดือย โดยนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการตัดขนาดมาเจาะรูหรือทำเดือยเพื่อเป็นส่วนยึดกันระหว่างชิ้นงาน
ขั้นที่ 5 ประสานไม้ โดยนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการไสปรับหน้ามาอัดประสานด้วยเครื่องอัดประสานให้เป็นแผ่นโดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อม
ขั้นที่ 6 ขัดให้เรียบ โดยนำชิ้นงานมาขัดด้วยเครื่องขัดเพื่อรบลอยไสให้เรียบ
ขั้นที่ 7 ชุบน้ำยา ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ที่ทำเสร็จแล้วจะนำมาชุบน้ำยาเพื่อป้องกันมอดเจาะทำลายเนื้อไม้
ขั้นที่ 8 ประกอบ ชิ้นส่วนบางชิ้นจะต้องประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้โต๊ะประกอบซึ่งออกแบบตามความเหมาะสมของชิ้นงาน โดยใช้วัสดุที่ยึดชิ้นงาน ได้แก่ กาว ตะปูยิง เป็นต้น
ขั้นที่ 9 ทำสี โดยนำชิ้นงานที่ผ่านขั้นตอนการผลิตต่างๆ มาทำสีตามวิธีการตั้งแต่ อุดแต่ง ขัดผิวย้อมสี พ่นรองพื้น ขัดตกแต่งผิว พ่น เคลือบผิวหน้า โดยชิ้นงานจะผ่านขั้นตอนการผลิตตามระบบสายพานลำเลียง
ขั้นที่ 10 ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ
ขั้นตอนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
ตัดหยาบ
|
V
ไสไม้และตัดขนาด
|
V
ขึ้นรูป
|
V
เจาะรูและทำเดือย
|
V
ขัดให้เรียบ
|
V
ชุบน้ำยา
|
V
ทำสี
|
V
คัดคุณภาพ
|
V
บรรจุหีบห่อ
เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในธุรกิจการประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ ได้แก่ เครื่องไสไม้ เครื่องขัดไม้เครื่องเจาะไม้ เครื่องปัดทำความสะอาดไม้ เครื่องสูบลม สว่าน เลื่อยสายพานซอยไม้ แท่นผ่าไม้ เลื่อยวงเดือน หม้อไอน้ำและห้องอบไม้ เป็นต้นการลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนเนื่องจากจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง กรณีการลงทุนขนาดผลิต 10,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ตามประมาณการ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 18,000,000 บาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ค่าเช่า) 420,000 บาท
3. ค่าเครื่องจักร 4,500,000 บาท
4. ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า 400,000 บาท
5. เงินทุนหมุนเวียน 12,930,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ขนาดกลางใช้บุคลากรประมาณ 90 คน ประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 แรงงานช่างฝีมือ (ช่างไสไม้ ช่างขัดไม้ ช่างตัดไม้และช่างขึ้นรูปเฟอร์นิเจอร์) จำนวน 79 คน
1.2 พนักงานขับรถของบริษัท จำนวน 2 คน
2. พนักงานสำนักงาน จำนวน 7 คน
3. พนักงานบริหาร จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 18,800,000 บาทต่อปี
2 ต้นทุนแรงงาน 4,400,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 900,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 2,688,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 66,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 1,440,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 168,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ยานพาหนะ 960,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 54,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 1,620,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10-15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 10,000 ชิ้น ราคาเฉลี่ย 3,250 บาทต่อชิ้น คิดเป็นรายได้ราว 32.50 ล้านบาท
ภาคผนวก
การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ % เปลี่ยนแปลง มูลค่า % เปลี่ยนแปลง
(พันชิ้น) (ล้านบาท)
2538 16,364.44 23.79 6,624.25 13.79
2539 13,603.01 -16.87 6,980.05 5.37
2540 14,060.21 3.36 8,352.47 19.66
2541 19,347.43 37.60 11,279.97 35.05
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 9,228.64 7.40 5,830.30 13.55 ที่มา: กรมศุลกากร
ตลาดส่งออกหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1. สหรัฐอเมริกา 38.42
2. ญี่ปุ่น 36.55
3. อังกฤษ 2.96
4. ฝรั่งเศส 2.86
5. เยอรมัน 2.46
6. อื่นๆ 16.75
รวม 100.00
ที่มา: กรมศุลกากร
การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ (พันชิ้น) % เปลี่ยนแปลง มูลค่า (ล้านบาท) % เปลี่ยนแปลง
2538 210.55 -30.51 179.08 10.52
2539 146.32 5.80 197.91 -29.60
2540 138.31 -5.48 281.12 42.05
2541 122.64 -11.32 103.33 -63.24
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 45.80 201.83 58.03 16.74
ที่มา: กรมศุลกากร
ตลาดนำเข้าหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1. สหรัฐอเมริกา 18.94
2. จีน 13.39
3. ญี่ปุ่น 9.83
4. อิตาลี 9.32
5. เยอรมัน 2.98
6. อื่นๆ 45.54
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน) 42,48 ซ.โชคชัยจงจำเริญ ถ. พระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง
เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 295-1000-8 โทรสาร.
295-1009
บริษัท เอสดีพี อินเตอร์เทรด จำกัด 169/78-79 ถ.รัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ
10400 โทร. 276-9210-21 โทรสาร. 276-9222
บริษัท หรงเจี้ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 20/75 หมู่ 7 ถ.พุทธบูชา แขวงบางมด เขตจอมทอง
กรุงเทพฯ 10150 โทร.874-0019-20 โทรสาร. 427-2645
บริษัท ยูไนเต็ดแมชชินเนอร์ จำกัด 10, 20 ถ.หลานหลวง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบ
กรุงเทพฯ 10100 โทร. 282-7140-9 โทรสาร. 280-0433
บริษัท เฟอร์นิไลน์ จำกัด 202 หมู่ 6 ถ.รามคำแหง (สุขาภิบาล 3) แขวงสะพานสูง เขต
บึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 โทร.517-4461 โทรสาร. 517-5550
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง
1. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. กรมป่าไม้ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตแปรรูปไม้ทุก 2 ปี การดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตค้าสิ่งประดิษฐ์ทุก 1 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 561-4292-3
4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขออนุญาตดำเนินการเนื่องจากปัญหาด้านฝุ่นและด้านสี อันเกิดจากการแปรรูปไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอนามัย โทร. 591-8201
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1. สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือน (The Thai Furniture Industries Association) ตั้งอยู่เลขที่1267/3 ลาดพร้าว ซ. 35 ถ.ลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.513-6262-3 โทรสาร. 513-1082เป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องเรือน รวมถึงการแจ้งงานแสดงสินค้าที่จะจัดขึ้นในวาระต่างๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการสามารถสมัครสมาชิกได้ทั้งผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย โดยผู้ผลิตต้องมีใบประกอบโรงงาน 4 (ร.ง.4) และใบภาษีมูลค่าเพิ่ม 20 (ภพ. 20) ส่วนตัวแทนจำหน่ายต้องมีหนังสือรับรองหรือหลักฐานการประกอบกิจการ
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น 3 โซน D เลขที่60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.229-4255 โทรสาร. 229-4941-2 เป็นตัวแทนประสานงานระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล โดยทางสภาอุตสาหกรรมให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการและการแก้ไขปัญหาของสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาลู่ทางการค้าใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการจัดอบรมดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิก เป็นต้น ผู้ประกอบการสามารถสมัครเป็นสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ได้ โดยเป็นสมาชิกสามัญที่ประกอบด้วยนิติบุคคลที่มีใบ ร.ง. 4 ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และสมาคมการค้าประเภทอุตสาหกรรม หรือสมัครเป็นสมาชิกสมทบที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงงาน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--