กรุงเทพฯ--23 พ.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Summit) ครั้งที่ 4 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่4 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ณ โรงแรมแชงกรีลา โดยก่อนหน้าการประชุมดังกล่าวจะเป็นการประชุมเตรียมการในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 22 และ 23 พฤศจิกายน 2543 ตามลำดับ ประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) พิธีสารว่าด้วยการดำเนินการเพื่อไปตามระบบการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว(Protocol Regarding the Implementation of the CEPT Scheme Temporary Exclusion List) และการเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้นำอาเซียนจะลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนในวันที่ 24 พฤศจิกายน
2543 ซึ่งสาระสำคัญของกรอบความตกลงฯ คือ อาเซียนจะดำเนินมาตรการสำคัญ 5 ด้าน เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้
- การอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของอาเซียน
- การอำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน
- การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ICT รวมทั้งส่งเสริมให้มีการลงทุนในการผลิตสินค้าและการให้บริการด้าน ICT
- พัฒนาสังคม ICT ในอาเซียน และลดช่องว่างแห่งความก้าวหน้าด้าน ICT ภายในประเทศ และระหว่างประเทศสมาชิก
- ส่งเสริมการใช้ ICT ในการให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาล
? ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะลงนามในพิธีสารว่าด้วยการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามระบบการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า พิธีสาร TEL ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
- อนุญาตให้ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาอย่างแท้จริงสามารถชะลอ หรือระงับการให้ข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า สำหรับสินค้าในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (TEL) กลุ่มสุดท้ายของสินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรแปรรูปได้ในระยะเวลาอันจำกัดเป็นการชั่วคราว
- ประเทศสมาชิกที่ประสงค์จะดำเนินการดังกล่าวจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTACouncil)เกี่ยวกับรายการสินค้าและเหตุผลในการชะลอ/ระงับการให้ข้อลดหย่อน รวมทั้งปัญหาที่ประสบ
- ประเทศสมาชิกดังกล่าวจะต้องหารือสองฝ่ายกับประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างมาก และอย่างสำคัญ เพื่อเจรจาเรื่องการชดเชยผลประโยชน์ทดแทนทั้งนี้ หากไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ภายใน 180 วัน ประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องข้างต้นก็สามารถเพิกถอนข้อลดหย่อนที่ใกล้เคียงกันที่ให้แก่ประเทศที่ประสงค์จะชะลอ/ระงับการให้ข้อลดหย่อนได้
? เนื่องจากพิธีสารดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับทันทีที่มีการลงนาม และโดยที่มาเลเซียได้ชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์มาก่อนหน้านี้แล้ว ไทยจึงจะเสนอที่ประชุมให้ผลักดันมาเลเซียให้เริ่มดำเนินการในขั้นตอนการแจ้งโดยเร็ว ซึ่งอย่างช้าที่สุดไม่ควรเกินสิ้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ทั้งนี้ ไทยได้มีหนังสือขอนัดหมายมาเลเซียเพื่อเจรจาสองฝ่ายแล้ว ขณะนี้กำลังรอคำตอบจากมาเลเซีย
? สำหรับการเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการนั้น ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะได้หารือประเด็นสำคัญๆ เพื่อเสนอแนะต่อผู้นำให้พิจารณาสั่งการหรือตัดสินใจต่อไป ทั้งนี้ ในการประชุมผู้นำครั้งนี้ ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักไว้อย่างกว้าง ๆ ได้แก่
- สิ่งท้าทายอาเซียน โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
- อาเซียนจะตอบสนองต่อสิ่งท้าทายนั่นอย่างไร โดยเน้นในด้านการรวมกลุ่มอาเซียน การลดช่องว่างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเสริมสร้างความแข่งแกร่งของอาเซียน
? การประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Summit และ ASEAN+1 Summit)
การเกิดวิกฤติการณ์การเงินในอาเซียน กระตุ้นให้ประเทศในเอเซียตะวันออกตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมืออย่างใกล้ชิด และที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในเอเซียตะวันออก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นกรอบความร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น และมอบรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติงานความร่วมมือระหว่างกัน และรายงานต่อที่ประชุมผู้นำในเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ สิงคโปร์
? ที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 จะพิจารณาการกระชับความร่วมมือในเอเซียตะวันออก รวมทั้งแนวทางความร่วมมือของเอเซียตะวันออกในอนาคต
- ขณะนี้ ความร่วมมือของเอเซียตะวันออกในด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับรัฐมนตรีการค้าของจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (AEM+3) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตกลงให้จัดลำดับความสำคัญสาขาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ที่เห็นควรเริ่มดำเนินการก่อน 3 สาขาแรก จาก 10 สาขา โดยกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการภายใต้กรอบแผนงาน และมอบหมายให้ SEOM+3 พิจารณาคัดเลือกโครงการที่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนด และรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการต่อที่ประชุม AEM+3 ครั้งต่อไป ในช่วงการประชุม AEM Retreat เดือนพฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
- สำหรับแนวทางความร่วมมือของเอเซียตะวันออกในอนาคต จากรายงานผลการศึกษา
เบื้องต้นของกลุ่มวิสัยทัศน์ในเอเซียตะวันออก (East Asian Vision Group: EAVG) เห็นว่า มีความจำเป็นในการตั้งเขตการค้าเสรีในเอเซียตะวันออก การเชื่อมโยงการอำนวยความสะดวกการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาคและพหุภาคี และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้นำจะพิจารณาแนวทางการกระชับความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน
อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Summit) ครั้งที่ 4 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่4 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ณ โรงแรมแชงกรีลา โดยก่อนหน้าการประชุมดังกล่าวจะเป็นการประชุมเตรียมการในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 22 และ 23 พฤศจิกายน 2543 ตามลำดับ ประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) พิธีสารว่าด้วยการดำเนินการเพื่อไปตามระบบการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว(Protocol Regarding the Implementation of the CEPT Scheme Temporary Exclusion List) และการเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้นำอาเซียนจะลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนในวันที่ 24 พฤศจิกายน
2543 ซึ่งสาระสำคัญของกรอบความตกลงฯ คือ อาเซียนจะดำเนินมาตรการสำคัญ 5 ด้าน เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้
- การอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของอาเซียน
- การอำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน
- การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ICT รวมทั้งส่งเสริมให้มีการลงทุนในการผลิตสินค้าและการให้บริการด้าน ICT
- พัฒนาสังคม ICT ในอาเซียน และลดช่องว่างแห่งความก้าวหน้าด้าน ICT ภายในประเทศ และระหว่างประเทศสมาชิก
- ส่งเสริมการใช้ ICT ในการให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาล
? ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะลงนามในพิธีสารว่าด้วยการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามระบบการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า พิธีสาร TEL ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
- อนุญาตให้ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาอย่างแท้จริงสามารถชะลอ หรือระงับการให้ข้อลดหย่อนภายใต้อาฟต้า สำหรับสินค้าในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (TEL) กลุ่มสุดท้ายของสินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรแปรรูปได้ในระยะเวลาอันจำกัดเป็นการชั่วคราว
- ประเทศสมาชิกที่ประสงค์จะดำเนินการดังกล่าวจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTACouncil)เกี่ยวกับรายการสินค้าและเหตุผลในการชะลอ/ระงับการให้ข้อลดหย่อน รวมทั้งปัญหาที่ประสบ
- ประเทศสมาชิกดังกล่าวจะต้องหารือสองฝ่ายกับประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างมาก และอย่างสำคัญ เพื่อเจรจาเรื่องการชดเชยผลประโยชน์ทดแทนทั้งนี้ หากไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ภายใน 180 วัน ประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องข้างต้นก็สามารถเพิกถอนข้อลดหย่อนที่ใกล้เคียงกันที่ให้แก่ประเทศที่ประสงค์จะชะลอ/ระงับการให้ข้อลดหย่อนได้
? เนื่องจากพิธีสารดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับทันทีที่มีการลงนาม และโดยที่มาเลเซียได้ชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์มาก่อนหน้านี้แล้ว ไทยจึงจะเสนอที่ประชุมให้ผลักดันมาเลเซียให้เริ่มดำเนินการในขั้นตอนการแจ้งโดยเร็ว ซึ่งอย่างช้าที่สุดไม่ควรเกินสิ้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ทั้งนี้ ไทยได้มีหนังสือขอนัดหมายมาเลเซียเพื่อเจรจาสองฝ่ายแล้ว ขณะนี้กำลังรอคำตอบจากมาเลเซีย
? สำหรับการเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการนั้น ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะได้หารือประเด็นสำคัญๆ เพื่อเสนอแนะต่อผู้นำให้พิจารณาสั่งการหรือตัดสินใจต่อไป ทั้งนี้ ในการประชุมผู้นำครั้งนี้ ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักไว้อย่างกว้าง ๆ ได้แก่
- สิ่งท้าทายอาเซียน โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
- อาเซียนจะตอบสนองต่อสิ่งท้าทายนั่นอย่างไร โดยเน้นในด้านการรวมกลุ่มอาเซียน การลดช่องว่างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเสริมสร้างความแข่งแกร่งของอาเซียน
? การประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Summit และ ASEAN+1 Summit)
การเกิดวิกฤติการณ์การเงินในอาเซียน กระตุ้นให้ประเทศในเอเซียตะวันออกตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมืออย่างใกล้ชิด และที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในเอเซียตะวันออก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นกรอบความร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น และมอบรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติงานความร่วมมือระหว่างกัน และรายงานต่อที่ประชุมผู้นำในเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ สิงคโปร์
? ที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 จะพิจารณาการกระชับความร่วมมือในเอเซียตะวันออก รวมทั้งแนวทางความร่วมมือของเอเซียตะวันออกในอนาคต
- ขณะนี้ ความร่วมมือของเอเซียตะวันออกในด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับรัฐมนตรีการค้าของจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (AEM+3) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตกลงให้จัดลำดับความสำคัญสาขาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ที่เห็นควรเริ่มดำเนินการก่อน 3 สาขาแรก จาก 10 สาขา โดยกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการภายใต้กรอบแผนงาน และมอบหมายให้ SEOM+3 พิจารณาคัดเลือกโครงการที่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนด และรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการต่อที่ประชุม AEM+3 ครั้งต่อไป ในช่วงการประชุม AEM Retreat เดือนพฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
- สำหรับแนวทางความร่วมมือของเอเซียตะวันออกในอนาคต จากรายงานผลการศึกษา
เบื้องต้นของกลุ่มวิสัยทัศน์ในเอเซียตะวันออก (East Asian Vision Group: EAVG) เห็นว่า มีความจำเป็นในการตั้งเขตการค้าเสรีในเอเซียตะวันออก การเชื่อมโยงการอำนวยความสะดวกการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาคและพหุภาคี และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้นำจะพิจารณาแนวทางการกระชับความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน
อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--