แท็ก
ธปท.
ข่าวภายในประเทศ
1. ปริมาณธุรกรรมในตลาดอาร์พีเดือน ม.ค.44 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ธปท.เปิดเผยว่า ปริมาณธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ในเดือน ม.ค.44 มียอดเฉลี่ยประมาณ 4.2 หมื่น ล.บาทต่อวัน ลดลงจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 4.8 หมื่น ล.บาทในเดือน ธ.ค.43 ธุรกรรมส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในประเภท 1 วัน และ 14 วัน โดยเดือน ม.ค.สถาบันการเงินเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในระยะที่ยาวมากขึ้นในประเภท 1-3 เดือน ต่างจากช่วงเดือน ธ.ค.43 ซึ่งสถาบันการเงินกู้ยืมและลงทุนในระยะสั้นๆ ส่วนการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน และ 7 วัน อยู่ในช่วงร้อยละ 1-2.5 และ 1.25-2.125 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยอาร์พีประเภท 14 วัน ยังทรงตัวที่ร้อยละ 1.5 ตามมติของคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 ม.ค.44 (กรุงเทพธุรกิจ,แนวหน้า 7)
2. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ตัวเลขการปรับลดลงของเอ็นพีแอลปี 43 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตั้งข้อสังเกตเรื่องการปรับลดลงของเอ็นพีแอลปี 43 จำนวน 1.24 ล้านล้านบาทว่า ส่วนใหญ่เป็นผลจากทางบัญชี โดยร้อยละ 24 ของยอดลดสุทธิของเอ็นพีแอลเป็นผลมาจากการตัดหนี้สูญร้อยละ 36 เกิดจากการโอนหนี้ไปยังเอเอ็มซี และร้อยละ 32.2 เป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาระดับภาคธุรกิจพบว่า ภาคธุรกิจหลายประเภทมีสัดส่วนเอ็นพีแอลรายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระบบ โดยธุรกิจการส่งออกเป็นภาคที่น่ากังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นแรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลับมีแนวโน้มสัดส่วนเอ็นพีแอลรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 0.29 ในเดือน มิ.ย. 43 เป็นร้อยละ 0.31 และ 1.74 ในเดือน ก.ย.43 เดือน ธ.ค.43 ตามลำดับ สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่อาจมีอัตราการขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 4 นั้น จะทำให้มีปัญหาเอ็นพีแอลรายใหม่และปัญหาเอ็นพีแอลย้อนกลับรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนสร้างแรงกดดันต่อสถาบันการเงินในระบบตลอดปี 44 โดยหากมีการจัดตั้งเอเอ็มซีของรัฐบาลชุดใหม่ แต่พื้นฐานเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอ่อนแอ ปัญหาเสื่อมถอยของคุณภาพสินทรัพย์คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นเพียงการโอนปัญหาจากสถาบันการเงินไปไว้ที่เอเอ็มซีแห่งชาติเท่านั้น (ไทยรัฐ 7)
3. อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ประธานสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้มีแนวโน้มปรับลดลงอีก โดยปัจจัยภายในประเทศเกิดขึ้นจากภาวะสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังล้นระบบ เนื่องจากการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 43 ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ปี 44 ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังล่าช้า และอยู่ระหว่างการรอจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ สำหรับปัจจัยภายนอกคือ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับระบบธนาคารมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินประมาณ 500,000 ล.บาท ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากมีโอกาสปรับลดลงอีกร้อยละ 0.25 ในช่วงครึ่งแรกของปี 44 และทั้งปีไม่เกินร้อยละ 0.5 ที่ผ่านมาธนาคารยังไม่มีการเคลื่อนไหวปรับลดดอกเบี้ย เนื่องจากกระแสสังคมจะกดดันมิให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก เนื่องจากถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดแล้วปัจจุบัน (กรุงเทพธุรกิจ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีเพิ่มขึ้น 7,000 คน ในเดือน ม.ค.44 รายงานจาก Nuremberg เมื่อวันที่ 6 ก.พ.44 สำนักงานแรงงานแห่งชาติเยอรมนีรายงานว่า เดือน ม.ค.44 จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้น 7,000 คน อยู่ที่จำนวน 3.774 ล. คน ต่างจากที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลง 20,000 คน และเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน มี.ค.43 ที่จำนวนคนว่างงานหลังปรับปัจจัยฤดูกาลเพิ่มขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ กล่าวว่า การที่จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นผิดความคาดหมายของนักวิเคราะห์ไปมากเช่นนี้ มีสาเหตุมาจากสภาวะอากาศที่เลวร้ายผิดปกติในเดือนดังกล่าว สำหรับอัตราการว่างงานซึ่งคำนวณจากตัวเลขคนว่างงานก่อนปรับปัจจัยฤดูกาล เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 10.0 จากที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.3 ในเดือน ธ.ค.43 โดยจำนวนคนว่างงานก่อนปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นถึง 284,000 คน อยู่ที่จำนวน 4.093 ล.คน ทั้งนี้ จำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากดังกล่าวทำให้มีความกังวลกันว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีเริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. แต่รัฐบาลเยอรมนียังคงประมาณการเศรษฐกิจในปี 44 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.75 ซึ่งประธานสำนักงานฯ (นาย Bernhard Jagoda) กล่าวว่า เศรษฐกิจเยอรมนีที่ยังขยายตัวดีจะรักษาภาวะการจ้างงานให้โน้มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงขึ้น (รอยเตอร์ 6)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 6 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่เดือน มิ.ย. 43 และจากตัวเลขผลผลิตฯ ที่เพิ่มขึ้นกว่าที่คาดไว้ ทำให้นักสถิติปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 1.5 ขณะเดียวกัน ในเดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ ซึ่งรวมผลผลิตพลังงาน ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อปี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าจากรายงานครั้งนี้ ไม่น่าจะปิดกั้น ธ.กลางอังกฤษจากการคาดหมายว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในสัปดาห์นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลง รวมทั้งผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์ 6)
3. การลงทุนจากต่างประเทศของมาเลเซียเพิ่มขึ้นในปี 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 44 Rafidah Aziz รมว. อุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซีย กล่าวว่า ปี 43 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นมูลค่าถึง 33.5 พัน ล. ริงกิต ( 8.82 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) โดยเป็นการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 19.8 พัน ล. ริงกิต ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 60 จากมูลค่า 9 พัน ล. ริงกิตในปี42 อนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลขยายระยะเวลาการให้เสรีผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมบางประเภท จากเดือน ธ.ค. 43 เป็น เดือน ธ.ค. 46 ส่งผลให้มีการลงทุนเป็นจำนวนมากในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโดยรวมของมาเลเซีย (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.พ. 44 42.424 (42.473)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.พ. 44
ซื้อ 42.2380 (42.2338) ขาย 42.5536 (42.5482)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.91 (25.56)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. ปริมาณธุรกรรมในตลาดอาร์พีเดือน ม.ค.44 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ธปท.เปิดเผยว่า ปริมาณธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ในเดือน ม.ค.44 มียอดเฉลี่ยประมาณ 4.2 หมื่น ล.บาทต่อวัน ลดลงจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 4.8 หมื่น ล.บาทในเดือน ธ.ค.43 ธุรกรรมส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในประเภท 1 วัน และ 14 วัน โดยเดือน ม.ค.สถาบันการเงินเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในระยะที่ยาวมากขึ้นในประเภท 1-3 เดือน ต่างจากช่วงเดือน ธ.ค.43 ซึ่งสถาบันการเงินกู้ยืมและลงทุนในระยะสั้นๆ ส่วนการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน และ 7 วัน อยู่ในช่วงร้อยละ 1-2.5 และ 1.25-2.125 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยอาร์พีประเภท 14 วัน ยังทรงตัวที่ร้อยละ 1.5 ตามมติของคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 ม.ค.44 (กรุงเทพธุรกิจ,แนวหน้า 7)
2. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ตัวเลขการปรับลดลงของเอ็นพีแอลปี 43 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตั้งข้อสังเกตเรื่องการปรับลดลงของเอ็นพีแอลปี 43 จำนวน 1.24 ล้านล้านบาทว่า ส่วนใหญ่เป็นผลจากทางบัญชี โดยร้อยละ 24 ของยอดลดสุทธิของเอ็นพีแอลเป็นผลมาจากการตัดหนี้สูญร้อยละ 36 เกิดจากการโอนหนี้ไปยังเอเอ็มซี และร้อยละ 32.2 เป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาระดับภาคธุรกิจพบว่า ภาคธุรกิจหลายประเภทมีสัดส่วนเอ็นพีแอลรายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระบบ โดยธุรกิจการส่งออกเป็นภาคที่น่ากังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นแรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลับมีแนวโน้มสัดส่วนเอ็นพีแอลรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 0.29 ในเดือน มิ.ย. 43 เป็นร้อยละ 0.31 และ 1.74 ในเดือน ก.ย.43 เดือน ธ.ค.43 ตามลำดับ สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่อาจมีอัตราการขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 4 นั้น จะทำให้มีปัญหาเอ็นพีแอลรายใหม่และปัญหาเอ็นพีแอลย้อนกลับรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนสร้างแรงกดดันต่อสถาบันการเงินในระบบตลอดปี 44 โดยหากมีการจัดตั้งเอเอ็มซีของรัฐบาลชุดใหม่ แต่พื้นฐานเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอ่อนแอ ปัญหาเสื่อมถอยของคุณภาพสินทรัพย์คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นเพียงการโอนปัญหาจากสถาบันการเงินไปไว้ที่เอเอ็มซีแห่งชาติเท่านั้น (ไทยรัฐ 7)
3. อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ประธานสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้มีแนวโน้มปรับลดลงอีก โดยปัจจัยภายในประเทศเกิดขึ้นจากภาวะสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังล้นระบบ เนื่องจากการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 43 ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ปี 44 ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังล่าช้า และอยู่ระหว่างการรอจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ สำหรับปัจจัยภายนอกคือ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับระบบธนาคารมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินประมาณ 500,000 ล.บาท ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากมีโอกาสปรับลดลงอีกร้อยละ 0.25 ในช่วงครึ่งแรกของปี 44 และทั้งปีไม่เกินร้อยละ 0.5 ที่ผ่านมาธนาคารยังไม่มีการเคลื่อนไหวปรับลดดอกเบี้ย เนื่องจากกระแสสังคมจะกดดันมิให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก เนื่องจากถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดแล้วปัจจุบัน (กรุงเทพธุรกิจ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีเพิ่มขึ้น 7,000 คน ในเดือน ม.ค.44 รายงานจาก Nuremberg เมื่อวันที่ 6 ก.พ.44 สำนักงานแรงงานแห่งชาติเยอรมนีรายงานว่า เดือน ม.ค.44 จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้น 7,000 คน อยู่ที่จำนวน 3.774 ล. คน ต่างจากที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลง 20,000 คน และเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน มี.ค.43 ที่จำนวนคนว่างงานหลังปรับปัจจัยฤดูกาลเพิ่มขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ กล่าวว่า การที่จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นผิดความคาดหมายของนักวิเคราะห์ไปมากเช่นนี้ มีสาเหตุมาจากสภาวะอากาศที่เลวร้ายผิดปกติในเดือนดังกล่าว สำหรับอัตราการว่างงานซึ่งคำนวณจากตัวเลขคนว่างงานก่อนปรับปัจจัยฤดูกาล เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 10.0 จากที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.3 ในเดือน ธ.ค.43 โดยจำนวนคนว่างงานก่อนปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นถึง 284,000 คน อยู่ที่จำนวน 4.093 ล.คน ทั้งนี้ จำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากดังกล่าวทำให้มีความกังวลกันว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีเริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. แต่รัฐบาลเยอรมนียังคงประมาณการเศรษฐกิจในปี 44 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.75 ซึ่งประธานสำนักงานฯ (นาย Bernhard Jagoda) กล่าวว่า เศรษฐกิจเยอรมนีที่ยังขยายตัวดีจะรักษาภาวะการจ้างงานให้โน้มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงขึ้น (รอยเตอร์ 6)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 6 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่เดือน มิ.ย. 43 และจากตัวเลขผลผลิตฯ ที่เพิ่มขึ้นกว่าที่คาดไว้ ทำให้นักสถิติปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 1.5 ขณะเดียวกัน ในเดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ ซึ่งรวมผลผลิตพลังงาน ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน แต่ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อปี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าจากรายงานครั้งนี้ ไม่น่าจะปิดกั้น ธ.กลางอังกฤษจากการคาดหมายว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในสัปดาห์นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลง รวมทั้งผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์ 6)
3. การลงทุนจากต่างประเทศของมาเลเซียเพิ่มขึ้นในปี 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 44 Rafidah Aziz รมว. อุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซีย กล่าวว่า ปี 43 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นมูลค่าถึง 33.5 พัน ล. ริงกิต ( 8.82 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) โดยเป็นการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 19.8 พัน ล. ริงกิต ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 60 จากมูลค่า 9 พัน ล. ริงกิตในปี42 อนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลขยายระยะเวลาการให้เสรีผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมบางประเภท จากเดือน ธ.ค. 43 เป็น เดือน ธ.ค. 46 ส่งผลให้มีการลงทุนเป็นจำนวนมากในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโดยรวมของมาเลเซีย (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.พ. 44 42.424 (42.473)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.พ. 44
ซื้อ 42.2380 (42.2338) ขาย 42.5536 (42.5482)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.91 (25.56)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-