ความเป็นมา
นาย Mark Vaile รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของออสเตรเลียได้มีหนังสือถึงนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ออสเตรเลียได้เริ่มเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสิงคโปร์ และออสเตรเลียสนใจที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทั้งในแบบทวิภาคีและแบบหลายฝ่าย รวมทั้งการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้จัดทำรายงานการศึกษาเบื้องต้นเรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย จะเป็นประโยฃน์ต่อการค้าของไทยเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ดังนี้
1. ปัจจุบันไทยกับออสเตรเลียมีการค้าระหว่างกันปีละประมาณกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 2 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทยและออสเตรเลีย โดยวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ไทยเริ่มเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศทั้งสองมีโครงสร้างการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันซึ่งกันและกัน และมีโอกาสที่จะขยายการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
2. ไทยและออสเตรเลียมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดส่งออกของกันและกัน เนื่องจากไทยมีจำนวนประชากรที่มากกว่าออสเตรเลีย 40 ล้านคน ขณะที่ออสเตรเลียมีรายได้ประชาชาติต่อหัวที่สูงกว่าไทย 10 เท่าตัว
3. ไทยยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตร ขณะที่ออสเตรเลียมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าเกษตรหลายชนิดจากต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดสินค้าเกษตรเข้าไปในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
4. สินค้าที่ไทยนำเข้าจากออสเตรเลียส่วนมากเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อการส่งออก (เช่น ฝ้าย นมผง แร่ธาตุ และหนังดิบ เป็นต้น) การปรับลดภาษีจึงช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก
5. ไทยจะได้รับประโยชน์จากสินค้าหลายรายการของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก แต่ต้องประสบกับปัญหาอัตราภาษีนำเข้าของออสเตรเลียที่กำหนดไว้ค่อนข้างสูง (เช่น รถยนต์ และของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น)
6. การจัดทำเขตการคัาเสรีฯ จะช่วยผลักดันให้ออสเตรเลียผ่อนคลายมาตรการมิใช่ภาษี ที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย (เช่น ไก่ และผลไม้ เป็นต้น)
7. ในขณะที่ยังไม่มีความคืบหน้าของการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ภายใต้โครงการ AFTA-CER FTA การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย จะเป็นข้อได้เปรียบของไทยในการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
อย่างไรก็ตาม การจัดทำเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลีย มีประเด็นที่ควรพิจารณาและให้ความสำคัญ ประกอบด้วย
1) การให้ความสำคัญต่อประเด็นที่เกี่ยวกับมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะมาตรการด้านการนำเข้าสินค้าเกษตรของออสเตรเลีย ที่เป็นอุปสรรคต่อสินค้าของไทยในการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย
2) การปรับลดภาษีต้องไม่ต่ำกว่าการลดภาษีของไทยภายใต้ AFTA
3) ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างประเทศทั้งสอง ขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในรายละเอียด รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ถึงผลดีและผลเสียที่ครอบคลุมในทุกประเด็นของแต่ละประเทศ
4) การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างโอกาสด้านการค้าระหว่างกันให้เพิ่มขึ้น จึงควรดำเนินมาตรการอื่น ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันไปพร้อมกันด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
นาย Mark Vaile รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของออสเตรเลียได้มีหนังสือถึงนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ออสเตรเลียได้เริ่มเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสิงคโปร์ และออสเตรเลียสนใจที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทั้งในแบบทวิภาคีและแบบหลายฝ่าย รวมทั้งการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้จัดทำรายงานการศึกษาเบื้องต้นเรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย จะเป็นประโยฃน์ต่อการค้าของไทยเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ดังนี้
1. ปัจจุบันไทยกับออสเตรเลียมีการค้าระหว่างกันปีละประมาณกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 2 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทยและออสเตรเลีย โดยวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ไทยเริ่มเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศทั้งสองมีโครงสร้างการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันซึ่งกันและกัน และมีโอกาสที่จะขยายการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
2. ไทยและออสเตรเลียมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดส่งออกของกันและกัน เนื่องจากไทยมีจำนวนประชากรที่มากกว่าออสเตรเลีย 40 ล้านคน ขณะที่ออสเตรเลียมีรายได้ประชาชาติต่อหัวที่สูงกว่าไทย 10 เท่าตัว
3. ไทยยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตร ขณะที่ออสเตรเลียมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าเกษตรหลายชนิดจากต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดสินค้าเกษตรเข้าไปในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
4. สินค้าที่ไทยนำเข้าจากออสเตรเลียส่วนมากเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อการส่งออก (เช่น ฝ้าย นมผง แร่ธาตุ และหนังดิบ เป็นต้น) การปรับลดภาษีจึงช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก
5. ไทยจะได้รับประโยชน์จากสินค้าหลายรายการของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก แต่ต้องประสบกับปัญหาอัตราภาษีนำเข้าของออสเตรเลียที่กำหนดไว้ค่อนข้างสูง (เช่น รถยนต์ และของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น)
6. การจัดทำเขตการคัาเสรีฯ จะช่วยผลักดันให้ออสเตรเลียผ่อนคลายมาตรการมิใช่ภาษี ที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย (เช่น ไก่ และผลไม้ เป็นต้น)
7. ในขณะที่ยังไม่มีความคืบหน้าของการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ภายใต้โครงการ AFTA-CER FTA การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลีย จะเป็นข้อได้เปรียบของไทยในการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
อย่างไรก็ตาม การจัดทำเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลีย มีประเด็นที่ควรพิจารณาและให้ความสำคัญ ประกอบด้วย
1) การให้ความสำคัญต่อประเด็นที่เกี่ยวกับมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะมาตรการด้านการนำเข้าสินค้าเกษตรของออสเตรเลีย ที่เป็นอุปสรรคต่อสินค้าของไทยในการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย
2) การปรับลดภาษีต้องไม่ต่ำกว่าการลดภาษีของไทยภายใต้ AFTA
3) ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างประเทศทั้งสอง ขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในรายละเอียด รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ถึงผลดีและผลเสียที่ครอบคลุมในทุกประเด็นของแต่ละประเทศ
4) การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างโอกาสด้านการค้าระหว่างกันให้เพิ่มขึ้น จึงควรดำเนินมาตรการอื่น ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันไปพร้อมกันด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-