ภาวะเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจโลก จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2542 เป็น ร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา และยุโรป และการฟื้นตัวของภูมิภาคเอเชีย ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เทียบกับร้อยละ 5.1 ในปี 2542 เป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน และ การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศพัฒนาแล้ว
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2543 โดยญี่ปุ่นมีอัตราเงินเฟ้อ ติดลบร้อยละ 0.2 หลังจากที่ ติดลบร้อยละ 0.3 ในปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาคาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.6 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 6.2 ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการ ลดลงของอัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนา ในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นสำคัญ อย่างไร ก็ตาม คาดว่าราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลก จะปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต น้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวสูงขึ้นในปี 2543 โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 3 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และพฤษภาคม เป็นร้อยละ 5.75, 6.0 และ 6.5 ตามลำดับ เพื่อควบคุมการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับสหภาพยุโรปที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินร่วมกันคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินยูโรจะสูงขึ้นอยู่ในระดับร้อยละ 4.6 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากใน รูปสกุลเงินเยนคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงาน ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่าจะชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.3 ในปีก่อน เหลือร้อยละ 5.9 แต่อัตราการว่างงาน ในญี่ปุ่นจะสูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปีก่อนเป็น ร้อยละ 5.0 ในขณะที่อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.2 ในปีก่อนเหลือร้อยละ 4.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เศรษฐกิจโลก จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2542 เป็น ร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา และยุโรป และการฟื้นตัวของภูมิภาคเอเชีย ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เทียบกับร้อยละ 5.1 ในปี 2542 เป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน และ การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศพัฒนาแล้ว
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2543 โดยญี่ปุ่นมีอัตราเงินเฟ้อ ติดลบร้อยละ 0.2 หลังจากที่ ติดลบร้อยละ 0.3 ในปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาคาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.6 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 6.2 ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการ ลดลงของอัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนา ในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นสำคัญ อย่างไร ก็ตาม คาดว่าราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลก จะปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต น้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวสูงขึ้นในปี 2543 โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 3 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และพฤษภาคม เป็นร้อยละ 5.75, 6.0 และ 6.5 ตามลำดับ เพื่อควบคุมการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับสหภาพยุโรปที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินร่วมกันคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินยูโรจะสูงขึ้นอยู่ในระดับร้อยละ 4.6 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากใน รูปสกุลเงินเยนคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
อัตราการว่างงาน ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่าจะชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.3 ในปีก่อน เหลือร้อยละ 5.9 แต่อัตราการว่างงาน ในญี่ปุ่นจะสูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปีก่อนเป็น ร้อยละ 5.0 ในขณะที่อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.2 ในปีก่อนเหลือร้อยละ 4.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-