กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล” โดย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ชี้แจงสาระสำคัญของนโยบายต่างประเทศให้แก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ ดังนี้
1) การให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในหลาก หลายมิติ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความไว้วางใจระหว่างกัน
2) การเน้นการทูตเชิงรุกทางเศรษฐกิจ (economic diplomacy) อันเป็นนโยบายที่จับ ต้องได้เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน
3) นโยบายผูกพันก้าวหน้า (forward engagement) โดยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็ง รวมทั้งขยายความสัมพันธ์ในกรอบต่างๆ ให้กว้างยิ่งขึ้น โดยอาศัยกลไกและ แนวคิดใหม่ๆ เช่น การสร้าง Asia Cooperation Dialogue กับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เป็นต้น
4) สิทธิมนุษยชนกับนโยบายรัฐบาล โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับ สิทธิของชุมชน (community right) การปฏิรูปการศึกษา การแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมสิทธิในการพัฒนา (right to development)
5) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการต่าง ประเทศ (outreach program) การดำเนินงานที่สำคัญ เช่น จัดโครงการบัวแก้วสัญจร และยุวทูตความดี เป็นต้น
6) การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพและเอกภาพในการ ดำเนินการด้านต่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนการสร้างศักยภาพ (capacity building) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development) การขยายความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคต่างๆ การดำเนินงานและบทบาทของไทยในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ (Committee on Human Rights) การปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบราชการ ทีมไทยแลนด์ และ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในด้านต่างประเทศ
ในช่วงท้าย ที่ประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ตัวแทนจากภาครัฐ อาทิ ผู้แทนทางการค้าทั้งสามท่าน ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศวุฒิสภา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงแรงงานฯ รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ประชุมได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง
1) บทบาทและหน้าที่ของผู้แทนทางการค้าว่ามีหน้าที่หลักในการประสานนโยบาย ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
2) การดำเนินการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ (TAMC) และการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยมีความเชื่อมั่นว่า การจัดตั้ง TAMC จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
3) ทีมไทยแลนด์ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกประเทศมีการประสานงาน อย่างใกล้ชิด
4) การปรับกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยปรับกลุ่มเป้าหมายและให้คำนึงถึงนักท่องเที่ยว ที่มีกำลังซื้อ
5) สถานการณ์แรงงานไทย
6) การเปิดรับนักลงทุนจากต่างชาติ และการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-YK-
ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล” โดย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ชี้แจงสาระสำคัญของนโยบายต่างประเทศให้แก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ ดังนี้
1) การให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในหลาก หลายมิติ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและความไว้วางใจระหว่างกัน
2) การเน้นการทูตเชิงรุกทางเศรษฐกิจ (economic diplomacy) อันเป็นนโยบายที่จับ ต้องได้เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน
3) นโยบายผูกพันก้าวหน้า (forward engagement) โดยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็ง รวมทั้งขยายความสัมพันธ์ในกรอบต่างๆ ให้กว้างยิ่งขึ้น โดยอาศัยกลไกและ แนวคิดใหม่ๆ เช่น การสร้าง Asia Cooperation Dialogue กับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เป็นต้น
4) สิทธิมนุษยชนกับนโยบายรัฐบาล โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับ สิทธิของชุมชน (community right) การปฏิรูปการศึกษา การแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมสิทธิในการพัฒนา (right to development)
5) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการต่าง ประเทศ (outreach program) การดำเนินงานที่สำคัญ เช่น จัดโครงการบัวแก้วสัญจร และยุวทูตความดี เป็นต้น
6) การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพและเอกภาพในการ ดำเนินการด้านต่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนการสร้างศักยภาพ (capacity building) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development) การขยายความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคต่างๆ การดำเนินงานและบทบาทของไทยในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ (Committee on Human Rights) การปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบราชการ ทีมไทยแลนด์ และ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในด้านต่างประเทศ
ในช่วงท้าย ที่ประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ตัวแทนจากภาครัฐ อาทิ ผู้แทนทางการค้าทั้งสามท่าน ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศวุฒิสภา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงแรงงานฯ รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ประชุมได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง
1) บทบาทและหน้าที่ของผู้แทนทางการค้าว่ามีหน้าที่หลักในการประสานนโยบาย ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
2) การดำเนินการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ (TAMC) และการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยมีความเชื่อมั่นว่า การจัดตั้ง TAMC จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
3) ทีมไทยแลนด์ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกประเทศมีการประสานงาน อย่างใกล้ชิด
4) การปรับกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยปรับกลุ่มเป้าหมายและให้คำนึงถึงนักท่องเที่ยว ที่มีกำลังซื้อ
5) สถานการณ์แรงงานไทย
6) การเปิดรับนักลงทุนจากต่างชาติ และการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-YK-