บันทึกการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) (ต่อ)

ข่าวการเมือง Monday March 28, 2005 13:13 —รัฐสภา

๘.  นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ
รัฐบาลจะเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์มิให้ ผู้ใดล่วงละเมิดได้
รัฐบาลจะพัฒนาระบบการป้องกันประเทศตามแนวทางการป้องกันประเทศ
ที่ได้มาตรฐาน โดยการเสริมสร้างจิตสำนึก และนำภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ป้องกันประเทศ พัฒนาความพร้อมและความทันสมัยของกองทัพให้มีประสิทธิภาพและ
ความพร้อมในการรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และสนับสนุนภารกิจในการรักษาสันติภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ภายใต้กรอบของสหประชาชาติ ในขณะเดียวกันก็สนับสนุน กองทัพให้มีบทบาทในการร่วมพัฒนาประเทศมากขึ้น รวมทั้งจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน เพื่อให้มีความพร้อมต่อการเผชิญสถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ ทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติ
ในการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย รัฐบาลจะมุ่งการสกัดกั้นและป้องกันการเข้ามาใหม่ การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว และการ ปราบปรามการลักลอบเข้าเมืองอย่างเฉียบขาดโดยเฉพาะขบวนการที่มีผู้มีอิทธิพลสนับสนุน เพื่อลดขนาดและผลกระทบของปัญหาต่อความมั่นคงระยะยาวให้เหลือน้อยที่สุดควบคู่ไปกับการจัดการกับปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ยังไม่มีสถานภาพที่ชัดเจน และสร้าง คุณประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสมภายใต้ความสมดุลระหว่างการดูแล ด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน กับการรักษาความมั่นคงของชาติ
รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระดมทรัพยากร และ ปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งปวงตามหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และใช้กฎหมายอย่าง เคร่งครัด เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินขึ้นในพื้นที่ โดยเร็วที่สุด รวมทั้งมุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การสร้างความสมานฉันท์ ทั้งใน ระดับชาติและในระดับพื้นที่ การอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม การขจัดอิทธิพลอำนาจมืด การประพฤติทุจริตผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างเฉียบขาด ควบคู่ไปกับ การขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้อง กับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน ตลอดจนร่วมมือกับ
นานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อความไม่สงบบริเวณชายแดน
สถานการณ์ด้านความมั่นคงเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐบาลจะปฏิรูปงานด้านการข่าวกรองให้มี ประสิทธิภาพ ทั้งระบบข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง รวมถึงการสร้างความพร้อม ในการเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่เป็นภัยพิบัติขนาดใหญ่ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และ
การกระทำของมนุษย์โดยให้ความสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยระดับชาติและการบริหารวิกฤตการณ์ การเตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนองอย่างฉับไวต่อวิกฤตการณ์และการบริหาร จัดการเพื่อการบรรเทาและฟื้นฟูสาธารณภัยโดยเร็ว
๙. นโยบายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม รัฐธรรมนูญอย่างจริงจังมาโดยตลอด และได้รายงานความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรค
ให้รัฐสภาชุดที่แล้วทราบทุกปี ในช่วงสี่ปีต่อไป รัฐบาลก็ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ
ตามแนวนโยบายพื้นฐานดังกล่าวต่อไปอย่างจริงจัง โดยผสมผสานนโยบายของรัฐบาล
ที่กราบเรียนมาแล้วนี้ ให้สอดคล้องกับสาระในแต่ละมาตราในหมวด ๕ ว่าด้วยแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และจะรายงานให้รัฐสภาทราบ ความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคทุกปี เพื่อรับความเห็นที่ท่านสมาชิกทั้งหลายจะร่วมกัน แนะนำให้รัฐบาลนำไปปรับปรุงการดำเนินการให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
การกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่กล่าวมา ได้วางอยู่บนพื้นฐานข้อมูลตามความเป็นจริงของประเทศ และความต่อเนื่องกับเหตุการณ์
ที่ผ่านมา ตลอดจนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมใหม่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติประกอบด้วย
แผนนิติบัญญัติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ต่าง ๆ ไว้เป็นคู่มือและแนวทางการทำงานต่อไป
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม
การบริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมุ่งมั่น ที่จะบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมอารยประเทศ มีความเท่าเทียมกัน ในสังคมที่มีความสมดุลมากขึ้น และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทั้งนี้ โดยยึด ประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายจบแล้ว ประธานรัฐสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเรื่อง การกำหนดเวลาการอภิปรายจะใช้เวลาทั้งหมด ๓ วัน ๆ วันละ ๑๒ ชั่วโมง โดยมี สัดส่วนคือ คณะรัฐมนตรีตอบข้อซักถามต่าง ๆ ๖ ชั่วโมง สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกฝ่ายค้าน และสมาชิกฝ่ายรัฐบาล ใช้เวลาในการอภิปรายฝ่ายละ ๑๐ ชั่วโมง ยกเว้นหัวหน้าพรรค การเมืองให้อภิปรายได้โดยไม่จำกัดเวลา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อมา ประธานรัฐสภาได้อนุญาตให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และสมาชิกฯ อภิปรายซักถาม ตามลำดับ โดยมีประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม งง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภาจนได้เวลา พอสมควรแล้ว ประธานรัฐสภาได้สั่งเลื่อนการพิจารณาไปในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๘ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เลิกประชุมเวลา ๒๓.๐๓ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการรัฐสภา
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
ภาคผนวก ก
ร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีถือว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
___________________
๑. ร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
๒. ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
๓. ร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
๔. ร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
๕. ร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
___________________
ภาคผนวก ข
บัญชีหัวข้อนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี
เปรียบเทียบกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในหมวด ๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
___________________
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นโยบายของ
คณะรัฐมนตรี หน้า
มาตรา ๗๑
รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ๘. นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ ๒๔
มาตรา ๗๒
รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ ๘. นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ ๒๔-๒๕
มาตรา ๗๓
รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ๘
๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒๒
มาตรา ๗๔
รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ๕. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ๑๘-๒๐
๘. นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ ๒๔
มาตรา ๗๕
รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒๑-๒๒
๗. นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ๒๓
มาตรา ๗๖
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
๕. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ๒๐
๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒๑-๒๒
๗. นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ๒๓
มาตรา ๗๗
รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้าง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒๒
มาตรา ๗๘
รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและ
เท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒๑-๒๒
๗. นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ๒๓
มาตรา ๗๙
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ๑๓
๔. นโยบายบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๖-๑๗
มาตรา ๘๐
รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน
รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ ๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ๗-๑๑
มาตรา ๘๑
รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ๗-๑๑
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ๑๒
๗. นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ๒๓
มาตรา ๘๒
รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ๙
มาตรา ๘๓
รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่าง
เป็นธรรม ๑. นโยบายขจัดความยากจน ๖-๗
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ๑๑-๑๔
มาตรา ๘๔
รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม จัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร ๑. นโยบายขจัดความยากจน ๖-๗
๔. นโยบายบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๖
มาตรา ๘๕
รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์
๑. นโยบายขจัดความยากจน ๖
มาตรา ๘๖
รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็นธรรม ๑. นโยบายขจัดความยากจน ๗
๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ๘
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ๑๓
๕. นโยบายการ
ต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ๒๐
มาตรา ๘๗
รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค ๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ๑๐
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ๑๑-๑๖
๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒๒

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ