แท็ก
ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กระทรวงการต่างประเทศ
ประชาชาติ
เวียดนาม
ฮานอย
กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - อาเซียน ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม ระหว่างวันที่ 23 - 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 โดยมี ฯพณฯ นายเหวียน ซี เนียน รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วม การประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียน โดยมี ผู้แทนของปาปัวนิวกินี เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ และมี ผู้แทนขององค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (United NationsTransitional Administration in East Timor) เข้าร่วมในฐานะแขกรับเชิญของประเทศเจ้าภาพ ฯพณฯ นายฟาน วัน ขาย นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ สาระสำคัญของการประชุมฯ
1. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ทบทวนพัฒนาการในด้านการเมืองและความมั่นคงของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจซึ่งอาจมีผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตั้งรับทราบว่า แม้จะมีสิ่งที่อาจเป็นปัญหาท้าทายอยู่บ้าง แต่เชื่อว่า แนวโน้มของการมีสันติภาพ เสถียรภาพ และความร่วมมือ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ 2. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือในสิ่งที่กำลังท้าทายอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัตร และสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งอาจบั่นทอนความก้าวหน้าและการพัฒนาของอาเซียน
3. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเร่งกระชับความร่วมมือที่มีอยู่ เพื่อเสริมสร้างพลวัตและความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
4. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินการของ อาเซียนเพื่อให้สามารถแสวงประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตรและรับมือกับสิ่งท้าทายได้อย่างดี ที่สุด ซึ่งรวมถึงความจำเป็นในการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาและช่องว่างทางวิทยาการ (digital divide) รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือถึงความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความมั่นคง ในภูมิภาคมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน และกระชับความร่วมมือทั้งในระหว่างอาเซียนด้วยกันและระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ในโลก รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความเห็นร่วมกันว่า ประเทศสมาชิกของอาเซียนจะต้องสามารถธำรงความมั่นคง ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก เพื่อให้อาเซียนสามารถรับมือกับสิ่งที่ท้าทายเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้กล่าวย้ำถึง หลักการพื้นฐานของอาเซียน และความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายทั้งหลาย รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ยืนยันพันธกิจที่จะเร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action - HPA) เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2563 (ASEAN Vision 2020) สัมฤทธิผล การดำเนินการตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (INTIATIVE FOR ASEANINTEGRATION - IAI)
5. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพอใจที่เห็นว่ามีความคืบหน้าด้วยดีในการดำเนินการตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนตามที่ผู้นำของอาเซียนเสนอไว้ในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการที่ สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 และได้ชมเชยคณะทำงานของความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI Task Force) และคณะกรรมการประจำของอาเซียนที่ได้ริเริ่มการประสานงานและการดำเนินการตามความริเริ่มดังกล่าว ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนครั้งที่ 34 นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับรองปฏิญญาฮานอยว่าด้วยการลดช่องว่างระดับการพัฒนาเพื่อการรวมตัวอย่างใกล้ชิดของอาเซียน ซึ่งย้ำถึงพันธกรณีร่วมกันของอาเซียนที่จะ ดึงลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ให้เข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค และกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการดำเนินการกระบวนการที่สำคัญและเป็นกระบวนการในระยะยาวนี้ โดยได้จัดลำดับความสำคัญ 3 ด้านคือ โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้แสดงความชื่นชมต่อความช่วยเหลือที่ได้รับจากมิตรประเทศและหุ้นส่วนของอาเซียนในเรื่องการรวมตัวกันของอาเซียน และเชื่อมั่นว่าความคืบหน้าในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้าในภูมิภาคนี้
6. เพื่อเป็นการเสริมกับการให้ความช่วยเหลือในระดับทวิภาคีแก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม และเพื่อเป็นการแสวงหาแหล่งเงินสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาและแหล่งเงินสนับสนุนจากภายนอกรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกริเริ่มจัด "โครงการร่วมตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน" โดยกำหนดสาขาที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกตามที่ IAI Task Force ได้กำหนดไว้การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
7. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ย้ำถึงความสำคัญในการหารืออย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย ตลอดจนการเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจระหว่างกันเพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และหาแนวทางเพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายต่างๆ ข้างต้น ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นพ้องกันว่าควรจะมีการพบปะกันบ่อยขึ้นใน บรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งในระหว่างการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 เพื่อประสานท่าทีของอาเซียนในสหประชาชาติ
8. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งแยกออกจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตามปกติขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการใน ภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างตรงไปตรงมา และรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ย้ำถึงพันธกรณี ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งจะเพิ่มบทบาทในการเสริมสร้างความ มั่นคงในภูมิภาค
9. นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการที่ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 34 และได้หารือกันถึงทิศทางในอนาคตของอาเซียนและมาตรการที่จะส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและฝ่ายอื่นๆ
10. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบด้วยความชื่นชมว่า ไทยได้เสนอจะเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งต่อไปในไตรมาสแรกของ ปี 2545 ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
11. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนย้ำถึงความสำคัญของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation —TAC) ในฐานะที่เป็นกรอบ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันและระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศอื่นๆ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีที่พิธีสารฉบับที่ 2 ของสนธิสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ปาปัวนิวกินีได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับรองร่างระเบียบการประชุมสำหรับอัครมนตรีของสนธิสัญญาไมตรีฯ และย้ำข้อเรียกร้องของอาเซียนที่ให้ประเทศนอกภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหาอำนาจเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าว
12. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความยินดีต่อความคืบหน้าในการปฏิบัติตาม สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และย้ำถึงความสำคัญของการหารือโดยตรงระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ 5 ประเทศ รวมทั้งเห็นว่าการหารือดังกล่าวถือเป็นความคืบหน้าสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เข้าเป็นภาคีพิธีสารของสนธิสัญญา SEANWFZ ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความยินดีที่ประเทศ อาเซียนและประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ได้มีการหารือระหว่างกันโดยตรงเป็นครั้งแรกที่กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 และย้ำว่าอาเซียนจะสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งเรียกร้องให้มีการหารือกับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยังมีความยินดีที่ฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมในคณะกรรมาธิการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะสมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ เป็นครั้งแรกหลังจากที่ได้ยื่นสัตยาบันสารต่อสนธิสัญญา SEANWFZ แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7(ยังมีต่อ)
-อน-
รัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - อาเซียน ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม ระหว่างวันที่ 23 - 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 โดยมี ฯพณฯ นายเหวียน ซี เนียน รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วม การประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียน โดยมี ผู้แทนของปาปัวนิวกินี เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ และมี ผู้แทนขององค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (United NationsTransitional Administration in East Timor) เข้าร่วมในฐานะแขกรับเชิญของประเทศเจ้าภาพ ฯพณฯ นายฟาน วัน ขาย นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ สาระสำคัญของการประชุมฯ
1. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ทบทวนพัฒนาการในด้านการเมืองและความมั่นคงของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจซึ่งอาจมีผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตั้งรับทราบว่า แม้จะมีสิ่งที่อาจเป็นปัญหาท้าทายอยู่บ้าง แต่เชื่อว่า แนวโน้มของการมีสันติภาพ เสถียรภาพ และความร่วมมือ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ 2. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือในสิ่งที่กำลังท้าทายอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัตร และสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งอาจบั่นทอนความก้าวหน้าและการพัฒนาของอาเซียน
3. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเร่งกระชับความร่วมมือที่มีอยู่ เพื่อเสริมสร้างพลวัตและความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
4. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินการของ อาเซียนเพื่อให้สามารถแสวงประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตรและรับมือกับสิ่งท้าทายได้อย่างดี ที่สุด ซึ่งรวมถึงความจำเป็นในการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาและช่องว่างทางวิทยาการ (digital divide) รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือถึงความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความมั่นคง ในภูมิภาคมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน และกระชับความร่วมมือทั้งในระหว่างอาเซียนด้วยกันและระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ในโลก รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความเห็นร่วมกันว่า ประเทศสมาชิกของอาเซียนจะต้องสามารถธำรงความมั่นคง ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก เพื่อให้อาเซียนสามารถรับมือกับสิ่งที่ท้าทายเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้กล่าวย้ำถึง หลักการพื้นฐานของอาเซียน และความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายทั้งหลาย รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ยืนยันพันธกิจที่จะเร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action - HPA) เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2563 (ASEAN Vision 2020) สัมฤทธิผล การดำเนินการตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (INTIATIVE FOR ASEANINTEGRATION - IAI)
5. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพอใจที่เห็นว่ามีความคืบหน้าด้วยดีในการดำเนินการตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนตามที่ผู้นำของอาเซียนเสนอไว้ในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการที่ สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 และได้ชมเชยคณะทำงานของความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI Task Force) และคณะกรรมการประจำของอาเซียนที่ได้ริเริ่มการประสานงานและการดำเนินการตามความริเริ่มดังกล่าว ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนครั้งที่ 34 นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับรองปฏิญญาฮานอยว่าด้วยการลดช่องว่างระดับการพัฒนาเพื่อการรวมตัวอย่างใกล้ชิดของอาเซียน ซึ่งย้ำถึงพันธกรณีร่วมกันของอาเซียนที่จะ ดึงลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ให้เข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค และกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการดำเนินการกระบวนการที่สำคัญและเป็นกระบวนการในระยะยาวนี้ โดยได้จัดลำดับความสำคัญ 3 ด้านคือ โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้แสดงความชื่นชมต่อความช่วยเหลือที่ได้รับจากมิตรประเทศและหุ้นส่วนของอาเซียนในเรื่องการรวมตัวกันของอาเซียน และเชื่อมั่นว่าความคืบหน้าในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้าในภูมิภาคนี้
6. เพื่อเป็นการเสริมกับการให้ความช่วยเหลือในระดับทวิภาคีแก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม และเพื่อเป็นการแสวงหาแหล่งเงินสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาและแหล่งเงินสนับสนุนจากภายนอกรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกริเริ่มจัด "โครงการร่วมตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน" โดยกำหนดสาขาที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกตามที่ IAI Task Force ได้กำหนดไว้การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
7. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ย้ำถึงความสำคัญในการหารืออย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย ตลอดจนการเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจระหว่างกันเพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และหาแนวทางเพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายต่างๆ ข้างต้น ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นพ้องกันว่าควรจะมีการพบปะกันบ่อยขึ้นใน บรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งในระหว่างการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 เพื่อประสานท่าทีของอาเซียนในสหประชาชาติ
8. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งแยกออกจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตามปกติขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการใน ภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างตรงไปตรงมา และรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ย้ำถึงพันธกรณี ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งจะเพิ่มบทบาทในการเสริมสร้างความ มั่นคงในภูมิภาค
9. นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการที่ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 34 และได้หารือกันถึงทิศทางในอนาคตของอาเซียนและมาตรการที่จะส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและฝ่ายอื่นๆ
10. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบด้วยความชื่นชมว่า ไทยได้เสนอจะเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งต่อไปในไตรมาสแรกของ ปี 2545 ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
11. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนย้ำถึงความสำคัญของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation —TAC) ในฐานะที่เป็นกรอบ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันและระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศอื่นๆ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีที่พิธีสารฉบับที่ 2 ของสนธิสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ปาปัวนิวกินีได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับรองร่างระเบียบการประชุมสำหรับอัครมนตรีของสนธิสัญญาไมตรีฯ และย้ำข้อเรียกร้องของอาเซียนที่ให้ประเทศนอกภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหาอำนาจเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าว
12. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความยินดีต่อความคืบหน้าในการปฏิบัติตาม สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และย้ำถึงความสำคัญของการหารือโดยตรงระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ 5 ประเทศ รวมทั้งเห็นว่าการหารือดังกล่าวถือเป็นความคืบหน้าสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เข้าเป็นภาคีพิธีสารของสนธิสัญญา SEANWFZ ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความยินดีที่ประเทศ อาเซียนและประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ได้มีการหารือระหว่างกันโดยตรงเป็นครั้งแรกที่กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 และย้ำว่าอาเซียนจะสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งเรียกร้องให้มีการหารือกับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยังมีความยินดีที่ฟิลิปปินส์ได้เข้าร่วมในคณะกรรมาธิการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะสมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ เป็นครั้งแรกหลังจากที่ได้ยื่นสัตยาบันสารต่อสนธิสัญญา SEANWFZ แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7(ยังมีต่อ)
-อน-