บทนำ
การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงประเทศหนึ่งในภูมิภาค ดังจะเห็นได้จากการส่งออกของไทย ในปี 2540 มีมูลค่าสูงถึง 58,325 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ศักยภาพการแข่งขันของประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบลดลง อันได้แก่ ความได้เปรียบทางด้านแรงงาน และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับโครงสร้างการส่งออกของไทย พึ่งพาตลาดหลักที่สำคัญไม่กี่ตลาด ได้แก่ อาเซียน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยส่วนแบ่งตลาดและลำดับการส่งออกของไทยในตลาดโลกเริ่มลดลงจากที่เคยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.13 และอยู่ในลำดับที่ 21 ในปี 2538 ได้ปรับลดเหลือส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.06 มาอยู่ในลำดับที่ 23 ในปี 2540
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สถานการณ์ทางการค้าและเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความพยายามในการเปิดเสรีการค้าในตลาดโลก มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เพื่อรักษาผลประโยชน์และสร้างอำนาจต่อรองทางการค้า การแข่งขันในตลาดโลกทวีความรุนแรงและเข้มข้นขึ้น ทำให้แต่ละประเทศรวมทั้งไทยต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
การบริหารการจัดการ
ในภาพรวม กระแสโลกาภิวัฒน์เป็นพลังผลักดันทั้งภายในประเทศและระดับโลก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในโลกพยายามหาแนวทางรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันระยะยาว วางแนวทางการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และจุดประสงค์ (Purpose) เพราะหากปราศจากวิสัยทัศน์ทางการแข่งขันที่ชัดเจนในอนาคต จะส่งผลให้ประเทศเสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศและความสามารถทางการแข่งขันลดลง
การบริหารการจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกยุคใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายการแข่งขัน เพื่อสร้างขีดความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขัน อันจะเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินการที่ชัดเจนในอนาคต
ระบบการบริหารการจัดการที่ดี จะต้องกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หลักการที่ดี ดังนี้
S : Specific ความชัดเจน
M : Measurable สามารถวัดได้
A : Agreed Upon เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
R : Realistic ความเป็นไปได้
T : Time Earned มีกำหนดระยะเวลา
หลักการบริหารการจัดการที่ดี
ระยะเริ่มต้น (New Venture) เป็นช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่ตลาด การดำเนินการในระยะนี้ คือการกำหนดตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระยะการขยายตัว (Expansion) ระยะนี้เป็นช่วงที่เริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีระบบการทำงานที่เป็นพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวทั้งด้านบุคลากร เงินทุน และอื่นๆ ระยะเข้าสู่การบริหารแบบอาชีพ (Professionalization) เป็นระยะของการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เป็นทางการมากขึ้น ตั้งแต่การวางแผน การจัดสายงาน การปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินการ และการควบคุม ระยะก้าวเข้าสู่ความมั่นคง (Consolidation) งานที่ต้องดำเนินการในระยะนี้ คือการกำหนดวัฒนธรรมขององค์กร (Corporate Culture) เพื่อให้บุคลากรทุกรุ่น ทั้งคนเก่า คนใหม่ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติแนวทางการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของปัญหา ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ และจัดลำดับความสำคัญ ศึกษา จุดเด่นและจุดด้อยของสินค้าทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งความพร้อมของข้อมูลข่าวสาร โดยการปรับปรุงระบบสารสนเทศ ให้มีความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผนและการจัดการให้มากที่สุด กำหนดแผนการดำเนินงาน เป้าหมาย การผลิตและการตลาดให้ชัดเจน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต วิเคราะห์ความต้องการของตลาด เพื่อทราบทิศทางว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด เพื่อเตรียมความพร้อมและหาแนวทางและมาตรการรองรับที่ชัดเจน วิเคราะห์สถานภาพการแข่งขัน ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยพิจารณาจากปริมาณการผลิต คุณภาพ และต้นทุนการผลิต เพื่อจะได้มีการวางแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนการดำเนินงานจากการคาดการณ์ โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารการจัดการ ให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจนั้นๆ จัดทำกระบวนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่กำหนดขึ้นการวิเคราะห์
ในการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของปัญหาให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนการดำเนินงาน และหาแนวทางและมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน ดังนี้
สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมทั่วๆไป ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอกในด้านใดบ้างที่มีผลต่อการผลิต รวมทั้งก่อให้เกิดโอกาสและข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคในอนาคต สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคและข้อจำกัดในการผลิต/การแข่งขัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต วงจรชีวิตสินค้า และลักษณะการแข่งขัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสภาพแวดล้อมภายใน โครงสร้างการผลิต มีลักษณะอย่างไร มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตหรือไม่ กระบวนการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งแล้วเป็นอย่างไร ในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ผลผลิต และต้นทุนการผลิต การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ (Utilization) รวมทั้งผลิตผลของเครื่องจักร (Productivity) ระบบการควบคุมคุณภาพ รวมทั้งระบบการควบคุมสินค้า สอดคล้องและได้มาตรฐานหรือไม่ ความสามารถด้านการตลาด ทั้งในตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ เนื่องจากจะช่วยให้มีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน ความสามารถด้านเทคโนโลยี มีการวิจัยเพื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขัน การบริหารด้านทรัพยากรบุคคล การพัฒนาระบบข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลของคู่แข่งกลยุทธ์และมาตรการในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
บทบาทของรัฐ ในการกำหนดวิสัยทัศน์
กำหนดนโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณอย่างเหมาะสม เพื่อวาง รากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างรากฐานให้แข็งแกร่ง กระตุ้นการผลิต โดยการยกระดับการผลิต (Upgrading) หรือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความลึกมากขึ้น (Vertical Integrated Structure) เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และมีการผลิตที่ครบวงจรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รัฐควรมีบทบาทเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีอนาคตดีกว่า และมีมูลค่าเพิ่มสูง หรืออุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น และมีการผลิตที่ครบวงจรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
บทบาทของรัฐในการให้การสนับสนุนภาคการเงินและการคลัง
นโยบายด้านต้นทุนทางการเงิน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งของไทย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ รัฐจึงควรสนับสนุนด้านการผลิต โดยการดำเนินนโยบายด้านต้นทุนการเงิน ได้แก่ ลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเมื่อผ่านธนาคารทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การดำเนินนโยบายแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องมีเสถียรภาพไม่ผันผวนมากเกินไป นโยบายด้านภาษี รัฐควรเร่งปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรของแต่ละอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกันอย่างครบวงจร ตั้งแต่ภาษีวัตถุดิบจนถึงสินค้าสำเร็จรูปบทบาทของรัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีนโยบายส่งเสริมการผลิต และการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยพัฒนาสินค้าไทยให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน สนับสนุนการวิจัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งช่วยให้มีการพัฒนาการผลิตหรือผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น วางแผนการผลิตและการตลาดให้ชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขันการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย การสร้างชื่อและเครื่องหมายการค้า (Trademark) ของสินค้าไทย จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้า นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดการวิจัยและพัฒนารูปแบบของสินค้าด้วยกำหนดเป้าหมายและจุดยืนทางการตลาด (Marketing Target and Positioning)ให้ชัดเจน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนไป เพราะจุดยืนจะช่วยกำหนดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย การนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าตรงกับความต้องการของตลาดและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และต้นทุนต่ำ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) แทนอุตสาหกรรมประกอบ (Assembly Industry) จะช่วยให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลาย (Diversification) และมีการผลิตตามหลักการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการเก็บรักษาให้ยาวนาน สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการผลิต ให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อลดภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นบทสรุป
ภายใต้สถานการณ์ทางการค้าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องเตรียมความพร้อมและหาแนวทางการปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยการสร้างปัจจัยพื้นฐานทางการผลิตให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ดังนั้น การมีระบบการจัดการที่ดีจะช่วยให้มีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการพัฒนา เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดและให้ได้ต้นทุนต่ำที่สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยระบบการบริหารการจัดการ มาช่วยในการวางแผนและกำหนดแนวทางการผลิต และกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นที่เชื่อถือได้ เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ทางการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การมีระบบการบริหารการจัดการที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การตลาด ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ควรอยู่บนพื้นฐานของแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการปรับโครงสร้างการผลิต ให้เหมาะสมกับสภาพความสมบูรณ์ของทรัพยากร และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต
* สรุปและเรียบเรียงจาก Framework for the Management of Technology : Drejer, A(1996) และ Chulalongkorn Review ฉบับที่ 120
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงประเทศหนึ่งในภูมิภาค ดังจะเห็นได้จากการส่งออกของไทย ในปี 2540 มีมูลค่าสูงถึง 58,325 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ศักยภาพการแข่งขันของประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบลดลง อันได้แก่ ความได้เปรียบทางด้านแรงงาน และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับโครงสร้างการส่งออกของไทย พึ่งพาตลาดหลักที่สำคัญไม่กี่ตลาด ได้แก่ อาเซียน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 72 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยส่วนแบ่งตลาดและลำดับการส่งออกของไทยในตลาดโลกเริ่มลดลงจากที่เคยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.13 และอยู่ในลำดับที่ 21 ในปี 2538 ได้ปรับลดเหลือส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.06 มาอยู่ในลำดับที่ 23 ในปี 2540
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สถานการณ์ทางการค้าและเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความพยายามในการเปิดเสรีการค้าในตลาดโลก มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เพื่อรักษาผลประโยชน์และสร้างอำนาจต่อรองทางการค้า การแข่งขันในตลาดโลกทวีความรุนแรงและเข้มข้นขึ้น ทำให้แต่ละประเทศรวมทั้งไทยต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
การบริหารการจัดการ
ในภาพรวม กระแสโลกาภิวัฒน์เป็นพลังผลักดันทั้งภายในประเทศและระดับโลก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในโลกพยายามหาแนวทางรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันระยะยาว วางแนวทางการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และจุดประสงค์ (Purpose) เพราะหากปราศจากวิสัยทัศน์ทางการแข่งขันที่ชัดเจนในอนาคต จะส่งผลให้ประเทศเสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศและความสามารถทางการแข่งขันลดลง
การบริหารการจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกยุคใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายการแข่งขัน เพื่อสร้างขีดความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขัน อันจะเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินการที่ชัดเจนในอนาคต
ระบบการบริหารการจัดการที่ดี จะต้องกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หลักการที่ดี ดังนี้
S : Specific ความชัดเจน
M : Measurable สามารถวัดได้
A : Agreed Upon เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
R : Realistic ความเป็นไปได้
T : Time Earned มีกำหนดระยะเวลา
หลักการบริหารการจัดการที่ดี
ระยะเริ่มต้น (New Venture) เป็นช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่ตลาด การดำเนินการในระยะนี้ คือการกำหนดตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระยะการขยายตัว (Expansion) ระยะนี้เป็นช่วงที่เริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีระบบการทำงานที่เป็นพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวทั้งด้านบุคลากร เงินทุน และอื่นๆ ระยะเข้าสู่การบริหารแบบอาชีพ (Professionalization) เป็นระยะของการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เป็นทางการมากขึ้น ตั้งแต่การวางแผน การจัดสายงาน การปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินการ และการควบคุม ระยะก้าวเข้าสู่ความมั่นคง (Consolidation) งานที่ต้องดำเนินการในระยะนี้ คือการกำหนดวัฒนธรรมขององค์กร (Corporate Culture) เพื่อให้บุคลากรทุกรุ่น ทั้งคนเก่า คนใหม่ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติแนวทางการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของปัญหา ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ และจัดลำดับความสำคัญ ศึกษา จุดเด่นและจุดด้อยของสินค้าทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งความพร้อมของข้อมูลข่าวสาร โดยการปรับปรุงระบบสารสนเทศ ให้มีความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผนและการจัดการให้มากที่สุด กำหนดแผนการดำเนินงาน เป้าหมาย การผลิตและการตลาดให้ชัดเจน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต วิเคราะห์ความต้องการของตลาด เพื่อทราบทิศทางว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด เพื่อเตรียมความพร้อมและหาแนวทางและมาตรการรองรับที่ชัดเจน วิเคราะห์สถานภาพการแข่งขัน ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยพิจารณาจากปริมาณการผลิต คุณภาพ และต้นทุนการผลิต เพื่อจะได้มีการวางแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนการดำเนินงานจากการคาดการณ์ โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารการจัดการ ให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจนั้นๆ จัดทำกระบวนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่กำหนดขึ้นการวิเคราะห์
ในการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของปัญหาให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนการดำเนินงาน และหาแนวทางและมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน ดังนี้
สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมทั่วๆไป ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอกในด้านใดบ้างที่มีผลต่อการผลิต รวมทั้งก่อให้เกิดโอกาสและข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคในอนาคต สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคและข้อจำกัดในการผลิต/การแข่งขัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต วงจรชีวิตสินค้า และลักษณะการแข่งขัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสภาพแวดล้อมภายใน โครงสร้างการผลิต มีลักษณะอย่างไร มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตหรือไม่ กระบวนการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งแล้วเป็นอย่างไร ในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ผลผลิต และต้นทุนการผลิต การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ (Utilization) รวมทั้งผลิตผลของเครื่องจักร (Productivity) ระบบการควบคุมคุณภาพ รวมทั้งระบบการควบคุมสินค้า สอดคล้องและได้มาตรฐานหรือไม่ ความสามารถด้านการตลาด ทั้งในตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ เนื่องจากจะช่วยให้มีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน ความสามารถด้านเทคโนโลยี มีการวิจัยเพื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขัน การบริหารด้านทรัพยากรบุคคล การพัฒนาระบบข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลของคู่แข่งกลยุทธ์และมาตรการในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
บทบาทของรัฐ ในการกำหนดวิสัยทัศน์
กำหนดนโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณอย่างเหมาะสม เพื่อวาง รากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างรากฐานให้แข็งแกร่ง กระตุ้นการผลิต โดยการยกระดับการผลิต (Upgrading) หรือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความลึกมากขึ้น (Vertical Integrated Structure) เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และมีการผลิตที่ครบวงจรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รัฐควรมีบทบาทเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีอนาคตดีกว่า และมีมูลค่าเพิ่มสูง หรืออุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น และมีการผลิตที่ครบวงจรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
บทบาทของรัฐในการให้การสนับสนุนภาคการเงินและการคลัง
นโยบายด้านต้นทุนทางการเงิน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งของไทย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ รัฐจึงควรสนับสนุนด้านการผลิต โดยการดำเนินนโยบายด้านต้นทุนการเงิน ได้แก่ ลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเมื่อผ่านธนาคารทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การดำเนินนโยบายแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องมีเสถียรภาพไม่ผันผวนมากเกินไป นโยบายด้านภาษี รัฐควรเร่งปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรของแต่ละอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกันอย่างครบวงจร ตั้งแต่ภาษีวัตถุดิบจนถึงสินค้าสำเร็จรูปบทบาทของรัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีนโยบายส่งเสริมการผลิต และการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยพัฒนาสินค้าไทยให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน สนับสนุนการวิจัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งช่วยให้มีการพัฒนาการผลิตหรือผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น วางแผนการผลิตและการตลาดให้ชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขันการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย การสร้างชื่อและเครื่องหมายการค้า (Trademark) ของสินค้าไทย จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้า นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิดการวิจัยและพัฒนารูปแบบของสินค้าด้วยกำหนดเป้าหมายและจุดยืนทางการตลาด (Marketing Target and Positioning)ให้ชัดเจน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนไป เพราะจุดยืนจะช่วยกำหนดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย การนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าตรงกับความต้องการของตลาดและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และต้นทุนต่ำ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) แทนอุตสาหกรรมประกอบ (Assembly Industry) จะช่วยให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลาย (Diversification) และมีการผลิตตามหลักการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการเก็บรักษาให้ยาวนาน สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการผลิต ให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อลดภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นบทสรุป
ภายใต้สถานการณ์ทางการค้าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องเตรียมความพร้อมและหาแนวทางการปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยการสร้างปัจจัยพื้นฐานทางการผลิตให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ดังนั้น การมีระบบการจัดการที่ดีจะช่วยให้มีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการพัฒนา เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดและให้ได้ต้นทุนต่ำที่สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยระบบการบริหารการจัดการ มาช่วยในการวางแผนและกำหนดแนวทางการผลิต และกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นที่เชื่อถือได้ เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ทางการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การมีระบบการบริหารการจัดการที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การตลาด ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ควรอยู่บนพื้นฐานของแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการปรับโครงสร้างการผลิต ให้เหมาะสมกับสภาพความสมบูรณ์ของทรัพยากร และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต
* สรุปและเรียบเรียงจาก Framework for the Management of Technology : Drejer, A(1996) และ Chulalongkorn Review ฉบับที่ 120
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-