สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้พฤษภาคม 2544

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 6, 2001 17:24 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ เดือนพฤษภาคมขยายตัวขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนและเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากผลผลิตพืชผล
การเกษตร ประมง อุตสาหกรรม ต่อเนื่อง การก่อสร้างและการค้ายานพาหนะขยายตัว ประกอบกับการส่งออกขยายตัวดี โดยเฉพาะสินค้า
อุตสาหกรรมอาหารทะเล ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณทรงตัว แต่อย่างไรก็ตามดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงคือร้อยละ 3.4
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวนรวม 29,197.2
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 เป็นเงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทน ธปท. (เงินสดรับ) จำนวน 14,746.9
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.4 ส่วนปริมาณ เงินสดซึ่งสาขาธนาคารพาณิชย์ขอเบิกจากผู้แทน ธปท. (เงินสดจ่าย)มีจำนวน
14,450.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.1
ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวน 12,203.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.3
การใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีในเดือนพฤษภาคมมีจำนวนรวม 423,667 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 35,225.0 ล้านบาท เทียบกับ
เดือนเดียวกันปีก่อนจำนวนลดลงร้อยละ 0.7 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
และร้อยละ 13.5 ตามลำดับ ส่วนสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน ต่อเช็ครับเข้ารวมในเดือนพฤษภาคมเท่ากับร้อยละ 1.4 สูงกว่าร้อยละ 1.3
เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อนแต่เท่ากับเมื่อเดือนก่อน
ทางด้านการให้บริการสินเชื่อของ ธ.ก.ส. ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็น การช่วยสนับสนุนผู้ผลิตในภาคเกษตร โดยในเดือนนี้มี
จำนวน1,394.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ให้สินเชื่อ เพื่อการส่งออกจำนวน829.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียว
กันปีก่อนร้อยละ 54.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนค่อนข้างมากคือร้อยละ 24.0
ภาคการคลัง
ในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 6,741.2 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจาก
จำนวน 5,664.4 ล้านบาท เมื่อเดือนก่อนร้อยละ 19.0 เพราะมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น
ส่วนทางด้านรายได้ในเดือนนี้จัดเก็บได้ 1,465.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 ทั้งนี้จัดเก็บภาษีสรรพากรได้
1,276.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เนื่องจากจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 587.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เป็นสำคัญ ส่วนภาษีมูลค่า
เพิ่มจัดเก็บได้ 373.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สำหรับภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 80.7 ล้านบาทลดลงร้อยละ 7.6 และภาษีศุลกากรจัดเก็บได้
108.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนพฤษภาคม สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่า 12,028.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9
สินค้าส่งออกสำคัญหลายประเภท มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารบรรจุกระป๋อง ถุงมือยาง และเครื่องใช้ ไฟฟ้า โดยมีมูลค่าการ
ส่งออก 1,940.8 939.5 679.3 และ361.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 34.8 72.6 และ 7,180.6 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ
มูลค่าการส่งออกยาง มีจำนวน 3,225.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6 สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1
เช่นกัน
ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่า 4,706.2 ล้านบาท ลดลงจากมูลค่า 5,396.2 ล้านบาท เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 เนื่องจากการ
นำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลงเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามการนำเข้าสัตว์น้ำยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.5 และในขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้า
รวมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 2.9
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ปริมาณผลผลิตของพืชผลทางการเกษตรยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน โดยยางพาราเริ่มผลิตได้บ้างแล้ว
ขณะที่ ปาล์มน้ำมันผลผลิตจากพื้นที่ปลูกใหม่ให้ผลเป็นจำนวนมาก ส่วนผลผลิตข้าวนาปีของฤดูกาลใหม่ เกษตรกรทยอยนำผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาพืชผลนั้น ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.54 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 และเพิ่มขึ้น
จากเดือนก่อนร้อยละ 5.9 เนื่องจากผลผลิตในตลาดมีน้อย จึงผลักดันให้ราคายางขยับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาผลปาล์มสด ทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ
1.18 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.5 เนื่องจากได้รับผลดีจากมาตรการแทรกแซงตลาด
น้ำมันปาล์มดิบของทางการ ทางด้านราคาข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมือง 25% เฉลี่ยเมตริกตัน ละ 3,467.50 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.9
ส่วนสาขาการประมงโดยรวมดีขึ้น ตามปริมาณผลผลิตกุ้งกุลาดำที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยในเดือนนี้การส่งออกกุ้งกุลาดำผ่านด่านศุลกากร
ในภาคใต้มีมูลค่า 1,091.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 57.6 ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นกุ้งกุลาดำขนาดเล็ก ส่วนทางด้านราคายังคงทรงตัวต่อ
เนื่องจากเดือนก่อน โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 344.75 บาท สำหรับสัตว?้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในเดือนนี้
มีมูลค่า 1,152.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้ขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนนี้มีปริมาณ
การส่งออก 23,817.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 และอาหารทะเลกระป๋องจำนวน 9,635.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และหากคิด
เป็นมูลค่าการส่งออก 1,940.8 และ 939.5 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 และ 34.8 ตามลำดับ นอกจากนี้อุตสาหกรรม ถุงมือยางและโลหะดีบุก
ยังคงผลิตเพื่อจำหน่ายต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทางด้านอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง กับยางพาราอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาด
น้อย โดยปริมาณการส่งออกยางมีจำนวน 137,076 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 2.0
ภาคการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาพักผ่อนในเดือนพฤษภาคมมีจำนวนรวมเพียง 150,191 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
3.8 แยกเป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 72,779 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 นักท่องเที่ยวมาเลเซียได้เดินทางเข้ามาเที่ยวเป็นปกติ หลังจากที่ลดลงไป
ร้อยละ 20.0 เมื่อเดือนก่อนจากเหตุการณ์ระเบิดสถานีรถไฟ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์มีจำนวน 13,080 คน ลดลงร้อยละ 21.9 เนื่องจาก
การเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือของเรือโดยสารขนาดใหญ่จากสิงคโปร์ ส่วนนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ มีจำนวน 64,332 คน ลดลงร้อยละ 4.6
และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 11.9 นักท่องเที่ยว มาเลเซียลดลงร้อยละ 2.3 สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 และชาติอื่น ๆ
ลดลงร้อยละ 24.2 ทั้งนี้เพราะขณะนี้เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่นิยมเดินทางเข้ามาพักผ่อนทางฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อหลีกเลี่ยงลมมรสุมและฝนตก
ประกอบกับมีการประกาศหยุดให้บริการของสายการบินไทยและมาเลเซีย ระหว่างเส้นทางหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์
ภาคการลงทุน
ในเดือนพฤษภาคมนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการเงินลงทุนรวม 704.6 ล้านบาท โครงการลงทุนประกอบ
ด้วย การผลิตไม้ยางพาราแปรรูป ถุงมือยาง และแปรรูปสัตว์น้ำ
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลมีจำนวนรายทั้งสิ้น 230 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 5.5 เงินทุนจดทะเบียนรวม 435.8
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.4
พื้นที่ก่อสร้างมีจำนวน 92,375 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 21.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 37.0
ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนทรงตัว ยกเว้นการค้ายานพาหนะ ทั้งนี้เพราะ เป็นผลจากมีการปรับราคาสินค้าและประชาชนยังระมัดระวัง
ในการใช้จ่ายในสินค้าอุปโภคบริโภค
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลานี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม
การขายรวมถึงอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำมากจูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น โดยยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เพิ่มจากเดือนเดียวกัน
ปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ52.6 และ 6.3 และยอดจำหน่าย รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 23.3และ 6.2
ตามลำดับ ในขณะที่ยอดการจำหน่ายรถบรรทุกส่วนบุคคล มีจำนวนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.1
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนพฤษภาคมนี้ เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนค่อนข้างสูงคือร้อยละ 3.4 ทั้งนี้มีสาเหตุจาก
การเพิ่มขึ้นในราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.8 และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.3 และใน ขณะเดียวกัน
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเดือน มิ. ย. — ก.ค. 2544
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า คาดว่าเป็น ช่วงปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงิน ซึ่งคาดว่า
อัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การลงทุน ขณะที่เงินบาทน่าจะมีเสถียรภาพ ดังนั้นทางด้าน การบริโภคและการลงทุนน่าจะรอดู
ท่าทีของมาตรการเสริมต่าง ๆ ของภาครัฐ ขณะที่ การส่งออกยังคงดี โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล นอกจากนี้จะมีปัจจัยเสริมจากการใช้จ่ายของ
ภาครัฐบาล
เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้
รายการ 2543 2544
พ.ค. มี.ค. เม.ย. พ.ค.
1. การเงิน (ล้านบาท)
การรับ จ่ายเงินสดหมุนเวียน
- เงินสดรับ 12,674.10 13,961.30 13,557.10 14,746.90
-29.2 -2.6 -14.5 -16.4
- เงินสดจ่าย 12,895.60 14,054.20 14,379.90 14,450.30
-31.5 -10.3 -23.7 -12.1
ธนาคารพาณิชย์ (สำนักงาน) 417 412 412 412
(-0.5) (-1.2) (-1.2) (-1.2)
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ 239385.5 252935.5 n.a. n.a.
-2.9 -5.7
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 195001.3 166146.4 n.a. n.a.
(-4.6) (-15.2)
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 81.5 65.7 n.a. n.a.
(-7.3) (-19.8)
เช็คหมุนเวียน
จำนวนฉบับ 426536 409013 395513 423667
-26.7 (-3.6) -19.2 (-0.7)
มูลค่า (ล้านบาท) 33,139.30 34,060.80 31,042.20 35,225.00
-16.9 (-2.3) -13.1 -6.3
สินเชื่อสำนักงานอำนวยสินเชื่อ (ล้านบาท) 2,743.40 4,859.10 4,993.10 5,359.50
-151.4 -109.9 -100.8 -95.4
เงินฝากธนาคารออมสิน (ล้านบาท) 28,177.60 31,838.30 31,652.60 31,484.30
-15.3 -12.4 -11.7 -11.7
สินเชื่อ ธ.ก.ส. (ล้านบาท) 1,375.10 2,180.90 903.4 1,394.90
-6.8 -0.1 (-22.7) -1.4
สินเชื่อ EXIM (ล้านบาท) 1,826.70 740.5 668.6 829.3
-75.5 (-74.8) (-49.2) (-54.6)
2. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 6,741.30 6,193.20 5,664.40 6,741.20
(-2.8) (-13.0) (-8.7) 0
การจัดเก็บภาษีอากร 1,308.90 1,181.50 964.5 1,465.60
-6.6 (-0.5) -8.1 -12
สรรพากร 1,126.20 1,010.90 805.2 1,276.90
-17.5 -0.4 -7.7 -13.4
สรรพสามิต 87.3 74 68.8 80.7
(-57.5) (-21.4) (-2.3) (-7.6)
ภาษีศุลกากร 95.4 96.6 90.5 108
-49.3 -12.2 -22 -13.2
ภาษีส่งออก 6.3 5.5 4.9 5
-103.2 -5.8 (-7.5) (-20.6)
ภาษีนำเข้า 89.1 91.1 85.6 103
-46.5 -12.6 -24.2 -15.6
3. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
การส่งออก 10,844.80 12,424.80 11,552.80 12,028.60
-34.6 (-15.6) -5.9 -10.9
- ยางแผ่นรมควัน 1,299.30 1,369.20 914.8 916.8
-39.3 (-5.9) (-20.2) (-29.4)
- ยางแท่ง 1,615.20 1,580.20 1,455.20 1,699.80
-115.7 (-22.0) (-8.4) -5.2
ยางรวม (ล้านบาท) 3,381.30 3,507.60 2,897.20 3,225.00
-68.7 (-10.4) (-2.7) (-4.6)
- ไม้ยางพาราแปรรูป 324.6 315.7 259.7 268
-77.8 -7.4 (-11.3) (-17.4)
- สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,421.10 1,725.30 1,545.80 1,940.80
-3.9 -4.2 -18.9 -36.6
- อาหารกระป๋อง 696.9 899.7 810 939.5
(-15.1) -16.5 -22.8 -34.8
- ดีบุก 169.4 217.9 250.6 207.5
-8.2 (-21.9) -4.5 -22.5
- แร่อื่น ๆ 177.3 209.7 362.2 288.7
0 (-21.6) -112.9 -62.8
- ก๊าซธรรมชาติ 61.5 57.8 81.9 81.3
(-61.6) (-94.7) -57.8 -32.1
การนำเข้า (ล้านบาท) 5,396.20 3,773.80 4,846.10 4,706.20
-67.6 (-10.0) -43.3 (-12.8)
- เครื่องจักรอุปกรณ์ 1,771.50 811.3 1,277.50 1,732.20
-105.2 -191.2 -696 (-2.2)
- น้ำมันเชื้อเพลิง 26.1 19 - 69.1
(-51.6) -25.8 0 -164.8
- อุปกรณ์ก่อสร้าง 104.6 97.1 95.5 102
-8.7 (-28.4) (-2.7) (-2.5)
- สัตว์น้ำ 376.6 588 796.4 672.2
(-28.4) -31.5 -332.1 -78.5
4. ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม
ปาล์มน้ำมัน (เมตริกตัน) 188946.9 384959.5 363618 377,314.1*
(-55.6) -48.5 -73.1 -99.7
5. สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมง
ปริมาณ (เมตริกตัน) 45,856.40 36,887.90 37,294.80 41,318.60
(-0.9) (-17.7) (-17.0) (-10.7)
มูลค่า (ล้านบาท) 937.1 927.5 1,041.90 1,152.00
(-6.4) (-20.9) -7.6 -15.1
6. ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ
ยางแผ่นดิบชั้น 3 (บาท/กก.) 23.28 22.37 24.11 25.54
-20.9 (-0.8) -2.7 -9.7
ปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย (บาท/กก.) 2.35 1.04 1.14 1.18
-14.6 (-31.6) (-41.2) (-49.8)
ข้าวเปลือกเจ้า 25% (บาท/เมตริกตัน) n.a. 3,839.25 3,726.00 3,467.50
กาแฟ (บาท/กก.) n.a. 31.02 31.47 n.a.
-39.5 -46.4
กุ้งกุลาดำ (บาท/กก.) n.a. 377.8 344.8 344.8
n.a. n.a.
7. ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
น้ำมันปาล์มดิบ 33,468 72,580 63,485 65,000*
(-53.4) -45.1 -41.8 -94.2
ยางแท่ง 66,909 61,515 54,079 60,518
-106.1 (-12.2) (-13.0) (-9.6)
8. ผลผลิตแร่ (เมตริกตัน)
ดีบุก 131.7 250.8 244 222.4
-55.7 -16.3 -30.8 -68.9
ยิปซัม 376561 388518 403785 402658
-77.3 -5.7 -36.1 -6.9
9. จำนวนชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่าน
ชาติ (คน)
ตรวจคนเข้าเมือง (คน) 156,063 179,920 170,383 150,191
-2.5 -14.8 (-10.7) (-3.8)
มาเลเซีย 71,892 66,818 74,518 72,779
(-2.5) -8.8 (-20.0) -1.2
สิงคโปร์ 16,744 13,090 11,032 13,080
(-0.8) (-27.2) (-47.3) (-21.9)
อื่น ๆ 67,427 100,012 84,833 64,332
-9.3 -29.3 -10.7 (-4.6)
10. การลงทุนของภาคเอกชน
ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน
- ราย 4 1 2 5
-100 (-83.3) (-33.3) -25
- เงินลงทุน (ล้านบาท) 943 36 24 704.6
-2,129.30 (-96.1) (-94.1) (-25.3)
การจดทะเบียนธุรกิจ
- ราย 218 247 191 230
-34.6 (-3.9) -15.1 -5.5
- ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 486.4 467.6 357.9 435.8
-74 (-9.5) (-73.3) (-10.4)
พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง (ตารางเมตร) 76,087 87,042.00 67,417.00 92,375.00
-48.6 -7.7 -8.5 -21.4
- ที่อยู่อาศัย 46,036 70,541.00 44,903.00 59,400.00
-23.7 -48.5 -21 -29
- พาณิชยกรรม 24,183 11,334.00 9,815.00 23,269.00
-510.4 -49.4 (-6.7) (-3.8)
- บริการขนส่ง 3,343.00 3,986.00 8,660.00 2,498.00
(-50.6) (-48.7) -95.1 (-25.3)
11. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน)
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 1.5 2.1 2.7 3.4

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ