แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ * โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์1 สิงหาคม 2544

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 10, 2001 14:58 —กระทรวงการคลัง

        วันนี้เรามาพูดคุยกันเป็นครั้งแรก นับเป็นเวลา 5 เดือนเศษที่ผมได้มีโอกาสเข้ามากระทรวงการคลังพร้อมกับท่านวราเทพฯ  และท่านสุชาติฯ ขอกราบเรียนว่าเป็นความภูมิใจที่ได้มีโอกาสมาอยู่ที่กระทรวงนี้ ถึงแม้เราจะรู้ตัวว่าภารกิจของกระทรวงนี้จะค่อนข้างหนัก และเมื่อได้มาอยู่ ถือว่าอันนี้เป็นความภูมิใจเพราะ  กระทรวงหมายเลขหนึ่งของประเทศคือกระทรวงการคลัง  และตลอดเวลา 5 เดือนเศษที่ผมอยู่ที่นี่จะไม่สามารถยืนอยู่ตรงนี้ได้เลยถ้าไม่ได้รับความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากบรรดาข้าราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านปลัด ท่านรองปลัด   และท่านอธิบดีทั้งหลายที่อยู่ใกล้ชิดกับผม 
เพราะฉะนั้นถ้าหากจะมีผลงานอะไรบ้างของรัฐบาล อันนั้นก็คือว่า มาจากการช่วยเหลือและการสนับสนุนจากพวกท่านทั้งหลายทั้งนั้น เมื่อผมมีความภูมิใจในกระทรวงการคลังมันก็เป็นความตั้งใจของผมที่จะทำให้กระทรวงการคลังนั้นเป็นกระทรวงที่ยิ่งใหญ่ มีเกียรติ เดินไปไหนบอกว่าผมอยู่กระทรวงการคลังทุกคนต้องอิจฉา อยู่กระทรวงนี้ล่ะเป็นกระทรวงที่เป็นหลักของแผ่นดิน ผมไม่ใช่นักพูดแต่ผมจะพูดจากใจ
เหตุผลหลักที่มาวันนี้มี 2 อย่าง คือ
1.ผมมองว่าโดยทั่วไปแล้วเมื่อรัฐบาลกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ แนวคิดต่างๆ นั้นไม่มีโอกาส channel ลงมาสู่ภายในกระทรวง จะกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ท่านที่เกี่ยวข้องกับการงาน และถ้าหากว่าผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงไม่ได้รับรู้สิ่งใดเลย มันก็เป็นไปไม่ได้ที่กระทรวงนั้นจะขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง คนที่ไม่รู้ทิศจะให้ทำงานอย่างมีพลังได้นั้นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นผมเลยต้องการมาพูดคุยร่วมกันว่าทิศทางข้างหน้าที่รัฐบาลกำลังเดินอยู่ รัฐบาลนี้ถ้าอยู่ 4 ปี ก็หมายความว่าเป็นทิศทางที่เราต้องเดินร่วมกัน 4 ปี
2.ผมต้องการปรับวิธีการทำงบประมาณใหม่ อันถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ผมได้เรียนใน ครม.ว่าผมต้องการปรับวิธีการทำงบประมาณใหม่ โดยจะเริ่มจากกระทรวงการคลัง ผมจะไม่นั่งอยู่ข้างบนและรอให้งบประมาณขึ้นมาถึงผมโดยที่ไม่รู้ว่าทำอะไรกันบ้าง แต่ผมจะใช้วิธีว่าผมจะทำความเข้าใจกับพวกเราทุกคนว่าอะไรที่เราต้องการทำในอนาคต แล้วผู้บริหารทั้งหลายในฐานะที่ผมถือว่าเป็น SBU ในฐานะยูนิต จะช่วยกันพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ภายในกรมกองของท่านก่อน เมื่อแผนยุทธศาสตร์ในกรม กอง ถูก set ขึ้นมามันจึงแตกไปสู่งบประมาณค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ต้องทำ และเราก็จะเอางบประมาณเหล่านั้นมารวมกันเป็นงบประมาณรวม concept นี้เรียกว่า concept ของการทำ corporate planning โดยเริ่มต้นจาก vision , strategy แล้วก็ค่อย budgeting ไม่ใช่เริ่มจาก budgeting แล้ว strategy อยู่ไหนก็ไม่ทราบ อย่างนั้นเปลืองงบประมาณ เวลาที่รัฐมนตรีจะเข้าไป defend งบประมาณ ก็ไม่กล้า defend เพราะไม่รู้ว่างบประมาณตรงนี้โผล่ออกมาจากไหน เพื่ออะไร โดยอิงกับสิ่งเก่าๆ ที่อยู่ในอดีตที่ผ่านมา
เมื่อวานนี้ผมแวะบ้านเดิมของผมแล้วหยิบหนังสือมาผมลืมไว้ที่รถ มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งชื่อ "Rethinking the Future" ผมนำเล่มนี้มาอ่านตั้งหลายปีแล้ว มีบทหนึ่งเขาเขียนได้ดีมาก เขาบอกว่า ถนนที่เดินทางจากอดีต stop here หยุดตรงนี้ การใช้การมองใดๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบันในลักษณะ linear มันหมดสมัยไปแล้ว จากวันนี้ขึ้นไปมันไม่ใช่ linear แล้ว เป็น non-linear มันไม่ใช่เส้นตรง อะไรก็เกิดได้ทั้งสิ้น และในลักษณะที่ไม่ใช่ค่อยขึ้นไปด้วย มันกระโดดข้าม ฉะนั้นถ้ามันเป็นอย่างนี้แปลว่ากระทรวงการคลังในฐานะกระทรวงหมายเลขหนึ่ง ยิ่งมีความจำเป็นจะต้องดักทางอนาคตข้างหน้า รู้ว่าเราจะทำอะไร และก็ กำหนด strategy พอแต่ละกรมกอง รู้ strategy ก็แตกเป็น action แตกเป็นงบประมาณออกมา เราจะได้ใช้เม็ดเงินเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวานผมต้องเซ็น 2 แฟ้ม ขอแปรญัตติเพิ่มเติม นี้ไม่ใช่การบริหารที่ถูกต้อง แต่ครั้งนี้ไม่เป็นไรถือว่าเรามาเริ่มต้นกันใหม่ ฉะนั้นด้วยจุดประสงค์ 2 อย่าง เรากระทรวงการคลังจะทำให้กระทรวงอื่นเป็นตัวอย่างว่า การวาง strategy นั้นต้องถูกสื่อความ chief ของแต่ละกรม กอง และ chief ของแต่ละกรม กอง ต้องสื่อลงข้างล่างให้เข้าใจ พลังมันถึงจะเกิด เราจะทำตัวอย่างของการ set งบประมาณใหม่จาก chief ซึ่งเข้าใจใน strategy และมารวมกันทำ corporate plan ในอนาคตข้างหน้า
ในอนาคตข้างหน้าไม่ว่าผมจะอยู่ที่นี้หรือเปล่าอยากให้ maintain วิธีการอันนี้เพราะนั้นคือการทำ planning ที่แท้จริงและสอดคล้องกับรัฐบาล มาถึงจุดนี้ผมอยากกราบเรียนย่อๆ ว่าสิ่งที่เรานำเสนอที่เชียงใหม่นั้นคืออะไร ผมกราบเรียนท่านนายกฯ ว่าปัญหาของเมืองไทยนั้นมีปัญหาที่ยิ่งใหญ่อยู่ 2 ปัญหา คือ
1.ทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถหลุดพ้นจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
2.จะทำอย่างไรที่จะปรับประเทศไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ประเทศอื่นเจอแจคพอทอันเดียวคือ โลกเปลี่ยนจะ restructure อย่างไรให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง แต่เมืองไทยเจอ แจคพอท 2 ชั้น และแจคพอท 2 ชั้นนี้จะต้องทำพร้อมๆ กันไป ขับเคลื่อนพร้อมๆ กันไป เหตุที่ต้องขับเคลื่อนพร้อมๆ กันไปเพราะรากเหง้าของปัญหาไม่ได้มาจากเหตุใดเหตุหนึ่ง แต่มันมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เราเรียกว่า structural factors ของแต่ละส่วนของสังคมที่มันไม่ทันยุคไม่ทันสมัย ผุกร่อน ไม่ทันโลก เมื่อบ้านตั้งอยู่บนเสาที่ไม่แข็งแรงเวลาเกิดพายุโลกาภิวัตน์ทีเดียวก็ไปแล้ว
ผมบังเอิญได้อยู่ในเหตุการณ์หลายๆ ส่วน ชีวิตที่ผ่านมา 15 ปี หลังจากที่จบการศึกษาตอนที่อยู่ภาคเอกชนผมเห็นวิวัฒนาการของภาคเอกชนไทย ไม่ว่า ธนาคาร ไฟแนนซ์ เรียลเซ็คเตอร์ เรียลเอสเตท คอนซูเมอมาร์เก็ต อินดัสเตรียลมาร์เก็ต สื่อมวลชน ที่ผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยบางฉบับ การที่ได้เห็นภาพเหล่านี้ 15 ปี ที่ผ่านมา แล้วมารวมศูนย์ที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาของประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่สมัยอาจารย์มารวย (ผดุงสิทธ์) ในยุคที่ capital market กำลังบูมสุดขีด เห็นยาจกกลายเป็นเศรษฐี และก็ได้เห็นในช่วงที่เศรษฐีกลายเป็นยาจกอีกครั้งหนึ่ง ภาพเหล่านี้มันอยู่ในความทรงจำของผม การเห็น money market ที่เปราะบางเต็มไปด้วยฟองสบู่ เวลาพนักงานปล่อยสินเชื่อดูจากโหงวเฮ้งเป็นหลักใหญ่ คนนี้เป็น Tycoon คนนี้เชื่อถือได้ มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ใจได้ เอาราคาหุ้นเฉลี่ย 6 เดือน ตีออกมา ทั้งๆ ที่เป็นราคาที่มันลอยอยู่ในอากาศ เป็นอย่างนี้ทุกธนาคาร ทุกสถาบันการเงิน เพราะมีการแข่งขัน
เห็น capital market ที่มีการแต่งตัวเลข 3 ปี เข้าตลาด เข้าเสร็จแทนที่จะเอาเงินจากการ raise ขึ้นมาพัฒนาการผลิต ส่วนหนึ่งนำไปลงทุนที่ไม่เกิดการผลิต บางบริษัทเข้าตลาดแล้วลอกคราบ เหมือนกับแมลงสาบ เหมือนกับงู สิ่งเหล่านี้ในขณะที่เรากำลัง enjoy growth ที่เรากำลังภูมิใจจาก GDP 10-11% แต่ข้างล่างมันเปราะบางมาก ในวงการราชการเองก็เช่นกันผมเข้ามาติดตาม ดร.ทักษิณ ไปที่กระทรวงต่างประเทศ ไปที่ทำเนียบรัฐบาลสมัยเป็นรองนายกฯ ได้เข้าไปกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สภาพัฒน์ฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย หลายกรม กอง สิ่งที่ผมเห็นก็คือว่า การพัฒนาหยุดนิ่ง ในขณะที่โลกมันเปลี่ยนเร็วมากทีเดียว วันที่เรามีการพูดถึง Michael Porter เรา comment กันใหญ่เลย แพง แต่มีใครบ้างรู้ว่า Michael Porter คิดเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไร ที่ทำให้เขาสะท้านโลกอยู่ในขณะนี้ และพูดกันบนฐานที่ลอยอยู่ในอากาศ ผมไม่ได้เป็นคนติดต่อ Michael Porter แต่ผมจะบอกให้ท่านฟังว่าเขาดังมาจาก 2 เรื่อง
1. Model ของการวิเคราะห์อุตสาหกรรม ในเชิงของการวาง competitive positioning ระดับสินค้าในอุตสาหกรรม แต่ในความคิดของเขาถูกแปลในระดับประเทศเป็นการวาง competitive positioning ในระดับประเทศว่าจะวางในตำแหน่งไหนในโลกที่จะทำให้คุณสามารถแข่งขันในโลกได้
2.เขาพูดถึง competitor analysis การวิเคราะห์คู่แข่งในระดับไมโคร อุตสาหกรรม ไม่ใช่ว่าเพียงแค่ดูตัวเลขตื้นๆ เขาจะดูว่า strategy ในปัจจุบันของบริษัทนี้เป็นอย่างไร future purpose ของเขาต้องการอะไร assumption ในใจของเขาเขาเชื่ออะไรเพื่อเดาใจคู่แข่ง คู่แข่งนั้นมีข้อจำกัดอะไรจะมูฟด้านไหนจะทำให้เขาเดินมากน้อยได้แค่ไหน พูดง่ายๆ คือเดาใจคู่แข่งและต่อสู่กับคู่แข่ง เขาทำ research ทีละประเทศโดยใช้ model เหล่านี้ออกมาสู่หนังสือเล่มที่สอง "Competitive Advantage" ไม่มีใครพูดถึงเรื่องเหล่านี้ พูดถึงเรื่องอะไรไม่ทราบ
ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ภาพที่ผมเห็น 15 ปีที่ผ่านมาในภาคราชการไม่พัฒนาเร็วพอ เพราะเราขาดงบประมาณในการพัฒนา ในระบบราชการโดยเฉพาะสถาบันศึกษายิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย การเน้น research มีน้อยมาก ฉะนั้นเมื่อประเทศเป็นเหล่านี้เวลามาเจอโลกาภิวัตน์ทีเดียวมันจะเกิดอะไรขึ้น ทีนี้ financial crisis ที่มัน hit เมืองไทยครั้งนั้น ผมว่ามันเป็นจุดเริ่มต้น และความเปราะบางทางสังคมทำให้การฟื้นตัวช้า สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ IMF มองไม่เห็น แต่ว่าเราคนไทยมองเห็นผมเห็นมา 15 ปี ผมรู้ว่าได้จุดโหว่อยู่ตรงไหน แต่บางทีเราไม่สามารถสื่อความ jigsaw puzzle ที่มันต่ออยู่ในสมองผมนี้ให้กับคนอื่นฟังได้ ได้แต่ระบายโดยใช้วิธีเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการทีละบทๆ เคยพูดไว้ด้วยว่าวันหนึ่งเมืองไทยจะเป็น little monkey ไม่ใช่ little dragon 7 ปีก่อนหน้านั้น สิ่งเหล่านี้เราได้ปรึกษากันว่าปัญหาที่เมืองไทยเผชิญนั้นต้องขับเคลื่อนพร้อมๆ กันและต้องเริ่มจาก grass root ทำไมต้องเริ่มจาก grass root ของัดตำราเศรษฐศาสตร์มาพูดกัน ช่วงที่ผมเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์รังสรรค์ C+I+G+X-M สมมุติง่ายๆ X-M ตอนนี้เป็นอย่างไร G เป็นอย่างไรทุกคนก็รู้ I เป็นอย่างไร investment ถ้าไม่มี export หรือ export ชะลอตัว มันก็ต้องมาพึ่ง C consumption ซึ่งรากใหญ่อยู่ในชนบท การที่ประชาชนจะซื้อของจับจ่ายในชนบทสังเกตดีๆ ว่าพ่อค้าในกรุงนั้นธุรกิจจะดีได้ต้องมี consumption ขึ้นมาก่อน ไปถามเถ้าแก่สหพัฒน์ฯ ได้เลย เวลาที่เขาเช็คข้อมูลตัวเลขเขารู้ก่อนแบงก์ชาติเสียอีก ตอนที่เศรษฐกิจไทยจะหักข้อศอกนำไปสู่ crisis ตอนนั้นผมนั่งเป็นที่ปรึกษาอยู่ ผมจำได้เลยว่า เขาบอกว่าเศรษฐกิจไทยจะหักข้อศอกแล้วสัญญาณอันตรายแล้ว strategy คือ ลดการใช้จ่ายให้บริษัทธุรกิจลอยตัวแต่ก่อนข้อมูลเหล่านี้จะมาถึงทางการต้องไปเก็บ 2-3 เดือนให้หลัง และไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันหักข้อศอกที่ตรงไหน นี้คือการที่ขาดความเชื่อมต่อระหว่างเอกชนกับราชการในแนวลึก
เมื่อเป็นอย่างนี้ทิศทางนโยบายของรัฐบาลก็คือว่า เศรษฐกิจจะฟื้นไม่ได้เลยถ้ามันไม่มี demand จากข้างใน การกระตุ้น demand จากข้างในขณะนี้ต้องมาจาก consumption จากรากหญ้า ถ้ารากหญ้ามีการกระตุ้น investment ในระดับรากหญ้าก็จะเกิดขึ้น ธุรกิจในกรุง ก็จะเกิดขึ้นมามันก็จะเริ่มขับเคลื่อนได้ ฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลเริ่มทำคืออะไร เมื่อเริ่มทำทุกคนหัวเราะ พักหนี้เกษตรกร ใครก็บอกว่าไม่ได้ จุดประสงค์คือผ่อนคลายภาระเกษตรกรให้เขาได้หายใจ ตามด้วย "1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์" เวลาพูดถึงอันนี้ทุกคนหัวเราะอีก จริงๆ แล้วรากเหง้านำมาจากญี่ปุ่น ลองไปถามคนญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นให้ดูเลยว่าแต่ละจังหวัดจะมีสินค้าขึ้นชื่อของเขาเลย ทั้งจังหวัดเลยจะ specialized ในสิ่งเหล่านี้ ผู้ผลิตรายย่อยเต็มไปหมดเลยทั้งหมู่บ้าน โรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าตัวนั้นอยู่ในหมู่บ้าน การค้าการขายกระจุกตัว เป็นเรื่องของสินค้าตัวนั้นโดยเฉพาะ คือเป็น specialization ของสินค้า และสินค้าเหล่านั้นก็จะถูก trade ไปหมู่บ้านอื่น ถูก trade ไปต่างประเทศโดยใช้ special company เป็นจังหวัดๆ ลองดูให้ดีสินค้าพวกผ้าไหมที่เราทอกันในต่างจังหวัด สีที่ใช้ย้อมมาจากวิธีการจากเกาะทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ทีนี้ concept เหล่านั้นฝรั่งก็เอาไปใช้ในตำราของ Michael Porter เล่มที่ 2 เริ่มพูดถึงประเทศอิตาลี เขาใช้คำว่า molding คือการที่จะทำให้ประเทศแข็งแกร่งได้ต้องมีเบ้าหลอมๆ คือมีผู้ประกอบการเต็มไปหมด มีโรงเรียน มีสถาบัน มีสิ่งเหล่านั้น มีทุกสิ่งทุกอย่างในเบ้าหลอมเหล่านั้นเป็นเบ้าหลอมที่หลอมความเข้มแข็งขึ้นมาให้กับสินค้าตัวนั้นออกมา และอิตาลีเต็มไปด้วยสิ่งเหล่านี้ ประเทศของเขาแม้ว่าคอรัปชั่นจะเยอะ การเมืองไม่นิ่ง แต่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง growth of GDP อันนี้เป็นของจริง
แต่เมืองไทยเราไม่ทันฟังเลยก็บอกว่าใช้การไม่ได้ รัฐบาลนี้ทำให้ดู เพราะฉะนั้นนโยบาย "1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์" ได้เปิดออกมา สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านตื่นตัวในสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่คำพูดที่ลอยในอากาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องโดดเข้ามา อนาคตข้างหน้ากระทรวงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ กระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่ "บำบัดทุกข์บำรุงสุข" อย่างเดียว แต่ต้อง turn จากความมั่นคงสู่การสร้างความมั่งคั่ง หมายความว่าข้าราชการก็ต้องเข้าไปช่วยพัฒนาในชุมชน concept C+I+G+X-M ในระดับ macro ก็ถูกย่อลงในระดับ micro ในชุมชน แปลว่าใน 1 ชุมชน 1 หมู่บ้าน คุณต้องมีการผลิต นั้นคือตั้งวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา คุณต้องมีตัว G ก็คือเงินที่หมุนเวียนภายในหมู่บ้าน ก็คือกองทุนหมู่บ้าน ที่ ธ.ก.ส.ฉีดเข้าไป ตัว C ก็คือการบริโภคภายในหมู่บ้าน เมื่อมีการบริโภค มีการผลิต มันก็ต้องมีการส่งออกไปสู่ชุมชนอื่น และไปสู่ทั่วประเทศ ไปสู่ต่างประเทศโดยผ่านอินเตอร์เน็ต นี้คือ C+I+G+X-M ของ concept ที่เราประยุกต์ใช้ ไม่ใช่เพียงบอกว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์แล้วจบกันแค่นั้น management flexibility สำคัญที่สุด head ต้องไม่ square head ต้อง flexibility ประเทศจึงจะอยู่ได้
ฉะนั้น concept "1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์" เดินเครื่อง แต่ละชุมชนมีสินค้าที่ผลิตขึ้นมา 4-5 ตัวมีการลงทุน มีการผลิต อันนั้นคือทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นการตอบสนองพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง และเมื่อเกินพอเพียงก็ส่งออกไปสู่ชุมชนอื่น แต่สิ่งเหล่านี้มันเป็น inadequate approach หมายความว่าการปฏิรูปการศึกษาในอนาคตข้างหน้า อย่าเพียงแต่บอกว่า 9 ปี 11 ปี 13 ปี ผมไม่สนใจเลย มองว่าถ้าคุณจะเดินไปสู่การผลิต สถาบันการศึกษาต้อง shift มาทางนี้ต้องสามารถสร้างให้การ generated production เกิดขึ้นมาให้ได้ในระดับรากหญ้า สถาบันการศึกษาไม่ใช่ผลิตครูอย่างเดียว ไม่ได้มีหน้าที่ผลิต MBA อย่างเดียว เอาไปทำอะไร แต่สถาบันการศึกษาต้องสามารถเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคป้อนให้เขา
ฉะนั้นถ้า ทบวง กรม จะ reform ต้อง reform ภายใต้ conceptual framework เช่นนี้ มันถึงจะมีทิศทาง ไม่ใช่คนนี้พูดอย่าง คนนู้นพูดอย่าง ไปกันคนละทาง ถ้าคุณสามารถ apply concept นี้ขึ้นมาได้ รัฐบาลทำอะไรไปบ้างตามจาก 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ กองทุนหมู่บ้านก็เสียบเข้าไป คือเป็นตัวที่เข้าไปหมุน อย่ากลัวว่าจะสูญเสีย ขออย่างเดียวให้เงินนั้นให้ถึงประชาชน ถ้าเงินนั้นตกถึงประชาชนก็จะมีการพัฒนา มีการจับจ่ายใช้สอย ช่องว่างของ demand ที่เป็นหลุมอากาศไม่ถูก fill ด้วย activity เกิดขึ้น แต่ถ้ามันไปติดขัดที่ channel ต่างๆ เงินไม่ถึงประชาชน กล้าๆ กลัวๆ อันนี้สิน่ากลัว เพราะขณะนี้ engine of growth หลายตัวมันนิ่งอยู่แล้ว เหลือตัวนี้ตัวเดียว ตัวถัดมาคุณมี 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ มีกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชนรัฐบาลทำไปแล้วอนาคตข้างหน้าต้องขยายมากกว่านี้ ผมไม่เชื่อว่าคนจนเบี้ยว คนจนเบี้ยวน้อยกว่าคนรวยเพราะธุรกิจขนาดใหญ่เวลาเบี้ยวๆ หนัก แต่สำคัญที่การสร้างระบบมารองรับ
สิ่งที่จะตามมาในไม่ช้าที่รัฐบาลจะทำคือการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา คือการร่วมระหว่างชาวบ้านที่มา set one product ขึ้นมา อยากให้เป็นลักษณะของวิสาหกิจชุมชน อันนี้คือ เอสเอ็มอี นั้นเอง แต่เป็นเอสเอ็มอี ในระดับชุมชน ฉะนั้นประเทศในอนาคตมันจะมี เอสเอ็มอี ในระดับชุมชน เอสเอ็มอีที่เป็น stand alone ส่งออกได้ เอสเอ็มอี ที่เป็น supporting industry ที่ support อุตสาหกรรมที่เป็นดาวฤกษ์ ฉะนั้นทุกอย่างจะเริ่มเชื่อมโยงเข้าไปด้วยกัน ธ.ก.ส.ผมให้ Mission เขาไปแล้ว เขาต้องเสนอภายในไม่เกิน 2 อาทิตย์ เขาจะมีบทบาทอย่างใหม่กับการพัฒนารากเหง้าตรงนี้ เพราะฉะนั้นปลดไม่ปลดไม่ใช่เรื่องสำคัญเลย ไม่เคยคิดปลดอยู่แล้ว ต้องการดูว่าวิสัยทัศน์ ที่จะ fit in ตรงนั้นทำอย่างไร เราเอางานเป็นตัวตั้ง ฉะนั้นนี้คือกองหนึ่งที่เกี่ยวกับการ stimulate grass root ให้มันมี activity เกิด local demand แต่บังเอิญที่ภาคการเงินไม่แข็งแรง เราจะไม่โทษใครที่ภาคการเงินไม่แข็งแรงเพราะอะไร แต่อย่างน้อย บสท. เดินเครื่องไปแล้ว การเดินเครื่อง บสท.ไม่ใช่เรื่องง่าย หลายประเทศล้มเหลว และสำเร็จได้ผมกราบเรียนเลยว่ารัฐบาลต้องมี will power สูง ต้องไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น มันจะมีทุกวัน ไอ้นั้นไม่ได้ ไอ้นี้ไม่ได้ เพราะว่าเป็นการต่อรองผลประโยชน์ แต่วันนี้มันไม่ใช่ผลประโยชน์ของใคร ฉะนั้นการเจรจา การประนีประนอม การรู้จักใช้ skill of management ดันให้เครื่องยนต์อันนี้ผลักดันให้เดินอันนี้สำคัญที่สุด ถ้าใครมัวแต่ อีโก้ มันจะเหมือนประเทศอื่นที่มัน fell ฉะนั้นเมื่อมันเดินเครื่องแล้ว ผ่านไปเปราะหนึ่งแล้ว ผ่านสภา แล้วผ่านวุฒิสภาแล้ว มันต้องมีการโอนทรัพย์สิน มันต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้อันนี้แน่นอน จะเร็วบ้างช้าบ้างไม่เป็นไรถือเป็นเรื่องธรรมดา ถ้า บสท. ไปได้ดี กรุงไทยวันนี้ประกาศออกมาแล้ว เอสเอ็มอี หมื่นกว่าล้าน เขาไปทำ mission strategy กันใหม่ที่เขาใหญ่ที่ผมได้ยิน เขาไปสัมมนาเขาแจกหนังสือ 2 เล่ม ท่านทราบมั้ยหนังสืออะไร หนังสือเล่มที่ 1 คือหนังสือชื่อว่า "Who moved my cheese?" ใครเคลื่อนย้ายเนยแข็งของผมเป็นนิยายเรื่องหนึ่ง หนูเวลากินชีส แทะไปแทะไปแทะทุกวันพอหมดปั๊บหนูมันจะดมกลิ่นหาชีสก้อนใหม่ซุกไซ้ไปทั่ว แต่คนเราตื่นเช้าขึ้นมาเจอชีสบนโต๊ะ ฝรั่งเขาจะไม่เก็บชีส เขาจะกองอยู่บนโต๊ะนั้นแหละ เขาจะตัดกิน ตัดกิน พอวันหนึ่งตื่นขึ้นมาปั๊บชีสหมดแทนที่จะไปหาชีสก้อนใหม่ กลับมาบอกว่าใครกันล่ะเอาเนยแข็งผมไป อุทาหรณ์มันคืออะไร โลกเปลี่ยนคนเปลี่ยนต้องแสวงหาทิศทางใหม่ อันนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งทีเดียว เรื่องที่ 2 เขาแจก "ลัทธิเอาอย่าง" คือจะเปลี่ยนแต่เอาอย่าง ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องทำอะไรแจก 2 เล่ม ผมฝากเขาไปอีก concept หนึ่งไม่รู้ว่าเขาไปทำหรือเปล่าว่าทฤษฎีกบต้มของผมใช้ได้ เอากบมาวางบนจานมีน้ำเดือดต้มกบมันจะปรับตัวเองตามสภาพอุณหภูมิ ร้อนขึ้นๆ กบจะค่อยๆ แปลงตัวเองขึ้นมาอยู่ได้นาน แต่พออยู่นานไปกบจะตายเป็นกบต้ม ถ้ากบตัวนั้นไม่รู้จักกระโดดออกจากจานออกมา นี้คือการฉีก direction เปลี่ยนไปกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก เขาไปทำอะไรที่เขาใหญ่ สะท้อนเลยว่าเขาต้องการ shake กรุงไทยแบงก์ให้เป็นธนาคารที่ขับเคลื่อนได้อีกครั้งหนึ่ง กรุงไทยแบงก์ต้องขับเคลื่อน แบงก์ไทยต้องขับเคลื่อน สคิบ BME ต้องขับเคลื่อน 4 แบงก์ใหญ่ ธ.ค.ส.บวก ธ.ก.ส. ผมจะดันขับเคลื่อนให้จงได้ ถ้าสิ่งเหล่านี้ขับเคลื่อนได้แบงก์เอกชนไม่ขับเคลื่อนก็ช่วยไม่ได้ เพราะเราช่วยเต็มที่แล้ว บสท. เปิดให้แล้ว market competition จะเกิดขึ้นมาแน่นอนและต้องเน้น efficiency ในการแข่งขัน เราจะช่วยแบงก์ที่ไม่แข็งแรงให้แข็งแรง ปรับปรุงให้ทันสมัย เพราะฉะนั้นแบงก์รัฐ และแบงก์เอกชนจะมีความเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่งแต่ต้องใช้เวลา
ถ้ากลไกทางการเงินเดินเครื่องขึ้นมา เรียลเซคเตอร์เริ่มกระเตื้องขึ้นมา สิ่งสำคัญคืออะไร ในขณะนี้เนื่องจากเศรษฐกิจข้างนอกเริ่มชะลอตัว สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้พยายามทำก็คือว่าใช้งบประมาณขาดดุล และมีเงิน(ยังมีต่อ)
-ศน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ