นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัทที่ปรึกษาเรื่องสิ่งทอสหรัฐฯ IDS (International Development System Inc.) ได้รายงานสรุปภาวะการนำเข้าสิ่งทอของสหรัฐฯในปี 2543 ว่า สหรัฐฯ
นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทยเป็นปริมาณทั้งสิ้น 1,316.8 ล้านตารางเมตร มูลค่า 2,445.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.83 และ 17.90 ตามลำดับ โดยนำเข้าเครื่องนุ่งห่มปริมาณ 469.7 ล้านตารางเมตร มูลค่า 1,820.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.75 และ 20.62 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าสิ่งทอซึ่งรวมถึง ด้าย ผ้าผืน และอื่น ๆ มีปริมาณการนำเข้า 847.1 ล้านตารางเมตร มูลค่า 625.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.77 และ 10.63 ตามลำดับ โดยในปี 2542 ไทยนำเข้าลำดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.87 แต่ในปี 2543 ไทยขึ้นมาเป็นลำดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 4.01 แซงคู่แข่งที่สำคัญ คือ เกาหลีใต้ อินเดีย และไต้หวัน ซึ่งตกลงมาอยู่ที่ลำดับที่ 6 7 และ 8 มีสัดส่วนร้อยละ 3.99 3.80 และ 3.75 ตามลำดับ สำหรับทางด้านมูลค่า ในปี 2542
ไทยอยู่ลำดับที่ 11 สัดส่วนร้อยละ 3.2 แต่ในปี 2543 ไทยขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.41 เหนือคู่แข่งที่สำคัญคือ อินโดนีเซีย ฮอนดูรัส และฟิลิปปินส์ ซึ่งไทยเป็นรองมาโดยตลอด ทำให้ไทยเป็นผู้นำเข้าสหรัฐฯลำดับ 1 ของอาเซียนในขณะนี้
นายการุณฯ กล่าวต่อไปอีกว่า รายการสินค้าที่ไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับที่ 1 ของสหรัฐฯในปี 2543 ได้แก่ สินค้าภายใต้โควตา รายการ 614 (Poplin & Broad Cloth, Staple) ปริมาณการนำเข้าจากไทย 24,192,123 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.14 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 27.77 16.25 11.30 และ 10.89 ตามลำดับ และรายการ 239 (Babies ’ Diaper) นำเข้าจากไทย 15,456,167 กิโลกรัม เพิ่มขี้นจากปีก่อนร้อยละ 28.68 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.32 8.15 6.49 และ 5.55 ตามลำดับ สำหรับสินค้านอกโควตา คือ รายการ 445 (Wool Sweaters) นำเข้าจากไทย 270,746 โหล เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 25.58 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.67 แหล่งนำเข้ารองลงมาได้แก่ ฮ่องกง อิตาลี จีน และ บังกลาเทศ โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.58 12.01 5.54 และ 5.20 ตามลำดับ รายการ 448 (W & G Wool Slacks, Breeches, Shorts) นำเข้าจากไทย 126,258 โหล เพิ่มขี้นจากปีก่อนร้อยละ 100.45 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.17 รองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ อิตาลี อินเดีย และฮ่องกง โดยส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.68 7.93 6.33 และ 5.98 ตามลำดับ และรายการ 670 (Flat goods, Handbags and Luggage) นำเข้าจากไทย 46,023,706.5 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.84 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.52 แหล่งนำเข้ารองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน ศรีลังกา และ อินโดนีเซีย ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.83 15.69 9.96 และ 8.00 ตามลำดับ ส่วนสินค้ารายการ 445 และ 448 ซึ่งไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับ 1 และไม่ถูกควบคุมโควตา ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกสหรัฐฯเรียกเจรจาตามมาตรา 6 ของข้อตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (ATC) จึงควรติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่สำหรับสินค้ารายการ 670 แม้ว่าไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญลำดับ 1 และไม่ถูกควบคุมโควตา แต่สหรัฐฯได้มีแผนการปลดปล่อยในปี 2002 นี้แล้ว สหรัฐฯคงไม่เรียกเจรจาควบคุมโควตาจากไทย
สำหรับการนำเข้าโดยรวมของสหรัฐฯ ในปี 2543 นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปริมาณทั้งสิ้น 32,863.3 ล้านตารางเมตร มูลค่า 71,758.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.85 และ 12.57 ตามลำดับ โดยนำเข้า ด้าย ผ้าผืน และอื่น ๆ ปริมาณ 16,827.1 ล้านตารางเมตร มูลค่า 14,459.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าเครื่องนุ่งห่มปริมาณ 16,036.2 ล้านตารางเมตร มูลค่า 57,298.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนแหล่งนำเข้าที่สำคัญด้านปริมาณ 5 อันดับแรก ได้แก่ เม็กซิโก ร้อยละ 14.44 ของปริมาณการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม รองลงมา ได้แก่ แคนาดา 9.75 จีน 6.75 ปากีสถาน 6.08 และไทย 4.01 ตามลำดับ สำหรับด้านมูลค่า 5 อันดับแรก ได้แก่ เม็กซิโก สัดส่วนร้อยละ 13.51 ของมูลค่านำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม รองลงมาได้แก่ จีน 9.10 ฮ่องกง 6.56 แคนาดา 4.67 และเกาหลีใต้ 4.28 ตามลำดับ โดยประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.41
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2544--
-อน-
นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทยเป็นปริมาณทั้งสิ้น 1,316.8 ล้านตารางเมตร มูลค่า 2,445.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.83 และ 17.90 ตามลำดับ โดยนำเข้าเครื่องนุ่งห่มปริมาณ 469.7 ล้านตารางเมตร มูลค่า 1,820.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.75 และ 20.62 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าสิ่งทอซึ่งรวมถึง ด้าย ผ้าผืน และอื่น ๆ มีปริมาณการนำเข้า 847.1 ล้านตารางเมตร มูลค่า 625.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 15.77 และ 10.63 ตามลำดับ โดยในปี 2542 ไทยนำเข้าลำดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.87 แต่ในปี 2543 ไทยขึ้นมาเป็นลำดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 4.01 แซงคู่แข่งที่สำคัญ คือ เกาหลีใต้ อินเดีย และไต้หวัน ซึ่งตกลงมาอยู่ที่ลำดับที่ 6 7 และ 8 มีสัดส่วนร้อยละ 3.99 3.80 และ 3.75 ตามลำดับ สำหรับทางด้านมูลค่า ในปี 2542
ไทยอยู่ลำดับที่ 11 สัดส่วนร้อยละ 3.2 แต่ในปี 2543 ไทยขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.41 เหนือคู่แข่งที่สำคัญคือ อินโดนีเซีย ฮอนดูรัส และฟิลิปปินส์ ซึ่งไทยเป็นรองมาโดยตลอด ทำให้ไทยเป็นผู้นำเข้าสหรัฐฯลำดับ 1 ของอาเซียนในขณะนี้
นายการุณฯ กล่าวต่อไปอีกว่า รายการสินค้าที่ไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับที่ 1 ของสหรัฐฯในปี 2543 ได้แก่ สินค้าภายใต้โควตา รายการ 614 (Poplin & Broad Cloth, Staple) ปริมาณการนำเข้าจากไทย 24,192,123 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.14 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 27.77 16.25 11.30 และ 10.89 ตามลำดับ และรายการ 239 (Babies ’ Diaper) นำเข้าจากไทย 15,456,167 กิโลกรัม เพิ่มขี้นจากปีก่อนร้อยละ 28.68 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.32 8.15 6.49 และ 5.55 ตามลำดับ สำหรับสินค้านอกโควตา คือ รายการ 445 (Wool Sweaters) นำเข้าจากไทย 270,746 โหล เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 25.58 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.67 แหล่งนำเข้ารองลงมาได้แก่ ฮ่องกง อิตาลี จีน และ บังกลาเทศ โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.58 12.01 5.54 และ 5.20 ตามลำดับ รายการ 448 (W & G Wool Slacks, Breeches, Shorts) นำเข้าจากไทย 126,258 โหล เพิ่มขี้นจากปีก่อนร้อยละ 100.45 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.17 รองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ อิตาลี อินเดีย และฮ่องกง โดยส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.68 7.93 6.33 และ 5.98 ตามลำดับ และรายการ 670 (Flat goods, Handbags and Luggage) นำเข้าจากไทย 46,023,706.5 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.84 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.52 แหล่งนำเข้ารองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน ศรีลังกา และ อินโดนีเซีย ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.83 15.69 9.96 และ 8.00 ตามลำดับ ส่วนสินค้ารายการ 445 และ 448 ซึ่งไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับ 1 และไม่ถูกควบคุมโควตา ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกสหรัฐฯเรียกเจรจาตามมาตรา 6 ของข้อตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (ATC) จึงควรติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่สำหรับสินค้ารายการ 670 แม้ว่าไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญลำดับ 1 และไม่ถูกควบคุมโควตา แต่สหรัฐฯได้มีแผนการปลดปล่อยในปี 2002 นี้แล้ว สหรัฐฯคงไม่เรียกเจรจาควบคุมโควตาจากไทย
สำหรับการนำเข้าโดยรวมของสหรัฐฯ ในปี 2543 นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปริมาณทั้งสิ้น 32,863.3 ล้านตารางเมตร มูลค่า 71,758.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.85 และ 12.57 ตามลำดับ โดยนำเข้า ด้าย ผ้าผืน และอื่น ๆ ปริมาณ 16,827.1 ล้านตารางเมตร มูลค่า 14,459.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าเครื่องนุ่งห่มปริมาณ 16,036.2 ล้านตารางเมตร มูลค่า 57,298.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนแหล่งนำเข้าที่สำคัญด้านปริมาณ 5 อันดับแรก ได้แก่ เม็กซิโก ร้อยละ 14.44 ของปริมาณการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม รองลงมา ได้แก่ แคนาดา 9.75 จีน 6.75 ปากีสถาน 6.08 และไทย 4.01 ตามลำดับ สำหรับด้านมูลค่า 5 อันดับแรก ได้แก่ เม็กซิโก สัดส่วนร้อยละ 13.51 ของมูลค่านำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม รองลงมาได้แก่ จีน 9.10 ฮ่องกง 6.56 แคนาดา 4.67 และเกาหลีใต้ 4.28 ตามลำดับ โดยประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.41
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2544--
-อน-