ข้อมูลเบื้องต้นเดือนกรกฎาคม 2544 เศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในภาวะทรงตัว แม้การผลิตและการลงทุนชะลอตัว แต่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกหดตัวอย่างมาก ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล แต่ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ ขาดดุลลดลงมาก ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลเล็กน้อยหลังจากขาดดุลหลายเดือนติดต่อกัน รัฐบาลขาดดุลเงินสด สภาพคล่องทางการเงิน ยังอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราเงินเฟ้อทรงตัว เงินบาท ยังอ่อนค่าลง ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่สามารถส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้นมาก หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเพื่อการสะสมสต๊อกไว้จำหน่าย ช่วงปลายปี สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลงต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหมวดวัสดุก่อสร้างที่ผลิตลดลง จากการปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ของโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวง
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าประเภทรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังหดตัว การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์รวมในประเทศและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.4 พันล้านบาท โดยรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีอากรจากฐานรายได้ร้อยละ 8.6 และฐานการบริโภคร้อยละ 15.8 ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.0) เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลซึ่งปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาดน้อย สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.3 โดยราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.2) ตามราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
5. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมูลค่าการส่งออกมีเพียง 5,143 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือการหดตัวถึงร้อยละ 14.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้าสำคัญชะลอตัวลงมาก การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.8 ตามการหดตัวของการส่งออกและการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้น เพราะรายรับจากการท่องเที่ยว ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของการขาดดุล ในครึ่งปีแรก ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงินเกินดุล 324 และ 41 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจาก 4,690.8 เป็น 4,725.8 พันล้านบาท จากการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเอกชน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อรวมลดลงร้อยละ 4.9 ต่อปี เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อไป AMCs ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 4,944.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน สภาพคล่องระบบการเงินโดยรวมอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.38 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี
7. อัตราแลกเปลี่ยน เดือนกรกฎาคม 2544 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ระหว่าง 45.31 - 45.75 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ มีปัจจัยลบจาก (1) การที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.จะผ่อนคลาย กฎเกณฑ์การรายงานตารางแนบ ธต. 40 สำหรับบัญชีเงินบาทของ Non-resident (2) การอ่อนค่าลงของเงินเยนจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ (3) ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค และ (4) ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
อนึ่ง การที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม FOMC จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และ Discount Rate ลง 25 bsp เหลือร้อยละ 3.50 และ 3.00 ต่อปี ตามลำดับ
ในเดือนสิงหาคม 2544 เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.30-45.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เงินบาทได้รับปัจจัยบวกจากค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้น ทั้งค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์ ประกอบกับการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง รวมถึงการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากการที่ตลาดคาดว่ามาตรการ Matching Fund ของรัฐบาลจะสามารถช่วยกระตุ้นการลงทุนในตลาด นอกจากนี้สถาบันการเงินมีการขายดอลลาร์ สรอ. ก่อนการบังคับใช้กฎใหม่สำหรับแบบรายงาน ธต. 40 ในวันที่ 3 กันยายน ศกนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่สามารถส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้นมาก หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเพื่อการสะสมสต๊อกไว้จำหน่าย ช่วงปลายปี สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลงต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหมวดวัสดุก่อสร้างที่ผลิตลดลง จากการปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ของโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวง
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าประเภทรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังหดตัว การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์รวมในประเทศและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.4 พันล้านบาท โดยรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีอากรจากฐานรายได้ร้อยละ 8.6 และฐานการบริโภคร้อยละ 15.8 ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.0) เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลซึ่งปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาดน้อย สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.3 โดยราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.2) ตามราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
5. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมูลค่าการส่งออกมีเพียง 5,143 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือการหดตัวถึงร้อยละ 14.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้าสำคัญชะลอตัวลงมาก การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.8 ตามการหดตัวของการส่งออกและการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้น เพราะรายรับจากการท่องเที่ยว ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของการขาดดุล ในครึ่งปีแรก ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงินเกินดุล 324 และ 41 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจาก 4,690.8 เป็น 4,725.8 พันล้านบาท จากการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเอกชน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อรวมลดลงร้อยละ 4.9 ต่อปี เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อไป AMCs ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 4,944.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน สภาพคล่องระบบการเงินโดยรวมอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.38 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี
7. อัตราแลกเปลี่ยน เดือนกรกฎาคม 2544 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ระหว่าง 45.31 - 45.75 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ มีปัจจัยลบจาก (1) การที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.จะผ่อนคลาย กฎเกณฑ์การรายงานตารางแนบ ธต. 40 สำหรับบัญชีเงินบาทของ Non-resident (2) การอ่อนค่าลงของเงินเยนจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ (3) ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค และ (4) ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
อนึ่ง การที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม FOMC จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และ Discount Rate ลง 25 bsp เหลือร้อยละ 3.50 และ 3.00 ต่อปี ตามลำดับ
ในเดือนสิงหาคม 2544 เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.30-45.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เงินบาทได้รับปัจจัยบวกจากค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้น ทั้งค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์ ประกอบกับการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง รวมถึงการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากการที่ตลาดคาดว่ามาตรการ Matching Fund ของรัฐบาลจะสามารถช่วยกระตุ้นการลงทุนในตลาด นอกจากนี้สถาบันการเงินมีการขายดอลลาร์ สรอ. ก่อนการบังคับใช้กฎใหม่สำหรับแบบรายงาน ธต. 40 ในวันที่ 3 กันยายน ศกนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-