แท็ก
สุกร
สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากความต้องการบริโภคที่มีค่อนข้างน้อย ขณะที่ผลผลิตยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตในสัปดาห์นี้ยังคงลดลงอีกซึ่งสถานการณ์โดยรวมของตลาดสุกรคาดว่าจะอยู่ในสภาวะทรงตัวไปจนถึงอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย จนกว่าจะถึงเดือนหน้าที่สภาพอากาศอบอุ่นขึ้นทำให้ผลผลิตเริ่มเข้าสู่ตลาดน้อยลงและราคามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.20 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ1.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.29 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ37.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.30
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายไก่เนื้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ราคาปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมการผลิตของกลุ่มผู้เลี้ยงรายใหญ่คาดว่าภาวะตลาดไก่เนื้อนับจากช่วงนี้เป็นต้นไปจะไม่ค่อยประสบปัญหาทางด้านราคาเท่าใดนัก เพราะมาตรการนี้จะรักษาระดับผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.41 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 28.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 29.94 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.99 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.53 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41บาท ราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ตลาดไข่ไก่เริ่มเข้าสู่สภาวะทรงตัวหลังจากที่ได้ตกต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ คาดว่าภาวะการซื้อขายต่อจากนี้ไปจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากที่ได้ระบายผลผลิตบางส่วนส่งออกต่างประเทศ ประกอบกับมาตรการแทรกแซงตลาดโดยการเก็บสต๊อกไข่ไก่เข้าห้องเย็นที่กำลังดำเนินการอยู่จะส่งผลให้ผลผลิตในตลาดลดลงและราคามีโอกาสกระเตื้องขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 143 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 124 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 135 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 151 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 152 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 145 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.83
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 183 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 185 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 201 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 195 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.60 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.56 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวประจำสัปดาห์ 14-20 กุมภาพันธ์ 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 14 - 20 ก.พ. 2543--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
จากความต้องการบริโภคที่มีค่อนข้างน้อย ขณะที่ผลผลิตยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตในสัปดาห์นี้ยังคงลดลงอีกซึ่งสถานการณ์โดยรวมของตลาดสุกรคาดว่าจะอยู่ในสภาวะทรงตัวไปจนถึงอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย จนกว่าจะถึงเดือนหน้าที่สภาพอากาศอบอุ่นขึ้นทำให้ผลผลิตเริ่มเข้าสู่ตลาดน้อยลงและราคามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.20 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ1.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.29 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ37.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.30
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายไก่เนื้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ราคาปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมการผลิตของกลุ่มผู้เลี้ยงรายใหญ่คาดว่าภาวะตลาดไก่เนื้อนับจากช่วงนี้เป็นต้นไปจะไม่ค่อยประสบปัญหาทางด้านราคาเท่าใดนัก เพราะมาตรการนี้จะรักษาระดับผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.41 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 28.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 29.94 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.99 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.53 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41บาท ราคาทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ตลาดไข่ไก่เริ่มเข้าสู่สภาวะทรงตัวหลังจากที่ได้ตกต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ คาดว่าภาวะการซื้อขายต่อจากนี้ไปจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากที่ได้ระบายผลผลิตบางส่วนส่งออกต่างประเทศ ประกอบกับมาตรการแทรกแซงตลาดโดยการเก็บสต๊อกไข่ไก่เข้าห้องเย็นที่กำลังดำเนินการอยู่จะส่งผลให้ผลผลิตในตลาดลดลงและราคามีโอกาสกระเตื้องขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 143 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 124 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 135 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 151 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 152 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 145 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.83
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 183 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 185 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 201 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 195 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.60 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.56 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวประจำสัปดาห์ 14-20 กุมภาพันธ์ 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 14 - 20 ก.พ. 2543--